ผู้จัดการรายวัน360-ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยประกาศ คสช. กำหนดโทษไม่รายงานตัวขัดรัฐธรรมนูญ หลัง “วรเจตน์”ยื่นแย้งให้ตีความ ด้านศาลแขวงดุสิตนัดฟังคำพิพากษา 8 มิ.ย.นี้ “ทนายวิญญัติ” ชี้ใครหนีคดีขัดคำสั่งเรียกของ คสช. กลับประเทศได้ หากไม่มีความผิดอื่นติดตัว
วานนี้ (26 เม.ย.) ที่ศาลแขวงดุสิต ศาลได้อ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ (คดีหมายเลขดำ อ2074/2562 ของศาลแขวงดุสิต และคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 30/2563) ที่พนักงานอัยการคดีศาลแขวง 3 (แขวงดุสิต) เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์ภาควิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ เป็นจำเลย ในความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ฉบับที่ 5/2557, 57/2557 (เรียกชื่อให้มารายงานตัว) และ ประกาศ คสช. ฉบับที่ 29/2557, 41/2557 เกี่ยวกับกำหนดโทษผู้ที่ไม่มารายงานตัวที่นายวรเจตน์ ไม่ไปรายงานตัวต่อคสช. หลังการรัฐประหาร 22 พ.ค.2557
ทั้งนี้ ภายหลังมีการโอนคดีจากศาลทหารมาพิจารณาที่ศาลแขวงดุสิตแล้ว จำเลยได้ยื่นคำร้องต่อศาลแขวงดุสิต ขอให้ส่งคำร้องคัดค้านให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย เกี่ยวกับประกาศดังกล่าว ที่ใช้บังคับว่าขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่
นายวรเจตน์ โต้แย้งสรุปได้ว่า ประกาศ คสช. ฉบับที่ 29/2557, 41/2557 เป็นกฎหมายที่จำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่ขัดต่อหลักนิติธรรม โดยประกาศ ฉบับที่ 29/2557 ใช้บังคับหลังจากที่มีคำสั่ง ฉบับที่ 5/2557 จึงเป็นกฎหมายที่กำหนดโทษทางอาญา บังคับใช้ย้อนหลังแก่จำเลย เป็นกฎหมายที่มุ่งหมายบังคับใช้แก่กรณีใดกรณีหนึ่ง หรือแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเฉพาะเจาะจง ไม่ได้บัญญัติขึ้นเพื่อใช้บังคับเป็นการทั่วไป และประกาศ คสช. ทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว เป็นบทบัญญัติที่กำหนดโทษทางอาญาเกินสมควรแก่เหตุ จึงขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26
นอกจากนี้ ประกาศ ฉบับที่ 29/2557 มีลักษณะเป็นการบังคับข่มขู่ ละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และเลือกปฏิบัติ โดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 4 และ 27 อีกทั้งเมื่อ คสช. สิ้นอำนาจไปแล้ว วัตถุประสงค์ของคำสั่งเรียกบุคคลให้มารายงานตัว จึงสิ้นสุดลงไปด้วย เนื่องจากการลงโทษทางอาญานั้น วัตถุประสงค์ของการกำหนดโทษในกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำความผิด จะต้องดำรงอยู่ในขณะที่มีการลงโทษ การดำรงอยู่ของประกาศ คสช. ทั้ง 2 ฉบับ จึงขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 29
ศาลแขวงดุสิต อ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ มีเนื้อหาสรุปได้ว่า ประกาศ คสช. ทั้ง 2 ฉบับ ยังมีผลเป็นกฎหมายต่อไป แม้ คสช. จะสิ้นสภาพไปแล้ว พร้อมวินิจฉัยว่า ประกาศ คสช. ฉบับที่ 29/2557,41/2557 เฉพาะในส่วนโทษทางอาญา ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 และเฉพาะประกาศ คสช. ฉบับที่ 29/2557 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 29 วรรคหนึ่งด้วย
จากนั้นศาลแขวงดุสิตได้สอบถามคู่ความทั้งสองฝ่ายว่า ประสงค์จะแถลงข้อเท็จจริง หรือทำคำแถลงการณ์ใดเพิ่มเติมอีกหรือไม่ คู่ความทั้งสองฝ่ายแถลงว่า ไม่ติดใจที่จะแถลงเพิ่มเติมอีก ศาลจึงนัดฟังคำพิพากษาคดีนี้ วันที่ 8 มิ.ย.นี้ เวลา 09.00 น.
นายวิญญัติ ชาติมนตรี ทนายความของนายวรเจตน์ กล่าวว่า คำวินิจฉัยนี้ ส่งผลให้บุคคลที่ถูกเรียกให้มารายงานตัว แต่ยังไม่มารายงานตัว และเกรงกลัวความผิดจากการขัดคำสั่งเรียกรายงานตัว ก็สามารถกลับเข้ามาประเทศได้ หากไม่มีข้อหาความผิดฐานอื่น
วานนี้ (26 เม.ย.) ที่ศาลแขวงดุสิต ศาลได้อ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ (คดีหมายเลขดำ อ2074/2562 ของศาลแขวงดุสิต และคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 30/2563) ที่พนักงานอัยการคดีศาลแขวง 3 (แขวงดุสิต) เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์ภาควิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ เป็นจำเลย ในความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ฉบับที่ 5/2557, 57/2557 (เรียกชื่อให้มารายงานตัว) และ ประกาศ คสช. ฉบับที่ 29/2557, 41/2557 เกี่ยวกับกำหนดโทษผู้ที่ไม่มารายงานตัวที่นายวรเจตน์ ไม่ไปรายงานตัวต่อคสช. หลังการรัฐประหาร 22 พ.ค.2557
ทั้งนี้ ภายหลังมีการโอนคดีจากศาลทหารมาพิจารณาที่ศาลแขวงดุสิตแล้ว จำเลยได้ยื่นคำร้องต่อศาลแขวงดุสิต ขอให้ส่งคำร้องคัดค้านให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย เกี่ยวกับประกาศดังกล่าว ที่ใช้บังคับว่าขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่
นายวรเจตน์ โต้แย้งสรุปได้ว่า ประกาศ คสช. ฉบับที่ 29/2557, 41/2557 เป็นกฎหมายที่จำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่ขัดต่อหลักนิติธรรม โดยประกาศ ฉบับที่ 29/2557 ใช้บังคับหลังจากที่มีคำสั่ง ฉบับที่ 5/2557 จึงเป็นกฎหมายที่กำหนดโทษทางอาญา บังคับใช้ย้อนหลังแก่จำเลย เป็นกฎหมายที่มุ่งหมายบังคับใช้แก่กรณีใดกรณีหนึ่ง หรือแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเฉพาะเจาะจง ไม่ได้บัญญัติขึ้นเพื่อใช้บังคับเป็นการทั่วไป และประกาศ คสช. ทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว เป็นบทบัญญัติที่กำหนดโทษทางอาญาเกินสมควรแก่เหตุ จึงขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26
นอกจากนี้ ประกาศ ฉบับที่ 29/2557 มีลักษณะเป็นการบังคับข่มขู่ ละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และเลือกปฏิบัติ โดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 4 และ 27 อีกทั้งเมื่อ คสช. สิ้นอำนาจไปแล้ว วัตถุประสงค์ของคำสั่งเรียกบุคคลให้มารายงานตัว จึงสิ้นสุดลงไปด้วย เนื่องจากการลงโทษทางอาญานั้น วัตถุประสงค์ของการกำหนดโทษในกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำความผิด จะต้องดำรงอยู่ในขณะที่มีการลงโทษ การดำรงอยู่ของประกาศ คสช. ทั้ง 2 ฉบับ จึงขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 29
ศาลแขวงดุสิต อ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ มีเนื้อหาสรุปได้ว่า ประกาศ คสช. ทั้ง 2 ฉบับ ยังมีผลเป็นกฎหมายต่อไป แม้ คสช. จะสิ้นสภาพไปแล้ว พร้อมวินิจฉัยว่า ประกาศ คสช. ฉบับที่ 29/2557,41/2557 เฉพาะในส่วนโทษทางอาญา ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 และเฉพาะประกาศ คสช. ฉบับที่ 29/2557 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 29 วรรคหนึ่งด้วย
จากนั้นศาลแขวงดุสิตได้สอบถามคู่ความทั้งสองฝ่ายว่า ประสงค์จะแถลงข้อเท็จจริง หรือทำคำแถลงการณ์ใดเพิ่มเติมอีกหรือไม่ คู่ความทั้งสองฝ่ายแถลงว่า ไม่ติดใจที่จะแถลงเพิ่มเติมอีก ศาลจึงนัดฟังคำพิพากษาคดีนี้ วันที่ 8 มิ.ย.นี้ เวลา 09.00 น.
นายวิญญัติ ชาติมนตรี ทนายความของนายวรเจตน์ กล่าวว่า คำวินิจฉัยนี้ ส่งผลให้บุคคลที่ถูกเรียกให้มารายงานตัว แต่ยังไม่มารายงานตัว และเกรงกลัวความผิดจากการขัดคำสั่งเรียกรายงานตัว ก็สามารถกลับเข้ามาประเทศได้ หากไม่มีข้อหาความผิดฐานอื่น