ผู้จัดการรายวัน360- พปชร.จับมือส.ว. ลากรัฐสภา ส่งศาลรธน.ตีความ อำนาจรัฐสภาแก้รธน. แม้พรรคร่วมรัฐบาล-ฝ่ายค้าน ขวางเต็มที่ ระบุส่อเจตนาเตะถ่วง สุดท้ายมีมติให้ส่งตีความด้วยคะแนน366-316เสียง งดออกเสียง 15
วานนี้ (9ก.พ.) มีการประชุมร่วมรัฐสภา เพื่อพิจารณาญัตติด่วน เรื่องการขอให้รัฐสภามีมติส่งเรื่องให้ศาลรธน.วินิจฉัยปัญหาการทำหน้าที่ของรัฐสภาในการแก้ไข ร่างรธน. ที่นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ เป็นผู้เสนอ
นายไพบูลย์ ชี้แจงว่า การเสนอญัตติดังกล่าว ร่างแก้ไขรธน.ฉบับนี้ มีเนื้อหาให้จัดทำร่างรธน.ฉบับใหม่ มีส.ส.ร.เป็นผู้ยกร่าง ซึ่งมีประเด็นกฎหมายว่า รัฐสภาจะมีอำนาจจัดทำร่างรธน.ฉบับใหม่ หรือไม่ เพราะไม่มีบทบัญญัติใดให้อำนาจรัฐสภาร่างรธน.ใหม่ ให้ทำได้แค่แก้รธน.รายมาตราเท่านั้น
การที่สมาชิกขอให้ส่งร่างแก้ไขรธน.ให้ศาลรธน.วินิจฉัยภายหลังเสร็จ วาระ3 และผ่านการทำประชามติแล้วนั้น หากศาลรธน.วินิจฉัยว่า แก้รธน.ทั้งฉบับไม่ได้ ก็จะเสียเงินทำประชามติฟรี 3 พันล้านบาท จึงควรทำให้เกิดความชัดเจนก่อนถึงการทำประชามติ
ทั้งนี้ การยื่นตีความครั้งนี้ ไม่มีมาตรการขอคุ้มครองชั่วคราวให้ชะลอการแก้รธน. เพื่อให้การพิจารณา วาระ2 ดำเนินการต่อได้ หากไม่ขัดรธน. ก็ลงมติวาระ 3 ต่อได้ หรือหากขัดรธน. ก็เปลี่ยนเป็นแก้รายมาตราแทน โดยตั้ง กมธ.ยกร่างแก้ไขเพิ่มเติมรธน. ให้ ส.ส.และ ส.ว.ทำหน้าที่แทนส.ส.ร. มาแก้รธน.รายมาตรา เพื่อเสนอที่ประชุมรัฐสภาต่อไป ใช้เวลาไม่นาน ไม่เสียงบประมาณตั้ง ส.ส.ร.ขอให้สมาชิกลงมติเห็นชอบ ส่งให้ศาลรธน. วินิจฉัย ร่างแก้ไขรธน. ครั้งนี้ด้วย
จากนั้น ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลเฉพาะ พรรคประชาธิปัตย์ ภูมิใจไทย ชาติไทยพัฒนา รวมถึง ส.ส.ฝ่ายค้าน อภิปรายคัดค้าน เพราะเห็นว่ามีเจตนาแอบแฝง เตะถ่วง โดยยืนยันว่าการแก้รธน.ครั้งนี้ ทำอย่างถูกต้อง ไม่ขัดรธน.
ขณะที่ ส.ส.พลังประชารัฐ และส.ว. อภิปรายสนับสนุนให้ส่งเรื่องให้ศาลรธน.วินิจฉัย อำนาจรัฐสภาในการแก้รธน.ทั้งฉบับว่า ทำได้หรือไม่
นายบัญญัติ บรรทัดฐาน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคปชป. กล่าวว่า การแก้ไขรธน. รัฐสภาได้รับหลักการร่างแก้ไขมาแล้ว กำหนดให้ตั้งคณะกมธ.แปรญัตติ บัดนี้ดำเนินการถึงขึ้นรอรับการพิจารณาในวาระ 2 และวาระ 3 ซึ่งชัดเจนมาก แม้มีปัญหา แต่องค์กรที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ฉะนั้นคำวินิจฉัยของศาลรธน. ตนไม่แน่ใจว่าจะเป็นอื่นได้หรือไม่
ส่วนข้อสงสัยว่า รัฐสภามีอำนาจจัดทำรธน.ฉบับใหม่ หรือไม่นั้น อดีตอย่างน้อยทำมาแล้วถึง 2 ครั้ง คือในปี 2491 และปี 2539 ทั้ง 2 ฉบับ เป็นการจัดทำขึ้นโดยที่รธน. ฉบับที่บังคับใช้อยู่ในขณะนั้นไม่ได้ให้อำนาจในการจัดทำฉบับใหม่ แต่อะไรก็ไม่สำคัญเท่ากับว่า การทำลักษณะดังกล่าวเสร็จสิ้นลง ดูจะได้รับการกล่าวขานว่า เป็นประชาธิปไตยมากที่สุด การกระทำเช่นนี้ บ่งบอกชัดว่าทำได้
"วันนี้คนมีความหวังว่า เราจะมีรธน.ฉบับใหม่ภายใต้การจัดทำร่วมกันของตัวแทนของประชาชนเอง ที่ได้รับการเลือกตั้งมา ถ้าความหวังดังกล่าวนี้เป็นอันต้องล่มสลาย ก็น่าเสียดายว่า ถ้าเมื่อไรก็ตาม คนในประเทศนี้มีความรู้สึกว่าการจัดทำรธน.ฉบับใหม่ จะทำได้ก็ตอนรัฐประหารประการเดียวเท่านั้น ประชาชนเจ้าของประเทศไม่มีโอกาสได้จัดทำรธน. ถ้าเป็นเช่นนั้น ความไม่เป็นมงคล ก็ย่อมเกิดขึ้นกับระบบการเมืองไทยอย่างไม่ต้องสงสัย" นายบัญญัติ กล่าว
ด้านนายเสรี สุวรรณภานนท์ ส.ว.อภิปรายว่า ตนไม่ได้ปฏิเสธเรื่อง ส.ส.ร.แต่ถ้าเราทำให้ชัดเจน ความขัดแย้งในบ้านเมือง ก็ต้องสร้างความชัดเจน จึงเห็นว่า ญัตตินี้ได้ประโยชน์มากว่าเสียประโยชน์
โดยที่ประชุมได้มีการลงมติ เห็นด้วย366 เสียง ไม่เห็นด้วย 316 เสียง งดออกเสียง 15 เสียง จึงต้องส่งให้ศาลรธน. ตีความต่อไป
วานนี้ (9ก.พ.) มีการประชุมร่วมรัฐสภา เพื่อพิจารณาญัตติด่วน เรื่องการขอให้รัฐสภามีมติส่งเรื่องให้ศาลรธน.วินิจฉัยปัญหาการทำหน้าที่ของรัฐสภาในการแก้ไข ร่างรธน. ที่นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ เป็นผู้เสนอ
นายไพบูลย์ ชี้แจงว่า การเสนอญัตติดังกล่าว ร่างแก้ไขรธน.ฉบับนี้ มีเนื้อหาให้จัดทำร่างรธน.ฉบับใหม่ มีส.ส.ร.เป็นผู้ยกร่าง ซึ่งมีประเด็นกฎหมายว่า รัฐสภาจะมีอำนาจจัดทำร่างรธน.ฉบับใหม่ หรือไม่ เพราะไม่มีบทบัญญัติใดให้อำนาจรัฐสภาร่างรธน.ใหม่ ให้ทำได้แค่แก้รธน.รายมาตราเท่านั้น
การที่สมาชิกขอให้ส่งร่างแก้ไขรธน.ให้ศาลรธน.วินิจฉัยภายหลังเสร็จ วาระ3 และผ่านการทำประชามติแล้วนั้น หากศาลรธน.วินิจฉัยว่า แก้รธน.ทั้งฉบับไม่ได้ ก็จะเสียเงินทำประชามติฟรี 3 พันล้านบาท จึงควรทำให้เกิดความชัดเจนก่อนถึงการทำประชามติ
ทั้งนี้ การยื่นตีความครั้งนี้ ไม่มีมาตรการขอคุ้มครองชั่วคราวให้ชะลอการแก้รธน. เพื่อให้การพิจารณา วาระ2 ดำเนินการต่อได้ หากไม่ขัดรธน. ก็ลงมติวาระ 3 ต่อได้ หรือหากขัดรธน. ก็เปลี่ยนเป็นแก้รายมาตราแทน โดยตั้ง กมธ.ยกร่างแก้ไขเพิ่มเติมรธน. ให้ ส.ส.และ ส.ว.ทำหน้าที่แทนส.ส.ร. มาแก้รธน.รายมาตรา เพื่อเสนอที่ประชุมรัฐสภาต่อไป ใช้เวลาไม่นาน ไม่เสียงบประมาณตั้ง ส.ส.ร.ขอให้สมาชิกลงมติเห็นชอบ ส่งให้ศาลรธน. วินิจฉัย ร่างแก้ไขรธน. ครั้งนี้ด้วย
จากนั้น ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลเฉพาะ พรรคประชาธิปัตย์ ภูมิใจไทย ชาติไทยพัฒนา รวมถึง ส.ส.ฝ่ายค้าน อภิปรายคัดค้าน เพราะเห็นว่ามีเจตนาแอบแฝง เตะถ่วง โดยยืนยันว่าการแก้รธน.ครั้งนี้ ทำอย่างถูกต้อง ไม่ขัดรธน.
ขณะที่ ส.ส.พลังประชารัฐ และส.ว. อภิปรายสนับสนุนให้ส่งเรื่องให้ศาลรธน.วินิจฉัย อำนาจรัฐสภาในการแก้รธน.ทั้งฉบับว่า ทำได้หรือไม่
นายบัญญัติ บรรทัดฐาน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคปชป. กล่าวว่า การแก้ไขรธน. รัฐสภาได้รับหลักการร่างแก้ไขมาแล้ว กำหนดให้ตั้งคณะกมธ.แปรญัตติ บัดนี้ดำเนินการถึงขึ้นรอรับการพิจารณาในวาระ 2 และวาระ 3 ซึ่งชัดเจนมาก แม้มีปัญหา แต่องค์กรที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ฉะนั้นคำวินิจฉัยของศาลรธน. ตนไม่แน่ใจว่าจะเป็นอื่นได้หรือไม่
ส่วนข้อสงสัยว่า รัฐสภามีอำนาจจัดทำรธน.ฉบับใหม่ หรือไม่นั้น อดีตอย่างน้อยทำมาแล้วถึง 2 ครั้ง คือในปี 2491 และปี 2539 ทั้ง 2 ฉบับ เป็นการจัดทำขึ้นโดยที่รธน. ฉบับที่บังคับใช้อยู่ในขณะนั้นไม่ได้ให้อำนาจในการจัดทำฉบับใหม่ แต่อะไรก็ไม่สำคัญเท่ากับว่า การทำลักษณะดังกล่าวเสร็จสิ้นลง ดูจะได้รับการกล่าวขานว่า เป็นประชาธิปไตยมากที่สุด การกระทำเช่นนี้ บ่งบอกชัดว่าทำได้
"วันนี้คนมีความหวังว่า เราจะมีรธน.ฉบับใหม่ภายใต้การจัดทำร่วมกันของตัวแทนของประชาชนเอง ที่ได้รับการเลือกตั้งมา ถ้าความหวังดังกล่าวนี้เป็นอันต้องล่มสลาย ก็น่าเสียดายว่า ถ้าเมื่อไรก็ตาม คนในประเทศนี้มีความรู้สึกว่าการจัดทำรธน.ฉบับใหม่ จะทำได้ก็ตอนรัฐประหารประการเดียวเท่านั้น ประชาชนเจ้าของประเทศไม่มีโอกาสได้จัดทำรธน. ถ้าเป็นเช่นนั้น ความไม่เป็นมงคล ก็ย่อมเกิดขึ้นกับระบบการเมืองไทยอย่างไม่ต้องสงสัย" นายบัญญัติ กล่าว
ด้านนายเสรี สุวรรณภานนท์ ส.ว.อภิปรายว่า ตนไม่ได้ปฏิเสธเรื่อง ส.ส.ร.แต่ถ้าเราทำให้ชัดเจน ความขัดแย้งในบ้านเมือง ก็ต้องสร้างความชัดเจน จึงเห็นว่า ญัตตินี้ได้ประโยชน์มากว่าเสียประโยชน์
โดยที่ประชุมได้มีการลงมติ เห็นด้วย366 เสียง ไม่เห็นด้วย 316 เสียง งดออกเสียง 15 เสียง จึงต้องส่งให้ศาลรธน. ตีความต่อไป