ผู้จัดการรายวัน 360 - รัฐวิสาหกิจเบิกจ่ายงบลงทุน 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 64 กว่า 7.8 หมื่นล้านบาท หรือ 97% สคร.จ่อใช้ระบบติดตามเข้ม จะทำให้การกำกับและติดตามการดำเนินงานการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจมีประสิทธิภาพมากขึ้น หวังช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ
วานนี้ (31 มี.ค.) นางปานทิพย์ ศรีพิมล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า ณ สิ้นเดือนก.พ. 64 รัฐวิสาหกิจ 43 แห่ง ที่ สคร. กำกับดูแลโดยตรงมีผลการเบิกจ่ายงบลงทุนสะสม ส่วนใหญ่เป็นไปตามแผน โดยสามารถเบิกจ่ายได้ 94,048 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 99 ของแผนการเบิกจ่ายสะสม ประกอบด้วยการเบิกจ่ายงบลงทุน 5 เดือนของรัฐวิสาหกิจระบบปีงบประมาณ (ต.ค.63 – ก.พ. 64) 34 แห่ง จำนวน 78,566 ล้านบาท หรือคิดเป็น 97% ของแผนการเบิกจ่ายสะสม และการเบิกจ่ายงบลงทุน 2 เดือนของรัฐวิสาหกิจระบบปีปฏิทิน (ม.ค.-ก.พ. 64) 9 แห่ง จำนวน 15,482 ล้านบาท หรือคิดเป็น 108% ของแผนเบิกจ่ายสะสม
“ภาพรวมของรัฐวิสาหกิจ ยังคงสามารถเบิกจ่ายงบลงทุนได้ดีและเป็นไปตามแผน สำหรับโครงการลงทุนที่เริ่มมีการเบิกจ่ายล่าช้า สคร.จะเข้าไปร่วมตรวจสอบสาเหตุและแก้ไขปัญหากับรัฐวิสาหกิจอย่างใกล้ชิดเพื่อให้การลงทุนของรัฐวิสาหกิจเป็นไปตามเป้าหมาย และช่วยสนับสนุนนโยบายรัฐบาลในเรื่องการลงทุนภาครัฐ”
พร้อมกันนี้ สคร.ได้พัฒนาระบบติดตามและรายงานข้อมูลผลการเบิกจ่ายงบลงทุน (Dashboard) ของรัฐวิสาหกิจ ให้มีฐานข้อมูลที่รวดเร็วยิ่งขึ้น และทุกคนสามารถเข้าดูได้ผ่านเว็บไซต์ของ สคร. ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในเร็ว ๆ นี้ โดยระบบ Dashboard จะทำให้การกำกับและติดตามการดำเนินงานการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
น.ส.ปิยวรรณ ล่ามกิจจา ที่ปรึกษาด้านพัฒนารัฐวิสาหกิจ กล่าวเสริมว่า ช่วงต้นปี 2564 รัฐวิสาหกิจหลายแห่งสามารถเบิกจ่ายได้สูงกว่าแผน เช่น บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กปภ.) โดยมีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่สามารถเบิกจ่ายได้สูงกว่าแผน
อาทิ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ – มีนบุรี ของ รฟม. โครงการรถไฟฟ้าชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ – รังสิต ของ รฟท. งานก่อสร้างปรับปรุงขยายระบบประปาของ กปภ. โครงการทางพิเศษสายพระราม 3 – ดาวคะนอง – วงแหวนรอบนอกตะวันตกของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) และโครงการปรับปรุงระบบส่งภาคตะวันออกเสริมความมั่นคงของ กฟผ.
ทั้งนี้ มีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่เบิกจ่ายล่าช้า เช่น โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย – จีน ระยะที่ 1 (ช่วงกรุงเทพมหานคร – นครราชสีมา) ของ รฟท. โครงการโรงไฟฟ้าบางปะกง (ทดแทนเครื่องที่ 1 – 2) ของ กฟผ. โครงการพัฒนาระบบส่งและจำหน่ายระยะที่ 1 ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค แผนก่อสร้างศูนย์บริหารทางพิเศษ กทพ. (ระยะที่ 2) ของ กทพ. และโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงลพบุรี – ปากน้ำโพ ของ รฟท.
วานนี้ (31 มี.ค.) นางปานทิพย์ ศรีพิมล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า ณ สิ้นเดือนก.พ. 64 รัฐวิสาหกิจ 43 แห่ง ที่ สคร. กำกับดูแลโดยตรงมีผลการเบิกจ่ายงบลงทุนสะสม ส่วนใหญ่เป็นไปตามแผน โดยสามารถเบิกจ่ายได้ 94,048 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 99 ของแผนการเบิกจ่ายสะสม ประกอบด้วยการเบิกจ่ายงบลงทุน 5 เดือนของรัฐวิสาหกิจระบบปีงบประมาณ (ต.ค.63 – ก.พ. 64) 34 แห่ง จำนวน 78,566 ล้านบาท หรือคิดเป็น 97% ของแผนการเบิกจ่ายสะสม และการเบิกจ่ายงบลงทุน 2 เดือนของรัฐวิสาหกิจระบบปีปฏิทิน (ม.ค.-ก.พ. 64) 9 แห่ง จำนวน 15,482 ล้านบาท หรือคิดเป็น 108% ของแผนเบิกจ่ายสะสม
“ภาพรวมของรัฐวิสาหกิจ ยังคงสามารถเบิกจ่ายงบลงทุนได้ดีและเป็นไปตามแผน สำหรับโครงการลงทุนที่เริ่มมีการเบิกจ่ายล่าช้า สคร.จะเข้าไปร่วมตรวจสอบสาเหตุและแก้ไขปัญหากับรัฐวิสาหกิจอย่างใกล้ชิดเพื่อให้การลงทุนของรัฐวิสาหกิจเป็นไปตามเป้าหมาย และช่วยสนับสนุนนโยบายรัฐบาลในเรื่องการลงทุนภาครัฐ”
พร้อมกันนี้ สคร.ได้พัฒนาระบบติดตามและรายงานข้อมูลผลการเบิกจ่ายงบลงทุน (Dashboard) ของรัฐวิสาหกิจ ให้มีฐานข้อมูลที่รวดเร็วยิ่งขึ้น และทุกคนสามารถเข้าดูได้ผ่านเว็บไซต์ของ สคร. ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในเร็ว ๆ นี้ โดยระบบ Dashboard จะทำให้การกำกับและติดตามการดำเนินงานการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
น.ส.ปิยวรรณ ล่ามกิจจา ที่ปรึกษาด้านพัฒนารัฐวิสาหกิจ กล่าวเสริมว่า ช่วงต้นปี 2564 รัฐวิสาหกิจหลายแห่งสามารถเบิกจ่ายได้สูงกว่าแผน เช่น บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กปภ.) โดยมีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่สามารถเบิกจ่ายได้สูงกว่าแผน
อาทิ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ – มีนบุรี ของ รฟม. โครงการรถไฟฟ้าชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ – รังสิต ของ รฟท. งานก่อสร้างปรับปรุงขยายระบบประปาของ กปภ. โครงการทางพิเศษสายพระราม 3 – ดาวคะนอง – วงแหวนรอบนอกตะวันตกของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) และโครงการปรับปรุงระบบส่งภาคตะวันออกเสริมความมั่นคงของ กฟผ.
ทั้งนี้ มีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่เบิกจ่ายล่าช้า เช่น โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย – จีน ระยะที่ 1 (ช่วงกรุงเทพมหานคร – นครราชสีมา) ของ รฟท. โครงการโรงไฟฟ้าบางปะกง (ทดแทนเครื่องที่ 1 – 2) ของ กฟผ. โครงการพัฒนาระบบส่งและจำหน่ายระยะที่ 1 ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค แผนก่อสร้างศูนย์บริหารทางพิเศษ กทพ. (ระยะที่ 2) ของ กทพ. และโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงลพบุรี – ปากน้ำโพ ของ รฟท.