ผู้จัดการรายวัน 360 - รมว.คลัง คาดการณ์จีดีพีปีนี้อาจโตแค่ 2.8% ต่ำกว่าเป้าหมายเดิมที่ตั้งไว้ 4% เล็งออกมาตรการระยะสั้นกระตุ้นเพิ่ม พร้อมปรับ พ.ร.ก.ซอฟต์โลน วงเงินที่เหลือ 3 แสนล้านบาท ให้ธุรกิจกู้ได้สูงสุด 500 ล้านบาท เปิดช่องดอกเบี้ยมากกว่า 2% พร้อมแบ่งเงินช่วยโครงการโกดังเก็บหนี้ อุ้มธุรกิจเป็นหนี้เสีย รัฐเว้นภาษีการตีโอนทรัพย์ให้ คาด 2 เดือนแล้วเสร็จ
วานนี้ (3 มี.ค.) นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.การคลัง กล่าวปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ “ทิศทางฟื้นเศรษฐกิจ ฝ่าวิกฤติโควิด 2564” ว่า คาดการณ์ว่าตัวเลขเศรษฐกิจไทย (จีดีพี) ในปี 2564 จะขยายตัวได้ที่ 2.8% คงไม่ถึง 4% ตามที่เคยคาดการณ์ไว้ จากปี 2563 ที่ขยายตัวติดลบ 6.1% เนื่องจากดีมานต์จากต่างประเทศ โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวที่ยังไม่ฟื้นตัว นักท่องเที่ยวต่างชาติยังเข้ามาไม่ได้ ซึ่งภาคการท่องเที่ยวคิดเป็น 12% ของจีดีพี รวมถึงการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ ที่ส่งผลกระทบให้เศรษฐกิจไทยในช่วง 1-2 เดือนแรกของปีนี้ต้องชะงักไป จากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ด้วยการจำกัดบางพื้นที่ในการเดินทาง ซึ่งส่งผลกระทบกับภาพรวมเศรษฐกิจเป็นวงกว้าง
ทั้งนี้ จากปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว ทำให้ในปีนี้รัฐบาลยังมีคามจำเป็นต้องออกมาตรการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศเป็นหลัก โดยที่ผ่านมามีหลายมาตรการที่ออกมา ซึ่งเป็นทั้งมาตรการในลักษณะการเยียวยาและกระตุ้นเศรษฐกิจไปพร้อมกัน อาทิ มาตรการคนละครึ่ง มาตราการเราชนะ และหลังจากนี้มองว่ารัฐบาลยังมีความจำเป็นต้องออกมาตรการระยะสั้นเพื่อกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจอยู่
นายอาคม กล่าวเพิ่มเติมว่า กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างการหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อแก้ไขพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ซอฟท์โลน) วงเงิน 5 แสนล้านบาท ที่ยังคงเหลืออยู่ประมาณ 300,000 แสนล้านบาท โดยเบื้องต้นจะมีการร่าง พ.ร.ก. ขึ้นใหม่ เพื่อแก้ไขปัญหา พ.ร.ก. ฉบับเดิม มีวัตถุประสงค์ 2 เรื่อง คือ 1. ให้สามารถปล่อยกู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำให้กับธุรกิจขนาดใหญ่ได้ ซึ่งคาดว่าจะใช้วงเงินรวมหลักแสนล้านบาท โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาหลักเกณฑ์ ว่าจะปล่อยสูงสุดต่อรายที่ 500 ล้านบาท จากเดิมที่รายละ 20 ล้านบาท ส่วนอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ประมาณ 2% หรือมากกว่า
2. พ.ร.ก. ฉบับใหม่นี้จะครอบคลุมมาตรการโกดังเก็บหนี้ (Asset Warehousing) ซึ่งอยู่ระหว่างการสรุปรายละเอียด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่มีปัญหาสภาพคล่องจากผลกระทบของโควิด-19 สามารถขายหรือโอนกรรมสิทธิ์ความเป็นเจ้าของให้กับสถาบันการเงิน สามารถซื้อขายได้ตามราคาที่ตกลงกันไว้ ไม่ใช่ราคาตลาดโดย คาดว่า พ.ร.ก. ฉบับใหม่นี้ จะใช้เวลาแล้วเสร็จภายใน 2 เดือน หรือเร็วกว่านี้
กกร.ดันมาตรการพักทรัพย์ พักหนี้
นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยหลังทำหน้าที่ประธานที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน ว่า กกร.ได้หารือถึงมาตรการช่วยเหลือภาคธุรกิจ ภายใต้แนวคิด “ปรับปรุง ฟื้นฟู เปลี่ยนแปลง” เพื่อประคองและรักษาเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจภายใต้ช้อเสนอของสมาคมธนาคารไทยซึ่งมาตรการดังกล่าวจะทำให้ภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบโควิด-19 สามารถที่จะเดินหน้าขับเคลื่อนธุรกิจต่อไปโดยเฉพาะโครงการพักทรัพย์พักหนี้ Asset Warehousing ที่คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ได้ภายใน 2 เดือนนี้
ส่วนทิศทางเศรษฐกิจไทยปี 2564 นั้น กกร.ได้ประเมินเศรษฐกิจ จะขยายตัวในกรอบ 1.5-3.5% การส่งออกขยายตัวได้ 3-5% ขณะที่อัตราเงินเฟ้อ อยู่ในกรอบ 0.8-1.0% เนื่องจากมองว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มทยอยฟื้นตัวได้ดีหลังจากที่ทั่วโลกรวมถึงไทยมียอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ลดลงและเริ่มมีการฉีดวัคซีนในประเทศที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนและภาคธุรกิจ ประกอบกับมาตรการรัฐที่ผ่านมาช่วยกระตุ้นแรงซื้อในระดับรากหญ้าได้อย่างทั่วถึง
วานนี้ (3 มี.ค.) นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.การคลัง กล่าวปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ “ทิศทางฟื้นเศรษฐกิจ ฝ่าวิกฤติโควิด 2564” ว่า คาดการณ์ว่าตัวเลขเศรษฐกิจไทย (จีดีพี) ในปี 2564 จะขยายตัวได้ที่ 2.8% คงไม่ถึง 4% ตามที่เคยคาดการณ์ไว้ จากปี 2563 ที่ขยายตัวติดลบ 6.1% เนื่องจากดีมานต์จากต่างประเทศ โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวที่ยังไม่ฟื้นตัว นักท่องเที่ยวต่างชาติยังเข้ามาไม่ได้ ซึ่งภาคการท่องเที่ยวคิดเป็น 12% ของจีดีพี รวมถึงการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ ที่ส่งผลกระทบให้เศรษฐกิจไทยในช่วง 1-2 เดือนแรกของปีนี้ต้องชะงักไป จากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ด้วยการจำกัดบางพื้นที่ในการเดินทาง ซึ่งส่งผลกระทบกับภาพรวมเศรษฐกิจเป็นวงกว้าง
ทั้งนี้ จากปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว ทำให้ในปีนี้รัฐบาลยังมีคามจำเป็นต้องออกมาตรการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศเป็นหลัก โดยที่ผ่านมามีหลายมาตรการที่ออกมา ซึ่งเป็นทั้งมาตรการในลักษณะการเยียวยาและกระตุ้นเศรษฐกิจไปพร้อมกัน อาทิ มาตรการคนละครึ่ง มาตราการเราชนะ และหลังจากนี้มองว่ารัฐบาลยังมีความจำเป็นต้องออกมาตรการระยะสั้นเพื่อกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจอยู่
นายอาคม กล่าวเพิ่มเติมว่า กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างการหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อแก้ไขพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ซอฟท์โลน) วงเงิน 5 แสนล้านบาท ที่ยังคงเหลืออยู่ประมาณ 300,000 แสนล้านบาท โดยเบื้องต้นจะมีการร่าง พ.ร.ก. ขึ้นใหม่ เพื่อแก้ไขปัญหา พ.ร.ก. ฉบับเดิม มีวัตถุประสงค์ 2 เรื่อง คือ 1. ให้สามารถปล่อยกู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำให้กับธุรกิจขนาดใหญ่ได้ ซึ่งคาดว่าจะใช้วงเงินรวมหลักแสนล้านบาท โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาหลักเกณฑ์ ว่าจะปล่อยสูงสุดต่อรายที่ 500 ล้านบาท จากเดิมที่รายละ 20 ล้านบาท ส่วนอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ประมาณ 2% หรือมากกว่า
2. พ.ร.ก. ฉบับใหม่นี้จะครอบคลุมมาตรการโกดังเก็บหนี้ (Asset Warehousing) ซึ่งอยู่ระหว่างการสรุปรายละเอียด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่มีปัญหาสภาพคล่องจากผลกระทบของโควิด-19 สามารถขายหรือโอนกรรมสิทธิ์ความเป็นเจ้าของให้กับสถาบันการเงิน สามารถซื้อขายได้ตามราคาที่ตกลงกันไว้ ไม่ใช่ราคาตลาดโดย คาดว่า พ.ร.ก. ฉบับใหม่นี้ จะใช้เวลาแล้วเสร็จภายใน 2 เดือน หรือเร็วกว่านี้
กกร.ดันมาตรการพักทรัพย์ พักหนี้
นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยหลังทำหน้าที่ประธานที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน ว่า กกร.ได้หารือถึงมาตรการช่วยเหลือภาคธุรกิจ ภายใต้แนวคิด “ปรับปรุง ฟื้นฟู เปลี่ยนแปลง” เพื่อประคองและรักษาเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจภายใต้ช้อเสนอของสมาคมธนาคารไทยซึ่งมาตรการดังกล่าวจะทำให้ภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบโควิด-19 สามารถที่จะเดินหน้าขับเคลื่อนธุรกิจต่อไปโดยเฉพาะโครงการพักทรัพย์พักหนี้ Asset Warehousing ที่คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ได้ภายใน 2 เดือนนี้
ส่วนทิศทางเศรษฐกิจไทยปี 2564 นั้น กกร.ได้ประเมินเศรษฐกิจ จะขยายตัวในกรอบ 1.5-3.5% การส่งออกขยายตัวได้ 3-5% ขณะที่อัตราเงินเฟ้อ อยู่ในกรอบ 0.8-1.0% เนื่องจากมองว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มทยอยฟื้นตัวได้ดีหลังจากที่ทั่วโลกรวมถึงไทยมียอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ลดลงและเริ่มมีการฉีดวัคซีนในประเทศที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนและภาคธุรกิจ ประกอบกับมาตรการรัฐที่ผ่านมาช่วยกระตุ้นแรงซื้อในระดับรากหญ้าได้อย่างทั่วถึง