"บอร์ดอีวี" หวังการตั้งเป้าหมายยานยนต์ไฟฟ้าให้กับไทยที่ขายในประเทศจะเป็นรถ อีวี 100% ในปี 2578 เพื่อส่งสัญญาณลดโลกร้อน และดึงดูดการลงทุน มั่นใจเทรนด์โลกมาเร็ว เชื่อปี 2573-78 ทั่วโลกจะใช้รถอีวี อย่างแพร่หลาย ไทยมีเวลาปรับตัวเพียงพอ
นายยศพงษ์ ลออนวล ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายพัฒนาความยั่งยืน ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ในฐานะ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (บอร์ดอีวี) และอดีตนายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย เปิดเผยว่า คณะกรรมการยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ ตั้งเป้าให้รถยนต์ทุกคันที่จะขายภายในประเทศไทย 100% จะต้องเป็นรถยนต์ที่ไม่ปล่อยมลพิษ ซึ่งจะเป็นรถยนต์ไฟฟ้า ที่ใช้แบตเตอรี่ 100% และรถยนต์เซลล์เชื้อเพลิง หรือฟูลเซลล์ ภายในปี 78 นั้น จะเป็นผลดีให้ทุกฝ่ายมีเวลาปรับตัว และเกิดการลงทุนโดยคาดว่ายานยนต์ไฟฟ้าทั่วโลกจะแพร่หลายในปี 2573-78
"ไทยถือว่า มีความรวดเร็วในการประกาศ อยู่ในกลุ่มประเทศชั้นนำเพราะญี่ปุ่น ประกาศในปี 78 อังกฤษ ประกาศปี 73 ขณะที่ฝรั่งเศสในปี 83 ซึ่งส่วนหนึ่งตอบโจทย์ลดโลกร้อน และไทยได้เปรียบในเรื่องจำนวนการผลิตรถยนต์แต่ละปีสูงถึง 2 ล้านคัน เป็นการขายภายในประเทศ 1 ล้านคัน และส่งออกอีก 1 ล้านคัน ขณะที่อินโดนีเซีย มียอดการผลิตรวมเพียง 1 ล้านคัน เวียดนามมีไม่กี่แสนคัน ยังห่างไทยอีกมาก และเมื่อรัฐบาลประกาศอย่างชัดเจนแบบนี้ ก็ยิ่งเพิ่มแรงดึงดูดการลงทุนในไทย ขยายสายการผลิตหรือลงทุนใหม่ เพราะมีความเชี่ยวชาญในด้านการผลิตยานยนต์สูง" นายยศพงศ์ กล่าว
นอกจากนี้ ไทยยังมีความได้เปรียบประเทศอื่นในเรื่องการเป็นฐานการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ใหญ่ที่สุดในอาเซียน เป็นฐานการผลิตรถยนต์ใหญ่ที่สุด และมีรายได้เฉลี่ยของประชากร สูงกว่าประเทศคู่แข่งการลงทุน เช่น เวียดนาม และอินโดนีเซีย เพราะรถยนต์ไฟฟ้าในช่วงแรกจะมีราคาสูง ดังนั้นหากตลาดภายในประเทศมีกำลังซื้อสูง ก็จะยิ่งได้เปรียบ และแนวโน้มยานยนต์ไฟฟ้าจะมีราคาที่จับต้องได้ ขณะที่ผู้ผลิตชิ้นส่วนเอง ระยะเวลา 15 ปี ก็น่าจะเพียงพอในการปรับตัวรองรับ
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าไทยจะมีความได้เปรียบในหลายด้าน แต่รัฐบาลจะต้องผลักดันให้ทุกอย่างเดินหน้าไปตามเป้าหมายที่วางไว้ รวมทั้งเร่งผลักดันให้รถราชการและรัฐวิสาหกิจ รถจักรยานยนต์ รถบัส รถเมล์ ขสมก. รถแท็กซี่ และรถสาธารณะอื่นๆ ปรับเปลี่ยนไปเป็นรถยนต์ไฟฟ้าให้หมดโดยเร็ว ซึ่งจะทำให้เกิดตลาดขนาดใหญ่ คุ้มค่าต่อการลงทุนผลิตแบตเตอรี่ และรถยนต์ไฟฟ้าทั้งหมด ซึ่งคาดว่าภายใน 2-3 เดือน จะมีการตั้งคณะอนุกรรมการ เพื่อวางแผนปฏิบัติการที่ชัดเจนในการผลักดันเรื่องเหล่านี้ หากทุกฝ่ายร่วมมือทำให้ได้ตามแผน ก็มั่นใจว่าไทยยังคงเป็นผู้ในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาคนี้ในระยะยาว
นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธาน และโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ไทยเป็นประเทศที่มีฐานการส่งออกรถยนต์ไปทั่วโลก การที่กำหนดการใช้ อีวี 100% เฉพาะในประเทศเท่านั้น ในระยะยาวเพราะส่วนหนึ่งไทยยังมีศักยภาพในการผลิตรถยนต์สันดาปภายใน ที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งแน่นอนว่าตลาดหลายประเทศยังคงจำเป็นต้องใช้ ซึ่งการปล่อยให้เป็นกลไกตลาดเป็นเรื่องสำคัญ เพราะใน ที่สุดหากเทรนด์ทั่วโลกก้าวไปสู่อีวีทั้งหมดจริง และรถมีราคาต่ำลง ก็ย่อมจะทำให้ผู้ผลิตลงมาเล่นเอง
นายยศพงษ์ ลออนวล ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายพัฒนาความยั่งยืน ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ในฐานะ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (บอร์ดอีวี) และอดีตนายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย เปิดเผยว่า คณะกรรมการยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ ตั้งเป้าให้รถยนต์ทุกคันที่จะขายภายในประเทศไทย 100% จะต้องเป็นรถยนต์ที่ไม่ปล่อยมลพิษ ซึ่งจะเป็นรถยนต์ไฟฟ้า ที่ใช้แบตเตอรี่ 100% และรถยนต์เซลล์เชื้อเพลิง หรือฟูลเซลล์ ภายในปี 78 นั้น จะเป็นผลดีให้ทุกฝ่ายมีเวลาปรับตัว และเกิดการลงทุนโดยคาดว่ายานยนต์ไฟฟ้าทั่วโลกจะแพร่หลายในปี 2573-78
"ไทยถือว่า มีความรวดเร็วในการประกาศ อยู่ในกลุ่มประเทศชั้นนำเพราะญี่ปุ่น ประกาศในปี 78 อังกฤษ ประกาศปี 73 ขณะที่ฝรั่งเศสในปี 83 ซึ่งส่วนหนึ่งตอบโจทย์ลดโลกร้อน และไทยได้เปรียบในเรื่องจำนวนการผลิตรถยนต์แต่ละปีสูงถึง 2 ล้านคัน เป็นการขายภายในประเทศ 1 ล้านคัน และส่งออกอีก 1 ล้านคัน ขณะที่อินโดนีเซีย มียอดการผลิตรวมเพียง 1 ล้านคัน เวียดนามมีไม่กี่แสนคัน ยังห่างไทยอีกมาก และเมื่อรัฐบาลประกาศอย่างชัดเจนแบบนี้ ก็ยิ่งเพิ่มแรงดึงดูดการลงทุนในไทย ขยายสายการผลิตหรือลงทุนใหม่ เพราะมีความเชี่ยวชาญในด้านการผลิตยานยนต์สูง" นายยศพงศ์ กล่าว
นอกจากนี้ ไทยยังมีความได้เปรียบประเทศอื่นในเรื่องการเป็นฐานการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ใหญ่ที่สุดในอาเซียน เป็นฐานการผลิตรถยนต์ใหญ่ที่สุด และมีรายได้เฉลี่ยของประชากร สูงกว่าประเทศคู่แข่งการลงทุน เช่น เวียดนาม และอินโดนีเซีย เพราะรถยนต์ไฟฟ้าในช่วงแรกจะมีราคาสูง ดังนั้นหากตลาดภายในประเทศมีกำลังซื้อสูง ก็จะยิ่งได้เปรียบ และแนวโน้มยานยนต์ไฟฟ้าจะมีราคาที่จับต้องได้ ขณะที่ผู้ผลิตชิ้นส่วนเอง ระยะเวลา 15 ปี ก็น่าจะเพียงพอในการปรับตัวรองรับ
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าไทยจะมีความได้เปรียบในหลายด้าน แต่รัฐบาลจะต้องผลักดันให้ทุกอย่างเดินหน้าไปตามเป้าหมายที่วางไว้ รวมทั้งเร่งผลักดันให้รถราชการและรัฐวิสาหกิจ รถจักรยานยนต์ รถบัส รถเมล์ ขสมก. รถแท็กซี่ และรถสาธารณะอื่นๆ ปรับเปลี่ยนไปเป็นรถยนต์ไฟฟ้าให้หมดโดยเร็ว ซึ่งจะทำให้เกิดตลาดขนาดใหญ่ คุ้มค่าต่อการลงทุนผลิตแบตเตอรี่ และรถยนต์ไฟฟ้าทั้งหมด ซึ่งคาดว่าภายใน 2-3 เดือน จะมีการตั้งคณะอนุกรรมการ เพื่อวางแผนปฏิบัติการที่ชัดเจนในการผลักดันเรื่องเหล่านี้ หากทุกฝ่ายร่วมมือทำให้ได้ตามแผน ก็มั่นใจว่าไทยยังคงเป็นผู้ในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาคนี้ในระยะยาว
นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธาน และโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ไทยเป็นประเทศที่มีฐานการส่งออกรถยนต์ไปทั่วโลก การที่กำหนดการใช้ อีวี 100% เฉพาะในประเทศเท่านั้น ในระยะยาวเพราะส่วนหนึ่งไทยยังมีศักยภาพในการผลิตรถยนต์สันดาปภายใน ที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งแน่นอนว่าตลาดหลายประเทศยังคงจำเป็นต้องใช้ ซึ่งการปล่อยให้เป็นกลไกตลาดเป็นเรื่องสำคัญ เพราะใน ที่สุดหากเทรนด์ทั่วโลกก้าวไปสู่อีวีทั้งหมดจริง และรถมีราคาต่ำลง ก็ย่อมจะทำให้ผู้ผลิตลงมาเล่นเอง