กบอ.หารือติดตามความคืบหน้าการลงทุนในพื้นที่ “อีอีซี” พิจารณาแผนพัฒนา “เมืองพัทยา” โฉมใหม่ ยกระดับเป็นศูนย์กลางท่องเที่ยว ปลื้มผลสำเร็จดึง “โซนี่ พิคเจอร์ฯ” ปักธงเลือกเปิดสวนน้ำแห่งแรกของโลกในอีอีซี เชื่อกระตุ้นการเติบโตก้าวกระโดด
วานนี้ (8 เม.ย.) นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออก (อีอีซี) เปิดเผยหลังการประชุมคณะอนุกรรมการฯ ครั้งที่ 2/2564 ที่มี นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกฯ และ รมว.พลังงานเป็นประธานว่า ที่ประชุมได้รับทราบ และพิจารณาความก้าวหน้าการดำเนินงานในอีอีซี ที่สำคัญได้แก่ แผนพัฒนาเมืองพัทยา ตามแนวทางพัทยาโฉมใหม่ NEO PATTAYA เน้นการพัฒนาพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวสู่ศูนย์กลางธุรกิจแห่งใหม่ บูรณาการร่วมกันระหว่าง รัฐ ท้องถิ่น เอกชน และอนาคตจะขยายผลสู่เขตส่งเสริมพิเศษแหล่งท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดี และท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในอีอีซี โดยประกอบด้วย 3 แผนงาน ได้แก่
1.แผนพัฒนาพื้นที่และแหล่งท่องเที่ยวเมืองพัทยา ส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวปัจจุบัน ให้ได้มาตรฐานสากล ได้แก่ พัฒนาตลาดลานโพธิ์นาเกลือ (Old Town นาเกลือ) เป็นเส้นทางท่องเที่ยววิถีชุมชน คู่กับเป็นตลาดอาหารทะเลชั้นนำของอีอีซี ซึ่งเบื้องต้น สกพอ. ร่วมกับเมืองพัทยาทำเป็นโครงการนำร่อง Neo PATTAYA พัฒนาพื้นที่ท่าเรือพัทยาใต้ และเขาพัทยา รวมทั้งโครงการก่อสร้างสนามกีฬาแห่งชาติภาคตะวันออก รองรับแข่งขันกีฬาระดับสากล และ โครงการ Neo เกาะล้าน พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ สร้างรายได้สู่ชุมชนอย่างยั่งยืน
2.แผนพัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่งเมืองพัทยาให้ได้มาตรฐานสากล อาทิ เชื่อมต่อสถานีรถไฟความเร็วสูง และรถไฟทางคู่ เพิ่มสัดส่วนการเดินทางระบบราง พัฒนาท่าเทียบเรือพัทยาใต้ ท่าเรือสำราญ ให้เป็นศูนย์กลางเดินทางทะเล เพื่อเป็นประตูแห่งใหม่ของอีอีซี
และ 3.แผนพัฒนาระบบระบายน้ำ บำบัดน้ำเสีย เพิ่มโครงข่ายและขนาดท่อระบายน้ำ แก้ไขปัญหาน้ำท่วม แยกระบบระบายน้ำและระบบบำบัดน้ำเสีย ลดการปล่อยน้ำเสียลงสู่ทะเล
นอกจากนี้ ยังรับทราบการสร้างความมั่นใจดึงดูดการลงทุนและนักท่องเที่ยวต่างชาติ จากการที่ โซนี่ พิคเจอร์ส เอ็นเตอร์เทนเมนต์ ผู้ผลิตภาพยนตร์ระดับโลก ร่วมกับบริษัท อเมซอน ฟอลส์ จำกัด ประกาศนำสวนสนุก และสวนน้ำ ในธีมภาพยนตร์ชื่อดังของโคลัมเบีย พิคเจอร์ อาทิ โกสต์บัสเตอร์ส, จูแมนจี้, เอ็มไอบี และโฮเทลทรานซิลเวเนีย มาเปิดในพื้นที่อีอีซี เป็นแห่งแรกของโลก ภายใต้ชื่อโคลัมเบีย พิคเจอร์ส อควาเวิร์ส ซึ่งจะเปิดแนะนำตัวเดือน ต.ค.64
"โครงการนี้ถือเป็นความภาคภูมิใจ และเป็นผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม ที่อีอีซีได้เชิญชวนให้เข้ามาลงทุนในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา และมั่นใจว่าจะเป็นจุดสำคัญ พลิกโฉมกระตุ้นการเติบโตอย่างรวดเร็ว อีกทั้งจะเป็นจุดเปลี่ยนในการสร้างมาตรฐานใหม่ให้กับความบันเทิงแบบ Immersive Entertainmentในอีอีซี และเป็นองค์ประกอบหลักในแผนพัฒนาเมืองอัจฉริยะด้วย" นายคณิศ กล่าว
ขณะเดียวกันที่ประชุมยังได้รับทราบการผลักดันใช้ประโยชน์เทคโนโลยี 5G และการจัดหาพลังงานสะอาดในพื้นที่อีอีซี มีการดำเนินงานที่สำคัญ อาทิ การติดตั้งท่อ เสา สาย สัญญาณ ให้บริการ 5G ในพื้นที่มากกว่า 80% ส่วนการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ กำลังผลิต 50 เมกะวัตต์ นำร่องทดลองในลักษณะพลังงานอัจฉริยะ และการผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้เองรองรับการพัฒนาสมาร์ทซิตี้ รวมไปถึงรับทราบ แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG Model) เพื่อให้อีอีซีก้าวสู่พื้นที่ปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ของภาคอุตสาหกรรมแห่งแรกในภูมิภาคด้วย
วานนี้ (8 เม.ย.) นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออก (อีอีซี) เปิดเผยหลังการประชุมคณะอนุกรรมการฯ ครั้งที่ 2/2564 ที่มี นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกฯ และ รมว.พลังงานเป็นประธานว่า ที่ประชุมได้รับทราบ และพิจารณาความก้าวหน้าการดำเนินงานในอีอีซี ที่สำคัญได้แก่ แผนพัฒนาเมืองพัทยา ตามแนวทางพัทยาโฉมใหม่ NEO PATTAYA เน้นการพัฒนาพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวสู่ศูนย์กลางธุรกิจแห่งใหม่ บูรณาการร่วมกันระหว่าง รัฐ ท้องถิ่น เอกชน และอนาคตจะขยายผลสู่เขตส่งเสริมพิเศษแหล่งท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดี และท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในอีอีซี โดยประกอบด้วย 3 แผนงาน ได้แก่
1.แผนพัฒนาพื้นที่และแหล่งท่องเที่ยวเมืองพัทยา ส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวปัจจุบัน ให้ได้มาตรฐานสากล ได้แก่ พัฒนาตลาดลานโพธิ์นาเกลือ (Old Town นาเกลือ) เป็นเส้นทางท่องเที่ยววิถีชุมชน คู่กับเป็นตลาดอาหารทะเลชั้นนำของอีอีซี ซึ่งเบื้องต้น สกพอ. ร่วมกับเมืองพัทยาทำเป็นโครงการนำร่อง Neo PATTAYA พัฒนาพื้นที่ท่าเรือพัทยาใต้ และเขาพัทยา รวมทั้งโครงการก่อสร้างสนามกีฬาแห่งชาติภาคตะวันออก รองรับแข่งขันกีฬาระดับสากล และ โครงการ Neo เกาะล้าน พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ สร้างรายได้สู่ชุมชนอย่างยั่งยืน
2.แผนพัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่งเมืองพัทยาให้ได้มาตรฐานสากล อาทิ เชื่อมต่อสถานีรถไฟความเร็วสูง และรถไฟทางคู่ เพิ่มสัดส่วนการเดินทางระบบราง พัฒนาท่าเทียบเรือพัทยาใต้ ท่าเรือสำราญ ให้เป็นศูนย์กลางเดินทางทะเล เพื่อเป็นประตูแห่งใหม่ของอีอีซี
และ 3.แผนพัฒนาระบบระบายน้ำ บำบัดน้ำเสีย เพิ่มโครงข่ายและขนาดท่อระบายน้ำ แก้ไขปัญหาน้ำท่วม แยกระบบระบายน้ำและระบบบำบัดน้ำเสีย ลดการปล่อยน้ำเสียลงสู่ทะเล
นอกจากนี้ ยังรับทราบการสร้างความมั่นใจดึงดูดการลงทุนและนักท่องเที่ยวต่างชาติ จากการที่ โซนี่ พิคเจอร์ส เอ็นเตอร์เทนเมนต์ ผู้ผลิตภาพยนตร์ระดับโลก ร่วมกับบริษัท อเมซอน ฟอลส์ จำกัด ประกาศนำสวนสนุก และสวนน้ำ ในธีมภาพยนตร์ชื่อดังของโคลัมเบีย พิคเจอร์ อาทิ โกสต์บัสเตอร์ส, จูแมนจี้, เอ็มไอบี และโฮเทลทรานซิลเวเนีย มาเปิดในพื้นที่อีอีซี เป็นแห่งแรกของโลก ภายใต้ชื่อโคลัมเบีย พิคเจอร์ส อควาเวิร์ส ซึ่งจะเปิดแนะนำตัวเดือน ต.ค.64
"โครงการนี้ถือเป็นความภาคภูมิใจ และเป็นผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม ที่อีอีซีได้เชิญชวนให้เข้ามาลงทุนในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา และมั่นใจว่าจะเป็นจุดสำคัญ พลิกโฉมกระตุ้นการเติบโตอย่างรวดเร็ว อีกทั้งจะเป็นจุดเปลี่ยนในการสร้างมาตรฐานใหม่ให้กับความบันเทิงแบบ Immersive Entertainmentในอีอีซี และเป็นองค์ประกอบหลักในแผนพัฒนาเมืองอัจฉริยะด้วย" นายคณิศ กล่าว
ขณะเดียวกันที่ประชุมยังได้รับทราบการผลักดันใช้ประโยชน์เทคโนโลยี 5G และการจัดหาพลังงานสะอาดในพื้นที่อีอีซี มีการดำเนินงานที่สำคัญ อาทิ การติดตั้งท่อ เสา สาย สัญญาณ ให้บริการ 5G ในพื้นที่มากกว่า 80% ส่วนการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ กำลังผลิต 50 เมกะวัตต์ นำร่องทดลองในลักษณะพลังงานอัจฉริยะ และการผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้เองรองรับการพัฒนาสมาร์ทซิตี้ รวมไปถึงรับทราบ แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG Model) เพื่อให้อีอีซีก้าวสู่พื้นที่ปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ของภาคอุตสาหกรรมแห่งแรกในภูมิภาคด้วย