ผู้จัดการรายวัน360- ศาลปกครองกลางยกคำขอกระทรวงคมนาคม-รฟท. ระงับจ่ายค่าโง่โฮปเวลล์ 2.4 หมื่นล้านบาท ชี้คำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว แม้อ้างกำลังฟ้องถอนทะเบียนบริษัท - และขอศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยมติที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุดไม่ชอบ ก็ไม่เข้าเงื่อนไขให้งดการบังคับคดี รวมทั้งไม่มีกฎหมายให้อำนาจศาลทุเลาการบังคับคดีได้ ด้าน "พีระพันธุ์" ชี้คำสั่งศาลปกครองเป็นผลจากคำร้องเก่า ยังไม่มีผลให้ต้องจ่าย
วานนี้ (21เม.ย.) ศาลปกครองกลาง มีคำสั่งยกคำขอทุเลาการบังคับคดี ในคดีที่กระทรวงคมนาคม และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ขอชะลอการจ่ายค่าเสียหายราว 2.4 หมื่นล้านบาท แก่บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด ตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ที่ให้กระทรวงคมนาคม และ รฟท. ต้องปฏิบัติตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ เมื่อวันที่ 8 พ.ย 51 ที่ให้ 2 หน่วยงานรัฐ ต้องจ่ายค่าเสียหายจำนวนดังกล่าว
ส่วนเหตุผลที่ศาลมีคำสั่งดังกล่าว ระบุว่า เมื่อคดีนี้ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษาในคดีหมายเลขดำ ที่ อ.410-412/2557 คดีหมายเลขแดงที่ อ. 221-223/2562 พิพากษาให้บังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการข้อพิพาท หมายเลขดำ ที่ 119/2547 ข้อพิพาทหมายเลขแดง ที่ 64/2 551 โดยให้กระทรวงคมนาคมและรฟท. ปฏิบัติตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในกำหนด 180 วัน นับแต่วันที่คดีถึงที่สุด ผลแห่งคำพิพากษาดังกล่าวจึงผูกพันทั้ง 2 หน่วยงานต้องปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการดังกล่าว ตามความใน มาตรา 70 วรรคหนึ่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 แม้กระทรวงคมนาคมและรฟท.จะอ้างว่าได้ดำเนินการทางศาลโดยยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ผ่านผู้ตรวจการแผ่นดินว่า มติที่ประชุมใหญ่ของตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ครั้งที่ 18 /2545 เมื่อวันที่ 27 พ.ย. 45 ขัดต่อรัฐธรรมนูญ และพ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 หรือไม่ และ รฟท.ยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง ให้เพิกถอน ทะเบียนบริษัทโฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด รวมทั้ง 2 หน่วยงานได้ดำเนินการสอบสวน เพื่อหาผู้รับผิดชอบทางแพ่งและทางวินัย จากการกระทำความผิดในโครงการนี้ก็ตาม แต่ในชั้นนี้กรณีดังกล่าวไม่เป็นเหตุที่จะเข้าเงื่อนไขในการงดการบังคับคดี ตามข้อ 131 แห่งระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543
ส่วนการทุเลาการบังคับคดีนั้น ไม่มีกฎหมายให้อำนาจศาลในการทุเลาการบังคับคดี ประกอบกับคดีนี้ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ตามมาตรา 73 วรรค 4 พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง 2542 ศาลจึงไม่อาจมีคำสั่งให้ทุเลาการบังคับคดีได้เช่นกัน
นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้าคณะทำงานศึกษาปัญหาสัญญาโฮปเวลล์ในคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร กล่าวกรณี ศาลปกครองกลางมีคำสั่งยกคำขอ ของกระทรวงคมนาคมและการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่ขอระงับ การบังคับคดี จ่ายค่าโง่โฮปเวลล์2.4 หมื่นล้าน ว่า เป็นคำร้องเก่าที่ได้เคยยื่นเอาไว้ ซึ่ง การที่ศาล ปกครอง มีคำพิพากษาดังกล่าวก็ จะยัง ไม่มีผล ให้เราต้องจ่ายเงิน เพราะหลังเรายื่นคำร้องนี้ต่อศาลปกครองแล้วมีประเด็นเพิ่มเข้ามาว่า ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่ามติที่ประชุมใหญ่ในศาลปกครองสูงสุด ที่เอามาใช้ในการวินิจฉัยคดีโฮปเวลล์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งหลังจากนี้คณะทำงานฯก็จะหารือว่าจะมีการดำเนินการอย่างไรซึ่งรวมถึงในเรื่องของการรื้อคดีใหม่ด้วย
วานนี้ (21เม.ย.) ศาลปกครองกลาง มีคำสั่งยกคำขอทุเลาการบังคับคดี ในคดีที่กระทรวงคมนาคม และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ขอชะลอการจ่ายค่าเสียหายราว 2.4 หมื่นล้านบาท แก่บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด ตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ที่ให้กระทรวงคมนาคม และ รฟท. ต้องปฏิบัติตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ เมื่อวันที่ 8 พ.ย 51 ที่ให้ 2 หน่วยงานรัฐ ต้องจ่ายค่าเสียหายจำนวนดังกล่าว
ส่วนเหตุผลที่ศาลมีคำสั่งดังกล่าว ระบุว่า เมื่อคดีนี้ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษาในคดีหมายเลขดำ ที่ อ.410-412/2557 คดีหมายเลขแดงที่ อ. 221-223/2562 พิพากษาให้บังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการข้อพิพาท หมายเลขดำ ที่ 119/2547 ข้อพิพาทหมายเลขแดง ที่ 64/2 551 โดยให้กระทรวงคมนาคมและรฟท. ปฏิบัติตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในกำหนด 180 วัน นับแต่วันที่คดีถึงที่สุด ผลแห่งคำพิพากษาดังกล่าวจึงผูกพันทั้ง 2 หน่วยงานต้องปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการดังกล่าว ตามความใน มาตรา 70 วรรคหนึ่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 แม้กระทรวงคมนาคมและรฟท.จะอ้างว่าได้ดำเนินการทางศาลโดยยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ผ่านผู้ตรวจการแผ่นดินว่า มติที่ประชุมใหญ่ของตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ครั้งที่ 18 /2545 เมื่อวันที่ 27 พ.ย. 45 ขัดต่อรัฐธรรมนูญ และพ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 หรือไม่ และ รฟท.ยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง ให้เพิกถอน ทะเบียนบริษัทโฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด รวมทั้ง 2 หน่วยงานได้ดำเนินการสอบสวน เพื่อหาผู้รับผิดชอบทางแพ่งและทางวินัย จากการกระทำความผิดในโครงการนี้ก็ตาม แต่ในชั้นนี้กรณีดังกล่าวไม่เป็นเหตุที่จะเข้าเงื่อนไขในการงดการบังคับคดี ตามข้อ 131 แห่งระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543
ส่วนการทุเลาการบังคับคดีนั้น ไม่มีกฎหมายให้อำนาจศาลในการทุเลาการบังคับคดี ประกอบกับคดีนี้ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ตามมาตรา 73 วรรค 4 พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง 2542 ศาลจึงไม่อาจมีคำสั่งให้ทุเลาการบังคับคดีได้เช่นกัน
นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้าคณะทำงานศึกษาปัญหาสัญญาโฮปเวลล์ในคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร กล่าวกรณี ศาลปกครองกลางมีคำสั่งยกคำขอ ของกระทรวงคมนาคมและการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่ขอระงับ การบังคับคดี จ่ายค่าโง่โฮปเวลล์2.4 หมื่นล้าน ว่า เป็นคำร้องเก่าที่ได้เคยยื่นเอาไว้ ซึ่ง การที่ศาล ปกครอง มีคำพิพากษาดังกล่าวก็ จะยัง ไม่มีผล ให้เราต้องจ่ายเงิน เพราะหลังเรายื่นคำร้องนี้ต่อศาลปกครองแล้วมีประเด็นเพิ่มเข้ามาว่า ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่ามติที่ประชุมใหญ่ในศาลปกครองสูงสุด ที่เอามาใช้ในการวินิจฉัยคดีโฮปเวลล์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งหลังจากนี้คณะทำงานฯก็จะหารือว่าจะมีการดำเนินการอย่างไรซึ่งรวมถึงในเรื่องของการรื้อคดีใหม่ด้วย