“โฆษกรัฐบาล” แจงโครงการ “เราชนะ” ไม่เปิดรับลงทะเบียนเพิ่ม ใช้จ่ายได้ถึง 30 มิ.ย. โวเงินหมุนกว่า 2 แสนล้านบาท “รมว.คลัง” เตือนหนี้ครัวเรือน-ภาวะการออมของคนไทยยังอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการใช้ชีวิตหลังเกษียณ เผยโควิด-19 ทำหนี้ครัวเรือนพุ่ง
วานนี้ (22 เม.ย.) นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวชี้แจงกรณีที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติให้ขยายกลุ่มเป้าหมายโครงการเราชนะเพิ่มขึ้น 2.4 ล้านคน และขยายระยะเวลาใช้วงเงินถึงวันที่ 30 มิ.ย.64 ว่า รัฐบาลไม่ได้เปิดรับสมัครลงทะเบียนเพิ่ม โดย ครม.ได้เคยมีมติอนุมัติจำนวนกลุ่มเป้าหมายแล้ว ประมาณ 31.1 ล้านคน แต่เนื่องจากจำนวนผู้มีสิทธิที่เข้าร่วมโครงการจริงมีมากกว่าที่ประมาณการไว้ จึงมีมติเห็นชอบให้ขยายกลุ่มเป้าหมายเพิ่มเป็น 33.5 ล้านคน เนื่องจากมีผู้รับสิทธิสูงกว่ากรอบเดิมที่วางไว้ กระทรวงการคลังจึงได้ขออนุมัติจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติม มาใช้ให้สอดคล้องกับจำนวนคนที่เพิ่มขึ้น โดยกระทรวงการคลังไม่ได้มีการเปิดรับสมัครลงทะเบียนเพิ่มแต่อย่างใด ทั้งนี้ข้อมูลล่าสุดมีมูลค่าการใช้จ่ายหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจไทยแล้วกว่า 200,734 ล้านบาท
ด้าน นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง กล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ "ฟื้นฟูการเงินภาคครัวเรือนไทย ภารกิจร่วมสร้างภูมิคุ้มกันด้านการเงิน (Financial Literacy)" ในพิธีเปิดโครงการ "Happy Money สุขเงิน สร้างได้ พลังความร่วมมือเพื่อฟื้นฟูและสร้างภูมิคุ้มกันด้านการเงินสำหรับคนไทย" ว่า สถานการณ์หนี้ครัวเรือนในประเทศไทยยังอยู่ในระดับที่สูง หลังจากเกิดการแพร่ระบาดโควิด-19 ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและรายได้ของประชาชน ทำให้หนี้ครัวเรือนสูงขึ้นมาที่ระดับ 86.6% ของจีดีพีในไตรมาส 3/63 จากก่อนหน้าอยู่ที่ 78.9% ของจีดีพี สะท้อนภาวะวิกฤติและความเปราะบางในด้านสถานะทางการเงินของคนไทยในปัจจุบัน
นายอาคม ยังได้แสดงความเป็นห่วงด้วยว่า ขณะที่ประเทศไทยเริ่มก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบมากขึ้นภายในปี 66 ซึ่งจะมีจำนวนประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปมากกว่า 20% ของจำนวนประชากรรวม ทำให้การวางแผนทางการเงินและการออมรองรับยามเกษียณเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมากในการเตรียมความพร้อมและเร่งในการปฏิบัติ เพื่อให้คนไทยมีเงินรองรับเพียงพอต่อการใช้ชีวิตในวัยเกษียณโดยไม่ต้องพึ่งพิงลูกหลาน และไม่จำเป็นต้องทำงานต่อ ซึ่งในปัจจุบันคนไทยในวัยเกษียณส่วนใหญ่กว่า 90% ยังคงต้องพึ่งพาบุตรหลานและยังต้องทำงานอยู่ และมีเพียง 2.3% เท่านั้นที่เป็นกลุ่มที่สามารถพึ่งพิงตัวเองได้
วานนี้ (22 เม.ย.) นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวชี้แจงกรณีที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติให้ขยายกลุ่มเป้าหมายโครงการเราชนะเพิ่มขึ้น 2.4 ล้านคน และขยายระยะเวลาใช้วงเงินถึงวันที่ 30 มิ.ย.64 ว่า รัฐบาลไม่ได้เปิดรับสมัครลงทะเบียนเพิ่ม โดย ครม.ได้เคยมีมติอนุมัติจำนวนกลุ่มเป้าหมายแล้ว ประมาณ 31.1 ล้านคน แต่เนื่องจากจำนวนผู้มีสิทธิที่เข้าร่วมโครงการจริงมีมากกว่าที่ประมาณการไว้ จึงมีมติเห็นชอบให้ขยายกลุ่มเป้าหมายเพิ่มเป็น 33.5 ล้านคน เนื่องจากมีผู้รับสิทธิสูงกว่ากรอบเดิมที่วางไว้ กระทรวงการคลังจึงได้ขออนุมัติจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติม มาใช้ให้สอดคล้องกับจำนวนคนที่เพิ่มขึ้น โดยกระทรวงการคลังไม่ได้มีการเปิดรับสมัครลงทะเบียนเพิ่มแต่อย่างใด ทั้งนี้ข้อมูลล่าสุดมีมูลค่าการใช้จ่ายหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจไทยแล้วกว่า 200,734 ล้านบาท
ด้าน นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง กล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ "ฟื้นฟูการเงินภาคครัวเรือนไทย ภารกิจร่วมสร้างภูมิคุ้มกันด้านการเงิน (Financial Literacy)" ในพิธีเปิดโครงการ "Happy Money สุขเงิน สร้างได้ พลังความร่วมมือเพื่อฟื้นฟูและสร้างภูมิคุ้มกันด้านการเงินสำหรับคนไทย" ว่า สถานการณ์หนี้ครัวเรือนในประเทศไทยยังอยู่ในระดับที่สูง หลังจากเกิดการแพร่ระบาดโควิด-19 ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและรายได้ของประชาชน ทำให้หนี้ครัวเรือนสูงขึ้นมาที่ระดับ 86.6% ของจีดีพีในไตรมาส 3/63 จากก่อนหน้าอยู่ที่ 78.9% ของจีดีพี สะท้อนภาวะวิกฤติและความเปราะบางในด้านสถานะทางการเงินของคนไทยในปัจจุบัน
นายอาคม ยังได้แสดงความเป็นห่วงด้วยว่า ขณะที่ประเทศไทยเริ่มก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบมากขึ้นภายในปี 66 ซึ่งจะมีจำนวนประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปมากกว่า 20% ของจำนวนประชากรรวม ทำให้การวางแผนทางการเงินและการออมรองรับยามเกษียณเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมากในการเตรียมความพร้อมและเร่งในการปฏิบัติ เพื่อให้คนไทยมีเงินรองรับเพียงพอต่อการใช้ชีวิตในวัยเกษียณโดยไม่ต้องพึ่งพิงลูกหลาน และไม่จำเป็นต้องทำงานต่อ ซึ่งในปัจจุบันคนไทยในวัยเกษียณส่วนใหญ่กว่า 90% ยังคงต้องพึ่งพาบุตรหลานและยังต้องทำงานอยู่ และมีเพียง 2.3% เท่านั้นที่เป็นกลุ่มที่สามารถพึ่งพิงตัวเองได้