ผู้จัดการรายวัน360- นายกฯเผยเบื้องต้นนำรมต.ใหม่เข้าเฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณ 27 มี.ค. พร้อมเรียกมอบนโบายก่อนปฏิบัติหน้าที่ แจง ภท.-ปชป. สลับกระทรวง หวังเร่งงานสาธารณูปโภค-หารายได้ให้มากขึ้น ขอให้เกียรติ อย่าด่วนวิจารณ์ให้ดูการทำงานก่อน ถ้าทำไม่ดีปรับใหม่ได้ ไม่มีปล่อยปละ ประเมินทุกกระทรวงทุก 3 เดือน "วิษณุ"บอก อย่าเพิ่งยี้ "ตรีนุช" ระบุ รมว.ศึกษาธิการไม่จำเป็นต้องเป็นครู เพราะไม่ใช่ผู้ปฏิบัติ แต่เป็นนักบริหาร
วานนี้ (24มี.ค.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม กล่าวถึงการปรับครม.ภายหลังมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ รัฐมนตรีใหม่ ว่า การเข้าเฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณ รับทราบขั้นต้นว่าจะเป็นวันที่ 27 มี.ค. โดยจะมีคณะกรรมการตรวจสอบความเรียบร้อยก่อนในขั้นองคมนตรี ไม่น่ามีปัญหาอะไร
กรณี น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รมว. ศึกษาธิการ ถูกสังคมมองว่าไม่มีประสบการณ์ด้านการศึกษามาก่อนนั้น นายกฯกล่าวว่า การทำงานมีหลายระดับ โดยระดับนโยบาย คือนายกฯ ซึ่งตนก็ไม่มีประสบการณ์ด้านการศึกษามาก่อน เพราะเป็นทหาร แต่อย่าลืมว่ารัฐบาลเป็นผู้กำหนดนโยบาย ให้แนวทางในการวางแผนไปดำเนินการ มีกรอบยุทธศาสตร์ กรอบการปฏิรูปการศึกษา มีเรื่อง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ และมีแผนงานหลายอย่างที่รัฐมนตรีในช่วงที่ผ่านมาดำเนินการไว้แล้ว ฉะนั้นใครมาเป็นก็ตามต้องปฏิบัติตามนี้ นายกฯให้ความสำคัญในเรื่องการศึกษาเป็นพิเศษอยู่แล้ว อย่ามาบอกว่านายกฯไม่รู้ ตนรู้ แต่นายกฯไม่ใช่ผู้ปฏิบัติ นายกฯ เป็นผู้กำหนดนโยบาย และติดตามสั่งการในการปฏิบัติ กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ว่าใครจะพัฒนาอย่างไร
สำหรับ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ การปฏิรูปการศึกษา ยุทธศาสตร์ชาติ มีอยู่แล้วทุกข้อทุกเรื่อง เขาทำนอกเหนือจากนี้ไม่ได้ ซึ่งตนได้เน้นย้ำตรงนี้ไปแล้วว่าการทำงาน ของรัฐบาลไม่ใช่ทำงานการเมือง เป็นการทำงานตามกรอบอำนาจหน้าที่ฝ่ายบริหาร ซึ่งทุกคนที่เข้ามาเป็น ส.ส.เป็นคนที่ประชาชนเลือกมา ก็ต้องเคารพเขาในการที่มาเป็นรัฐมนตรี ซึ่งทั้งหมดก็ต้องถูกบริหารโดยนายกฯ ที่เป็นหัวหน้ารัฐบาล ก็จะเรียกเขามาคุยก่อนปฏิบัติหน้าที่ หลังจากมีพิธีถวายสัตย์ปฏิณญาณแล้ว ขอร้องว่าให้เกียรติซึ่งกันและกันไม่ว่าจะเป็นรัฐมนตรีคนไหนก็ตาม ทุกคนก็ต้องทำตามสิ่งเหล่านี้และตนก็ไม่เคยปล่อยปละละเลย และย้ำอยู่เสมอว่า ต้องระมัดระวังเรื่องของการทุจริต จะต้องโปร่งใสมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในการใช้จ่ายงบประมาณ และบริหารราชการอย่างมีเป้าหมาย ต้องดูว่าจะทำงานอะไรบ้างให้กับแต่ละกลุ่มแต่ละภาคส่วน ถือว่าขอร้องแล้วกันขอให้ช่วยกันสนับสนุนการทำงานของรัฐบาล ตามนโยบายและยุทธศาสตร์ชาติรวมทั้งแผนปฏิรูปการศึกษา ถ้าเราขัดแย้งกันมากๆ ก็คงทำอะไรไม่ได้อยู่ดี
"ตอนนี้ก็จะมีความเคลื่อนไหวรอบนอกขึ้นมาอีก ผมไม่อยากให้มีคำว่าเด็กดี เด็กเลว ทุกคนจะต้องร่วมมือกันทำให้เด็กของเราเป็นคนดี เพราะทุกคนคือพลังสำคัญของชาติ ต้องเรียนรู้ว่าอะไรคือความถูกต้องความชอบธรรมอะไรคือประชาธิปไตยที่เป็นสากล ไม่เช่นนั้นก็จะพูดกันว่านายกฯเผด็จการๆ ผมขอถามว่าเผด็จการตรงไหน วันนี้ยังไม่เห็นมีเผด็จการอะไรเลย ผมสั่งเฉพาะในอำนาจของผม ในฐานะฝ่ายบริหาร" นายกฯกล่าว
ส่วนเรื่องของกระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงคมนาคม ที่มีการปรับเปลี่ยน เพราะตนต้องการให้ทั้ง 2 กระทรวง มีการขับเคลื่อน เนื่องจากมีบทบาทสำคัญในช่วงนี้ โดยเฉพาะการสร้างโอกาสเรื่องของสาธารณูปโภคพื้นฐานให้ทุกคนเข้าถึงให้ได้โดยเร็ว เพื่อที่จะได้มีรายได้ทั้งในเรื่องของเศรษฐกิจการขนส่งสินค้า วันนี้เราต้องเร่งหารายได้ให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งได้มีการเสนอแผนการต่างๆ ผ่านที่ประชุมครม.มีการเปิดตลาด การเจรจาและเดินหน้า เปิดข้อตกลงเขตการค้าเสรี กับหลายๆ ประเทศรวมทั้งกลุ่มประเทศอียู ซึ่งทุกปัญหาตนรับไว้ทั้งหมดเพื่อขับเคลื่อนต่อไป
ในส่วนของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมนั้น มีความสำคัญหลายอย่าง อาจมีปัญหาอุปสรรคและการติดขัดเนื่องจากความไม่เข้าใจซึ่งกันและกัน และการสื่อสารออกไปบางครั้งไม่ตรงกับข้อเท็จจริง อีกทั้งความคิดของแต่ละคนห้ามไม่ได้ จะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ตนไปบังคับไม่ได้ ซึ่งจะต้องหาความร่วมมือระหว่างกันต่อไป ด้วยความเข้าใจซึ่งกันและกัน
"ขอร้องว่า ต้องให้เกียรติซึ่งกันและกัน และดูก่อนที่ครม.ใหม่เข้ามา และรัฐมนตรีที่เข้ามานั้น ไม่ใช่อยู่ตลอดไป ก็จะมีการปรับกันเรื่อยๆ"
เมื่อถามย้ำถึงเหตุผลในการสลับกระทรวงกัน ระหว่างพรรคภูมิใจไทย กับพรรคประชาธิปัตย์ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ต้องการให้มีการขับเคลื่อนงานให้รวดเร็วขึ้น ซึ่งตนก็คาดหวังเพราะมีหลายอย่างที่ต้องเร่งรัดดำเนินการในช่วงนี้ ด้วยความเข้าใจซึ่งกันและกัน ทั้งนี้ไม่ได้ผิดหลักการอะไร ถ้าทำไม่ดีก็ต้องปรับออก ปรับใหม่ และตนจะประเมินผลงานของรัฐมนตรีทุกกระทรวงเอง ในทุกๆ 3 เดือนอยู่แล้ว รวมทั้งข้าราชการ และหน่วยงานท้องถิ่นด้วย ไม่เช่นนั้นก็ไปด้วยกันไม่ได้
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึง น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รมว.ศึกษาธิการ ที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า นำคนจบด้านเศรษฐศาสตร์ มาบริหารกระทรวงศึกษาธิการ เหมาะสมหรือไม่ ว่า อย่าไปพูดอย่างนั้นเลย รัฐมนตรีไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิค จึงต้องขอยกพระราชดำรัส ของในหลวงรัชกาลที่ 9 เมื่อครั้ง นายจาตุรนต์ ฉายแสง เข้าถวายสัตย์ปฏิญาณ เป็นรมว.ยุติธรรม โดยโยกมาจากกระทรวงพลังงาน โดยในหลวงรัชกาลที่ 9 มีพระราชกระแสในวันดังกล่าวว่า "รัฐมนตรีนั้น ไม่ใช่ผู้ปฏิบัติการ แต่เป็นผู้กำหนดนโยบาย เป็นผู้บริหาร เพราะฉะนั้นจะจบอะไรมาถือเป็นนักบริหาร ถ้าเป็นนักบริหารต้องบริหารได้ คือบริหารคน บริหารเงิน บริหารงาน เขาไม่ได้ตั้งใจว่าหมอเท่านั้นที่ต้องเป็น รมว.สาธารณสุข ครูเท่านั้นต้องเป็น รมว.ศึกษาธิการ ทหารเท่านั้นต้องเป็น รมว.กลาโหม"
นายวิษณุ กล่าวด้วยว่า ถ้าไปดูในอดีต รมว.หลายกระทรวง ที่เราอาจจะยี๊เมื่อตอนเข้ามา แต่ต่อมากลายเป็น รมว.ที่ดีมาก หรือดีที่สุด เช่น พล.ต.อ.ประเสริฐ รุจิรวงศ์ อธิบดีกรมตำรวจ ในขณะนั้น และมาเป็นรมว.สาธารณสุข ใครๆ ก็แหย่ เรียกหมอเสริฐทำนองว่ายี้ แต่ต่อมาพล.ต.อ.ประเสริฐ เป็น รมว.สาธารณสุข ที่ทำความเจริญให้กับกระทรวงมากที่สุด จนเป็นที่ร่ำลือถึงปัจจุบัน ดังนั้นอย่าไปสนใจเรื่องเช่นนี้
วานนี้ (24มี.ค.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม กล่าวถึงการปรับครม.ภายหลังมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ รัฐมนตรีใหม่ ว่า การเข้าเฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณ รับทราบขั้นต้นว่าจะเป็นวันที่ 27 มี.ค. โดยจะมีคณะกรรมการตรวจสอบความเรียบร้อยก่อนในขั้นองคมนตรี ไม่น่ามีปัญหาอะไร
กรณี น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รมว. ศึกษาธิการ ถูกสังคมมองว่าไม่มีประสบการณ์ด้านการศึกษามาก่อนนั้น นายกฯกล่าวว่า การทำงานมีหลายระดับ โดยระดับนโยบาย คือนายกฯ ซึ่งตนก็ไม่มีประสบการณ์ด้านการศึกษามาก่อน เพราะเป็นทหาร แต่อย่าลืมว่ารัฐบาลเป็นผู้กำหนดนโยบาย ให้แนวทางในการวางแผนไปดำเนินการ มีกรอบยุทธศาสตร์ กรอบการปฏิรูปการศึกษา มีเรื่อง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ และมีแผนงานหลายอย่างที่รัฐมนตรีในช่วงที่ผ่านมาดำเนินการไว้แล้ว ฉะนั้นใครมาเป็นก็ตามต้องปฏิบัติตามนี้ นายกฯให้ความสำคัญในเรื่องการศึกษาเป็นพิเศษอยู่แล้ว อย่ามาบอกว่านายกฯไม่รู้ ตนรู้ แต่นายกฯไม่ใช่ผู้ปฏิบัติ นายกฯ เป็นผู้กำหนดนโยบาย และติดตามสั่งการในการปฏิบัติ กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ว่าใครจะพัฒนาอย่างไร
สำหรับ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ การปฏิรูปการศึกษา ยุทธศาสตร์ชาติ มีอยู่แล้วทุกข้อทุกเรื่อง เขาทำนอกเหนือจากนี้ไม่ได้ ซึ่งตนได้เน้นย้ำตรงนี้ไปแล้วว่าการทำงาน ของรัฐบาลไม่ใช่ทำงานการเมือง เป็นการทำงานตามกรอบอำนาจหน้าที่ฝ่ายบริหาร ซึ่งทุกคนที่เข้ามาเป็น ส.ส.เป็นคนที่ประชาชนเลือกมา ก็ต้องเคารพเขาในการที่มาเป็นรัฐมนตรี ซึ่งทั้งหมดก็ต้องถูกบริหารโดยนายกฯ ที่เป็นหัวหน้ารัฐบาล ก็จะเรียกเขามาคุยก่อนปฏิบัติหน้าที่ หลังจากมีพิธีถวายสัตย์ปฏิณญาณแล้ว ขอร้องว่าให้เกียรติซึ่งกันและกันไม่ว่าจะเป็นรัฐมนตรีคนไหนก็ตาม ทุกคนก็ต้องทำตามสิ่งเหล่านี้และตนก็ไม่เคยปล่อยปละละเลย และย้ำอยู่เสมอว่า ต้องระมัดระวังเรื่องของการทุจริต จะต้องโปร่งใสมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในการใช้จ่ายงบประมาณ และบริหารราชการอย่างมีเป้าหมาย ต้องดูว่าจะทำงานอะไรบ้างให้กับแต่ละกลุ่มแต่ละภาคส่วน ถือว่าขอร้องแล้วกันขอให้ช่วยกันสนับสนุนการทำงานของรัฐบาล ตามนโยบายและยุทธศาสตร์ชาติรวมทั้งแผนปฏิรูปการศึกษา ถ้าเราขัดแย้งกันมากๆ ก็คงทำอะไรไม่ได้อยู่ดี
"ตอนนี้ก็จะมีความเคลื่อนไหวรอบนอกขึ้นมาอีก ผมไม่อยากให้มีคำว่าเด็กดี เด็กเลว ทุกคนจะต้องร่วมมือกันทำให้เด็กของเราเป็นคนดี เพราะทุกคนคือพลังสำคัญของชาติ ต้องเรียนรู้ว่าอะไรคือความถูกต้องความชอบธรรมอะไรคือประชาธิปไตยที่เป็นสากล ไม่เช่นนั้นก็จะพูดกันว่านายกฯเผด็จการๆ ผมขอถามว่าเผด็จการตรงไหน วันนี้ยังไม่เห็นมีเผด็จการอะไรเลย ผมสั่งเฉพาะในอำนาจของผม ในฐานะฝ่ายบริหาร" นายกฯกล่าว
ส่วนเรื่องของกระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงคมนาคม ที่มีการปรับเปลี่ยน เพราะตนต้องการให้ทั้ง 2 กระทรวง มีการขับเคลื่อน เนื่องจากมีบทบาทสำคัญในช่วงนี้ โดยเฉพาะการสร้างโอกาสเรื่องของสาธารณูปโภคพื้นฐานให้ทุกคนเข้าถึงให้ได้โดยเร็ว เพื่อที่จะได้มีรายได้ทั้งในเรื่องของเศรษฐกิจการขนส่งสินค้า วันนี้เราต้องเร่งหารายได้ให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งได้มีการเสนอแผนการต่างๆ ผ่านที่ประชุมครม.มีการเปิดตลาด การเจรจาและเดินหน้า เปิดข้อตกลงเขตการค้าเสรี กับหลายๆ ประเทศรวมทั้งกลุ่มประเทศอียู ซึ่งทุกปัญหาตนรับไว้ทั้งหมดเพื่อขับเคลื่อนต่อไป
ในส่วนของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมนั้น มีความสำคัญหลายอย่าง อาจมีปัญหาอุปสรรคและการติดขัดเนื่องจากความไม่เข้าใจซึ่งกันและกัน และการสื่อสารออกไปบางครั้งไม่ตรงกับข้อเท็จจริง อีกทั้งความคิดของแต่ละคนห้ามไม่ได้ จะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ตนไปบังคับไม่ได้ ซึ่งจะต้องหาความร่วมมือระหว่างกันต่อไป ด้วยความเข้าใจซึ่งกันและกัน
"ขอร้องว่า ต้องให้เกียรติซึ่งกันและกัน และดูก่อนที่ครม.ใหม่เข้ามา และรัฐมนตรีที่เข้ามานั้น ไม่ใช่อยู่ตลอดไป ก็จะมีการปรับกันเรื่อยๆ"
เมื่อถามย้ำถึงเหตุผลในการสลับกระทรวงกัน ระหว่างพรรคภูมิใจไทย กับพรรคประชาธิปัตย์ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ต้องการให้มีการขับเคลื่อนงานให้รวดเร็วขึ้น ซึ่งตนก็คาดหวังเพราะมีหลายอย่างที่ต้องเร่งรัดดำเนินการในช่วงนี้ ด้วยความเข้าใจซึ่งกันและกัน ทั้งนี้ไม่ได้ผิดหลักการอะไร ถ้าทำไม่ดีก็ต้องปรับออก ปรับใหม่ และตนจะประเมินผลงานของรัฐมนตรีทุกกระทรวงเอง ในทุกๆ 3 เดือนอยู่แล้ว รวมทั้งข้าราชการ และหน่วยงานท้องถิ่นด้วย ไม่เช่นนั้นก็ไปด้วยกันไม่ได้
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึง น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รมว.ศึกษาธิการ ที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า นำคนจบด้านเศรษฐศาสตร์ มาบริหารกระทรวงศึกษาธิการ เหมาะสมหรือไม่ ว่า อย่าไปพูดอย่างนั้นเลย รัฐมนตรีไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิค จึงต้องขอยกพระราชดำรัส ของในหลวงรัชกาลที่ 9 เมื่อครั้ง นายจาตุรนต์ ฉายแสง เข้าถวายสัตย์ปฏิญาณ เป็นรมว.ยุติธรรม โดยโยกมาจากกระทรวงพลังงาน โดยในหลวงรัชกาลที่ 9 มีพระราชกระแสในวันดังกล่าวว่า "รัฐมนตรีนั้น ไม่ใช่ผู้ปฏิบัติการ แต่เป็นผู้กำหนดนโยบาย เป็นผู้บริหาร เพราะฉะนั้นจะจบอะไรมาถือเป็นนักบริหาร ถ้าเป็นนักบริหารต้องบริหารได้ คือบริหารคน บริหารเงิน บริหารงาน เขาไม่ได้ตั้งใจว่าหมอเท่านั้นที่ต้องเป็น รมว.สาธารณสุข ครูเท่านั้นต้องเป็น รมว.ศึกษาธิการ ทหารเท่านั้นต้องเป็น รมว.กลาโหม"
นายวิษณุ กล่าวด้วยว่า ถ้าไปดูในอดีต รมว.หลายกระทรวง ที่เราอาจจะยี๊เมื่อตอนเข้ามา แต่ต่อมากลายเป็น รมว.ที่ดีมาก หรือดีที่สุด เช่น พล.ต.อ.ประเสริฐ รุจิรวงศ์ อธิบดีกรมตำรวจ ในขณะนั้น และมาเป็นรมว.สาธารณสุข ใครๆ ก็แหย่ เรียกหมอเสริฐทำนองว่ายี้ แต่ต่อมาพล.ต.อ.ประเสริฐ เป็น รมว.สาธารณสุข ที่ทำความเจริญให้กับกระทรวงมากที่สุด จนเป็นที่ร่ำลือถึงปัจจุบัน ดังนั้นอย่าไปสนใจเรื่องเช่นนี้