สถานการณ์โควิดในไทยยังไม่ลด พบผู้ป่วยรายใหม่เพิ่ม 2,279 ราย ตายเพิ่ม 24 ราย ยอดผู้ติดเชื้อสะสมทะลุแสนราย ผงะ”คลัสเตอร์คุก” เรือนจำพิเศษธนบุรี พบ 1,725 ราย เชียงใหม่เกือบ 4,000 ราย ย้ำยังไม่ยกเลิกคำสั่งสวมหน้ากากอนามัย
เมื่อเวลา 12.30 น.วานนี้ (16 พ.ค.) พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศบค. แถลงสถานการณ์ประจำวัน พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 2,302 ราย เป็นการติดเชื้อในประเทศ 2,279 ราย มาจากระบบเฝ้าระวังและระบบบริการ 1,692 ราย มาจากการค้นหาเชิงรุก 587 ราย และเป็นผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ 23 ราย ทำให้มียอดผู้ติดเชื้อสะสม 101,447 ราย หายป่วยสะสม 65,803 ราย อยู่ระหว่างรักษา 35,055 ราย อาการหนัก 1,228 ราย ใส่ท่อช่วยหายใจ 408 ราย มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม 24 ราย ยอดสะสม 589 ราย
อย่างไรก็ตาม ศบค. เพิ่งได้รับรายงานว่ามีการติดเชื้อในเรือนจำ 1,219 ราย ซึ่งจะนำไปรวมกับยอดผู้ติดเชื้อของวันที่ 17 พ.ค.
ทั้งนี้ จังหวัดที่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่มากสุด คือ กรุงเทพฯ 1,218ราย รองลงมาเป็น จ.ปทุมธานี 243 ราย สมุทรปราการ 117 ราย นนทบุรี 103ราย ประจวบคีรีขันธ์ 66 ราย
ส่วนผู้เสียชีวิต 24รายนั้น จากกรุงเทพฯ 8 ราย จากจ.ชลบุรี ปทุมธานี กาญจนบุรี จังหวัดละ 2 ราย และ จ.เชียงใหม่ ศรีสะเกษ ราชบุรี สมุทรปราการ ขอนแก่น นครสวรรค์ พิจิตร ระยอง นครนายก พระนครศรีอยุธยา จังหวัดละ1ราย
เรือนจำพิเศษธนบุรีติดเชื้อ 1,725 ราย
กรมราชทัณฑ์ เปิดเผยยอดผู้ติดเชื้อจากการตรวจคัดกรองเชิงรุกในเรือนจำ และทัณฑสถานพื้นที่เสี่ยง (เฉพาะในเขตกรุงเทพฯ ) พบผู้ติดเชื้อเพิ่มจำนวน 1,725 ราย ในเรือนจำพิเศษธนบุรี (ข้อมูล ณ วันที่16 พ.ค.64 เวลา15.00 น.) โดยทั้งหมดที่ตรวจพบเพิ่ม เป็นผู้ต้องขังที่ติดเชื้อกลุ่มสีเขียว คือไม่มีอาการ หรือมีอาการเพียงเล็กน้อย และได้ดำเนินการรักษาด้วยการให้ยาฟาวิพิราเวียร์ เพื่อต้านไวรัสเป็นที่เรียบร้อย พร้อมเร่งดำเนินการตรวจเชื้อซ้ำในกลุ่มที่ยังไม่พบเชื้อเพื่อยืนยันผล ด้วยวิธี RT-PCRเพื่อแยกกลุ่มเป้าหมายที่ติดเชื้อ และไม่ติดเชื้อออกจากกันได้อย่างทันท่วงที
ทั้งนี้ คาดว่าจะสามารถทำการป้องกันการแพร่ระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ภายใต้การดำเนินงานของศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ของกรมราชทัณฑ์ ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อรับมือ โดยเฉพาะการเร่งประสาน รพ.แม่ข่าย การเตรียมความพร้อมจัดตั้ง รพ.สนาม และสำรองยาที่ใช้รักษาให้เพียงพอ พร้อมการดำเนินการเฝ้าระวังอย่างเข้มข้นในด้านอื่น เพื่อป้องกันเชื้อทั้งจากเจ้าหน้าที่ในเรือนจำ และการติดเชื้อจากผู้ต้องขังเข้าใหม่ รวมถึงเร่งจัดหาวัคซีนแก่เจ้าหน้าที่และผู้ต้องขัง โดยขณะนี้ เริ่มฉีดวัคซีนแก่เจ้าหน้าที่ ผู้ปฏิบัติงานในเรือนจำส่วนใหญ่แล้ว สำหรับผู้ต้องขังจะเริ่มต้นในกลุ่มผู้สูงอายุ หรือมีโรคประจำตัว จนครอบคลุมผู้ต้องขังทุกรายในที่สุด
เรือนจำกลางเชียงใหม่เฉียด 4,000 ราย
รายงานข่าวแจ้งว่าหลังจากกรมราชทัณฑ์ได้ดำเนินการตรวจคัดกรองเชิงรุกหาผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในเรือนจำกลางจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นการดำเนินการพร้อมกันในเรือนจำและทัณฑสถานในพื้นที่เสี่ยงรวม 8 แห่งทั่วประเทศ พบว่าเฉพาะเรือนจำกลางเชียงใหม่พบผู้ติดเชื้อ 3,929 คน จากจำนวนผู้ต้องขังทั้งหมด 6,469 คน
โดยผลการตรวจคัดกรองเชิงรุกในเรือนจำและทัณฑสถานในพื้นที่เสี่ยงทั้ง 8 แห่ง พบว่ามีผู้ต้องขังติดเชื้อรวมทั้งหมด 9,783 คน โดยเรือนจำพิเศษกรุงเทพ พบติดเชื้อ 1,960 คน จากจำนวนผู้ต้องขังทั้งหมด 3,023 คน, ทัณฑสถานหญิงกลาง ติดเชื้อ 1,039 คน จากจำนวนต้องขังทั้งหมด 4,488 คน, เรือนจำกลางคลองเปรม ติดเชื้อ 1,016 คน จากจำนวนผู้ต้องขังทั้งหมด 8,088 คน, เรือนจำพิเศษธนบุรี พบติดเชื้อ 1,725 คน จากจำนวนผู้ต้องขังทั้งหมด 4,015 คน , เรือนจำกลางฉะเชิงเทรา ติดเชื้อ 43 คน จากจำนวนผู้ต้องขังทั้งหมด 2,671 คน ,ทัณฑสถานบำบัดพิเศษกลาง ติดเชื้อ 12 คน จากจำนวนผู้ต้องขังทั้งหมด 5,876 คน และเรือนจำจังหวัดนนทบุรี ติดเชื้อ 59 คน จากจำนวนผู้ต้องขังทั้งหมด 2,661 คน
นายเจริญฤทธิ์ สงวนสัตย์ ผวจ.เชียงใหม่ พร้อมด้วย พล.ต.ถนัดพล โกศัยเสวี รองแม่ทัพภาคที่ 3 ,นพ.จตุชัย มณีรัตน์ สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่,พล.ต.วุฒิไชย อิศระ รองเจ้ากรมการแพทย์ทบ. ,นายสุรศักดิ์ เผื่อนคำ ผบ.เรือนจำกลางเชียงใหม่ เตรียมแถลงข่าว ความร่วมมือในการบริหารจัดการ รพ.สนามเรือนจำกลางเชียงใหม่ เวลา 10.30 น. วันนี้ (17พ.ค.)
ยังไม่ยกเลิกคำสั่งสวมหน้ากาก
พญ.อภิสมัย ได้ตอบคำถามกรณีการทบทวนคำสั่ง และยกเลิกข้อกำหนดของ ศบค. เรื่องการยกเลิกการสวมใส่หน้ากากขณะการประชุมฯ ว่า การยกเลิกให้ใส่หน้ากากอนามัย ไม่มีอย่างแน่นอน เพราะยังใช้ข้อกำหนดที่ 22 ระบุให้มีการสวมหน้ากากผ้า หน้ากากอนามัยตลอดเวลา ถือเป็นการบังคับ ซึ่งได้มีการพูดคุยในระยะใกล้ที่จะมีการประชุมระดับประเทศ หรือระดับท้องถิ่น หรือสภาท้องถิ่น หากมีการประชุมขอสนับสนุนให้มีการประชุมออนไลน์ให้มากที่สุด ซึ่งต้องอยู่ที่ผู้ควบคุมการประชุม คือประธานในการประชุมจะพิจารณา
"ในช่วงอภิปราย หรือแสดงความคิดเห็น โดยเฉพาะผู้ที่อภิปรายเท่านั้นไม่สวมหน้ากากอนามัยได้ ซึ่งอยู่ที่ประธานจะมีการผ่อนผัน แต่ผู้ร่วมประชุม ต้องสวมหน้ากากอนามัย และเว้นระยะห่าง ตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) อย่างเคร่งครัด แต่ต้องมีเจ้าหน้าที่คอยติดตามดู ถ้าไม่สวมก็เข้าไปตักเตือน แต่หากมีการทำผิดซ้ำ ก็ต้องบังคับกัน" พญ.อภิสมัย กล่าว
จองฉีดผ่านแอปฯหมอพร้อม 6 ล้าน
วานนี้(16พ.ค.) เพจเฟซบุ๊ก "หมอพร้อม" รายงานตัวเลขผู้ลงทะเบียนผ่านแฟลตฟอร์ม "หมอพร้อม" ในการจองคิวฉีควัคซีนโควิด-19 ตามแคมเปญ "16 ล้านโดส เพื่อ 16 ล้านคน" สำหรับกลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปจำนวน 11.7 ล้านคน และกลุ่มผู้ป่วย 7 โรคเรื้อรังจำนวน 4.3 ล้านคน โดยข้อมูล ณ วันที่ 16 พ.ค. เวลา 14.00 น. มียอดลงทะเบียนการจองฉีดวัคซีนสะสมอยู่ที่ 6,066,850 คนแล้ว โดยแบ่งเป็นการจองคิวในกรุงเทพฯ 700,671 คน ต่างจังหวัดรวม 5,366,179 คน
เตรียมร้อยล้านจ่ายชดเชยแพ้วัคซีน
นพ.จเด็จ ธรรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เปิดเผยว่า จากกรณีที่รัฐบาลมีนโยบายเร่งระดมฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด ให้ได้โดยเร็ว และเป็นวงกว้างมากที่สุด รวมทั้งมีนโยบายจ่ายเงินเยียวยาแก่ผู้ที่ได้รับผลไม่พึงประสงค์จากการฉีดวัคซีน เพื่อสร้างความมั่นใจแก่ประชาชนนั้น ล่าสุด คณะกรรมการสปสช.ได้ออกประกาศหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ (ฉบับที่ 5) เรียบร้อยแล้ว
โดยในกรณีการเยียวยาผลกระทบหลังฉีดวัคซีน ได้เตรียมงบฯไว้ 100.32 ล้านบาท สำหรับจ่ายช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้ได้รับความเสียหายจากการฉีดวัคซีน และให้มีผลย้อนหลัง ตั้งแต่วันที่ 5 เม.ย.64 เป็นต้นไป
ทั้งนี้ หลังจากเริ่มระดมฉีดวัคซีนไปแล้วระยะหนึ่ง ขณะนี้มี 2 เขต ที่เสนอข้อมูลการขอรับเงินช่วยเหลือกรณีอาการไม่พึงประสงค์หลังฉีดวัคซีน คือ สปสช.เขต 1 เชียงใหม่ 218 ราย และสปสช.เขต 10 อุบลราชธานี อีก 49 ราย ส่วนเขตอื่นๆ ขณะนี้อยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูล
สำหรับ สปสช.เขต 1 ซึ่งมีผู้ยื่นขอเยียวยา 218 รายนั้น ตัวเลขถือว่าไม่ได้เยอะเลย เมื่อเทียบกับจำนวนที่ฉีดไปแล้วทั้งหมด 91,551 เข็ม คิดเป็น 0.24% ซึ่งถือว่าน้อยมาก และกลุ่มที่มีอาการรุนแรงก็มีแค่ 0.05% เท่านั้น และคำว่า มีอาการรุนแรงนี้ก็ไม่ใช่อาการรุนแรงน่ากลัวแบบเลือดตกยางออก หรือมีผลจนอาจเสียชีวิตแต่อย่างใด เป็นเพียงว่าผู้ที่ต้องนอนพักในรพ.ก็นับเป็นกลุ่มที่มีอาการรุนแรงแล้วเท่านั้น
" จาก 218 รายนี้ กว่าครึ่งมีอาการเล็กน้อย เช่น เป็นไข้นิดๆ หน่อยๆ ปวดเมื่อยตามตัว ส่วนที่กลุ่มที่มีอาการรุนแรง ก็คือไข้สูงจนต้องนอนพักรพ. ส่วนอาการรุนแรงที่สุดที่พบ คือมีอาการชาเท่านั้น จากข้อมูลนี้สะท้อนว่า การรับวัคซีนโควิด-19 มีความปลอดภัย"
สำหรับข้อมูลการจ่ายเงินชดเชยที่เคยเปิดเผยมาก่อนหน้านี้ ระบุว่า การจ่ายเงินชดเชย จะมี 3 กรณี ด้วยกันคือ 1.เกิดการเจ็บป่วยต่อเนื่องหลังจากรับวัคซีน จะได้รับค่าชดเชยไม่เกิน 100,000 บาท 2. กรณีที่พิการทุพพลภาพ อันเนื่องมาจากผลกระทบจากการฉีดวัคซีน จะได้รับค่าชดเชยไม่เกิน 240,000 บาท และ 3. หากเสียชีวิต จะได้รับค่าชดเชยไม่เกิน 400,000 บาท
เมื่อเวลา 12.30 น.วานนี้ (16 พ.ค.) พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศบค. แถลงสถานการณ์ประจำวัน พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 2,302 ราย เป็นการติดเชื้อในประเทศ 2,279 ราย มาจากระบบเฝ้าระวังและระบบบริการ 1,692 ราย มาจากการค้นหาเชิงรุก 587 ราย และเป็นผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ 23 ราย ทำให้มียอดผู้ติดเชื้อสะสม 101,447 ราย หายป่วยสะสม 65,803 ราย อยู่ระหว่างรักษา 35,055 ราย อาการหนัก 1,228 ราย ใส่ท่อช่วยหายใจ 408 ราย มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม 24 ราย ยอดสะสม 589 ราย
อย่างไรก็ตาม ศบค. เพิ่งได้รับรายงานว่ามีการติดเชื้อในเรือนจำ 1,219 ราย ซึ่งจะนำไปรวมกับยอดผู้ติดเชื้อของวันที่ 17 พ.ค.
ทั้งนี้ จังหวัดที่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่มากสุด คือ กรุงเทพฯ 1,218ราย รองลงมาเป็น จ.ปทุมธานี 243 ราย สมุทรปราการ 117 ราย นนทบุรี 103ราย ประจวบคีรีขันธ์ 66 ราย
ส่วนผู้เสียชีวิต 24รายนั้น จากกรุงเทพฯ 8 ราย จากจ.ชลบุรี ปทุมธานี กาญจนบุรี จังหวัดละ 2 ราย และ จ.เชียงใหม่ ศรีสะเกษ ราชบุรี สมุทรปราการ ขอนแก่น นครสวรรค์ พิจิตร ระยอง นครนายก พระนครศรีอยุธยา จังหวัดละ1ราย
เรือนจำพิเศษธนบุรีติดเชื้อ 1,725 ราย
กรมราชทัณฑ์ เปิดเผยยอดผู้ติดเชื้อจากการตรวจคัดกรองเชิงรุกในเรือนจำ และทัณฑสถานพื้นที่เสี่ยง (เฉพาะในเขตกรุงเทพฯ ) พบผู้ติดเชื้อเพิ่มจำนวน 1,725 ราย ในเรือนจำพิเศษธนบุรี (ข้อมูล ณ วันที่16 พ.ค.64 เวลา15.00 น.) โดยทั้งหมดที่ตรวจพบเพิ่ม เป็นผู้ต้องขังที่ติดเชื้อกลุ่มสีเขียว คือไม่มีอาการ หรือมีอาการเพียงเล็กน้อย และได้ดำเนินการรักษาด้วยการให้ยาฟาวิพิราเวียร์ เพื่อต้านไวรัสเป็นที่เรียบร้อย พร้อมเร่งดำเนินการตรวจเชื้อซ้ำในกลุ่มที่ยังไม่พบเชื้อเพื่อยืนยันผล ด้วยวิธี RT-PCRเพื่อแยกกลุ่มเป้าหมายที่ติดเชื้อ และไม่ติดเชื้อออกจากกันได้อย่างทันท่วงที
ทั้งนี้ คาดว่าจะสามารถทำการป้องกันการแพร่ระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ภายใต้การดำเนินงานของศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ของกรมราชทัณฑ์ ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อรับมือ โดยเฉพาะการเร่งประสาน รพ.แม่ข่าย การเตรียมความพร้อมจัดตั้ง รพ.สนาม และสำรองยาที่ใช้รักษาให้เพียงพอ พร้อมการดำเนินการเฝ้าระวังอย่างเข้มข้นในด้านอื่น เพื่อป้องกันเชื้อทั้งจากเจ้าหน้าที่ในเรือนจำ และการติดเชื้อจากผู้ต้องขังเข้าใหม่ รวมถึงเร่งจัดหาวัคซีนแก่เจ้าหน้าที่และผู้ต้องขัง โดยขณะนี้ เริ่มฉีดวัคซีนแก่เจ้าหน้าที่ ผู้ปฏิบัติงานในเรือนจำส่วนใหญ่แล้ว สำหรับผู้ต้องขังจะเริ่มต้นในกลุ่มผู้สูงอายุ หรือมีโรคประจำตัว จนครอบคลุมผู้ต้องขังทุกรายในที่สุด
เรือนจำกลางเชียงใหม่เฉียด 4,000 ราย
รายงานข่าวแจ้งว่าหลังจากกรมราชทัณฑ์ได้ดำเนินการตรวจคัดกรองเชิงรุกหาผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในเรือนจำกลางจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นการดำเนินการพร้อมกันในเรือนจำและทัณฑสถานในพื้นที่เสี่ยงรวม 8 แห่งทั่วประเทศ พบว่าเฉพาะเรือนจำกลางเชียงใหม่พบผู้ติดเชื้อ 3,929 คน จากจำนวนผู้ต้องขังทั้งหมด 6,469 คน
โดยผลการตรวจคัดกรองเชิงรุกในเรือนจำและทัณฑสถานในพื้นที่เสี่ยงทั้ง 8 แห่ง พบว่ามีผู้ต้องขังติดเชื้อรวมทั้งหมด 9,783 คน โดยเรือนจำพิเศษกรุงเทพ พบติดเชื้อ 1,960 คน จากจำนวนผู้ต้องขังทั้งหมด 3,023 คน, ทัณฑสถานหญิงกลาง ติดเชื้อ 1,039 คน จากจำนวนต้องขังทั้งหมด 4,488 คน, เรือนจำกลางคลองเปรม ติดเชื้อ 1,016 คน จากจำนวนผู้ต้องขังทั้งหมด 8,088 คน, เรือนจำพิเศษธนบุรี พบติดเชื้อ 1,725 คน จากจำนวนผู้ต้องขังทั้งหมด 4,015 คน , เรือนจำกลางฉะเชิงเทรา ติดเชื้อ 43 คน จากจำนวนผู้ต้องขังทั้งหมด 2,671 คน ,ทัณฑสถานบำบัดพิเศษกลาง ติดเชื้อ 12 คน จากจำนวนผู้ต้องขังทั้งหมด 5,876 คน และเรือนจำจังหวัดนนทบุรี ติดเชื้อ 59 คน จากจำนวนผู้ต้องขังทั้งหมด 2,661 คน
นายเจริญฤทธิ์ สงวนสัตย์ ผวจ.เชียงใหม่ พร้อมด้วย พล.ต.ถนัดพล โกศัยเสวี รองแม่ทัพภาคที่ 3 ,นพ.จตุชัย มณีรัตน์ สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่,พล.ต.วุฒิไชย อิศระ รองเจ้ากรมการแพทย์ทบ. ,นายสุรศักดิ์ เผื่อนคำ ผบ.เรือนจำกลางเชียงใหม่ เตรียมแถลงข่าว ความร่วมมือในการบริหารจัดการ รพ.สนามเรือนจำกลางเชียงใหม่ เวลา 10.30 น. วันนี้ (17พ.ค.)
ยังไม่ยกเลิกคำสั่งสวมหน้ากาก
พญ.อภิสมัย ได้ตอบคำถามกรณีการทบทวนคำสั่ง และยกเลิกข้อกำหนดของ ศบค. เรื่องการยกเลิกการสวมใส่หน้ากากขณะการประชุมฯ ว่า การยกเลิกให้ใส่หน้ากากอนามัย ไม่มีอย่างแน่นอน เพราะยังใช้ข้อกำหนดที่ 22 ระบุให้มีการสวมหน้ากากผ้า หน้ากากอนามัยตลอดเวลา ถือเป็นการบังคับ ซึ่งได้มีการพูดคุยในระยะใกล้ที่จะมีการประชุมระดับประเทศ หรือระดับท้องถิ่น หรือสภาท้องถิ่น หากมีการประชุมขอสนับสนุนให้มีการประชุมออนไลน์ให้มากที่สุด ซึ่งต้องอยู่ที่ผู้ควบคุมการประชุม คือประธานในการประชุมจะพิจารณา
"ในช่วงอภิปราย หรือแสดงความคิดเห็น โดยเฉพาะผู้ที่อภิปรายเท่านั้นไม่สวมหน้ากากอนามัยได้ ซึ่งอยู่ที่ประธานจะมีการผ่อนผัน แต่ผู้ร่วมประชุม ต้องสวมหน้ากากอนามัย และเว้นระยะห่าง ตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) อย่างเคร่งครัด แต่ต้องมีเจ้าหน้าที่คอยติดตามดู ถ้าไม่สวมก็เข้าไปตักเตือน แต่หากมีการทำผิดซ้ำ ก็ต้องบังคับกัน" พญ.อภิสมัย กล่าว
จองฉีดผ่านแอปฯหมอพร้อม 6 ล้าน
วานนี้(16พ.ค.) เพจเฟซบุ๊ก "หมอพร้อม" รายงานตัวเลขผู้ลงทะเบียนผ่านแฟลตฟอร์ม "หมอพร้อม" ในการจองคิวฉีควัคซีนโควิด-19 ตามแคมเปญ "16 ล้านโดส เพื่อ 16 ล้านคน" สำหรับกลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปจำนวน 11.7 ล้านคน และกลุ่มผู้ป่วย 7 โรคเรื้อรังจำนวน 4.3 ล้านคน โดยข้อมูล ณ วันที่ 16 พ.ค. เวลา 14.00 น. มียอดลงทะเบียนการจองฉีดวัคซีนสะสมอยู่ที่ 6,066,850 คนแล้ว โดยแบ่งเป็นการจองคิวในกรุงเทพฯ 700,671 คน ต่างจังหวัดรวม 5,366,179 คน
เตรียมร้อยล้านจ่ายชดเชยแพ้วัคซีน
นพ.จเด็จ ธรรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เปิดเผยว่า จากกรณีที่รัฐบาลมีนโยบายเร่งระดมฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด ให้ได้โดยเร็ว และเป็นวงกว้างมากที่สุด รวมทั้งมีนโยบายจ่ายเงินเยียวยาแก่ผู้ที่ได้รับผลไม่พึงประสงค์จากการฉีดวัคซีน เพื่อสร้างความมั่นใจแก่ประชาชนนั้น ล่าสุด คณะกรรมการสปสช.ได้ออกประกาศหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ (ฉบับที่ 5) เรียบร้อยแล้ว
โดยในกรณีการเยียวยาผลกระทบหลังฉีดวัคซีน ได้เตรียมงบฯไว้ 100.32 ล้านบาท สำหรับจ่ายช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้ได้รับความเสียหายจากการฉีดวัคซีน และให้มีผลย้อนหลัง ตั้งแต่วันที่ 5 เม.ย.64 เป็นต้นไป
ทั้งนี้ หลังจากเริ่มระดมฉีดวัคซีนไปแล้วระยะหนึ่ง ขณะนี้มี 2 เขต ที่เสนอข้อมูลการขอรับเงินช่วยเหลือกรณีอาการไม่พึงประสงค์หลังฉีดวัคซีน คือ สปสช.เขต 1 เชียงใหม่ 218 ราย และสปสช.เขต 10 อุบลราชธานี อีก 49 ราย ส่วนเขตอื่นๆ ขณะนี้อยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูล
สำหรับ สปสช.เขต 1 ซึ่งมีผู้ยื่นขอเยียวยา 218 รายนั้น ตัวเลขถือว่าไม่ได้เยอะเลย เมื่อเทียบกับจำนวนที่ฉีดไปแล้วทั้งหมด 91,551 เข็ม คิดเป็น 0.24% ซึ่งถือว่าน้อยมาก และกลุ่มที่มีอาการรุนแรงก็มีแค่ 0.05% เท่านั้น และคำว่า มีอาการรุนแรงนี้ก็ไม่ใช่อาการรุนแรงน่ากลัวแบบเลือดตกยางออก หรือมีผลจนอาจเสียชีวิตแต่อย่างใด เป็นเพียงว่าผู้ที่ต้องนอนพักในรพ.ก็นับเป็นกลุ่มที่มีอาการรุนแรงแล้วเท่านั้น
" จาก 218 รายนี้ กว่าครึ่งมีอาการเล็กน้อย เช่น เป็นไข้นิดๆ หน่อยๆ ปวดเมื่อยตามตัว ส่วนที่กลุ่มที่มีอาการรุนแรง ก็คือไข้สูงจนต้องนอนพักรพ. ส่วนอาการรุนแรงที่สุดที่พบ คือมีอาการชาเท่านั้น จากข้อมูลนี้สะท้อนว่า การรับวัคซีนโควิด-19 มีความปลอดภัย"
สำหรับข้อมูลการจ่ายเงินชดเชยที่เคยเปิดเผยมาก่อนหน้านี้ ระบุว่า การจ่ายเงินชดเชย จะมี 3 กรณี ด้วยกันคือ 1.เกิดการเจ็บป่วยต่อเนื่องหลังจากรับวัคซีน จะได้รับค่าชดเชยไม่เกิน 100,000 บาท 2. กรณีที่พิการทุพพลภาพ อันเนื่องมาจากผลกระทบจากการฉีดวัคซีน จะได้รับค่าชดเชยไม่เกิน 240,000 บาท และ 3. หากเสียชีวิต จะได้รับค่าชดเชยไม่เกิน 400,000 บาท