องค์การอนามัยโลก (WHO) ยันชัด “สื่อนอก” รายงาน "บิดเบือน" อ้าง "ตลาดนัดจตุจักร" เป็นต้นกำเนิด "โควิด-19" ก่อนระบาดในอู่ฮั่น ชี้ยังไม่สรุปภารกิจต้นกำเนิดไวรัส “อนุทิน” ย้ำวัคซีนโควิดฉีดฟรี ฮึ่มใครแอบอ้างเล่นงานหนักแน่
จากกรณีที่เว็บไซต์ข่าวแห่งหนึ่งของประเทศเดนมาร์ก รายงานอ้างข้อมูลจาก แพทย์ชาวเดนมาร์ก ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดต่อขององค์การอนามัยโลก (WHO) ซึ่งตั้งข้อสงสัยว่า ตลาดนัดจตุจักรใน กทม. อาจเป็นต้นตอของการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 แทนที่จะเป็นตลาดในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีนก็เป็นได้
วานนี้ (25 ก.พ.) เวบไซต์ องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ชี้แจงว่า WHO ได้รวบรวมคณะผู้เชี่ยวชาญจากนานาชาติเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในภารกิจการสืบหาต้นกำเนิดของไวรัสซึ่งก่อโรคโควิด-19 คณะผู้เชี่ยวชาญนี้ประกอบด้วยนักวิทยาศาสตร์อิสระ ซึ่งหนึ่งในนั้นได้ถูกสื่อยกคำพูดไปอ้างอิงอย่างไม่ถูกต้อง โดยกล่าวว่าประเทศไทยเป็นต้นกำเนิดของไวรัส ขณะนี้ไม่มีหลักฐานใดที่บ่งชี้ว่า ต้นกำเนิดของไวรัสอยู่ในประเทศไทย และบทความที่มีข้อความบิดเบือนดังกล่าวได้รับการแก้ไขแล้ว และล่าสุดคณะทำงานได้เสร็จสิ้นภารกิจในประเทศจีนและกำลังอยู่ในขั้นตอนการเขียนรายงาน รายงานจะสรุปข้อค้นพบจากภารกิจครั้งนี้ ซึ่งรวมถึงประเด็นการพูดคุยอภิปรายกับทางนักวิทยาศาสตร์จีน ภาพรวมของข้อค้นพบต่างๆ ได้มีการสื่อสารผ่านการแถลงข่าวแล้วในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ส่วนรายงานจะกล่าวถึงช่องว่างทางองค์ความรู้ที่ยังมีอยู่และขั้นตอนต่อไปที่ควรปฏิบัติ ซึ่งรวมถึงการศึกษาค้นคว้าที่ต้องทำในประเทศจีนและที่อื่นๆ ด้วย
ขณะที่ พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. รายงานสถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทยประจำวันว่า พบผู้ติดเชื้อยืนยันรายใหม่ 72 ราย แบ่งเป็นผู้ป่วยรายใหม่จากระบบเฝ้าระวังและระบบบริการฯ 43 ราย จากการค้นหาผู้ติดเชื้อเชิงรุกในชุมชน 20 ราย และเป็นผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ เข้า State Quarantine 9 ราย ส่งผลให้ยอดผู้ป่วยยืนยันสะสมเพิ่มขึ้นเป็น 25,764 ราย ขณะที่มีจำนวนคนหายป่วยเพิ่มขึ้น 192 ราย รวมหายป่วยแล้ว 24,734 ราย ยังรักษาตัวอยู่ 947 ราย ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตเพิ่ม อยู่ที่ 83 ราย
พญ.อภิสมัย เปิดเผยด้วยว่า การพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่ต้องจับตา คือการติดเชื้อเป็นกลุ่มก้อนในกลุ่มนักกีฬาฟุตซอล ซึ่งเป็นนักเตะในทีม อ.เมืองสมุทรสาคร มีสมาชิกในทีม 11 คน พบติดเชื้อ 7 คน โดยในจำนวนคนที่ติดเชื้อ มีนักเตะ 2 คน เป็นคน กทม. ทำให้ต้องนับรวมเป็นผู้ป่วยของพื้นที่ กทม. และขณะนี้ค้นพบผู้สัมผัสเสี่ยงสูงแล้ว 50 คน
“ศบค.ได้หารือกับ จ.สมุทรสาครและ กทม.แล้วพบว่า มีนักเรียนที่เป็นนักกีฬาฟุตซอล อาศัยอยู่ใน กทม.แต่ข้ามไปเล่นกีฬาใน จ.สมุทรสาคร จากนั้นกลับมาทำกิจกรรมในโรงเรียนที่กทม. การเดินทางข้ามพื้นที่แบบนี้ จึงเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการติดเชื้อและเป็นการติดเชื้อในกลุ่มคนใกล้ชิดคุ้นเคยกัน ซึ่งติดตามอย่างใกล้ชิดว่าสถานการณ์ในกลุ่มนี้ตัวเลขผู้ติดเชื้อจะอยู่ที่เท่าใด” พญ.อภิสมัย กล่าว
อีกด้าน ที่กระทรวงสาธารณสุข นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯและ รมว.สาธารณสุข (สธ.) เป็นประธานเปิดการประชุม “คิกออฟ อสม.พร้อมบอกต่อเรื่องฉีดวัคซีนป้องกันโควิด 19” ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ทั่วประเทศ ผ่านระบบวิดีโอทางไกล โดยมี นายสาธิต ปิตุเตชะ รมช.สาธารณสุข ร่วมประชุมด้วย
นายอนุทินกล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทยมีวัคซีนป้องกันโควิด-19 แล้ว 317,600 โดส ที่มาจาก 2 แหล่ง จากบริษัทซิโนแวค ประเทศจีน และบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า ในเวลาเดียวกัน เป็นนิมิตหมายอันดีในการเข้าถึงวัคซีนของประเทศไทย และขอย้ำว่าเป็นวัคซีนเพื่อคนไทยและทุกคนที่อาศัยในประเทศไทย เพื่อการป้องกันโควิด-19 อย่างมีประสิทธิภาพ โดยวัคซีนล็อตแรกรัฐบาลรับเป็นเจ้าภาพทั้งหมด หากมีใครแอบอ้างว่าจะต้องจ่ายค่าดำเนินฉีดวัคซีนโควิด-19 จะต้องดำเนินการทางคดีให้เด็ดขาด เพราะค่าใช้จ่ายในการฉีด สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เป็นผู้รับผิดชอบ ส่วนรัฐบาลเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายซื้อวัคซีนและค่าบริหารจัดการ
นายอนุทิน กล่าวต่อว่า วัคซีนซิโนแวคจะเข้ามาเพิ่มเติมในเดือน มี.ค. 800,000 โดส และ เม.ย.อีก 1,000,000 โดส รวมเป็น 2 ล้านโดส และต่อไปในเดือน พ.ค.-มิ.ย. วัคซีนจากแอสตร้าฯ ที่ผลิตโดยบริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ เป็นล็อตผลิตในประเทศไทย จะทยอยออกมา โดยเดือนแรกๆ จะนำมาฉีดให้ประชาชนประมาณ 5 ล้านโดสต่อเดือน และระยะถัดไปจะขยายเป็น 10 ล้านโดสต่อเดือน จนครบ 61 ล้านโดส ซึ่งเมื่อแยกกลุ่มผู้ที่มีข้อจำกัดในการได้รับวัคซีนออก เช่น หญิงตั้งครรภ์ ผู้มีอายุต่ำกว่า 18 ปี หรือกลุ่มผู้ที่ไม่สามารถฉีดวัคซีนได้ จำนวนวัคซีนที่เราจัดหาไว้ก็จะครอบคลุมในกลุ่มเสี่ยงและผู้ที่ควรได้รับวัคซีนในประเทศไทยทุกคน
“ขอให้ อสม.ไปทำความเข้าใจให้ประชาชน สธ.ยืนยันว่าผู้ที่ควรจะได้รับวัคซีนจะได้รับอย่างครบถ้วน โดยคาดว่าหลังปี 2564 หรือไตรมาสสุดท้ายของปี จะมีวัคซีนออกมาให้เราเลือกมากมาย ดังนั้น ขณะนี้เราไม่จำเป็นต้องรีบซื้อวัคซีน แต่ส่วนที่เราซื้อมาแล้ว ก็ต้องรีบใช้” นายอนุทิน ระบุ
ด้าน นพ.โสภณ เมฆธน กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการอำนวยการบริหารจัดการวัคซีนโควิด-19 เปิดเผยว่า คาดการณ์การฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้กับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และนายอนุทิน พร้อมทั้งนายสาธิต จะมีขึ้นในวันที่ 28 ก.พ.นี้ หลังจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์มีการตรวจรับรองรุ่นการผลิต ตรวจสอบประสิทธิภาพของวัคซีนทั้ง 2 บริษัทแล้วเสร็จ โดยสถานที่ที่จะมีการฉีดวัคซีน คือ สถาบันบำราศนราดูร ส่วนเรื่องการฉีดในประชาชนทั่วไปในแต่ละจังหวัดจะเริ่มวันที่ 1 มี.ค.นี้ ส่วนเรื่องรายละเอียดหรือแผนการฉีดกรมควบคุมจะเป็นผู้ดำเนินการ
รายงานข่าวแจ้งว่า กำหนดการฉีดวัคซีนสำหรับ พล.อ.ประยุทธ์ เพื่อสร้างความมั่นใจก่อนนำไปฉีดให้กับประชาชน ในวันที่ 28 ก.พ. เวลา 07.30 น. ที่สถาบันบำราศนราดูร โดย พล.อ.ประยุทธ์ แพทย์มีความเห็นว่าควรฉีดวัคซีนจากบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า เป็นเทคโนโลยีไวรัลเวกเตอร์ (Viral vector) ตามข้อบ่งชี้ของวัคซีน ขณะที่นายอนุทิน และนายสาธิต จะได้รับวัคซีนจากบริษัทซิโนแวค ที่เป็นเทคโนโลยีเชื้อตาย
จากกรณีที่เว็บไซต์ข่าวแห่งหนึ่งของประเทศเดนมาร์ก รายงานอ้างข้อมูลจาก แพทย์ชาวเดนมาร์ก ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดต่อขององค์การอนามัยโลก (WHO) ซึ่งตั้งข้อสงสัยว่า ตลาดนัดจตุจักรใน กทม. อาจเป็นต้นตอของการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 แทนที่จะเป็นตลาดในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีนก็เป็นได้
วานนี้ (25 ก.พ.) เวบไซต์ องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ชี้แจงว่า WHO ได้รวบรวมคณะผู้เชี่ยวชาญจากนานาชาติเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในภารกิจการสืบหาต้นกำเนิดของไวรัสซึ่งก่อโรคโควิด-19 คณะผู้เชี่ยวชาญนี้ประกอบด้วยนักวิทยาศาสตร์อิสระ ซึ่งหนึ่งในนั้นได้ถูกสื่อยกคำพูดไปอ้างอิงอย่างไม่ถูกต้อง โดยกล่าวว่าประเทศไทยเป็นต้นกำเนิดของไวรัส ขณะนี้ไม่มีหลักฐานใดที่บ่งชี้ว่า ต้นกำเนิดของไวรัสอยู่ในประเทศไทย และบทความที่มีข้อความบิดเบือนดังกล่าวได้รับการแก้ไขแล้ว และล่าสุดคณะทำงานได้เสร็จสิ้นภารกิจในประเทศจีนและกำลังอยู่ในขั้นตอนการเขียนรายงาน รายงานจะสรุปข้อค้นพบจากภารกิจครั้งนี้ ซึ่งรวมถึงประเด็นการพูดคุยอภิปรายกับทางนักวิทยาศาสตร์จีน ภาพรวมของข้อค้นพบต่างๆ ได้มีการสื่อสารผ่านการแถลงข่าวแล้วในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ส่วนรายงานจะกล่าวถึงช่องว่างทางองค์ความรู้ที่ยังมีอยู่และขั้นตอนต่อไปที่ควรปฏิบัติ ซึ่งรวมถึงการศึกษาค้นคว้าที่ต้องทำในประเทศจีนและที่อื่นๆ ด้วย
ขณะที่ พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. รายงานสถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทยประจำวันว่า พบผู้ติดเชื้อยืนยันรายใหม่ 72 ราย แบ่งเป็นผู้ป่วยรายใหม่จากระบบเฝ้าระวังและระบบบริการฯ 43 ราย จากการค้นหาผู้ติดเชื้อเชิงรุกในชุมชน 20 ราย และเป็นผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ เข้า State Quarantine 9 ราย ส่งผลให้ยอดผู้ป่วยยืนยันสะสมเพิ่มขึ้นเป็น 25,764 ราย ขณะที่มีจำนวนคนหายป่วยเพิ่มขึ้น 192 ราย รวมหายป่วยแล้ว 24,734 ราย ยังรักษาตัวอยู่ 947 ราย ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตเพิ่ม อยู่ที่ 83 ราย
พญ.อภิสมัย เปิดเผยด้วยว่า การพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่ต้องจับตา คือการติดเชื้อเป็นกลุ่มก้อนในกลุ่มนักกีฬาฟุตซอล ซึ่งเป็นนักเตะในทีม อ.เมืองสมุทรสาคร มีสมาชิกในทีม 11 คน พบติดเชื้อ 7 คน โดยในจำนวนคนที่ติดเชื้อ มีนักเตะ 2 คน เป็นคน กทม. ทำให้ต้องนับรวมเป็นผู้ป่วยของพื้นที่ กทม. และขณะนี้ค้นพบผู้สัมผัสเสี่ยงสูงแล้ว 50 คน
“ศบค.ได้หารือกับ จ.สมุทรสาครและ กทม.แล้วพบว่า มีนักเรียนที่เป็นนักกีฬาฟุตซอล อาศัยอยู่ใน กทม.แต่ข้ามไปเล่นกีฬาใน จ.สมุทรสาคร จากนั้นกลับมาทำกิจกรรมในโรงเรียนที่กทม. การเดินทางข้ามพื้นที่แบบนี้ จึงเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการติดเชื้อและเป็นการติดเชื้อในกลุ่มคนใกล้ชิดคุ้นเคยกัน ซึ่งติดตามอย่างใกล้ชิดว่าสถานการณ์ในกลุ่มนี้ตัวเลขผู้ติดเชื้อจะอยู่ที่เท่าใด” พญ.อภิสมัย กล่าว
อีกด้าน ที่กระทรวงสาธารณสุข นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯและ รมว.สาธารณสุข (สธ.) เป็นประธานเปิดการประชุม “คิกออฟ อสม.พร้อมบอกต่อเรื่องฉีดวัคซีนป้องกันโควิด 19” ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ทั่วประเทศ ผ่านระบบวิดีโอทางไกล โดยมี นายสาธิต ปิตุเตชะ รมช.สาธารณสุข ร่วมประชุมด้วย
นายอนุทินกล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทยมีวัคซีนป้องกันโควิด-19 แล้ว 317,600 โดส ที่มาจาก 2 แหล่ง จากบริษัทซิโนแวค ประเทศจีน และบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า ในเวลาเดียวกัน เป็นนิมิตหมายอันดีในการเข้าถึงวัคซีนของประเทศไทย และขอย้ำว่าเป็นวัคซีนเพื่อคนไทยและทุกคนที่อาศัยในประเทศไทย เพื่อการป้องกันโควิด-19 อย่างมีประสิทธิภาพ โดยวัคซีนล็อตแรกรัฐบาลรับเป็นเจ้าภาพทั้งหมด หากมีใครแอบอ้างว่าจะต้องจ่ายค่าดำเนินฉีดวัคซีนโควิด-19 จะต้องดำเนินการทางคดีให้เด็ดขาด เพราะค่าใช้จ่ายในการฉีด สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เป็นผู้รับผิดชอบ ส่วนรัฐบาลเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายซื้อวัคซีนและค่าบริหารจัดการ
นายอนุทิน กล่าวต่อว่า วัคซีนซิโนแวคจะเข้ามาเพิ่มเติมในเดือน มี.ค. 800,000 โดส และ เม.ย.อีก 1,000,000 โดส รวมเป็น 2 ล้านโดส และต่อไปในเดือน พ.ค.-มิ.ย. วัคซีนจากแอสตร้าฯ ที่ผลิตโดยบริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ เป็นล็อตผลิตในประเทศไทย จะทยอยออกมา โดยเดือนแรกๆ จะนำมาฉีดให้ประชาชนประมาณ 5 ล้านโดสต่อเดือน และระยะถัดไปจะขยายเป็น 10 ล้านโดสต่อเดือน จนครบ 61 ล้านโดส ซึ่งเมื่อแยกกลุ่มผู้ที่มีข้อจำกัดในการได้รับวัคซีนออก เช่น หญิงตั้งครรภ์ ผู้มีอายุต่ำกว่า 18 ปี หรือกลุ่มผู้ที่ไม่สามารถฉีดวัคซีนได้ จำนวนวัคซีนที่เราจัดหาไว้ก็จะครอบคลุมในกลุ่มเสี่ยงและผู้ที่ควรได้รับวัคซีนในประเทศไทยทุกคน
“ขอให้ อสม.ไปทำความเข้าใจให้ประชาชน สธ.ยืนยันว่าผู้ที่ควรจะได้รับวัคซีนจะได้รับอย่างครบถ้วน โดยคาดว่าหลังปี 2564 หรือไตรมาสสุดท้ายของปี จะมีวัคซีนออกมาให้เราเลือกมากมาย ดังนั้น ขณะนี้เราไม่จำเป็นต้องรีบซื้อวัคซีน แต่ส่วนที่เราซื้อมาแล้ว ก็ต้องรีบใช้” นายอนุทิน ระบุ
ด้าน นพ.โสภณ เมฆธน กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการอำนวยการบริหารจัดการวัคซีนโควิด-19 เปิดเผยว่า คาดการณ์การฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้กับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และนายอนุทิน พร้อมทั้งนายสาธิต จะมีขึ้นในวันที่ 28 ก.พ.นี้ หลังจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์มีการตรวจรับรองรุ่นการผลิต ตรวจสอบประสิทธิภาพของวัคซีนทั้ง 2 บริษัทแล้วเสร็จ โดยสถานที่ที่จะมีการฉีดวัคซีน คือ สถาบันบำราศนราดูร ส่วนเรื่องการฉีดในประชาชนทั่วไปในแต่ละจังหวัดจะเริ่มวันที่ 1 มี.ค.นี้ ส่วนเรื่องรายละเอียดหรือแผนการฉีดกรมควบคุมจะเป็นผู้ดำเนินการ
รายงานข่าวแจ้งว่า กำหนดการฉีดวัคซีนสำหรับ พล.อ.ประยุทธ์ เพื่อสร้างความมั่นใจก่อนนำไปฉีดให้กับประชาชน ในวันที่ 28 ก.พ. เวลา 07.30 น. ที่สถาบันบำราศนราดูร โดย พล.อ.ประยุทธ์ แพทย์มีความเห็นว่าควรฉีดวัคซีนจากบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า เป็นเทคโนโลยีไวรัลเวกเตอร์ (Viral vector) ตามข้อบ่งชี้ของวัคซีน ขณะที่นายอนุทิน และนายสาธิต จะได้รับวัคซีนจากบริษัทซิโนแวค ที่เป็นเทคโนโลยีเชื้อตาย