ผู้จัดการรายวัน 360 - โปรดเกล้าฯ พ.ร.ก.กู้เงิน 5 แสนล้านบาท เพื่อแก้ไขปัญหาผลกระทบการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 “บิ๊กตู่” สั่งหั่นจากเดิมตั้งไว้ 7 แสนล้านบาท กำชับกู้เฉพาะจำเป็นต้องใช้ อย่ากู้มากองไว้โดยไม่จำเป็น ด้าน "สุพัฒนพงษ์" นำทีมแถลงวงเงินกู้เหมาะสม ช่วยดูแลประชาชนให้ผ่านพ้นวิกฤตโควิดปีนี้ไปได้ แย้มรวมแล้วมีเงินตุนไว้รับมือกว่า 1.25 ล้านล้านบาท รมว.คลัง ชี้หนี้สาธารณะยังอยู่ในกรอบ 58.56% และจะช่วยให้จีดีพีปี 64-65 เพิ่มขึ้นอีก 1.5% คาดใช้วงเงินกู้ในปีนี้แค่ 1 แสนล้าน
วานนี้ (25 พ.ค.) เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติมพ.ศ. 2564 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวให้ไว้ ณ วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เป็นปีที่ 6 ในรัชกาลปัจจุบัน โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ มีเนื้อหาดังนี้
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติมอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 172 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกำหนดขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา 1 พระราชกำหนดนี้เรียกว่า “พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564”
มาตรา 2 พระราชกำหนดนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา 3 เพื่อประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งยังไม่ยุติลง ให้กระทรวงการคลังโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี มีอำนาจกู้เงินบาทหรือเงินตราต่างประเทศ หรือออกตราสารหนี้ ในนามรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย มีมูลค่ารวมกันไม่เกิน 500,000 ล้านบาทโดยต้องลงนามในสัญญากู้เงิน หรือออกตราสารหนี้ ภายในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2565
วงเงินกู้ตามวรรคหนึ่งไม่กระทบต่ออำนาจการกู้เงินหรือออกตราสารหนี้ของกระทรวงการคลังตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563
มาตรา 4 ให้การกู้เงินตามพระราชกำหนดนี้เป็นการกู้เงินตามมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561
มาตรา 5 เงินกู้ตามพระราชกำหนดนี้ จะนำไปใช้เพื่อการอื่นนอกจากการดังต่อไปนี้มิได้(1) เพื่อแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(2) เพื่อช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชย ให้แก่ประชาชนทุกสาขาอาชีพ ซึ่งได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(3) เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แผนงานหรือโครงการใช้จ่ายเงินกู้เพื่อการตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามบัญชีท้ายพระราชกำหนดนี้
มาตรา 6 การกู้เงินตามพระราชกำหนดนี้ ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติเท่าที่จำเป็นโดยคำนึงถึงขีดความสามารถของรัฐในการชำระหนี้คืนประกอบด้วย ในกรณีจำเป็น คณะรัฐมนตรีจะมีมติให้ปรับวงเงินกู้ที่กำหนดไว้ตามบัญชีท้ายพระราชกำหนดนี้เพื่อการตามมาตรา 5 (1) (2) และ (3) ก็ได้ แต่เมื่อรวมวงเงินกู้ทั้งหมดต้องไม่เกิน 500,000 ล้านบาท
มาตรา 7 เพื่อประโยชน์ในการพิจารณากลั่นกรองและอนุมัติการใช้จ่ายเงินกู้ให้เป็นไปตามมาตรา 5 และมาตรา 6 ให้คณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยี่ยวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 มีหน้าที่และอำนาจในการพิจารณากลั่นกรองเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา และให้นำความในมาตรา 8 แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 มาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม
มาตรา 8 การดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารและจัดการการกู้เงิน การเบิกจ่ายเงินกู้ การชำระหนี้ การรายงานการกู้เงิน และการอื่นใดที่เกี่ยวกับการกู้เงินตามพระราชกำหนดนี้ ให้นำความในมาตรา 9 และมาตรา 10 แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 มาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม
มาตรา 9 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกำหนดนี้
ทั้งนี้ ในช่วงท้ายมีการระบุเหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ โดยที่โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ยังระบาดอย่างต่อเนื่องและรุนแรงมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของพี่น้องประชาชนและต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอย่างหนักหน่วงและกว้างขวาง เป็นวิกฤติสำคัญที่จำเป็นต้องดำเนินการแก้ไขโดยเร่งด่วนและต่อเนื่องกับการแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้ดำเนินการอยู่ จึงเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ เพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ และป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะจึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้
“บิ๊กตู่”สั่งหั่นงบกู้แก้โควิดเหลือ 5 แสนล.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในที่ประชุมครม. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถึงเรื่องการพิจารณา พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการแพร่ระบาดของโรค โควิด-19 เพิ่มเติม ภายหลังจากที่ ครม.ได้เห็นชอบในหลักการ พ.ร.ก.กู้เงินดังกล่าวไปแล้วเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว และได้มอบหมายให้กระทรวง หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปปรับ หรือทบทวนเนื้อหาต่างๆ อีกครั้ง โดยเฉพาะวงเงินกู้ 7 แสนล้านบาท ที่กระทรวงการคลังเสนอมา ขอให้ปรับลดให้เหลือ 5 แสนล้านบาท ตามวาระลับ
รัฐกู้เพิ่ม5แสนล.ช่วยปชช.ผ่านโควิดปีนี้
นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พลังงาน พร้อมทั้งนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง และนายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ร่วมกันแถลง โดยนายสุพัฒนพงษ์ กล่าวว่า พ.ร.ก.ฉบับใหม่ ที่ออกมาครั้งนี้จะเตรียมสำรองไว้ใช้รองรับความไม่แน่นอนของการระบาดในอนาคต โดยการเตรียมวงเงินเอาไว้ 5 แสนล้านบาทนี้ ก็ยังไม่รวมเงินก้อนอื่น ๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ทั้ง พ.ร.ก.การให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ.2564 วงเงิน 3.5 แสนล้านบาท และ พ.ร.ก.การรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ พ.ศ. 2563 วงเงิน 4 แสนล้านบาท รวมแล้ว 1.25 ล้านล้านบาท
นายอาคม กล่าวว่า วงเงิน 5 แสนล้านบาท ภายใต้ พ.ร.ก.ฉบับใหม่นี้ จะเข้าไปช่วยเสริม พ.ร.ก.ฉบับแรกวงเงิน 1 ล้านล้านบาท ซึ่งถือว่ามีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องเตรียมงบประมาณเพิ่มเติมเอาไว้รองรับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิดระลอกใหม่ คาดว่า จะมีผลทำให้เศรษฐกิจไทยในปี 64-65 ขยายตัวได้เพิ่ม 1.5% ขณะที่สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพี สิ้นปีงบประมาณ 64 จะมีสัดส่วน 58.56% ต่อจีดีพี ซึ่งยังอยู่ภายใต้กรอบวินัยทางการเงินการคลังของประเทศที่ไม่เกิน 60%
นายดนุชา กล่าวว่า มีแผนการใช้จ่ายแล้ว โดยแยกเป็นวงเงินที่ใช้กลุ่มแรก ด้านสาธารณสุข กรอบวงเงิน 4.5 หมื่นล้านบาท อนุมัติแล้ว 25,852 ล้านบาท เหลือ 19,174 ล้านบาท กลุ่มที่สอง ใช้เยียวยา กรอบวงเงิน 6.85 แสนล้านบาท อนุมัติแล้ว 666,243 ล้านบาท ส่วนกลุ่มสุดท้าย ใช้ฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม กรอบวงเงิน 2.7 แสนล้านบาท อนุมัติแล้ว 1.25 แสนล้านบาท ที่เหลือจะทยอยเสนอครม.เห็นชอบ ภาพรวมเบิกจ่ายแล้ว 80%
สบน.คาดกู้ปีนี้เพียง 1 แสนล้านบาท
นางแพตริเซีย มงคลวนิช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กล่าวว่า การกู้เงินภายใต้พ.ร.ก.กู้เงิน 5 แสนล้านบาท นั้นจะเป็นการทยอยกู้ตามความจำเป็น และแผนเบิกจ่ายจริง คาดในปีงบประมาณ 2564 จะมีการกู้เงินในพ.ร.ก.ดังกล่าวไม่เกิน 1 แสนล้านบาท ซึ่งคาดว่าเมื่อกู้ครบ 5 แสนล้านบาท สิ้นปีงบประมาณ 2565 หนี้สาธารณะต่อ GDP อยู่ใกล้เคียงที่ 60% ต่อ GDP
วานนี้ (25 พ.ค.) เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติมพ.ศ. 2564 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวให้ไว้ ณ วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เป็นปีที่ 6 ในรัชกาลปัจจุบัน โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ มีเนื้อหาดังนี้
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติมอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 172 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกำหนดขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา 1 พระราชกำหนดนี้เรียกว่า “พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564”
มาตรา 2 พระราชกำหนดนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา 3 เพื่อประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งยังไม่ยุติลง ให้กระทรวงการคลังโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี มีอำนาจกู้เงินบาทหรือเงินตราต่างประเทศ หรือออกตราสารหนี้ ในนามรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย มีมูลค่ารวมกันไม่เกิน 500,000 ล้านบาทโดยต้องลงนามในสัญญากู้เงิน หรือออกตราสารหนี้ ภายในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2565
วงเงินกู้ตามวรรคหนึ่งไม่กระทบต่ออำนาจการกู้เงินหรือออกตราสารหนี้ของกระทรวงการคลังตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563
มาตรา 4 ให้การกู้เงินตามพระราชกำหนดนี้เป็นการกู้เงินตามมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561
มาตรา 5 เงินกู้ตามพระราชกำหนดนี้ จะนำไปใช้เพื่อการอื่นนอกจากการดังต่อไปนี้มิได้(1) เพื่อแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(2) เพื่อช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชย ให้แก่ประชาชนทุกสาขาอาชีพ ซึ่งได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(3) เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แผนงานหรือโครงการใช้จ่ายเงินกู้เพื่อการตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามบัญชีท้ายพระราชกำหนดนี้
มาตรา 6 การกู้เงินตามพระราชกำหนดนี้ ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติเท่าที่จำเป็นโดยคำนึงถึงขีดความสามารถของรัฐในการชำระหนี้คืนประกอบด้วย ในกรณีจำเป็น คณะรัฐมนตรีจะมีมติให้ปรับวงเงินกู้ที่กำหนดไว้ตามบัญชีท้ายพระราชกำหนดนี้เพื่อการตามมาตรา 5 (1) (2) และ (3) ก็ได้ แต่เมื่อรวมวงเงินกู้ทั้งหมดต้องไม่เกิน 500,000 ล้านบาท
มาตรา 7 เพื่อประโยชน์ในการพิจารณากลั่นกรองและอนุมัติการใช้จ่ายเงินกู้ให้เป็นไปตามมาตรา 5 และมาตรา 6 ให้คณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยี่ยวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 มีหน้าที่และอำนาจในการพิจารณากลั่นกรองเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา และให้นำความในมาตรา 8 แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 มาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม
มาตรา 8 การดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารและจัดการการกู้เงิน การเบิกจ่ายเงินกู้ การชำระหนี้ การรายงานการกู้เงิน และการอื่นใดที่เกี่ยวกับการกู้เงินตามพระราชกำหนดนี้ ให้นำความในมาตรา 9 และมาตรา 10 แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 มาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม
มาตรา 9 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกำหนดนี้
ทั้งนี้ ในช่วงท้ายมีการระบุเหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ โดยที่โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ยังระบาดอย่างต่อเนื่องและรุนแรงมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของพี่น้องประชาชนและต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอย่างหนักหน่วงและกว้างขวาง เป็นวิกฤติสำคัญที่จำเป็นต้องดำเนินการแก้ไขโดยเร่งด่วนและต่อเนื่องกับการแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้ดำเนินการอยู่ จึงเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ เพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ และป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะจึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้
“บิ๊กตู่”สั่งหั่นงบกู้แก้โควิดเหลือ 5 แสนล.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในที่ประชุมครม. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถึงเรื่องการพิจารณา พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการแพร่ระบาดของโรค โควิด-19 เพิ่มเติม ภายหลังจากที่ ครม.ได้เห็นชอบในหลักการ พ.ร.ก.กู้เงินดังกล่าวไปแล้วเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว และได้มอบหมายให้กระทรวง หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปปรับ หรือทบทวนเนื้อหาต่างๆ อีกครั้ง โดยเฉพาะวงเงินกู้ 7 แสนล้านบาท ที่กระทรวงการคลังเสนอมา ขอให้ปรับลดให้เหลือ 5 แสนล้านบาท ตามวาระลับ
รัฐกู้เพิ่ม5แสนล.ช่วยปชช.ผ่านโควิดปีนี้
นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พลังงาน พร้อมทั้งนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง และนายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ร่วมกันแถลง โดยนายสุพัฒนพงษ์ กล่าวว่า พ.ร.ก.ฉบับใหม่ ที่ออกมาครั้งนี้จะเตรียมสำรองไว้ใช้รองรับความไม่แน่นอนของการระบาดในอนาคต โดยการเตรียมวงเงินเอาไว้ 5 แสนล้านบาทนี้ ก็ยังไม่รวมเงินก้อนอื่น ๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ทั้ง พ.ร.ก.การให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ.2564 วงเงิน 3.5 แสนล้านบาท และ พ.ร.ก.การรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ พ.ศ. 2563 วงเงิน 4 แสนล้านบาท รวมแล้ว 1.25 ล้านล้านบาท
นายอาคม กล่าวว่า วงเงิน 5 แสนล้านบาท ภายใต้ พ.ร.ก.ฉบับใหม่นี้ จะเข้าไปช่วยเสริม พ.ร.ก.ฉบับแรกวงเงิน 1 ล้านล้านบาท ซึ่งถือว่ามีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องเตรียมงบประมาณเพิ่มเติมเอาไว้รองรับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิดระลอกใหม่ คาดว่า จะมีผลทำให้เศรษฐกิจไทยในปี 64-65 ขยายตัวได้เพิ่ม 1.5% ขณะที่สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพี สิ้นปีงบประมาณ 64 จะมีสัดส่วน 58.56% ต่อจีดีพี ซึ่งยังอยู่ภายใต้กรอบวินัยทางการเงินการคลังของประเทศที่ไม่เกิน 60%
นายดนุชา กล่าวว่า มีแผนการใช้จ่ายแล้ว โดยแยกเป็นวงเงินที่ใช้กลุ่มแรก ด้านสาธารณสุข กรอบวงเงิน 4.5 หมื่นล้านบาท อนุมัติแล้ว 25,852 ล้านบาท เหลือ 19,174 ล้านบาท กลุ่มที่สอง ใช้เยียวยา กรอบวงเงิน 6.85 แสนล้านบาท อนุมัติแล้ว 666,243 ล้านบาท ส่วนกลุ่มสุดท้าย ใช้ฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม กรอบวงเงิน 2.7 แสนล้านบาท อนุมัติแล้ว 1.25 แสนล้านบาท ที่เหลือจะทยอยเสนอครม.เห็นชอบ ภาพรวมเบิกจ่ายแล้ว 80%
สบน.คาดกู้ปีนี้เพียง 1 แสนล้านบาท
นางแพตริเซีย มงคลวนิช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กล่าวว่า การกู้เงินภายใต้พ.ร.ก.กู้เงิน 5 แสนล้านบาท นั้นจะเป็นการทยอยกู้ตามความจำเป็น และแผนเบิกจ่ายจริง คาดในปีงบประมาณ 2564 จะมีการกู้เงินในพ.ร.ก.ดังกล่าวไม่เกิน 1 แสนล้านบาท ซึ่งคาดว่าเมื่อกู้ครบ 5 แสนล้านบาท สิ้นปีงบประมาณ 2565 หนี้สาธารณะต่อ GDP อยู่ใกล้เคียงที่ 60% ต่อ GDP