ผู้จัดการรายวัน 360 - ไทยพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่ม 42 ราย ศบค.ชุดเล็ก เตรียมเสนอ "ประยุทธ์" ลดวันกักตัว แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ถ้าฉีดวัคซีนครบ 2 โดสกักเหลือ 7 วัน เริ่ม 1 เม.ย.นี้ "อนุทิน" เผย แอสตร้าเซนเนก้า ชมไทยผลิตวัคซีนได้ตามมาตรฐาน เล็งพัฒนาวัคซีนสู้เชื้อกลายพันธุ์ต่อ
วานนี้ (31 มี.ค.) พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 42 ราย รักษาหายเพิ่ม 47 ราย ยอดสะสมรวม 28,868 ราย ผู้ป่วยรักษาหายแล้วรวม 27,426 ราย กำลังรักษาอยู่ในโรงพยาบาล 1,343 ราย โดยยอดผู้เสียชีวิตสะสมอยู่ที่ 94 ราย
พญ.อภิสมัย กล่าวว่า ที่ประชุม ศบค. จะเสนอพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการ ศบค. พิจารณาเรื่องการลดวันกักตัวผู้ที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย จากเดิมต้องกักตัว 14 วัน โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ที่กักตัว 7 วัน สำหรับผู้ที่ได้รับวัคซีนครบ 2 โดส และฉีดครบ 14 วัน กลุ่มผู้กักตัว 10 วัน สำหรับกลุ่มผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนครบ 2 โดส หรือฉีดไม่ครบ 14 วัน และกลุ่มผู้กักตัว 14 วัน เป็นกลุ่มผู้ที่เดินทางมาจากประเทศที่มีเชื้อสายพันธุ์กลายพันธุ์ตามกระทรวงสาธารณสุขกำหนด จะต้องกักตัวให้ครบ 14 วัน โดยทั้ง 3 กลุ่มจะต้องอนุญาตให้มีระบบติตตามตัวจนครบ 14 วัน แม้จะออกจากสถานกักกันแล้ว เริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.นี้
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว. สธ. กล่าวภายการหารือกับนายเจมส์ ทีก ประธานบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) ถึงความคืบหน้าการผลิตวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในประเทศไทย ว่า บริษัทแม่ของแอสตราเซเนก้า ได้กล่าวชื่นชม บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ ผู้ผลิตวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าในประเทศไทย ที่มีกระบวนการผลิตได้มาตรฐาน ดำเนินการตามขั้นตอนการถ่ายทอดเทคโนโลยีอย่างเคร่งครัด ผลการทดสอบในห้องปฏิบัติการเป็นที่น่าพอใจ มาตรฐานดีเยี่ยมเกินคาดหมาย
พร้อมกันนี้ ตนได้ให้ความมั่นใจกับประธานบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) ว่า เมื่อวัคซีนผลิตสำเร็จ พร้อมนำมาใช้ กระทรวงสาธารณสุข โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จะให้ความร่วมมือเต็มที่ในการตรวจสอบคุณภาพและเอกสาร นอกจากนี้ สถาบันวัคซีนแห่งชาติ พร้อมร่วมพัฒนาวัคซีนให้ครอบคลุมสายพันธุ์อื่นๆ เช่น สายพันธุ์แอฟริกา ที่แอสตร้าเซนเนก้ากำลังจะศึกษาวิจัยพัฒนาต่อไป
ส่วนเรื่องสถานการณ์ตามแนวชายแดน ไทย-เมียนมา หลังจากมีผู้บาดเจ็บที่ทะลักเข้ามาชายแดนของไทย นายอนุทิน กล่าวว่า ต้องให้การรักษาพยาบาลตามหลักมนุษยธรรม พร้อมกับถือโอกาสตรวจโควิดให้กับผู้บาดเจ็บด้วย เพราะเป็นการคัดกรองป้องกันบุคลากรที่ให้การรักษาดูแล ขณะเดียวกันได้มีการกระจายวัคซีน ล็อต 2 จากซิโนแวค ไปให้กับบุคลากรด่านหน้าแล้ว ซึ่งส่วนนี้ เป็นแผนเดิมที่เตรียมสำรองไว้ ไม่กระทบกับการกระจายวัคซีนส่วนอื่นๆ โดยจากว่า วัคซีนที่จัดส่งประมาณ 10,000 โดส
จี้ทบทวนคำสั่งห้ามอปท.จัดหาวัคซีน
น.ส.พิมพ์รพี พันธุ์วิชาติกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงนโยบายเกี่ยวกับวัคซีนของรัฐบาลว่า ควรเร่งรัดดำเนินการให้เร็ว โดยนำเข้ามาแล้วกระจายให้เอกชนที่พร้อมจะแบ่งเบาภาระด้านงบประมาณให้กับรัฐบาล พร้อมควักเงินตัวเองร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ฉีดวัคซีนให้กับประชาชน โดยเฉพาะในจังหวัดท่องเที่ยว แต่ตอนนี้ติดที่กระทรวงมหาดไทย ห้ามองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดซื้อวัคซีน ให้เป็นหน้าที่ของรัฐบาลเท่านั้น จึงอยากให้มีการทบทวนโดยเปิดทางให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดซื้อวัคซีนมาบริหารจัดการภายในจังหวัดตัวเองได้
"รัฐต้องหยุดผูกขาดวัคซีนโควิด-19 แต่ควรหารือร่วมกับภาคเอกชน กำหนดแผนกระจายวัคซีนในส่วนของภาคเอกชนให้ชัดเจน คู่ขนานไปกับแผนเดิมของรัฐบาลที่จะฉีดวัคซีนฟรีให้กับประชาชนวางบทบาทเป็นผู้เจรจาแทนภาคเอกชน เพราะวัคซีนหลายยี่ห้อจะเจรจากับรัฐบาลเท่านั้น บางประเทศถึงขั้นใช้การฉีดวัคซีนเป็นจุดขายดึงดูดนักท่องเที่ยวแล้ว ยิ่งช้าเท่าไหร่ เศรษฐกิจไทยก็ยิ่งเสียโอกาสเท่านั้น อย่าลืมว่าอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเป็นหนึ่งในเส้นเลือดสำคัญที่หล่อเลี้ยงเศรษฐกิจไทยคิดเป็นร้อยละ 16-17 ต่อจีดีพี ถ้าวัคซีนยังล่าช้า การฟื้นเศรษฐกิจก็เป็นไปได้ยาก" น.ส.พิมพ์รพี กล่าว
วานนี้ (31 มี.ค.) พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 42 ราย รักษาหายเพิ่ม 47 ราย ยอดสะสมรวม 28,868 ราย ผู้ป่วยรักษาหายแล้วรวม 27,426 ราย กำลังรักษาอยู่ในโรงพยาบาล 1,343 ราย โดยยอดผู้เสียชีวิตสะสมอยู่ที่ 94 ราย
พญ.อภิสมัย กล่าวว่า ที่ประชุม ศบค. จะเสนอพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการ ศบค. พิจารณาเรื่องการลดวันกักตัวผู้ที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย จากเดิมต้องกักตัว 14 วัน โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ที่กักตัว 7 วัน สำหรับผู้ที่ได้รับวัคซีนครบ 2 โดส และฉีดครบ 14 วัน กลุ่มผู้กักตัว 10 วัน สำหรับกลุ่มผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนครบ 2 โดส หรือฉีดไม่ครบ 14 วัน และกลุ่มผู้กักตัว 14 วัน เป็นกลุ่มผู้ที่เดินทางมาจากประเทศที่มีเชื้อสายพันธุ์กลายพันธุ์ตามกระทรวงสาธารณสุขกำหนด จะต้องกักตัวให้ครบ 14 วัน โดยทั้ง 3 กลุ่มจะต้องอนุญาตให้มีระบบติตตามตัวจนครบ 14 วัน แม้จะออกจากสถานกักกันแล้ว เริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.นี้
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว. สธ. กล่าวภายการหารือกับนายเจมส์ ทีก ประธานบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) ถึงความคืบหน้าการผลิตวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในประเทศไทย ว่า บริษัทแม่ของแอสตราเซเนก้า ได้กล่าวชื่นชม บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ ผู้ผลิตวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าในประเทศไทย ที่มีกระบวนการผลิตได้มาตรฐาน ดำเนินการตามขั้นตอนการถ่ายทอดเทคโนโลยีอย่างเคร่งครัด ผลการทดสอบในห้องปฏิบัติการเป็นที่น่าพอใจ มาตรฐานดีเยี่ยมเกินคาดหมาย
พร้อมกันนี้ ตนได้ให้ความมั่นใจกับประธานบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) ว่า เมื่อวัคซีนผลิตสำเร็จ พร้อมนำมาใช้ กระทรวงสาธารณสุข โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จะให้ความร่วมมือเต็มที่ในการตรวจสอบคุณภาพและเอกสาร นอกจากนี้ สถาบันวัคซีนแห่งชาติ พร้อมร่วมพัฒนาวัคซีนให้ครอบคลุมสายพันธุ์อื่นๆ เช่น สายพันธุ์แอฟริกา ที่แอสตร้าเซนเนก้ากำลังจะศึกษาวิจัยพัฒนาต่อไป
ส่วนเรื่องสถานการณ์ตามแนวชายแดน ไทย-เมียนมา หลังจากมีผู้บาดเจ็บที่ทะลักเข้ามาชายแดนของไทย นายอนุทิน กล่าวว่า ต้องให้การรักษาพยาบาลตามหลักมนุษยธรรม พร้อมกับถือโอกาสตรวจโควิดให้กับผู้บาดเจ็บด้วย เพราะเป็นการคัดกรองป้องกันบุคลากรที่ให้การรักษาดูแล ขณะเดียวกันได้มีการกระจายวัคซีน ล็อต 2 จากซิโนแวค ไปให้กับบุคลากรด่านหน้าแล้ว ซึ่งส่วนนี้ เป็นแผนเดิมที่เตรียมสำรองไว้ ไม่กระทบกับการกระจายวัคซีนส่วนอื่นๆ โดยจากว่า วัคซีนที่จัดส่งประมาณ 10,000 โดส
จี้ทบทวนคำสั่งห้ามอปท.จัดหาวัคซีน
น.ส.พิมพ์รพี พันธุ์วิชาติกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงนโยบายเกี่ยวกับวัคซีนของรัฐบาลว่า ควรเร่งรัดดำเนินการให้เร็ว โดยนำเข้ามาแล้วกระจายให้เอกชนที่พร้อมจะแบ่งเบาภาระด้านงบประมาณให้กับรัฐบาล พร้อมควักเงินตัวเองร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ฉีดวัคซีนให้กับประชาชน โดยเฉพาะในจังหวัดท่องเที่ยว แต่ตอนนี้ติดที่กระทรวงมหาดไทย ห้ามองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดซื้อวัคซีน ให้เป็นหน้าที่ของรัฐบาลเท่านั้น จึงอยากให้มีการทบทวนโดยเปิดทางให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดซื้อวัคซีนมาบริหารจัดการภายในจังหวัดตัวเองได้
"รัฐต้องหยุดผูกขาดวัคซีนโควิด-19 แต่ควรหารือร่วมกับภาคเอกชน กำหนดแผนกระจายวัคซีนในส่วนของภาคเอกชนให้ชัดเจน คู่ขนานไปกับแผนเดิมของรัฐบาลที่จะฉีดวัคซีนฟรีให้กับประชาชนวางบทบาทเป็นผู้เจรจาแทนภาคเอกชน เพราะวัคซีนหลายยี่ห้อจะเจรจากับรัฐบาลเท่านั้น บางประเทศถึงขั้นใช้การฉีดวัคซีนเป็นจุดขายดึงดูดนักท่องเที่ยวแล้ว ยิ่งช้าเท่าไหร่ เศรษฐกิจไทยก็ยิ่งเสียโอกาสเท่านั้น อย่าลืมว่าอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเป็นหนึ่งในเส้นเลือดสำคัญที่หล่อเลี้ยงเศรษฐกิจไทยคิดเป็นร้อยละ 16-17 ต่อจีดีพี ถ้าวัคซีนยังล่าช้า การฟื้นเศรษฐกิจก็เป็นไปได้ยาก" น.ส.พิมพ์รพี กล่าว