สภาองค์การนายจ้างชี้ การว่างงานเลยพ้นจุดต่ำสุดแล้ว แนวโน้มทยอยฟื้นตัวดีขึ้นจาก 3 ปัจจัย ทั้งศก.โลกเริ่มขยับ ผลจากเริ่มฉีดวัคซีนโควิด-19 ส่งออกดีขึ้น มาตรการรัฐอัดฉีดแรงงาน หนุนมาตรการคนละครึ่งเฟส 3 แนะรัฐวางไทม์ไลน์ฉีดวัคซีนคนไทย
นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย (อีคอนไทย) เปิดเผยว่า อัตราการว่างงานของไทยในเดือนต.ค.63 ถือเป็นจุดต่ำสุด และขณะนี้มีสัญญาณจ้างงานเริ่มทยอยฟื้นตัวมากขึ้น โดยมาจาก 3 ปัจจัยหลักได้แก่ 1. ศก.โลกเริ่มฟื้นตัว จากการเริ่มทยอยฉีดวัคซีนโควิด-19 และเร่งอัดเงินเพื่อฟื้นฟูศก. เช่น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป 2. การส่งออกของไทยเดือนก.พ.64 เริ่มเป็นบวก1.78% แม้ 2 เดือนแรก (ม.ค.-ก.พ.) จะติดลบ แต่พบว่ามีการนำเข้าโดยเฉพาะเครื่องจักรโต 2.39% วัตถุดิบ 24.4% บ่งชี้สต็อกสินค้าเริ่มหมดลงทำให้ภาคผลิตเริ่มกลับมาผลิตเพิ่มขึ้น 3. มาตรการกระตุ้นศก.ของรัฐ ที่มีส่วนช่วยหนุนกำลังซื้อคนในประเทศ โดยเฉพาะโครงการคนละครึ่ง ที่ได้รับความนิยมจากประชาชนสูง ซึ่งขอสนับสนุนภาครัฐที่จะขยายไปสู่เฟส 3
"3 ปัจจัยดังกล่าวตัวชี้วัดว่า การจ้างงานจะฟื้นตัวได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งมองว่ามาตรการกระตุ้นศก.ในประเทศของไทยยังต้องทำต่อไปเรื่อยๆ โดยเฉพาะโครงการคนละครึ่ง ที่ประชาชนตอบรับมาก เพราะเข้าถึงเศรษฐกิจฐานรากจริงๆ ส่วนโครงการอื่นๆ ก็ถือว่าดี แต่หากเป็นไปได้ชื่อโครงการอย่ามีมาก ประชาชนจะได้ไม่สับสน ซึ่งมาตรการกระตุ้นศก. ต้องทำควบคู่ไปกับการวางไทม์ไลน์การฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้คนไทยที่ชัดเจนด้วย" นายธนิต กล่าว และว่า รัฐบาลไม่ควรจะปิดกั้น รพ.เอกชน หรือภาคเอกชนอื่นๆ ที่มีศักยภาพนำเข้ามาได้ และไม่ไปแย่งโควตารัฐ โดยผ่านมาตรฐานการดูแลจาก อย. เพื่อช่วยกระจายวัคซีนให้เร็วขึ้น เพราะภาคเอกชนมีความพร้อมที่จะจ่ายเงินเองในการดูแลพนักงานเพื่อให้ธุรกิจเดินหน้าไปได้เร็ว
สำหรับอัตราการว่างงานของไทย ปัจจุบันหากยึดตัวเลขรัฐ จะว่างงานเพียง 1.5% แต่หากยึดตัวเลขเอกชนจะอยู่ระดับ 1.2-1.5 ล้านคนและ ยังไม่รวมเด็กจบใหม่ ที่จะเข้ามาอีกราว 5 แสนคน โดยหากไปพิจารณาการสมัครงานในเว็บไซต์จ๊อบไทย ( JOBTHAI)ความต้องการงานก็ยังกว่า 1.8 ล้านคน จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าอัตราว่างงานของไทย ก็ยังคงมีอยู่พอสมควร แม้จะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจและการจ้างงานยังคงไม่ได้กลับไปยังจุดเดิมก่อนที่จะมีโควิด-19 โดยเฉพาะในภาคการภาคท่องเที่ยว ที่ในปี 62 มีนักท่องเที่ยวต่างชาติสูงถึง 40 ล้านคน ขณะที่ปี 63 ลดเหลือเพียง 6.5 ล้านคนและปีนี้ คาดว่าจะยังมีเพียง 3-4 ล้านคนเท่านั้น จึงทำให้แรงงานในภาคท่องเที่ยวและบริการยังคงไม่สามารถกลับมาได้มากนัก เพราะแต่ละประเทศ จะยังไม่เปิดให้คนของตนเองเดินทางมากนัก
นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย (อีคอนไทย) เปิดเผยว่า อัตราการว่างงานของไทยในเดือนต.ค.63 ถือเป็นจุดต่ำสุด และขณะนี้มีสัญญาณจ้างงานเริ่มทยอยฟื้นตัวมากขึ้น โดยมาจาก 3 ปัจจัยหลักได้แก่ 1. ศก.โลกเริ่มฟื้นตัว จากการเริ่มทยอยฉีดวัคซีนโควิด-19 และเร่งอัดเงินเพื่อฟื้นฟูศก. เช่น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป 2. การส่งออกของไทยเดือนก.พ.64 เริ่มเป็นบวก1.78% แม้ 2 เดือนแรก (ม.ค.-ก.พ.) จะติดลบ แต่พบว่ามีการนำเข้าโดยเฉพาะเครื่องจักรโต 2.39% วัตถุดิบ 24.4% บ่งชี้สต็อกสินค้าเริ่มหมดลงทำให้ภาคผลิตเริ่มกลับมาผลิตเพิ่มขึ้น 3. มาตรการกระตุ้นศก.ของรัฐ ที่มีส่วนช่วยหนุนกำลังซื้อคนในประเทศ โดยเฉพาะโครงการคนละครึ่ง ที่ได้รับความนิยมจากประชาชนสูง ซึ่งขอสนับสนุนภาครัฐที่จะขยายไปสู่เฟส 3
"3 ปัจจัยดังกล่าวตัวชี้วัดว่า การจ้างงานจะฟื้นตัวได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งมองว่ามาตรการกระตุ้นศก.ในประเทศของไทยยังต้องทำต่อไปเรื่อยๆ โดยเฉพาะโครงการคนละครึ่ง ที่ประชาชนตอบรับมาก เพราะเข้าถึงเศรษฐกิจฐานรากจริงๆ ส่วนโครงการอื่นๆ ก็ถือว่าดี แต่หากเป็นไปได้ชื่อโครงการอย่ามีมาก ประชาชนจะได้ไม่สับสน ซึ่งมาตรการกระตุ้นศก. ต้องทำควบคู่ไปกับการวางไทม์ไลน์การฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้คนไทยที่ชัดเจนด้วย" นายธนิต กล่าว และว่า รัฐบาลไม่ควรจะปิดกั้น รพ.เอกชน หรือภาคเอกชนอื่นๆ ที่มีศักยภาพนำเข้ามาได้ และไม่ไปแย่งโควตารัฐ โดยผ่านมาตรฐานการดูแลจาก อย. เพื่อช่วยกระจายวัคซีนให้เร็วขึ้น เพราะภาคเอกชนมีความพร้อมที่จะจ่ายเงินเองในการดูแลพนักงานเพื่อให้ธุรกิจเดินหน้าไปได้เร็ว
สำหรับอัตราการว่างงานของไทย ปัจจุบันหากยึดตัวเลขรัฐ จะว่างงานเพียง 1.5% แต่หากยึดตัวเลขเอกชนจะอยู่ระดับ 1.2-1.5 ล้านคนและ ยังไม่รวมเด็กจบใหม่ ที่จะเข้ามาอีกราว 5 แสนคน โดยหากไปพิจารณาการสมัครงานในเว็บไซต์จ๊อบไทย ( JOBTHAI)ความต้องการงานก็ยังกว่า 1.8 ล้านคน จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าอัตราว่างงานของไทย ก็ยังคงมีอยู่พอสมควร แม้จะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจและการจ้างงานยังคงไม่ได้กลับไปยังจุดเดิมก่อนที่จะมีโควิด-19 โดยเฉพาะในภาคการภาคท่องเที่ยว ที่ในปี 62 มีนักท่องเที่ยวต่างชาติสูงถึง 40 ล้านคน ขณะที่ปี 63 ลดเหลือเพียง 6.5 ล้านคนและปีนี้ คาดว่าจะยังมีเพียง 3-4 ล้านคนเท่านั้น จึงทำให้แรงงานในภาคท่องเที่ยวและบริการยังคงไม่สามารถกลับมาได้มากนัก เพราะแต่ละประเทศ จะยังไม่เปิดให้คนของตนเองเดินทางมากนัก