ผู้จัดการรายวัน 360 - บอร์ด PPP ปรับปรุงแผนการจัดทำโครงการร่วมลงทุนรัฐ – เอกชน ปี 2563-2570 มูลค่าลงทุนรวม 1 ล้านล้านบาท เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการสาธารณะแก่ประชาชน พร้อมเร่งรัดผลักดันโครงการ ในกลุ่ม High Priority 4 โครงการ มูลค่ากว่า 1.6 แสนล้านบาท ให้เป็นไปตามเป้าภายในปีนี้
นางปานทิพย์ ศรีพิมล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (คณะกรรมการ PPP) เปิดเผยผลการประชุมคณะกรรมการ PPP ครั้งที่ 1/2564 โดยมีนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ซึ่งมีผลการประชุมสรุปได้ดังนี้
1. คณะกรรมการ PPP ยังได้ผลักดันโครงการในกลุ่ม High Priority PPP Project ที่อยู่ระหว่างการจัดทำหลักการของโครงการและรายงานการศึกษาและวิเคราะห์โครงการ ให้ดำเนินการตามมาตรา 26 แห่ง พ.ร.บ.การร่วมลงทุนฯ ปี 2562 โดยการตั้งคณะทำงานเพื่อให้ความเห็นต่อรายงานดังกล่าว เพื่อให้โครงการมีความพร้อมในการเสนอโครงการต่อคณะกรรมการ PPP ได้ตามแผนงาน จำนวน 4 โครงการ มูลค่าการลงทุนรวม 163,052 ล้านบาท ซึ่งจะเห็นได้ภายในปีนี้ ได้แก่
1) โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน – ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) (รฟม.) (124,791 ล้านบาท) 2) โครงการพัฒนาและบริหารจัดการที่พักริมทาง (Rest Area) บนทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางปะอิน – นครราชสีมา (กรมทางหลวง) (1,606 ล้านบาท) 3) โครงการพัฒนาและบริหารจัดการที่พักริมทาง (Rest Area) บนทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางใหญ่ – กาญจนบุรี (กรมทางหลวง) (1,454 ล้านบาท) 4) โครงการระบบขนส่งมวลชน จังหวัดภูเก็ต ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต – ห้าแยกฉลอง (รฟม.) (35,201 ล้านบาท)
รวมทั้งได้มุ่งเน้น การส่งเสริมให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุน ในโครงการที่ตอบสนองกับทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในด้านต่างๆ ตลอดจนการกระจายการลงทุนและพัฒนาโครงการ โครงสร้างพื้นฐานไปสู่ภูมิภาค
2. คณะกรรมการ PPP เห็นชอบการปรับปรุงแผนการจัดทำโครงการร่วมลงทุน พ.ศ. 2563 – 2570 (แผนการจัดทำโครงการ PPP) ตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 (พ.ร.บ. การร่วมลงทุนฯ ปี 2562) เพื่อให้สอดคล้องกับสถานะและความพร้อมของแต่ละโครงการ โดยมีรายการโครงการที่ประสงค์จะร่วมลงทุนทั้งหมดรวม 77 โครงการจาก 9 กระทรวง มูลค่าลงทุนรวมประมาณ 1 ล้านล้านบาท เป็นโครงการร่วมลงทุนในกลุ่มที่มีความสำคัญและความจำเป็นเร่งด่วน จำนวน 20 โครงการ มูลค่าลงทุนรวม 503,153 ล้านบาท
ทั้งนี้ แผนการจัดทำโครงการ PPP ข้างต้น จะช่วยสร้างความสนใจและดึงดูดให้เอกชน เข้ามาร่วมลงทุนในโครงการร่วมลงทุนภายใต้แผนดังกล่าว ลดข้อจำกัดการลงทุนจากเงินงบประมาณแผ่นดิน และเงินกู้จากภาครัฐ
นางปานทิพย์ ศรีพิมล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (คณะกรรมการ PPP) เปิดเผยผลการประชุมคณะกรรมการ PPP ครั้งที่ 1/2564 โดยมีนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ซึ่งมีผลการประชุมสรุปได้ดังนี้
1. คณะกรรมการ PPP ยังได้ผลักดันโครงการในกลุ่ม High Priority PPP Project ที่อยู่ระหว่างการจัดทำหลักการของโครงการและรายงานการศึกษาและวิเคราะห์โครงการ ให้ดำเนินการตามมาตรา 26 แห่ง พ.ร.บ.การร่วมลงทุนฯ ปี 2562 โดยการตั้งคณะทำงานเพื่อให้ความเห็นต่อรายงานดังกล่าว เพื่อให้โครงการมีความพร้อมในการเสนอโครงการต่อคณะกรรมการ PPP ได้ตามแผนงาน จำนวน 4 โครงการ มูลค่าการลงทุนรวม 163,052 ล้านบาท ซึ่งจะเห็นได้ภายในปีนี้ ได้แก่
1) โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน – ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) (รฟม.) (124,791 ล้านบาท) 2) โครงการพัฒนาและบริหารจัดการที่พักริมทาง (Rest Area) บนทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางปะอิน – นครราชสีมา (กรมทางหลวง) (1,606 ล้านบาท) 3) โครงการพัฒนาและบริหารจัดการที่พักริมทาง (Rest Area) บนทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางใหญ่ – กาญจนบุรี (กรมทางหลวง) (1,454 ล้านบาท) 4) โครงการระบบขนส่งมวลชน จังหวัดภูเก็ต ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต – ห้าแยกฉลอง (รฟม.) (35,201 ล้านบาท)
รวมทั้งได้มุ่งเน้น การส่งเสริมให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุน ในโครงการที่ตอบสนองกับทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในด้านต่างๆ ตลอดจนการกระจายการลงทุนและพัฒนาโครงการ โครงสร้างพื้นฐานไปสู่ภูมิภาค
2. คณะกรรมการ PPP เห็นชอบการปรับปรุงแผนการจัดทำโครงการร่วมลงทุน พ.ศ. 2563 – 2570 (แผนการจัดทำโครงการ PPP) ตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 (พ.ร.บ. การร่วมลงทุนฯ ปี 2562) เพื่อให้สอดคล้องกับสถานะและความพร้อมของแต่ละโครงการ โดยมีรายการโครงการที่ประสงค์จะร่วมลงทุนทั้งหมดรวม 77 โครงการจาก 9 กระทรวง มูลค่าลงทุนรวมประมาณ 1 ล้านล้านบาท เป็นโครงการร่วมลงทุนในกลุ่มที่มีความสำคัญและความจำเป็นเร่งด่วน จำนวน 20 โครงการ มูลค่าลงทุนรวม 503,153 ล้านบาท
ทั้งนี้ แผนการจัดทำโครงการ PPP ข้างต้น จะช่วยสร้างความสนใจและดึงดูดให้เอกชน เข้ามาร่วมลงทุนในโครงการร่วมลงทุนภายใต้แผนดังกล่าว ลดข้อจำกัดการลงทุนจากเงินงบประมาณแผ่นดิน และเงินกู้จากภาครัฐ