พันธุ์ศักดิ์ ซาบุ
ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการติดตาม ตรวจสอบโครงการด้านดิจิทัล และการพัฒนาสู่สังคมดิจิทัลวิถีใหม่
สิ้นเดือนเมษายน 64 นี้ คณะกรรมการสรรหา กสทช. จะคลอด สเป็ก ผู้สมัคร กสทช. ซึ่งกฎหมายใหม่ได้วางหลักที่มาของ กสทช. จากบุคคล 3 ด้านคือ นักบริหาร (รองอธิบดีหรือรองกรรมการผู้จัดการบริษัทมหาชนขึ้นไป) นักวิชาการ (รองศาสตราจารย์หรือศาสตราขึ้นไป) และผู้เชี่ยวชาญวิชาชีพ (ทนายความหรือวิศวกร อาจจะเป็นทนายความชั้นหนึ่งหรือวุฒิวิศวกรขึ้นไป) ซึ่งคณะกรรการ กสทช. ก็มาจากบุคคล 3 กลุ่มนี้เช่นกัน โดยที่
กลุ่มผู้บริหาร มาจากมาตรา 14/1 (1) (2) และ (5) เป็นหรือเคยเป็นรองอธิบดีหรือรองกรรมการผู้จัดการบริษัทมหาชนขึ้นไป) นักวิชาการ (รองศาสตราจารย์หรือศาสตราขึ้นไป
กลุ่มนักวิชาการ มาจากมาตรา 14/1 (4) เป็นหรือเคยเป็นรองศาสตราจารย์ขึ้นไป
กลุ่มวิชาชีพ 14/1 (6) มีประสบการณ์ด้านกระจายเสียง โทรทัศน์ หรือโทรคมนาคมมาแล้วไม่น้อยกว่า 10 ปี (ซึ่งกลุ่มนี้ยังไม่กำหนดสเป็กว่าจะมีมาตรฐานสูงเหมือนด้านอื่นอย่างไร)
เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่คณะกรรมการสรรหาได้เลือกตำแหน่งในคณะกรรมการสรรหา คือ ท่านอาจารย์วิษณุ วรัญญู ว่าที่ประธานศาลปกครองในอนาคต นอกจากตงฉินตรงไปตรงมาแล้ว ยังเป็นคนที่อาจารย์ปิยบุตร ให้ความนับถือมาก และเป็นผู้ใหญ่คนหนึ่งที่ได้รับเชิญขึ้นกล่าวอวยพรในงานสมรส ประเด็นนี้ชี้ให้เห็นว่า ไม่มีใครสั่งได้แน่นอน พลิกโผหลายๆ สื่ออย่างชัดเจน โดยเฉพาะทหารที่กองทัพไม่เอาวิ่งหางานทำหรือทหารแก่หาที่ทำงานหลังเกษียณถ่วงความเจริญของบ้านเมือง
แม้ครั้งนี้เป็นครั้งที่สามที่ท่านเป็นเลขานุการคณะกรรมการสรรหาที่บางสื่อบ่นว่า ถูกตีตกสองรอบแล้วนั้น แล้วครั้งนี้จะไม่ถูกตีตกอีกหรืออย่างไร เรื่องนี้ต้องให้ความเห็นใจท่านและให้เวลาท่านจริงๆ เพราะต้องยอมรับว่าคณะกรรมการสรรหาไม่ใช่ผู้มีประสบการณ์ในวงการสื่อสารเลยนั่นก็เพื่อความเป็นกลาง และทุกท่านก็ไม่เคยใช้ พรบ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ แต่การที่ท่านอาจารย์วิษณุมีประสบการณ์ย่อมดีกว่าหาคนใหม่มาทำหน้าที่ ซึ่งเท่าที่ทราบจากแหล่งข่าวท่านก็ไม่ได้อยากมาเป็นเลย ตัวท่านเองอยากให้ประกาศรายชื่อผู้ผ่านคุณสมบัติก่อนด้วยซ้ำ และประเด็นสำคัญลักษณะต้องห้ามที่ผู้สมัครตกกันมากก็คือ “เป็นกรรมการ ผู้บริหาร ที่ปรึกษา นิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจกระจายเสียง โทรทัศน์หรือโทรคมนาคม” นิติบุคคลที่ว่านี้ ผู้เขียนเชื่อว่าการสรรหาคราวนี้การตีความสุขงอมแล้วว่า ไม่ใช่แค่เขียนในบริคณห์สนธิ ไม่ใช่ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการ แต่เป็นนิติบุคคลใดๆ ที่ประกอบธุรกิจสื่อสาร
เมื่อมององค์ประกอบคณะกรรมการสรรหาเป็นผู้มาจากความเป็นกลาง 7 ท่าน ประกอบไปด้วย ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้พิพากษาในศาลฎีกา ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้ตรวจการแผ่นดิน และผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
ผู้เขียน และคนในวงการสื่อหลายคนเดากระบวนทัศน์การเลือก กสทช. จากท่านทั้งหลายเลยว่ามีแนวโน้มอนุรักษ์นิยมเดิมๆ เราอยากได้คนยศถาบรรดาศักดิ์สูงๆ มาก่อน เรียนจบสูงๆ จากเมืองนอกเมืองนาค่านิยมโบราณ ก็ไม่พ้นได้คนเกษียณราชการ ไม่มีที่ให้คนรุ่นใหม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ
กสทช. ไม่ใช่องค์กรกึ่งตุลาการเหมือนองค์กรอิสระอื่นๆ ที่เน้นใช้ผู้อาวุโสในสังคมมาทำหน้าที่ แต่เจตนารมณ์ครั้งแรกที่รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน พ.ศ.2540 ให้ กสทช. เป็นองค์กรอิสระนั้น ก็เพื่อนำเทคโนโลยีสื่อสารพัฒนาประเทศอย่างรวดเร็ว ทั้งเขียนระเบียบเอง กำหนดงบประมาณเอง ไม่ใช่แค่ตัดสินข้อพิพาท แต่กำหนดนโยบายพัฒนาบ้านเมืองร่วมด้วย โดยไม่ขึ้นกับรัฐบาล เพราะระบบราชการนั้นชักช้ารัฐจะปรับตัวไม่ทัน
เมื่อเข้าใจบริทที่มาองค์กรแห่งนี้ จะเห็นได้ว่าบ้านเราต้องการผู้เชี่ยวชาญในวงการสื่อสารจริงๆ ไม่ใช่อุปโลกน์มาเชี่ยวชาญ กฎหมายเดิมให้คนในวงการสื่อสารด้วยกันเลือกกันมาเอง เช่น สมาคมวิทยุ สมาคมโทรคม นับสิบนับร้อยสมาคมยากแก่การล็อบบี้ เห็นหน้ากันมาเป็นสิบๆ ปี ขึ้นเวทีมาเป็นร้อยๆ ทำงานในวงการมานานคนในวงการยอมรับก็เลือกกันเองส่งวุฒิสภา แต่หลังรัฐประหารแก้กฎหมายดึงอำนาจประชาชนไปให้กรรมการสรรหาหวังจะล็อบบี้ง่ายขึ้น ซึ่งแน่นอนถ้าให้คนในวงการเลือกกันเอง ย่อมได้ผลแตกต่างจากกรรมการสรรหาเลือกแน่นอน เราเชื่อกันหรือไม่ว่าคณะกรรมการสรรหาเปิดคอมพิวเตอร์เป็นกันทุกคน (ขออภัยเป็นการเปรียบเปรยเท่านั้น) ยังไม่ต้องพูดเรื่องจะมองใครออกว่า คือผู้ที่วงการสื่อสารยอมรับ นอกจากดูที่วุฒิการศึกษา และตำแหน่งสูงๆ จากระบบราชการมาเป็นที่ตั้งในการเลือก
ความหวังที่คนไทยจะได้เห็น กสทช. เป็นคนรุ่นใหม่ขึ้นเวทีเป็นผู้นำเทคโนโลยีการสื่อสารล้ำหน้าพัฒนาประเทศ ไม่ใช่นายพลแก่ๆ หรืออธิบดีกรมอะไรก็ไม่รู้ ก้มหน้าเงียบพูดอะไรก็ได้แต่ห้ามถามเรื่องเทคโนโลยีล้ำสมัย ความเชื่อมั่นของคนในวงการเป็นเรื่องสำคัญของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ มีนักธุรกิจ นักศึกษา คนรุ่นใหม่ ที่ไหนเหรอชอบอธิบดีแก่ๆ ชอบนายพลแก่ๆ แซวเล่นนะครับ แค่ฝากความหวังไว้กับคณะกรรมการสรรหาทุกท่านครับ
ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการติดตาม ตรวจสอบโครงการด้านดิจิทัล และการพัฒนาสู่สังคมดิจิทัลวิถีใหม่
สิ้นเดือนเมษายน 64 นี้ คณะกรรมการสรรหา กสทช. จะคลอด สเป็ก ผู้สมัคร กสทช. ซึ่งกฎหมายใหม่ได้วางหลักที่มาของ กสทช. จากบุคคล 3 ด้านคือ นักบริหาร (รองอธิบดีหรือรองกรรมการผู้จัดการบริษัทมหาชนขึ้นไป) นักวิชาการ (รองศาสตราจารย์หรือศาสตราขึ้นไป) และผู้เชี่ยวชาญวิชาชีพ (ทนายความหรือวิศวกร อาจจะเป็นทนายความชั้นหนึ่งหรือวุฒิวิศวกรขึ้นไป) ซึ่งคณะกรรการ กสทช. ก็มาจากบุคคล 3 กลุ่มนี้เช่นกัน โดยที่
กลุ่มผู้บริหาร มาจากมาตรา 14/1 (1) (2) และ (5) เป็นหรือเคยเป็นรองอธิบดีหรือรองกรรมการผู้จัดการบริษัทมหาชนขึ้นไป) นักวิชาการ (รองศาสตราจารย์หรือศาสตราขึ้นไป
กลุ่มนักวิชาการ มาจากมาตรา 14/1 (4) เป็นหรือเคยเป็นรองศาสตราจารย์ขึ้นไป
กลุ่มวิชาชีพ 14/1 (6) มีประสบการณ์ด้านกระจายเสียง โทรทัศน์ หรือโทรคมนาคมมาแล้วไม่น้อยกว่า 10 ปี (ซึ่งกลุ่มนี้ยังไม่กำหนดสเป็กว่าจะมีมาตรฐานสูงเหมือนด้านอื่นอย่างไร)
เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่คณะกรรมการสรรหาได้เลือกตำแหน่งในคณะกรรมการสรรหา คือ ท่านอาจารย์วิษณุ วรัญญู ว่าที่ประธานศาลปกครองในอนาคต นอกจากตงฉินตรงไปตรงมาแล้ว ยังเป็นคนที่อาจารย์ปิยบุตร ให้ความนับถือมาก และเป็นผู้ใหญ่คนหนึ่งที่ได้รับเชิญขึ้นกล่าวอวยพรในงานสมรส ประเด็นนี้ชี้ให้เห็นว่า ไม่มีใครสั่งได้แน่นอน พลิกโผหลายๆ สื่ออย่างชัดเจน โดยเฉพาะทหารที่กองทัพไม่เอาวิ่งหางานทำหรือทหารแก่หาที่ทำงานหลังเกษียณถ่วงความเจริญของบ้านเมือง
แม้ครั้งนี้เป็นครั้งที่สามที่ท่านเป็นเลขานุการคณะกรรมการสรรหาที่บางสื่อบ่นว่า ถูกตีตกสองรอบแล้วนั้น แล้วครั้งนี้จะไม่ถูกตีตกอีกหรืออย่างไร เรื่องนี้ต้องให้ความเห็นใจท่านและให้เวลาท่านจริงๆ เพราะต้องยอมรับว่าคณะกรรมการสรรหาไม่ใช่ผู้มีประสบการณ์ในวงการสื่อสารเลยนั่นก็เพื่อความเป็นกลาง และทุกท่านก็ไม่เคยใช้ พรบ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ แต่การที่ท่านอาจารย์วิษณุมีประสบการณ์ย่อมดีกว่าหาคนใหม่มาทำหน้าที่ ซึ่งเท่าที่ทราบจากแหล่งข่าวท่านก็ไม่ได้อยากมาเป็นเลย ตัวท่านเองอยากให้ประกาศรายชื่อผู้ผ่านคุณสมบัติก่อนด้วยซ้ำ และประเด็นสำคัญลักษณะต้องห้ามที่ผู้สมัครตกกันมากก็คือ “เป็นกรรมการ ผู้บริหาร ที่ปรึกษา นิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจกระจายเสียง โทรทัศน์หรือโทรคมนาคม” นิติบุคคลที่ว่านี้ ผู้เขียนเชื่อว่าการสรรหาคราวนี้การตีความสุขงอมแล้วว่า ไม่ใช่แค่เขียนในบริคณห์สนธิ ไม่ใช่ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการ แต่เป็นนิติบุคคลใดๆ ที่ประกอบธุรกิจสื่อสาร
เมื่อมององค์ประกอบคณะกรรมการสรรหาเป็นผู้มาจากความเป็นกลาง 7 ท่าน ประกอบไปด้วย ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้พิพากษาในศาลฎีกา ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้ตรวจการแผ่นดิน และผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
ผู้เขียน และคนในวงการสื่อหลายคนเดากระบวนทัศน์การเลือก กสทช. จากท่านทั้งหลายเลยว่ามีแนวโน้มอนุรักษ์นิยมเดิมๆ เราอยากได้คนยศถาบรรดาศักดิ์สูงๆ มาก่อน เรียนจบสูงๆ จากเมืองนอกเมืองนาค่านิยมโบราณ ก็ไม่พ้นได้คนเกษียณราชการ ไม่มีที่ให้คนรุ่นใหม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ
กสทช. ไม่ใช่องค์กรกึ่งตุลาการเหมือนองค์กรอิสระอื่นๆ ที่เน้นใช้ผู้อาวุโสในสังคมมาทำหน้าที่ แต่เจตนารมณ์ครั้งแรกที่รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน พ.ศ.2540 ให้ กสทช. เป็นองค์กรอิสระนั้น ก็เพื่อนำเทคโนโลยีสื่อสารพัฒนาประเทศอย่างรวดเร็ว ทั้งเขียนระเบียบเอง กำหนดงบประมาณเอง ไม่ใช่แค่ตัดสินข้อพิพาท แต่กำหนดนโยบายพัฒนาบ้านเมืองร่วมด้วย โดยไม่ขึ้นกับรัฐบาล เพราะระบบราชการนั้นชักช้ารัฐจะปรับตัวไม่ทัน
เมื่อเข้าใจบริทที่มาองค์กรแห่งนี้ จะเห็นได้ว่าบ้านเราต้องการผู้เชี่ยวชาญในวงการสื่อสารจริงๆ ไม่ใช่อุปโลกน์มาเชี่ยวชาญ กฎหมายเดิมให้คนในวงการสื่อสารด้วยกันเลือกกันมาเอง เช่น สมาคมวิทยุ สมาคมโทรคม นับสิบนับร้อยสมาคมยากแก่การล็อบบี้ เห็นหน้ากันมาเป็นสิบๆ ปี ขึ้นเวทีมาเป็นร้อยๆ ทำงานในวงการมานานคนในวงการยอมรับก็เลือกกันเองส่งวุฒิสภา แต่หลังรัฐประหารแก้กฎหมายดึงอำนาจประชาชนไปให้กรรมการสรรหาหวังจะล็อบบี้ง่ายขึ้น ซึ่งแน่นอนถ้าให้คนในวงการเลือกกันเอง ย่อมได้ผลแตกต่างจากกรรมการสรรหาเลือกแน่นอน เราเชื่อกันหรือไม่ว่าคณะกรรมการสรรหาเปิดคอมพิวเตอร์เป็นกันทุกคน (ขออภัยเป็นการเปรียบเปรยเท่านั้น) ยังไม่ต้องพูดเรื่องจะมองใครออกว่า คือผู้ที่วงการสื่อสารยอมรับ นอกจากดูที่วุฒิการศึกษา และตำแหน่งสูงๆ จากระบบราชการมาเป็นที่ตั้งในการเลือก
ความหวังที่คนไทยจะได้เห็น กสทช. เป็นคนรุ่นใหม่ขึ้นเวทีเป็นผู้นำเทคโนโลยีการสื่อสารล้ำหน้าพัฒนาประเทศ ไม่ใช่นายพลแก่ๆ หรืออธิบดีกรมอะไรก็ไม่รู้ ก้มหน้าเงียบพูดอะไรก็ได้แต่ห้ามถามเรื่องเทคโนโลยีล้ำสมัย ความเชื่อมั่นของคนในวงการเป็นเรื่องสำคัญของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ มีนักธุรกิจ นักศึกษา คนรุ่นใหม่ ที่ไหนเหรอชอบอธิบดีแก่ๆ ชอบนายพลแก่ๆ แซวเล่นนะครับ แค่ฝากความหวังไว้กับคณะกรรมการสรรหาทุกท่านครับ