ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์
สาขาวิชา Business Analytics and Data Science
สาขาวิชา Actuarial Science and Risk Management
คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
เห็นอาจารย์แพทย์หิวแสงแห่งสามย่าน ออกมาพูดว่าวัคซีนโควิด-19 ไม่ได้ผล โจมตีสารพัด หาว่า vaccine effectiveness ต่ำมาก สร้างความปั่นป่วนไปมากมาย จนคณะแพทย์แถวสามย่านต้องออกมาแถลง
ผมอยากจะเรียนในสาธารณชนได้ทราบในฐานะของนักสถิติ มีความรู้ด้านวิทยาการประกันภัย และระบาดวิทยาดังนี้
หนึ่ง การอ่านเปเปอร์ทางการแพทย์ และสาขาอื่น ๆ ต้องอ่านโดยใช้วิจารณญาณอย่างรอบคอบ ไม่กระโดดงับลงไปหลงเชื่อโดยขาดสติปัญญาไตร่ตรอง ต้องวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งในการทำวิจัยของแต่ละเปเปอร์ให้ถ่องแท้อย่างคนมีความรู้เสียก่อน
สอง การอ่านเปเปอร์ทางการแพทย์ อ่านเปเปอร์เดียวไม่ได้ ต้องอ่านหลายเปเปอร์ เปรียบเทียบกัน และพิจารณาความแตกต่างและสาเหตุที่ทำให้ผลการวิจัยหรือการทดลองแตกต่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องใหม่ ๆ เช่นวัคซีนของโรคอุบัติใหม่
สาม การทำวิจัยทางการแพทย์ต้องสามารถทำซ้ำได้ (Replicability) ข้อนี้เป็นจุดแข็งของวงการแพทย์ วิธีการใดไม่ได้ผลในการป้องกันรักษาเมื่อไปทำซ้ำจะค่อยไม่ได้รับการยอมรับไป การทดลองซ้ำจึงเป็นเรื่องปกติในวงการแพทย์และตีพิมพ์ได้ ไม่ได้เป็น artifact แบบสายสังคมศาสตร์ที่ไม่นิยมการทำซ้ำ แต่ชอบเรื่องแปลกใหม่ตื่นเต้น ตีความกันเอาเอง แต่ทำซ้ำไม่ได้ แบบนี้ทางการแพทย์ไม่ยอมรับ
สี่ หากจะชี้ขาด ต้องสังเคราะห์งานวิจัยเชิงปริมาณ (Meta-analysis) หรือการทบทวนอย่างเป็นระบบ (Systematic review) เพื่อศึกษาว่าปัจจัยใจกำกับความสัมพันธ์ (Moderator) ทำให้เกิดผลการวิจัยที่หลากหลายมีความแปรปรวน ต้องอธิบายให้ได้ว่าได้ผลหรือไม่ได้ผล แตกต่างนั้นมาจากสาเหตุใด ต้องเอางานวิจัยหลายชิ้นมาสังเคราะห์รวมกันอีกครั้งหนึ่ง
งานวิจัย vaccine effectiveness ก็ควรเดินตามแนวทางนี้ แต่ First of all, do no harm โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต้องไม่หิวแสง ฟันธงตามเปเปอร์เดียว จนทำให้ประชาชนตื่นกลัวแล้วไม่เข้าร่วมฉีดวัคซีนจนไม่เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ (herd immunity) จนทำให้เป็นภัยความมั่นคงทางสุขภาพ
ปล. มือไม่พายอย่าเอาตีนราน้ำแบบโง่ๆ หิวแสง