กกพ. รอชัดเจนนโยบายการส่งเสริมกิจการก๊าซฯ เฟส 2 ก่อนเคาะอนุมัติใบอนุญาต LNG Shipperรายใหม่ คาด 1-2เดือนสรุป มี 3-4 รายยื่นมาแล้ว วงในเผยมีทั้ง“เอ็กโก ,PTTGLและ SCG ที่โดดเข้ามาร่วมวงด้วย
นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ในฐานะโฆษก กกพ. เปิดเผยว่าขณะนี้ กกพ.ยังไม่ได้พิจารณาอนุมัติใบอนุญาตจัดหาและค้าส่งก๊าซธรรมชาติ ( LNG Shipper)ให้กับภาคเอกชน เพิ่มเติมหลังจากอนุมัติรวมทั้งสิ้นไปแล้ว 5 ราย เนื่องจากต้องรอนโยบายความชัดเจนถึงแนวทางการส่งเสริม การแข่งขันในกิจการก๊าซธรรมชาติ ระยะที่ 2 ที่จะมีการเสนอรายละเอียดเข้าสู่การพิจารณาในการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.)ที่มีนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกฯ และรมว.พลังงาน เป็นประธานวันที่ 9 มี.ค.นี้ จากนั้นจะนำเข้าสู่การพิจารณาต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.) ที่มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธานต่อไป
"ขณะนี้มีเอกชนมายื่นขอเพิ่มเติม 3-4 ราย แต่ กกพ.ยังไม่อยากพิจารณาให้ช่วงนี้ เพราะต้องการให้มีความชัดเจนในเรื่องนโยบายก่อน ซึ่งยอมรับทุกคนก็อยากจะได้หมด แต่ตอนนี้ก็คงจะต้องมาดูเงื่อนไขเพิ่มเติมในการส่งเสริมให้รายเล็กได้มีโอกาสเข้ามาแข่งขันด้วย เหมือนกับกรณีร้านโชห่วย ย่อมไม่อาจแข่งขันกับร้านค้าปลีกใหญ่ๆได้ แต่การส่งเสริมก็ต้องให้เป็นธรรมทั้ง 2 ฝ่าย" นายคมกฤช กล่าว
สำหรับรายเล็กกกพ. มองว่าศักยภาพในการนำเข้า LNGและบริหารนั้นคงจะไม่สามารถสู้รายใหญ่ได้ จึงกำลังพิจารณาที่จะมีการเพิ่มเงื่อนไขในข้อกำหนดเกี่ยวกับการเปิดให้ใช้ หรือเชื่อมต่อระบบส่งก๊าซธรรมชาติบนบก แก่บุคคลที่สามหรือ (Third Party Access Code :TPA Code) ที่จะเอื้อให้รายเล็กมีการรวมกลุ่มกันนำเข้ามา เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดนี้จะต้องสอดรับกับแผนการส่งเสริมกิจการก๊าซฯ ระยะ2เป็นสำคัญ ซึ่งคาดว่า 1-2 เดือน จะมีความชัดเจนทั้งหมด
ทั้งนี้ กกพ. มีหน้าที่ออกใบอนุญาตให้เอกชนที่มีความพร้อมเสนอขอเป็น Shipperได้ตามกฎหมาย ที่ต้องการให้เกิดการแข่งขันและมีความเป็นธรรม แต่การอนุญาตก็เปรียบเสมือนการมาขอใบขับขี่รถยนต์ ซึ่งแต่ยังไม่เป็นเครื่องการันตีว่าผู้ได้รับใบอนุญาต จะได้นำเข้าก๊าซ LNG มาใช้ได้ทันที เพราะจะต้องดำเนินการอีกหลายขั้นตอน เช่น จะต้องประสานงานติดต่อคลังเก็บก๊าซธรรมชาติ และระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ฯลฯ และสิ่งสำคัญคือ ต้องคำนึงถึงการนำเข้ามา จะต้องไม่กระทบกับสัญญาไม่ใช้ก็ต้องจ่าย (TAKE OR PAY)กับ บมจ.ปตท. เพราะที่ผ่านมา ปตท.นำเข้าตามนโยบายรัฐในอดีต
แหล่งข่าวจาก บอร์ดกกพ. เผยว่า ขณะนี้ยังมีเอกชนประมาณ 3-4 ราย ที่ยื่นขอใบอนุญาตการเป็นผู้ประกอบการจัดหาและค้าส่งก๊าซธรรมชาติ ที่กกพ.ยังไม่ได้อนุมัติ เช่น บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ เอ็กโก , บริษัท พีทีที โกลบอล แอลเอ็นจี จำกัด (PTTGL)บริษัทในเครือปตท, บริษัทในเครือปูนซิเมนต์ไทย จำกัด(SCG)ฯลฯ ทำให้ปัจจุบันมีผู้ที่ได้รับใบอนุญาตจัดหา และค้าส่งก๊าซธรรมชาติทั้งหมดรวม 5 ราย ประกอบด้วย 1. บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) 2. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) 3. บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) 4. บริษัท หินกองเพาเวอร์โฮลดิ้ง จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนที่กัลฟ์ถือหุ้น 49% และบมจ.ราช กรุ๊ป (RATCH)ถือหุ้น51% และ5. บริษัท บี.กริม แอลเอ็นจี จำกัด
นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ในฐานะโฆษก กกพ. เปิดเผยว่าขณะนี้ กกพ.ยังไม่ได้พิจารณาอนุมัติใบอนุญาตจัดหาและค้าส่งก๊าซธรรมชาติ ( LNG Shipper)ให้กับภาคเอกชน เพิ่มเติมหลังจากอนุมัติรวมทั้งสิ้นไปแล้ว 5 ราย เนื่องจากต้องรอนโยบายความชัดเจนถึงแนวทางการส่งเสริม การแข่งขันในกิจการก๊าซธรรมชาติ ระยะที่ 2 ที่จะมีการเสนอรายละเอียดเข้าสู่การพิจารณาในการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.)ที่มีนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกฯ และรมว.พลังงาน เป็นประธานวันที่ 9 มี.ค.นี้ จากนั้นจะนำเข้าสู่การพิจารณาต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.) ที่มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธานต่อไป
"ขณะนี้มีเอกชนมายื่นขอเพิ่มเติม 3-4 ราย แต่ กกพ.ยังไม่อยากพิจารณาให้ช่วงนี้ เพราะต้องการให้มีความชัดเจนในเรื่องนโยบายก่อน ซึ่งยอมรับทุกคนก็อยากจะได้หมด แต่ตอนนี้ก็คงจะต้องมาดูเงื่อนไขเพิ่มเติมในการส่งเสริมให้รายเล็กได้มีโอกาสเข้ามาแข่งขันด้วย เหมือนกับกรณีร้านโชห่วย ย่อมไม่อาจแข่งขันกับร้านค้าปลีกใหญ่ๆได้ แต่การส่งเสริมก็ต้องให้เป็นธรรมทั้ง 2 ฝ่าย" นายคมกฤช กล่าว
สำหรับรายเล็กกกพ. มองว่าศักยภาพในการนำเข้า LNGและบริหารนั้นคงจะไม่สามารถสู้รายใหญ่ได้ จึงกำลังพิจารณาที่จะมีการเพิ่มเงื่อนไขในข้อกำหนดเกี่ยวกับการเปิดให้ใช้ หรือเชื่อมต่อระบบส่งก๊าซธรรมชาติบนบก แก่บุคคลที่สามหรือ (Third Party Access Code :TPA Code) ที่จะเอื้อให้รายเล็กมีการรวมกลุ่มกันนำเข้ามา เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดนี้จะต้องสอดรับกับแผนการส่งเสริมกิจการก๊าซฯ ระยะ2เป็นสำคัญ ซึ่งคาดว่า 1-2 เดือน จะมีความชัดเจนทั้งหมด
ทั้งนี้ กกพ. มีหน้าที่ออกใบอนุญาตให้เอกชนที่มีความพร้อมเสนอขอเป็น Shipperได้ตามกฎหมาย ที่ต้องการให้เกิดการแข่งขันและมีความเป็นธรรม แต่การอนุญาตก็เปรียบเสมือนการมาขอใบขับขี่รถยนต์ ซึ่งแต่ยังไม่เป็นเครื่องการันตีว่าผู้ได้รับใบอนุญาต จะได้นำเข้าก๊าซ LNG มาใช้ได้ทันที เพราะจะต้องดำเนินการอีกหลายขั้นตอน เช่น จะต้องประสานงานติดต่อคลังเก็บก๊าซธรรมชาติ และระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ฯลฯ และสิ่งสำคัญคือ ต้องคำนึงถึงการนำเข้ามา จะต้องไม่กระทบกับสัญญาไม่ใช้ก็ต้องจ่าย (TAKE OR PAY)กับ บมจ.ปตท. เพราะที่ผ่านมา ปตท.นำเข้าตามนโยบายรัฐในอดีต
แหล่งข่าวจาก บอร์ดกกพ. เผยว่า ขณะนี้ยังมีเอกชนประมาณ 3-4 ราย ที่ยื่นขอใบอนุญาตการเป็นผู้ประกอบการจัดหาและค้าส่งก๊าซธรรมชาติ ที่กกพ.ยังไม่ได้อนุมัติ เช่น บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ เอ็กโก , บริษัท พีทีที โกลบอล แอลเอ็นจี จำกัด (PTTGL)บริษัทในเครือปตท, บริษัทในเครือปูนซิเมนต์ไทย จำกัด(SCG)ฯลฯ ทำให้ปัจจุบันมีผู้ที่ได้รับใบอนุญาตจัดหา และค้าส่งก๊าซธรรมชาติทั้งหมดรวม 5 ราย ประกอบด้วย 1. บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) 2. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) 3. บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) 4. บริษัท หินกองเพาเวอร์โฮลดิ้ง จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนที่กัลฟ์ถือหุ้น 49% และบมจ.ราช กรุ๊ป (RATCH)ถือหุ้น51% และ5. บริษัท บี.กริม แอลเอ็นจี จำกัด