คลังดึง "ออมสิน-ธ.ก.ส." ร่วมมือกับธนาคารกรุงไทย เปิดรับลงทะเบียน "เราชนะ" สำหรับกลุ่มเปราะบาง-ไม่มีสมาร์ทโฟน เริ่มตั้งแต่ 22 ก.พ. เป็นต้นไป ขณะที่คนทั่วไปที่ไม่อยู่ในฐานข้อมูลกว่า 10 ล้านคนรับงวดแรก 2,000 บาท
วานนี้ (18 ก.พ.) นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง เปิดเผยถึงความคืบหน้าและแนวทางการแก้ไขปัญหาการเปิดลงทะเบียนโครงการ "เราชนะ" สำหรับกลุ่มเปราะบาง และผู้ที่ไม่มีสมาร์ทโฟน ทำให้เกิดความแออัดที่ธนาคารกรุงไทยว่า ตั้งแต่วันที่ 22 ก.พ.นี้ ประชาชนในกลุ่มดังกล่าวสามารถใช้บัตรประชาชนไปลงทะเบียนที่ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) โดยใช้โทรศัพท์มือถือเจ้าหน้าธนาคารลงทะเบียนเพื่อเลขบัตรประชาชน เพื่อส่งให้ธนาคารกรุงไทยต่อไป ส่วนสาเหตุที่ในช่วงแรกที่ไม่สามารถลงทะเบียนที่ธนาคารออมสิน และธ.ก.ส. ได้ เนื่องจากต้องใช้เครื่องมือของธนาคารกรุงไทยในการลงทะเบียน เพราะต้องมีการถ่ายรูป เพื่อให้เป็นปัจจุบันมากที่สุด จึงได้มีการหารือกัน โดยปรับปรุงให้ลงทะเบียนได้ในสาขากรุงไทยทั่วประเทศ และกรุงไทยมีหน่วยเคลื่อนที่ทั่วประเทศ โดยจัดพื้นที่ศาลากลางและที่ว่าการในแต่ละจังหวัด รวมไปถึงการจัดทีมลงไปรับลงทะเบียนในกลุ่มพื้นที่ห่างไกลด้วย โดยขณะนี้ได้ประสานงานกับกระทรวงมหาดไทยเรื่องพื้นที่ต่างๆไว้แล้ว
ด้าน น.ส.กุลยา ตันติเตมิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง กล่าวเสริมว่า สำหรับผู้ที่สละสิทธิโครงการ เราชนะ จากกรณีต่างๆ ด้วยความผิดพลาดของข้อมูลหรือการเข้าใจคลาดเคลื่อน เช่น เป็นลูกจ้างรายวันของรัฐ เป็นผู้สูงอายุและไม่มีสมาร์ทโฟนแต่ลงทะเบียนในเว็บจึงต้องกดสละสิทธิ เป็นต้น กลุ่มบุคคลดังกล่าวสามารถลงทะเบียนใหม่ได้ที่สาขาของธนาคารกรุงไทยเช่นเดียวกับกลุ่มไม่มีสมาร์ทโฟน ซึ่งจะได้รับเงิน 7,000 บาทเช่นเดียวกันและใช้จ่ายผ่านบัตรประชาชน ส่วนกรณีไม่สามารถลงทะเบียน เราชนะ ในเวลาที่กำหนดได้ เนื่องจากฐานข้อมูลในระบบไม่พบเลขบัตรประชาชนนั้น จะต้องไปเช็กที่สำนักงานเขตว่าตัวเลขบัตรประชาชนมีความคลาดเคลื่อนหรือไม่ เพราะบัตรประชาชนผู้สูงอายุบางรายทำมานานแล้ว ขณะนั้นอาจจะมีการกรอกข้อมูลผิดพลาด ซึ่งคนกลุ่มนี้หากได้บัตรประชาชนใหม่แล้วก็สามารถมาลงทะเบียนที่ธนาคารกรุงไทยได้เช่นกัน
น.ส.กุลยา กล่าวต่อว่า สำหรับกลุ่มไม่มีสมาร์ทโฟนที่ลงทะเบียนตั้งแต่วันที่ 15-25 ก.พ. 64 จะได้รับเงินเข้าวันที่ 5 มี.ค. เป็นงวดแรก ส่วนผู้ที่ลงทะเบียนถัดไป ตามที่กระทรวงกรวงการคลังขยายเวลา รับลงทะเบียนถึงวันที่ 5 มี.ค. 64 นั้น หากเป็นผู้ได้รับสิทธิก็จะได้รับเงินสมทบตามงวดที่กำหนดจนถึง 7,000 บาทเช่นเดียวกัน และสามารถกดรับสิทธิได้จนกว่าจะจบโครงการและสามารถสะสมเงินไว้ใช้จ่ายได้ถึง 31 พ.ค. 64
ขณะที่ นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวถึงกรณีที่มีร้านค้าทุจริตในโครงการ "คนละครึ่ง" ว่า ขณะนี้พบร้านค้าที่กระทำความผิดจริง 160 ร้านค้า ซึ่งได้ดำเนินการระงับการจ่ายเงินร้านค้าทันที และยึดสิทธิ์เรียบร้อย โดย ร้านค้าดังกล่าว จะติดแบล็คลิสต์ไม่สามารถเข้าร่วมโครงการรัฐต่อไปในอนาคตได้ ส่วนในปัจจุบันมีร้านค้าที่กระทรวงการคลังได้ส่งให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติร่วมตรวจสอบอีก 1,000 ร้านค้าที่เข้าข่ายจะมีการทุจริต
ส่วนประเด็นที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์กรณีแอพพลิเคชัน “เป๋าตัง” มีปัญหาขัดข้องช่วงเช้า ของวันที่ 18 ก.พ. ที่มีกำหนดโอนเงิน "เราชนะ" งวดแรกให้ผู้ที่ได้รับสิทธิกว่า 10.2 ล้านคนนั้น นายกฤษฎา กล่าวว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากมีการใช้ช่องทางเดียวกันในระบบ คือ กลุ่มที่ใช้สิทธิคนละครึ่ง และกลุ่มที่ใช้สิทธิเราชนะ ซึ่งเมื่อมีผู้ใช้งานจำนวนมากระบบจึงหน่วงบ้างเป็นปกติ แต่ไม่ถึงขั้นล่ม ซึ่งกรณีนี้จะให้ทางไอทีของธนาคารกรุงไทยพัฒนาระบบต่อไป
“การที่แอปฯขัดข้อง เพราะเข้ามาในระบบในช่วงทางเดียวกัน จึงมีปัญหา อย่างไรก็ตามการทำงานต้องมีสะดุดบ้างแต่ไม่ถึงขั้นล่ม” นายกฤษฎา กล่าว
นายกฤษฎา กล่าวด้วยว่า ในปัจจุบันมีผู้ผ่านสิทธิหลายกลุ่มแล้ว ได้แก่ กลุ่มแรก ที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 13.8 ล้านคน กลุ่มที่ 2 ผู้ที่ลงทะเบียนในโครงการคนละครึ่งและเราเที่ยวด้วยกัน 16 ล้านคน ซึ่งมีผู้ผ่านเกณฑ์เราชนะประมาณ 8 ล้านคน และกลุ่มที่ 3 ที่ลงทะเบียนได้สิทธิแล้วประมาณ 8 ล้านคน รวมแล้วเกือบถึง 30 ล้านคนจากที่เคยคาดการณ์ไว้ว่าจะมีผู้ผ่านสิทธิ 31 ล้านคน ดังนั้น กลุ่มที่ 4 ที่ไม่มีสมาร์ทโฟนหรือต้องการความช่วยเหลือพิเศษ จึงเหลือที่ต้องมาลงทะเบียนอีกเพียงเล็กน้อย
วานนี้ (18 ก.พ.) นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง เปิดเผยถึงความคืบหน้าและแนวทางการแก้ไขปัญหาการเปิดลงทะเบียนโครงการ "เราชนะ" สำหรับกลุ่มเปราะบาง และผู้ที่ไม่มีสมาร์ทโฟน ทำให้เกิดความแออัดที่ธนาคารกรุงไทยว่า ตั้งแต่วันที่ 22 ก.พ.นี้ ประชาชนในกลุ่มดังกล่าวสามารถใช้บัตรประชาชนไปลงทะเบียนที่ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) โดยใช้โทรศัพท์มือถือเจ้าหน้าธนาคารลงทะเบียนเพื่อเลขบัตรประชาชน เพื่อส่งให้ธนาคารกรุงไทยต่อไป ส่วนสาเหตุที่ในช่วงแรกที่ไม่สามารถลงทะเบียนที่ธนาคารออมสิน และธ.ก.ส. ได้ เนื่องจากต้องใช้เครื่องมือของธนาคารกรุงไทยในการลงทะเบียน เพราะต้องมีการถ่ายรูป เพื่อให้เป็นปัจจุบันมากที่สุด จึงได้มีการหารือกัน โดยปรับปรุงให้ลงทะเบียนได้ในสาขากรุงไทยทั่วประเทศ และกรุงไทยมีหน่วยเคลื่อนที่ทั่วประเทศ โดยจัดพื้นที่ศาลากลางและที่ว่าการในแต่ละจังหวัด รวมไปถึงการจัดทีมลงไปรับลงทะเบียนในกลุ่มพื้นที่ห่างไกลด้วย โดยขณะนี้ได้ประสานงานกับกระทรวงมหาดไทยเรื่องพื้นที่ต่างๆไว้แล้ว
ด้าน น.ส.กุลยา ตันติเตมิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง กล่าวเสริมว่า สำหรับผู้ที่สละสิทธิโครงการ เราชนะ จากกรณีต่างๆ ด้วยความผิดพลาดของข้อมูลหรือการเข้าใจคลาดเคลื่อน เช่น เป็นลูกจ้างรายวันของรัฐ เป็นผู้สูงอายุและไม่มีสมาร์ทโฟนแต่ลงทะเบียนในเว็บจึงต้องกดสละสิทธิ เป็นต้น กลุ่มบุคคลดังกล่าวสามารถลงทะเบียนใหม่ได้ที่สาขาของธนาคารกรุงไทยเช่นเดียวกับกลุ่มไม่มีสมาร์ทโฟน ซึ่งจะได้รับเงิน 7,000 บาทเช่นเดียวกันและใช้จ่ายผ่านบัตรประชาชน ส่วนกรณีไม่สามารถลงทะเบียน เราชนะ ในเวลาที่กำหนดได้ เนื่องจากฐานข้อมูลในระบบไม่พบเลขบัตรประชาชนนั้น จะต้องไปเช็กที่สำนักงานเขตว่าตัวเลขบัตรประชาชนมีความคลาดเคลื่อนหรือไม่ เพราะบัตรประชาชนผู้สูงอายุบางรายทำมานานแล้ว ขณะนั้นอาจจะมีการกรอกข้อมูลผิดพลาด ซึ่งคนกลุ่มนี้หากได้บัตรประชาชนใหม่แล้วก็สามารถมาลงทะเบียนที่ธนาคารกรุงไทยได้เช่นกัน
น.ส.กุลยา กล่าวต่อว่า สำหรับกลุ่มไม่มีสมาร์ทโฟนที่ลงทะเบียนตั้งแต่วันที่ 15-25 ก.พ. 64 จะได้รับเงินเข้าวันที่ 5 มี.ค. เป็นงวดแรก ส่วนผู้ที่ลงทะเบียนถัดไป ตามที่กระทรวงกรวงการคลังขยายเวลา รับลงทะเบียนถึงวันที่ 5 มี.ค. 64 นั้น หากเป็นผู้ได้รับสิทธิก็จะได้รับเงินสมทบตามงวดที่กำหนดจนถึง 7,000 บาทเช่นเดียวกัน และสามารถกดรับสิทธิได้จนกว่าจะจบโครงการและสามารถสะสมเงินไว้ใช้จ่ายได้ถึง 31 พ.ค. 64
ขณะที่ นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวถึงกรณีที่มีร้านค้าทุจริตในโครงการ "คนละครึ่ง" ว่า ขณะนี้พบร้านค้าที่กระทำความผิดจริง 160 ร้านค้า ซึ่งได้ดำเนินการระงับการจ่ายเงินร้านค้าทันที และยึดสิทธิ์เรียบร้อย โดย ร้านค้าดังกล่าว จะติดแบล็คลิสต์ไม่สามารถเข้าร่วมโครงการรัฐต่อไปในอนาคตได้ ส่วนในปัจจุบันมีร้านค้าที่กระทรวงการคลังได้ส่งให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติร่วมตรวจสอบอีก 1,000 ร้านค้าที่เข้าข่ายจะมีการทุจริต
ส่วนประเด็นที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์กรณีแอพพลิเคชัน “เป๋าตัง” มีปัญหาขัดข้องช่วงเช้า ของวันที่ 18 ก.พ. ที่มีกำหนดโอนเงิน "เราชนะ" งวดแรกให้ผู้ที่ได้รับสิทธิกว่า 10.2 ล้านคนนั้น นายกฤษฎา กล่าวว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากมีการใช้ช่องทางเดียวกันในระบบ คือ กลุ่มที่ใช้สิทธิคนละครึ่ง และกลุ่มที่ใช้สิทธิเราชนะ ซึ่งเมื่อมีผู้ใช้งานจำนวนมากระบบจึงหน่วงบ้างเป็นปกติ แต่ไม่ถึงขั้นล่ม ซึ่งกรณีนี้จะให้ทางไอทีของธนาคารกรุงไทยพัฒนาระบบต่อไป
“การที่แอปฯขัดข้อง เพราะเข้ามาในระบบในช่วงทางเดียวกัน จึงมีปัญหา อย่างไรก็ตามการทำงานต้องมีสะดุดบ้างแต่ไม่ถึงขั้นล่ม” นายกฤษฎา กล่าว
นายกฤษฎา กล่าวด้วยว่า ในปัจจุบันมีผู้ผ่านสิทธิหลายกลุ่มแล้ว ได้แก่ กลุ่มแรก ที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 13.8 ล้านคน กลุ่มที่ 2 ผู้ที่ลงทะเบียนในโครงการคนละครึ่งและเราเที่ยวด้วยกัน 16 ล้านคน ซึ่งมีผู้ผ่านเกณฑ์เราชนะประมาณ 8 ล้านคน และกลุ่มที่ 3 ที่ลงทะเบียนได้สิทธิแล้วประมาณ 8 ล้านคน รวมแล้วเกือบถึง 30 ล้านคนจากที่เคยคาดการณ์ไว้ว่าจะมีผู้ผ่านสิทธิ 31 ล้านคน ดังนั้น กลุ่มที่ 4 ที่ไม่มีสมาร์ทโฟนหรือต้องการความช่วยเหลือพิเศษ จึงเหลือที่ต้องมาลงทะเบียนอีกเพียงเล็กน้อย