ผู้จัดการรายวัน360 - ครม.อนุมัติผลประมูล ท่าเรือแหลมฉบังเฟส3 ท่าเทียบเรือ F โดยเห็นชอบผลประโยชน์ตอบแทนทางการเงินขั้นต่ำที่รัฐจะได้รับ ค่าสัมปทานคงที่ 29,050 ล้านบาท อีอีซียันผลตอบแทนครอบคลุมความเสี่ยงได้ ด้านกทท.คาด เซ็นสัญญา กลุ่ม GPC ใน 2 เดือน
น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุม คณะรัฐมนตรี(ครม.) วานนี้ (7 เม.ย.) ได้อนุมัติผลประโยชน์ตอบแทนทางการเงินขั้นต่ำที่ภาครัฐจะได้รับของโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง (ทลฉ.) ระยะที่ 1 ในส่วนของท่าเทียบเรือ F ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(สกพอ.) เสนอโดยค่าสัมปทานคงที่เท่ากับมูลค่าปัจจุบันสุทธิ(NPV)ที่ 29,050 ล้านบาท และค่าสัมปทานผันแปร ที่ 100 บาทต่อทีอียู ซึ่งค่าสัมปทานคงที่ดังกล่าวต่ำกว่าผลประโยชน์ตอบแทนที่รัฐคาดหมายตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2561 มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) ประมาณ 32,225 ล้านบาท
ทั้งนี้ สกพอ.รายงานว่า ในการเปิดเชิญชวนให้เอกชนร่วมลงทุนครั้งที่ 1 มีมายื่นเอกสารข้อเสนอ 1 ราย แต่ขาดหลักประกันซอง คณะกรรมการคัดเลือกฯจึงมีมติว่าไม่ผ่านการประเมิน ส่วนครั้งที่ 2 มีเอกชนยื่นข้อเสนอ 2 ราย มีผู้ผ่านการประเมิน 1 รายคือกลุ่มกิจการร่วมค้า GPC ประกอบด้วย บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) บริษัท พีทีที แทงค์ เทอร์มินัล จำกัด (PTT TANK) บริษัท ไชน่า ฮาร์เบอร์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด
โดยการประเมินข้อเสนอซองที่ 4 ด้านผลประโยชน์ตอบแทนนั้น กลุ่มกิจการร่วมค้า GPC ได้เสนอให้ค่าสัมปทานคงที่คิดเป็นมูลค่าปัจจุบันสุทธิ(NPV) ที่ 12,051 ล้านบาท และค่าสัมปทานผันแปรที่ 100 บาทต่อทีอียู ซึ่งค่าสัมปทานคงที่ดังกล่าวต่ำกว่าที่รัฐคาดหมายตามมติคณะรัฐมนตรี คณะกรรมการคัดเลือกฯจึงได้เจรจาผลประโยชน์ตอบแทนทางการเงินกับกลุ่มกิจการร่วมค้าGPC จำนวน6 ครั้ง โดยข้อเสนอสุดท้ายอยู่ที่ค่าสัมปทานคงที่ 29,050 ล้านบาทและค่าสัมปทานผันแปรคงเดิมที่ 100 บาทต่อทีอียู
ขณะเดียวกันทางการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) และสกพอ.ได้เสนอความเห็นร่วมกันว่า ผลตอบแทนโครงการเฉพาะส่วนของท่าเทียบเรือF จะมีอัตราผลตอบแทนทางการเงิน(FIRR)อยู่ที่ร้อยละ 11.01 และมีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ(NPV ) อยู่ที่ 30,032 ล้านบาทและหากนำมูลค่าที่ดินของการท่าเรือแห่งประเทศไทยมาคำนวณเป็นมูลค่าสุดท้าย(Terminal Value) จะมีอัตราผลตอบแทนทางการเงินอยู่ที่ร้อยละ 11.54 และมีมูลค่าปัจจุบันสุทธิอยู่ที่ 39,959 ล้านบาท ซึ่งอยู่ในระดับที่ดีสำหรับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่
ส่วนความเสี่ยงด้านผลตอบแทนต่อเงินลงทุนของการท่าเรือฯ นั้น เนื่องจากมูลค่าเงินลงทุนก่อสร้างโครงการพัฒนาท่าเรือแหลงฉบัง ระยะที่ 3 ต่ำกว่าวงเงินลงทุนที่ได้ประมาณการไว้ รวม5,161.06 ล้านบาท ทำให้มูลค่าการลงทุนท่าเทียบเรือ F เหลือ13,786.67 ล้านบาท จากเดิม 15,954.74 ล้านบาท ส่งผลให้ต้นทุนของการลงทุนของการท่าเรือฯ ในส่วนของท่าเรือ F ตามหลักการการคำนวณเป็น 27,845 ล้านบาท
ดังนั้น ข้อเสนอสัมปทานคงที่ของเอกชนจึงครอบคลุมความเสี่ยงด้านผลตอบแทนต่อเงินลงทุนของการท่าเรือฯได้
เรือโทกมลศักดิ์ พรหมประยูร ผู้อำนวยการ กทท.กล่าวว่าขั้นตอนหลังจากครม.เห็นชอบ คาดว่าจะใช้เวลาอีกประมาณ 2 เดือน จะสามารถลงนามสัญญากับกลุ่มGPC ได้ โดยหลังจากนี้ คณะกรรมการคัดเลือกฯจะพิจารณาร่างสัญญาร่วมกับเอกชนอีกครั้ง ควบคู่กับการเปิดเอกสารข้อเสนอซองที่ 5 (ข้อเสนอทางเทคนิคเพิ่มเติม) ซึ่งไม่มีผลต่อการพิจารณาแล้ว จากนั้นส่งร่างสัญญาให้อัยการสูงสุดตรวจสอบ และเสนอ กพอ.อนุมัติก่อนลงนามสัญญา โดยหลังลงนามกลุ่มGPC จะรับผิดชอบดำเนินการเรื่อง EIA ให้แล้วเสร็จใน1 ปี และก่อสร้างใน4 ปี
น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุม คณะรัฐมนตรี(ครม.) วานนี้ (7 เม.ย.) ได้อนุมัติผลประโยชน์ตอบแทนทางการเงินขั้นต่ำที่ภาครัฐจะได้รับของโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง (ทลฉ.) ระยะที่ 1 ในส่วนของท่าเทียบเรือ F ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(สกพอ.) เสนอโดยค่าสัมปทานคงที่เท่ากับมูลค่าปัจจุบันสุทธิ(NPV)ที่ 29,050 ล้านบาท และค่าสัมปทานผันแปร ที่ 100 บาทต่อทีอียู ซึ่งค่าสัมปทานคงที่ดังกล่าวต่ำกว่าผลประโยชน์ตอบแทนที่รัฐคาดหมายตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2561 มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) ประมาณ 32,225 ล้านบาท
ทั้งนี้ สกพอ.รายงานว่า ในการเปิดเชิญชวนให้เอกชนร่วมลงทุนครั้งที่ 1 มีมายื่นเอกสารข้อเสนอ 1 ราย แต่ขาดหลักประกันซอง คณะกรรมการคัดเลือกฯจึงมีมติว่าไม่ผ่านการประเมิน ส่วนครั้งที่ 2 มีเอกชนยื่นข้อเสนอ 2 ราย มีผู้ผ่านการประเมิน 1 รายคือกลุ่มกิจการร่วมค้า GPC ประกอบด้วย บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) บริษัท พีทีที แทงค์ เทอร์มินัล จำกัด (PTT TANK) บริษัท ไชน่า ฮาร์เบอร์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด
โดยการประเมินข้อเสนอซองที่ 4 ด้านผลประโยชน์ตอบแทนนั้น กลุ่มกิจการร่วมค้า GPC ได้เสนอให้ค่าสัมปทานคงที่คิดเป็นมูลค่าปัจจุบันสุทธิ(NPV) ที่ 12,051 ล้านบาท และค่าสัมปทานผันแปรที่ 100 บาทต่อทีอียู ซึ่งค่าสัมปทานคงที่ดังกล่าวต่ำกว่าที่รัฐคาดหมายตามมติคณะรัฐมนตรี คณะกรรมการคัดเลือกฯจึงได้เจรจาผลประโยชน์ตอบแทนทางการเงินกับกลุ่มกิจการร่วมค้าGPC จำนวน6 ครั้ง โดยข้อเสนอสุดท้ายอยู่ที่ค่าสัมปทานคงที่ 29,050 ล้านบาทและค่าสัมปทานผันแปรคงเดิมที่ 100 บาทต่อทีอียู
ขณะเดียวกันทางการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) และสกพอ.ได้เสนอความเห็นร่วมกันว่า ผลตอบแทนโครงการเฉพาะส่วนของท่าเทียบเรือF จะมีอัตราผลตอบแทนทางการเงิน(FIRR)อยู่ที่ร้อยละ 11.01 และมีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ(NPV ) อยู่ที่ 30,032 ล้านบาทและหากนำมูลค่าที่ดินของการท่าเรือแห่งประเทศไทยมาคำนวณเป็นมูลค่าสุดท้าย(Terminal Value) จะมีอัตราผลตอบแทนทางการเงินอยู่ที่ร้อยละ 11.54 และมีมูลค่าปัจจุบันสุทธิอยู่ที่ 39,959 ล้านบาท ซึ่งอยู่ในระดับที่ดีสำหรับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่
ส่วนความเสี่ยงด้านผลตอบแทนต่อเงินลงทุนของการท่าเรือฯ นั้น เนื่องจากมูลค่าเงินลงทุนก่อสร้างโครงการพัฒนาท่าเรือแหลงฉบัง ระยะที่ 3 ต่ำกว่าวงเงินลงทุนที่ได้ประมาณการไว้ รวม5,161.06 ล้านบาท ทำให้มูลค่าการลงทุนท่าเทียบเรือ F เหลือ13,786.67 ล้านบาท จากเดิม 15,954.74 ล้านบาท ส่งผลให้ต้นทุนของการลงทุนของการท่าเรือฯ ในส่วนของท่าเรือ F ตามหลักการการคำนวณเป็น 27,845 ล้านบาท
ดังนั้น ข้อเสนอสัมปทานคงที่ของเอกชนจึงครอบคลุมความเสี่ยงด้านผลตอบแทนต่อเงินลงทุนของการท่าเรือฯได้
เรือโทกมลศักดิ์ พรหมประยูร ผู้อำนวยการ กทท.กล่าวว่าขั้นตอนหลังจากครม.เห็นชอบ คาดว่าจะใช้เวลาอีกประมาณ 2 เดือน จะสามารถลงนามสัญญากับกลุ่มGPC ได้ โดยหลังจากนี้ คณะกรรมการคัดเลือกฯจะพิจารณาร่างสัญญาร่วมกับเอกชนอีกครั้ง ควบคู่กับการเปิดเอกสารข้อเสนอซองที่ 5 (ข้อเสนอทางเทคนิคเพิ่มเติม) ซึ่งไม่มีผลต่อการพิจารณาแล้ว จากนั้นส่งร่างสัญญาให้อัยการสูงสุดตรวจสอบ และเสนอ กพอ.อนุมัติก่อนลงนามสัญญา โดยหลังลงนามกลุ่มGPC จะรับผิดชอบดำเนินการเรื่อง EIA ให้แล้วเสร็จใน1 ปี และก่อสร้างใน4 ปี