"ส.อ.ท." หนุนนโยบายบอร์ดยานยนต์ไฟฟ้า หลังเคาะเดินหน้าเพิ่มการใช้ระยะสั้นปี 2568 รวมไว้ที่ 1.05 ล้านคัน ชี้หัวใจสำคัญราคารถต้องต่ำกว่า 1 ล้านบาท สถานีชาร์จต้องเพียงพอ แนะออกมาตรการส่งเสริมการใช้ เน้นผลิตในประเทศ
วานนี้ (25 มี.ค.) นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยถึง มติคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (บอร์ดอีวี) ที่วางเป้าหมายการใช้รถอีวีในไทย ปี 2568 ทุกประเภท รวมไว้ที่ 1,055,000 คัน แบ่งเป็นรถยนต์/รถปิกอัพ 402,000 คัน รถจักรยานยนต์ 622,000 คัน และรถบัส/รถบรรทุก 31,000 คัน และปี 2578 เพิ่มเป็น 15,580,000 คัน ว่า ระยะสั้นในปี 2568 สามารถจะไปสู่เป้าหมายได้ หัวใจสำคัญในการกระตุ้นให้คนไทยหันมาซื้อรถอีวีมากขึ้น คือ ราคารถอีวี ภาพรวมที่ต้องถูกลง ต่ำกว่าระดับ 1 ล้านบาท/คัน โครงสร้างพื้นฐานโดยเฉพาะสถานีชาร์จ จำเป็นต้องมีการขยายเพิ่มขึ้น
“ขณะนี้เรามีรถอีวีเฉพาะรถยนต์นั่งไม่เกิน 7 ที่นั่ง สะสมเดือน ก.พ. 64 อยู่ที่ 2,351 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือน ธ.ค.63 จำนวน 272 คัน เมื่อดูเป้าหมายรัฐกำหนดเป้าการใช้รถยนต์รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,055,000 คัน ก็มีโอกาสเป็นไปได้ในเวลาที่เหลืออีก 4 ปีกว่า แม้เวลานี้ราคารถยังอยู่ระดับเกิน 1 ล้านบาท และยังเป็นรถของคนรวยอยู่ในขณะนี้ แต่อนาคตก็น่าจะถูกลงได้อีก และหากต่ำกว่าระดับ 1 ล้านบาท การใช้น่าจะเพิ่มขึ้น" นายสุรพงษ์ กล่าว
นายสุรพงษ์ กล่าวต่อว่า ในต่างประเทศจะมีมาตรการในระยะแรกที่จะส่งเสริมการใช้ในรูปแบบต่างๆ ซึ่งเห็นว่าไทย ก็จำเป็นต้องมีมาตรการในการกระตุ้นเช่นกัน ส่วนจะเป็นมาตรการใดนั้นจำเป็นต้องหารือกับทุกภาคส่วน แต่เหนือสิ่งอื่นใดจะต้องเน้นการผลิตรถยนต์ในประเทศเป็นสำคัญ ไม่ควรส่งเสริมให้เกิดการนำเข้ามาจำหน่าย โดยผู้ผลิตรถยนต์ค่ายหลักๆ ในไทยที่มีฐานการผลิตปัจจุบันในปี 2564 คงจะยังไม่สามารถผลิตได้ แต่คาดว่าจะเริ่มได้ในปี 2565-66 เป็นต้นไป
“นโยบายภาครัฐที่ไม่กำหนดเป้าหมายการยกเลิกการจำหน่ายรถยนต์สันดาปภายใน ซึ่งเป็นรถที่ยังคงใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ถือเป็นนโยบายที่เดินมาถูกทาง เพราะแม้แต่จีนก็ไม่ได้กำหนด เนื่องจากไทยเองเป็นฐานการผลิตรถยนต์ประเภทนี้เพื่อการส่งออกเกือบ 50% อยู่แล้ว และถือเป็นศูนย์กลางยานยนต์ หรือฮับในภูมิภาคนี้ ดังนั้นการยึดฐานเดิมเพื่อต่อยอดไปสู่อีวี เพื่อสร้างฐานผลิตหรือฮับอีวี ควบคู่กันไปจะทำให้ไทยมีศักยภาพมากขึ้น และปล่อยให้กลไกตลาดเป็นผู้ทำงานแทน” นายสุรพงษ์ ระบุ
รายงานข่าวแจ้งว่า บอร์ดอีวี เมื่อ 24 มี.ค.ที่มี นายสุพัฒนพงษ์ พันธุ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พลังงาน เป็นประธาน ได้หารือการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า (รวมทุกประเภท) เพื่อก้าวเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ(Low Carbon Society)และการเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า และชิ้นส่วนที่สำคัญของโลก โดยมีเป้าหมายการใช้ยานยนต์ไฟฟ้ารวมทุกประเภทในปี 2568 จำนวนทั้งสิ้น 1,055,000 คัน โดยแบ่งเป็นรถยนต์/รถปิกอัพ 402,000 คัน รถจักรยานยนต์ 622,000 คัน และรถบัส/รถบรรทุก 31,000 คัน และในปี 2578 ให้เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนรวม 15,580,000 คัน แบ่งเป็นรถยนต์/รถปิกอัพ 6,400,000 คัน รถจักรยานยนต์ 8,750,000 คัน และรถบัส/รถบรรทุก 430,000 คัน
พร้อมวางเป้าหมายการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศ ในปี 2568 จะมีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,051,000 คัน แบ่งเป็นรถยนต์/รถปิกอัพ 400,000 คัน รถจักรยานยนต์ 620,000 คัน และรถบัส/รถบรรทุก 31,000 คัน และในปี 2578 ให้เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนรวม 18,413,000 คัน แบ่งเป็นรถยนต์/รถปิกอัพ 8,625,000 คัน รถจักรยานยนต์ 9,330,000 คัน และรถบัส/รถบรรทุก 458,000 คัน และยังได้วางนโยบายการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ด้วยมาตรการระยะเร่งด่วนและมาตรการ ระยะ 1- 5 ปี
วานนี้ (25 มี.ค.) นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยถึง มติคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (บอร์ดอีวี) ที่วางเป้าหมายการใช้รถอีวีในไทย ปี 2568 ทุกประเภท รวมไว้ที่ 1,055,000 คัน แบ่งเป็นรถยนต์/รถปิกอัพ 402,000 คัน รถจักรยานยนต์ 622,000 คัน และรถบัส/รถบรรทุก 31,000 คัน และปี 2578 เพิ่มเป็น 15,580,000 คัน ว่า ระยะสั้นในปี 2568 สามารถจะไปสู่เป้าหมายได้ หัวใจสำคัญในการกระตุ้นให้คนไทยหันมาซื้อรถอีวีมากขึ้น คือ ราคารถอีวี ภาพรวมที่ต้องถูกลง ต่ำกว่าระดับ 1 ล้านบาท/คัน โครงสร้างพื้นฐานโดยเฉพาะสถานีชาร์จ จำเป็นต้องมีการขยายเพิ่มขึ้น
“ขณะนี้เรามีรถอีวีเฉพาะรถยนต์นั่งไม่เกิน 7 ที่นั่ง สะสมเดือน ก.พ. 64 อยู่ที่ 2,351 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือน ธ.ค.63 จำนวน 272 คัน เมื่อดูเป้าหมายรัฐกำหนดเป้าการใช้รถยนต์รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,055,000 คัน ก็มีโอกาสเป็นไปได้ในเวลาที่เหลืออีก 4 ปีกว่า แม้เวลานี้ราคารถยังอยู่ระดับเกิน 1 ล้านบาท และยังเป็นรถของคนรวยอยู่ในขณะนี้ แต่อนาคตก็น่าจะถูกลงได้อีก และหากต่ำกว่าระดับ 1 ล้านบาท การใช้น่าจะเพิ่มขึ้น" นายสุรพงษ์ กล่าว
นายสุรพงษ์ กล่าวต่อว่า ในต่างประเทศจะมีมาตรการในระยะแรกที่จะส่งเสริมการใช้ในรูปแบบต่างๆ ซึ่งเห็นว่าไทย ก็จำเป็นต้องมีมาตรการในการกระตุ้นเช่นกัน ส่วนจะเป็นมาตรการใดนั้นจำเป็นต้องหารือกับทุกภาคส่วน แต่เหนือสิ่งอื่นใดจะต้องเน้นการผลิตรถยนต์ในประเทศเป็นสำคัญ ไม่ควรส่งเสริมให้เกิดการนำเข้ามาจำหน่าย โดยผู้ผลิตรถยนต์ค่ายหลักๆ ในไทยที่มีฐานการผลิตปัจจุบันในปี 2564 คงจะยังไม่สามารถผลิตได้ แต่คาดว่าจะเริ่มได้ในปี 2565-66 เป็นต้นไป
“นโยบายภาครัฐที่ไม่กำหนดเป้าหมายการยกเลิกการจำหน่ายรถยนต์สันดาปภายใน ซึ่งเป็นรถที่ยังคงใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ถือเป็นนโยบายที่เดินมาถูกทาง เพราะแม้แต่จีนก็ไม่ได้กำหนด เนื่องจากไทยเองเป็นฐานการผลิตรถยนต์ประเภทนี้เพื่อการส่งออกเกือบ 50% อยู่แล้ว และถือเป็นศูนย์กลางยานยนต์ หรือฮับในภูมิภาคนี้ ดังนั้นการยึดฐานเดิมเพื่อต่อยอดไปสู่อีวี เพื่อสร้างฐานผลิตหรือฮับอีวี ควบคู่กันไปจะทำให้ไทยมีศักยภาพมากขึ้น และปล่อยให้กลไกตลาดเป็นผู้ทำงานแทน” นายสุรพงษ์ ระบุ
รายงานข่าวแจ้งว่า บอร์ดอีวี เมื่อ 24 มี.ค.ที่มี นายสุพัฒนพงษ์ พันธุ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พลังงาน เป็นประธาน ได้หารือการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า (รวมทุกประเภท) เพื่อก้าวเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ(Low Carbon Society)และการเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า และชิ้นส่วนที่สำคัญของโลก โดยมีเป้าหมายการใช้ยานยนต์ไฟฟ้ารวมทุกประเภทในปี 2568 จำนวนทั้งสิ้น 1,055,000 คัน โดยแบ่งเป็นรถยนต์/รถปิกอัพ 402,000 คัน รถจักรยานยนต์ 622,000 คัน และรถบัส/รถบรรทุก 31,000 คัน และในปี 2578 ให้เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนรวม 15,580,000 คัน แบ่งเป็นรถยนต์/รถปิกอัพ 6,400,000 คัน รถจักรยานยนต์ 8,750,000 คัน และรถบัส/รถบรรทุก 430,000 คัน
พร้อมวางเป้าหมายการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศ ในปี 2568 จะมีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,051,000 คัน แบ่งเป็นรถยนต์/รถปิกอัพ 400,000 คัน รถจักรยานยนต์ 620,000 คัน และรถบัส/รถบรรทุก 31,000 คัน และในปี 2578 ให้เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนรวม 18,413,000 คัน แบ่งเป็นรถยนต์/รถปิกอัพ 8,625,000 คัน รถจักรยานยนต์ 9,330,000 คัน และรถบัส/รถบรรทุก 458,000 คัน และยังได้วางนโยบายการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ด้วยมาตรการระยะเร่งด่วนและมาตรการ ระยะ 1- 5 ปี