ตำรวจพม่าเปิดฉากยิงใส่ผู้ประท้วงเป็นวันที่ 2 ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 4 คนและได้รับบาดเจ็บอีกจำนวนมาก เมื่อวันอาทิตย์ (28 ก.พ.) ขณะที่ประชาชนยังคงออกไปชุมนุมต่อต้านการปกครองของกองทัพทั่วประเทศ
พม่าเผชิญความโกลาหลวุ่นวาย นับจากที่กองทัพเข้ายึดอำนาจ พร้อมควบคุมตัว อองซาน ซูจี ผู้นำรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง และสมาชิกชั้นนำอีกหลายคนของพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (เอ็นแอลดี) เมื่อวันที่ 1 ก.พ. โดยกล่าวหาว่า การเลือกตั้งในเดือนพ.ย.63 ที่พรรคเอ็นแอลดี ของ นางอองซาน ซูจี ชนะถล่มทลายมีการโกงขนานใหญ่
การรัฐประหารทำให้กระบวนการผ่องถ่ายประชาธิปไตยภายหลังยุคเผด็จการทหารนานเกือบครึ่งศตวรรษหยุดชะงัก และผลักดันประชาชนนับแสนลงสู่ท้องถนน อีกทั้งเรียกเสียงประณามจากประเทศตะวันตก
ชาร์ลส์ หม่อง โบ พระราชาคณะศาสนาคริสต์นิกายแคทอลิกในพม่า ทวิตว่า เมียนมาร์มีสภาพราวกับสนามรบ
ขณะที่แพทย์คนหนึ่งเล่าว่า ตำรวจเปิดฉากยิงใส่กลุ่มผู้ประท้วงในหลายจุดในเมืองย่างกุ้ง หลังจากใช้ระเบิดแสง และแก๊สน้ำตา แต่ไม่สามารถสลายฝูงชนได้ และมีชายคนหนึ่งถูกยิงที่หน้าอกเสียชีวิต
ตำรวจยังใช้ระเบิดแสงสลายการชุมนุมของกลุ่มครู และทำให้ครูผู้หญิงคนหนึ่งเสียชีวิต ซึ่งอาจเกิดจากหัวใจวาย
จอ มิน ไท่ นักการเมืองท้องถิ่น เผยว่า ตำรวจยิงใส่ผู้ชุมนุมในเมืองทวาย ทำให้มีผู้เสียชีวิต 3 คน และบาดเจ็บอีกหลายคน
ขณะเดียวกัน เว็บไซต์ข่าวอิระวดี รายงานว่า มีผู้เสียชีวิตหนึ่งคนในเมืองมัณฑะเลย์ จากการปราบปรามของตำรวจ และมูลนิธิแห่งหนึ่งเผยว่ามีผู้เสียชีวิต 2 คน ในเมืองพะโค ตอนกลางของประเทศ นอกจากนั้นยังมีรายงานการกวาดล้างของตำรวจในเมืองล่าเสี้ยว ทางตะวันออกเฉียงเหนือและมะริดทางใต้สุด
สัปดาห์ที่แล้ว พล.อ.มิน อ่อง หลาย ผู้นำรัฐบาลทหาร ประกาศว่ารัฐบาลใช้กำลังน้อยที่สุดในการจัดการการประท้วง กระนั้นก็ตามมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 5 คน และกองทัพเผยว่าตำรวจเสียชีวิต 1 นาย
การใช้กำลังปราบปรามครั้งล่าสุดต่อเนื่อง 2 วัน ในช่วงสุดสัปดาห์ดูเหมือนเป็นการตัดสินใจขั้นเด็ดขาดของกองทัพ เพื่อจัดการการขัดขืนของประชาชนทั่วประเทศ ไม่ใช่เฉพาะผู้ชุมนุมบนถนนเท่านั้น แต่ยังรวมถึงข้าราชการ หน่วยงานปกครองระดับท้องถิ่น ภาคตุลาการ การศึกษา สาธารณสุข และสื่อ
กลุ่มพันธมิตรเสื้อกาวน์ขาว เผยว่า มีบุคลากรทางการแพทย์กว่า 50 คน ถูกจับกุม ขณะที่สถานีเอ็มอาร์ทีวี ของรัฐบาลรายงานว่า มีผู้ถูกจับกุมกว่า 470 คน เมื่อวันเสาร์หลังจากตำรวจเริ่มการกวาดล้างทั่วประเทศ
ปฏิบัติการดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากสถานีทีวีของรัฐประกาศข่าวการปลด จอ โม ตุน เอกอัครราชทูตประจำสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ข้อหาทรยศประเทศ หลังจากทูตพม่าผู้นี้ เรียกร้องให้ยูเอ็นใช้ “วิธีการใดๆ ที่จำเป็น” ล้มล้างการรัฐประหาร
แม้ชาติตะวันตกประณามการรัฐประหาร และบางประเทศประกาศแซงก์ชัน ทว่าบรรดานายพลของพม่า หาได้สนใจการกดดันทางการทูตไม่ โดยกองทัพให้สัญญา จะจัดการเลือกตั้งใหม่แต่ไม่ได้ระบุกรอบเวลา
ด้านพรรคเอ็นแอลดีและผู้สนับสนุนเรียกร้องให้ทหารเคารพผลการเลือกตั้งเมื่อปลายปีที่แล้ว
ทั้งนี้ ซูจี ที่เคยถูกควบคุมตัวภายในบ้านพักนาน 15 ปี ระหว่างช่วงที่ทหารปกครองประเทศ ถูกตั้งข้อหาลักลอบนำเข้าวิทยุสื่อสาร 6 เครื่อง และละเมิดกฎหมายภัยพิบัติธรรมชาติจากการละเมิดกฎป้องกันการระบาดของไวรัสโคโรนา โดยมีกำหนดขึ้นศาลอีกครั้ง ในวันจันทร์ (1มี.ค.)
พม่าเผชิญความโกลาหลวุ่นวาย นับจากที่กองทัพเข้ายึดอำนาจ พร้อมควบคุมตัว อองซาน ซูจี ผู้นำรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง และสมาชิกชั้นนำอีกหลายคนของพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (เอ็นแอลดี) เมื่อวันที่ 1 ก.พ. โดยกล่าวหาว่า การเลือกตั้งในเดือนพ.ย.63 ที่พรรคเอ็นแอลดี ของ นางอองซาน ซูจี ชนะถล่มทลายมีการโกงขนานใหญ่
การรัฐประหารทำให้กระบวนการผ่องถ่ายประชาธิปไตยภายหลังยุคเผด็จการทหารนานเกือบครึ่งศตวรรษหยุดชะงัก และผลักดันประชาชนนับแสนลงสู่ท้องถนน อีกทั้งเรียกเสียงประณามจากประเทศตะวันตก
ชาร์ลส์ หม่อง โบ พระราชาคณะศาสนาคริสต์นิกายแคทอลิกในพม่า ทวิตว่า เมียนมาร์มีสภาพราวกับสนามรบ
ขณะที่แพทย์คนหนึ่งเล่าว่า ตำรวจเปิดฉากยิงใส่กลุ่มผู้ประท้วงในหลายจุดในเมืองย่างกุ้ง หลังจากใช้ระเบิดแสง และแก๊สน้ำตา แต่ไม่สามารถสลายฝูงชนได้ และมีชายคนหนึ่งถูกยิงที่หน้าอกเสียชีวิต
ตำรวจยังใช้ระเบิดแสงสลายการชุมนุมของกลุ่มครู และทำให้ครูผู้หญิงคนหนึ่งเสียชีวิต ซึ่งอาจเกิดจากหัวใจวาย
จอ มิน ไท่ นักการเมืองท้องถิ่น เผยว่า ตำรวจยิงใส่ผู้ชุมนุมในเมืองทวาย ทำให้มีผู้เสียชีวิต 3 คน และบาดเจ็บอีกหลายคน
ขณะเดียวกัน เว็บไซต์ข่าวอิระวดี รายงานว่า มีผู้เสียชีวิตหนึ่งคนในเมืองมัณฑะเลย์ จากการปราบปรามของตำรวจ และมูลนิธิแห่งหนึ่งเผยว่ามีผู้เสียชีวิต 2 คน ในเมืองพะโค ตอนกลางของประเทศ นอกจากนั้นยังมีรายงานการกวาดล้างของตำรวจในเมืองล่าเสี้ยว ทางตะวันออกเฉียงเหนือและมะริดทางใต้สุด
สัปดาห์ที่แล้ว พล.อ.มิน อ่อง หลาย ผู้นำรัฐบาลทหาร ประกาศว่ารัฐบาลใช้กำลังน้อยที่สุดในการจัดการการประท้วง กระนั้นก็ตามมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 5 คน และกองทัพเผยว่าตำรวจเสียชีวิต 1 นาย
การใช้กำลังปราบปรามครั้งล่าสุดต่อเนื่อง 2 วัน ในช่วงสุดสัปดาห์ดูเหมือนเป็นการตัดสินใจขั้นเด็ดขาดของกองทัพ เพื่อจัดการการขัดขืนของประชาชนทั่วประเทศ ไม่ใช่เฉพาะผู้ชุมนุมบนถนนเท่านั้น แต่ยังรวมถึงข้าราชการ หน่วยงานปกครองระดับท้องถิ่น ภาคตุลาการ การศึกษา สาธารณสุข และสื่อ
กลุ่มพันธมิตรเสื้อกาวน์ขาว เผยว่า มีบุคลากรทางการแพทย์กว่า 50 คน ถูกจับกุม ขณะที่สถานีเอ็มอาร์ทีวี ของรัฐบาลรายงานว่า มีผู้ถูกจับกุมกว่า 470 คน เมื่อวันเสาร์หลังจากตำรวจเริ่มการกวาดล้างทั่วประเทศ
ปฏิบัติการดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากสถานีทีวีของรัฐประกาศข่าวการปลด จอ โม ตุน เอกอัครราชทูตประจำสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ข้อหาทรยศประเทศ หลังจากทูตพม่าผู้นี้ เรียกร้องให้ยูเอ็นใช้ “วิธีการใดๆ ที่จำเป็น” ล้มล้างการรัฐประหาร
แม้ชาติตะวันตกประณามการรัฐประหาร และบางประเทศประกาศแซงก์ชัน ทว่าบรรดานายพลของพม่า หาได้สนใจการกดดันทางการทูตไม่ โดยกองทัพให้สัญญา จะจัดการเลือกตั้งใหม่แต่ไม่ได้ระบุกรอบเวลา
ด้านพรรคเอ็นแอลดีและผู้สนับสนุนเรียกร้องให้ทหารเคารพผลการเลือกตั้งเมื่อปลายปีที่แล้ว
ทั้งนี้ ซูจี ที่เคยถูกควบคุมตัวภายในบ้านพักนาน 15 ปี ระหว่างช่วงที่ทหารปกครองประเทศ ถูกตั้งข้อหาลักลอบนำเข้าวิทยุสื่อสาร 6 เครื่อง และละเมิดกฎหมายภัยพิบัติธรรมชาติจากการละเมิดกฎป้องกันการระบาดของไวรัสโคโรนา โดยมีกำหนดขึ้นศาลอีกครั้ง ในวันจันทร์ (1มี.ค.)