ศบค.เผยไทยพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่เพิ่ม 97 ราย “บิ๊กป้อม” โวฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้ว โอ่ไร้อาการข้างเคียง “อนุทิน” แย้มผ่อนคลายมาตรการเปิดประเทศ หลังฉีดวัคซีนถึงหลักล้านโดส เผย อย.อนุมัติขึ้นทะเบียนวัคซีนโควิด-19 ของ “จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน"
วานนี้ (25 มี.ค.) ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศประจำวันว่า พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 97 ราย เป็นผู้ติดเชื้อภายในประเทศ 97 ราย มาจากการตรวจในระบบเฝ้าระวังและบริการ 43 ราย จากการค้นหาคัดกรองเชิงรุกในชุมชน 49 ราย และผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ โดยอยู่ในสถานกักกันที่รัฐจัดให้ (State Quarantine) 5 ราย สหรัฐอเมริกา 2 ราย สวีเดน 1 ราย ตุรกี 1 ราย ส่วนผู้ป่วยมีการรักษาหายเพิ่ม 73 ราย ส่งผลให้มีจำนวนผู้ป่วยยืนยันสะสมล่าสุดอยู่ที่ 28,443 ราย เป็นผู้ป่วยที่ติดเชื้อภายในประเทศ 25,428 ราย ติดเชื้อค้นหาคัดกรองเชิงรุกในชุมชน 15,895 ราย ผู้เดินทางจากต่างประเทศ 3,015 ราย สถานที่กักกันที่รัฐจัดให้ 2,388 ราย ส่วนผู้ป่วยรักษาหายแล้วเพิ่มเป็น 26,946 ราย กำลังรักษาอยู่ในโรงพยาบาล 1,405 ราย โดยยอดผู้เสียชีวิตสะสมอยู่ที่ 92 ราย
ทางด้าน ร.ต.อ.พงศกร ขวัญเมือง โฆษกรุงเทพมหานคร โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กระบุว่า อัปเดต “ผลการตรวจเชิงรุกในพื้นที่เขตบางแค” กทม. พบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 56 ราย ตรวจเชิงรุกเพิ่มอีก 2,394 ราย รวมตรวจแล้วทั้งสิ้น 30,154 ราย พบผู้ติดเชื้อรวม 536 ราย ไม่ติดเชื้อรวม 27,078 ราย รอผลการตรวจรวม 2,540 ราย
ขณะที่ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวการเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ว่า “ฉีดแล้วๆ ไปฉีดที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ หมอให้ฉีดก็ฉีด ไม่เป็นยังไง เรียบร้อยดี ไม่เป็นอะไรเลย ไม่มีอาการข้างเคียงอะไร”
วันเดียวกัน นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข กล่าวถึง การเปิดประเทศว่ามาตรการผ่อนคลายต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นจะขึ้นอยู่กับการกระจายวัคซีน ซึ่งจากนี้ถึงอีก 2 เดือนข้างหน้า จะมีการกระจายฉีดวัคซีนเป็นล้านคน ที่ผ่านมาใช้ไปประมาณ 1 ล้านโดส และเดือนหน้าอีก 1-2 ล้านโดส ดังนั้น ภายในเดือน พ.ค.นี้ เราจะเริ่มรู้แล้วว่า คนที่ได้รับวัคซีนมี ภูมิคุ้มกันระดับไหน ถ้าผลเป็นที่น่าพอใจ ก็จะมั่นใจได้ว่า จะต้องฉีดให้คนจำนวนมาก จากนั้น จะเป็นการผ่อนคลายมาตรการให้เกิดความสะดวกและเป็นปกติมากขึ้น
“หลักการแรกคือ ต้องดูความปลอดภัยของประชาชน ปลอดภัยเมื่อไรเปิดเมื่อนั้น ส่วนแผนและระยะเวลานั้นขึ้นอยู่กับความปลอดภัย รวมทั้งการเจรจากับประเทศคู่เจรจาต่างๆ หากวัคซีนเข็มแรกที่ได้ฉีดให้กับทุกคนได้ผล มีภูมิคุ้มกันกันหมด จะเป็นตัวชี้วัดได้ ซึ่งขณะนี้กระทรวงสาธารณสุข กำลังเร่งทำในเรื่องนี้อยู่แล้ว”
นายอนุทิน กล่าวด้วยว่า ขณะนี้กำลังเร่งขึ้นทะเบียนวัคซีน อย่างวันนี้ องค์การอาหารและยา (อย.) ก็ได้ขึ้นทะเบียนวัคซีน ของจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน เท่ากับเรามีทางเลือกเพิ่มขึ้น อีกทั้งเป็นการพิสูจน์ให้เห็นว่า เราไม่ได้มีการปิดกั้นในเรื่องของวัคซีน ตราบใดที่ผู้ผลิตวัคซีนยื่นเอกสารเข้ามา ถ้าทุกอย่างถูกต้องตามขั้นตอน เราจะอนุมัติโดยเร็ว หากอนุญาตให้มาใช้ได้แสดงว่ามีความปลอดภัยขั้นสูงสุดแล้ว
“ประเทศไทยเรามีวัคซีน 3 ยี่ห้อแล้ว ประกอบด้วย ซิโนแวค, แอสตราเซเนกา และ จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน ใครสามารถไปเจรจา และเขายอมขายวัคซีนให้ ก็ถือว่ามีความชอบธรรมที่จะนำเข้า แต่เขาจะยอมขายหรือไม่เป็นอีกเรื่อง” นายอนุทิน ระบุ
นายอนุทิน กล่าวอีกว่า ทุกบริษัทผลิตมาในช่วงภาวะฉุกเฉิน และหากผู้นำเข้ารับสภาพได้ว่า เป็นการนำเข้ามาเฉพาะในภาวะฉุกเฉิน ความรับผิดชอบของผู้ผลิตมีจำกัด ผู้ที่จะมารับขอวัคซีนเองรับสภาพได้ กระทรวงสาธารณสุขก็ไม่มีปัญหา แค่ระบุว่า จะนำเข้ามาและไปฉีดที่ รพ.ใด มีการขอ และขึ้นทะเบียนอย่างเป็นทางการ กับกรมควบคุมโรค เราก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ทำคุณประโยชน์ให้กับกระทรวงสาธารณสุข เป็นการแบ่งเบาภาระ อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าในเรื่องของวัคซีนแนวโน้มดีขึ้นเรื่อยๆ การเข้าถึงวัคซีนมีเพิ่มมากขึ้น แต่เราไปซื้อจำนวนมากก็ไม่ได้ เผื่อมีการกลายพันธุ์ อนาคตก็ต้องดูวัคซีนที่มีการพัฒนา เราต้องใช้วัคซีนที่เหมาะสมที่สุด แต่ช่วงนี้ก็ต้องใช้สายพันธุ์นี้ไปก่อน
วานนี้ (25 มี.ค.) ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศประจำวันว่า พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 97 ราย เป็นผู้ติดเชื้อภายในประเทศ 97 ราย มาจากการตรวจในระบบเฝ้าระวังและบริการ 43 ราย จากการค้นหาคัดกรองเชิงรุกในชุมชน 49 ราย และผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ โดยอยู่ในสถานกักกันที่รัฐจัดให้ (State Quarantine) 5 ราย สหรัฐอเมริกา 2 ราย สวีเดน 1 ราย ตุรกี 1 ราย ส่วนผู้ป่วยมีการรักษาหายเพิ่ม 73 ราย ส่งผลให้มีจำนวนผู้ป่วยยืนยันสะสมล่าสุดอยู่ที่ 28,443 ราย เป็นผู้ป่วยที่ติดเชื้อภายในประเทศ 25,428 ราย ติดเชื้อค้นหาคัดกรองเชิงรุกในชุมชน 15,895 ราย ผู้เดินทางจากต่างประเทศ 3,015 ราย สถานที่กักกันที่รัฐจัดให้ 2,388 ราย ส่วนผู้ป่วยรักษาหายแล้วเพิ่มเป็น 26,946 ราย กำลังรักษาอยู่ในโรงพยาบาล 1,405 ราย โดยยอดผู้เสียชีวิตสะสมอยู่ที่ 92 ราย
ทางด้าน ร.ต.อ.พงศกร ขวัญเมือง โฆษกรุงเทพมหานคร โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กระบุว่า อัปเดต “ผลการตรวจเชิงรุกในพื้นที่เขตบางแค” กทม. พบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 56 ราย ตรวจเชิงรุกเพิ่มอีก 2,394 ราย รวมตรวจแล้วทั้งสิ้น 30,154 ราย พบผู้ติดเชื้อรวม 536 ราย ไม่ติดเชื้อรวม 27,078 ราย รอผลการตรวจรวม 2,540 ราย
ขณะที่ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวการเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ว่า “ฉีดแล้วๆ ไปฉีดที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ หมอให้ฉีดก็ฉีด ไม่เป็นยังไง เรียบร้อยดี ไม่เป็นอะไรเลย ไม่มีอาการข้างเคียงอะไร”
วันเดียวกัน นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข กล่าวถึง การเปิดประเทศว่ามาตรการผ่อนคลายต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นจะขึ้นอยู่กับการกระจายวัคซีน ซึ่งจากนี้ถึงอีก 2 เดือนข้างหน้า จะมีการกระจายฉีดวัคซีนเป็นล้านคน ที่ผ่านมาใช้ไปประมาณ 1 ล้านโดส และเดือนหน้าอีก 1-2 ล้านโดส ดังนั้น ภายในเดือน พ.ค.นี้ เราจะเริ่มรู้แล้วว่า คนที่ได้รับวัคซีนมี ภูมิคุ้มกันระดับไหน ถ้าผลเป็นที่น่าพอใจ ก็จะมั่นใจได้ว่า จะต้องฉีดให้คนจำนวนมาก จากนั้น จะเป็นการผ่อนคลายมาตรการให้เกิดความสะดวกและเป็นปกติมากขึ้น
“หลักการแรกคือ ต้องดูความปลอดภัยของประชาชน ปลอดภัยเมื่อไรเปิดเมื่อนั้น ส่วนแผนและระยะเวลานั้นขึ้นอยู่กับความปลอดภัย รวมทั้งการเจรจากับประเทศคู่เจรจาต่างๆ หากวัคซีนเข็มแรกที่ได้ฉีดให้กับทุกคนได้ผล มีภูมิคุ้มกันกันหมด จะเป็นตัวชี้วัดได้ ซึ่งขณะนี้กระทรวงสาธารณสุข กำลังเร่งทำในเรื่องนี้อยู่แล้ว”
นายอนุทิน กล่าวด้วยว่า ขณะนี้กำลังเร่งขึ้นทะเบียนวัคซีน อย่างวันนี้ องค์การอาหารและยา (อย.) ก็ได้ขึ้นทะเบียนวัคซีน ของจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน เท่ากับเรามีทางเลือกเพิ่มขึ้น อีกทั้งเป็นการพิสูจน์ให้เห็นว่า เราไม่ได้มีการปิดกั้นในเรื่องของวัคซีน ตราบใดที่ผู้ผลิตวัคซีนยื่นเอกสารเข้ามา ถ้าทุกอย่างถูกต้องตามขั้นตอน เราจะอนุมัติโดยเร็ว หากอนุญาตให้มาใช้ได้แสดงว่ามีความปลอดภัยขั้นสูงสุดแล้ว
“ประเทศไทยเรามีวัคซีน 3 ยี่ห้อแล้ว ประกอบด้วย ซิโนแวค, แอสตราเซเนกา และ จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน ใครสามารถไปเจรจา และเขายอมขายวัคซีนให้ ก็ถือว่ามีความชอบธรรมที่จะนำเข้า แต่เขาจะยอมขายหรือไม่เป็นอีกเรื่อง” นายอนุทิน ระบุ
นายอนุทิน กล่าวอีกว่า ทุกบริษัทผลิตมาในช่วงภาวะฉุกเฉิน และหากผู้นำเข้ารับสภาพได้ว่า เป็นการนำเข้ามาเฉพาะในภาวะฉุกเฉิน ความรับผิดชอบของผู้ผลิตมีจำกัด ผู้ที่จะมารับขอวัคซีนเองรับสภาพได้ กระทรวงสาธารณสุขก็ไม่มีปัญหา แค่ระบุว่า จะนำเข้ามาและไปฉีดที่ รพ.ใด มีการขอ และขึ้นทะเบียนอย่างเป็นทางการ กับกรมควบคุมโรค เราก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ทำคุณประโยชน์ให้กับกระทรวงสาธารณสุข เป็นการแบ่งเบาภาระ อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าในเรื่องของวัคซีนแนวโน้มดีขึ้นเรื่อยๆ การเข้าถึงวัคซีนมีเพิ่มมากขึ้น แต่เราไปซื้อจำนวนมากก็ไม่ได้ เผื่อมีการกลายพันธุ์ อนาคตก็ต้องดูวัคซีนที่มีการพัฒนา เราต้องใช้วัคซีนที่เหมาะสมที่สุด แต่ช่วงนี้ก็ต้องใช้สายพันธุ์นี้ไปก่อน