เอเจนซีส์ – กองกำลังความมั่นคงพม่าเปิดฉากยิงกระสุนยางและแก๊สน้ำตาใส่ผู้ประท้วง โดยที่มีผู้หญิงคนหนึ่งคาดว่าถูกกระสุนปืนจริง อาการสาหัส ขณะที่นิวซีแลนด์เป็นประเทศแรกที่ดำเนินมาตรการต่อต้านการรัฐประหารอย่างเป็นรูปธรรม
การชุมนุมเดินขบวนต่อต้านการรัฐประหารปะทุต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 เมื่อวันอังคาร (9 ก.พ.) ตามเมืองใหญ่ๆ ของพม่า ถึงแม้กองทัพออกประกาศขู่ว่า จะจัดการกับการประท้วง
ที่กรุงเนปิดอ ผู้เห็นเหตุการณ์เล่าว่า ตำรวจขับไล่ผู้ประท้วงด้วยด้วยการยิงปืน ส่วนใหญ่เป็นการยิงขึ้นฟ้า ใช้เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูง และกระสุนยาง ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บและถูกนำตัวส่งโรงพยาบาล 4 คน โดยที่พวกแพทย์ระบุในเบื้องต้นว่า พวกเขาเชื่อว่ามีบาดแผลซึ่งน่าจะเกิดจากกระสุนจริงด้วย
คนหนึ่งที่ได้รับบาดเจ็บเหล่านี้เป็นผู้หญิง ซึ่งได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะและหวั่นกันว่าเธอมีโอกาสมากที่สุดที่จะเสียชีวิต แพทย์ผู้หนึ่งซึ่งขอไม่ให้ระบุชื่อ กล่าวกับสำนักข่าวรอยเตอร์
แพทย์ผู้นี้ บอกว่า “ผลเอ็กซ์เรย์สามารถเห็นได้ว่าเธอถูกยิงด้วยกระสุนที่เป็นกระสุนจริง เธอยังอยู่ในแผนกฉุกเฉิน แต่อาการบาดเจ็บนั้นถึงขั้นทำให้เสียชีวิต และยังมีชายอีกผู้หนึ่งซึ่งมีแผลที่หน้าอก แต่ไม่วิกฤตหนัก ยังไม่ชัดเจนว่าเขาถูกยิงด้วยกระสุนจริงหรือกระสุนยาง
พยานผู้เห็นเหตุการณ์หลายรายในกรุงเนปิดอ เล่าว่า ตำรวจได้ยิงปืนขึ้นฟ้าหลายนัด แต่ฝูงชนไม่ยอมหลบหนี ตำรวจจึงใช้เครื่องฉีดน้ำใส่พวกผู้ประท้วง ซึ่งก็ตอบโต้ด้วยการขว้างก้อนหินใส่
คลิปวิดีโอที่มีผู้โพสต์ทางโซเชียลมีเดีย มีภาพของผู้หญิงซึ่งดูเหมือนน่าจะเป็นคนที่ถูกระบุว่าบาดเจ็บสาหัสมาก โดยเธอกับผู้ประท้วงอีกบางคนอยู่กันตรงป้ายรถเมล์ ห่างออกไปมากพอดูจากแถวของตำรวจปราบจลาจล ขณะที่ตำรวจฉีดน้ำไล่ผู้ประท้วงและได้ยินเสียงปืนดังขึ้นมาหลายนัด
หญิงคนดังกล่าวซึ่งสวมหมวกกันน็อกรถจักรยานยนต์ ล้มลงกับพื้นในทันที ภาพหลายภาพที่โพสต์กันทางโซเชียลมีเดียแสดงให้เห็นหมวกกันน็อกของเธอมีรูทะลุอยู่รูหนึ่ง ที่น่าจะเป็นรูกระสุนปืน
รอยเตอร์ย้ำว่า ยังไม่สามารถพิสูจน์ยืนยันคลิปวิดีโอหรือภาพเหล่านี้ว่าเป็นของจริงหรือไม่
ก่อนหน้านี้ มีคลิปวิดีโอเผยแพร่ทางสื่อสังคมซึ่งระบุว่า ถ่ายจากเมืองพะโค (Bago) ทางภาคกลางของประเทศ แสดงให้เห็นตำรวจกำลังเผชิญหน้ากับฝูงชน และใช้เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูงฉีดน้ำขับไล่ผู้ประท้วง
ขณะที่สื่อภายในพม่ารายงานว่า ในเมืองมัณฑะเลย์ ซึ่งเป็นเมืองใหญ่อันดับ 2 ของพม่า ตำรวจได้ใช้แก๊สน้ำตาขับไล่ผู้ชุมนุม รวมทั้งจับกุมผู้ประท้วงไปอย่างน้อย 27 คน
พลเอกพิเศษ มิน อ่อง หล่าย ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ซึ่งเป็นผู้นำการรัฐประหารคราวนี้ เมื่อค่ำวันจันทร์ (8) ได้ปราศรัยถ่ายทอดทางทีวีเป็นครั้งแรกภายหลังเข้ายึดอำนาจ ยืนยันความชอบธรรมในการยึดอำนาจ โดยอ้างว่า มีการโกงการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ของซูจี ได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้น
เขาให้สัญญาว่าจะสร้างประชาธิปไตยที่แท้จริงจะจัดให้มีการเลือกตั้งที่เปิดโอกาสให้พรรคการเมืองหลายๆ พรรคลงสมัคร และจะมอบอำนาจให้พรรคที่ชนะการเลือกตั้งตามกฎประชาธิปไตย
อย่างไรก็ดี มิน อ่อง หลาย ไม่ได้ระบุกรอบเวลาชัดเจนในการจัดการเลือกตั้ง
นอกจากนั้นในวันจันทร์ยังมีการประกาศมาตรการหลายข้อเพื่อสกัดการชุมนุมประท้วง เช่น ห้ามชุมนุมกันเกิน 5 คน คำสั่งเคอร์ฟิวนหลายๆ พื้นที่
ทว่า ในวันอังคาร ยังมีประชาชนออกมารวมตัวกันในพื้นที่ต่างๆ ของเมืองย่างกุ้ง ชูป้ายเรียกร้องให้ปล่อยตัวซูจีกับผู้นำพลเรือนอีกหลายคน และตะโกนขับไล่เผด็จการ
นักเคลื่อนไหวยังต้องการให้ล้มล้างรัฐธรรมนูญปี 2008 ที่ร่างขึ้นภายใต้การกำกับดูแลของกองทัพและให้อำนาจเหล่านายพลคัดค้านมติต่างๆ ในรัฐสภา ขณะที่นักเคลื่อนไหวรุ่นเก่า เรียกร้องให้ข้าราชการและลูกจ้างรัฐผละงานต่ออีก 3 สัปดาห์
อนึ่ง การต่อสู้แบบอารยะขัดขืนในพม่าคราวนี้ ซึ่งนำโดยพวกบุคลากรทางการแพทย์ ส่งผลให้การตรวจคัดกรองโรคโควิด-19 ลดลงอย่างชัดเจน พม่าเป็นหนึ่งในประเทศที่เผชิญวิกฤตไวรัสรุนแรงที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยยอดผู้เสียชีวิตถึง 31,117 คน ผู้ติดเชื้อกว่า 141,000 คน
นิวซีแลนด์เป็นประเทศแรกที่ประกาศมาตรการอย่างเป็นรูปธรรมต่อต้านการรัฐประหารยึดอำนาจในพม่า สั่งระงับการติดต่อระดับสูงทั้งทางการเมืองและการทหารกับพม่า แบนการเดินทางของเหล่าผู้นำกองทัพแดนหม่อง
นอกจากนั้น นักธุรกิจชื่อดังคนหนึ่งของสิงคโปร์ยังมีแผนยกเลิกการลงทุนในบริษัทยาสูบพม่าที่มีสัมพันธ์กับกองทัพ ตามรอย คิริน โฮลดิ้งส์ บริษัทเบียร์ยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น ที่ยุติการร่วมทุนผลิตเบียร์กับหุ้นส่วนในพม่าเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
เน็ด ไพรซ์ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศของอเมริกา ได้ออกแถลงย้ำเคียงข้างชาวพม่าและสนับสนุนสิทธิ์ในการชุมนุมอย่างสันติ
ไพรซ์เสริมว่า กองทัพพม่าปฏิเสธคำขอของวอชิงตันในการพูดคุยกับซูจี
ทางด้านคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็น) เตรียมจัดประชุมพิเศษในวันศุกร์ (12) เพื่อหารือสถานการณ์ในพม่า
การชุมนุมเดินขบวนต่อต้านการรัฐประหารปะทุต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 เมื่อวันอังคาร (9 ก.พ.) ตามเมืองใหญ่ๆ ของพม่า ถึงแม้กองทัพออกประกาศขู่ว่า จะจัดการกับการประท้วง
ที่กรุงเนปิดอ ผู้เห็นเหตุการณ์เล่าว่า ตำรวจขับไล่ผู้ประท้วงด้วยด้วยการยิงปืน ส่วนใหญ่เป็นการยิงขึ้นฟ้า ใช้เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูง และกระสุนยาง ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บและถูกนำตัวส่งโรงพยาบาล 4 คน โดยที่พวกแพทย์ระบุในเบื้องต้นว่า พวกเขาเชื่อว่ามีบาดแผลซึ่งน่าจะเกิดจากกระสุนจริงด้วย
คนหนึ่งที่ได้รับบาดเจ็บเหล่านี้เป็นผู้หญิง ซึ่งได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะและหวั่นกันว่าเธอมีโอกาสมากที่สุดที่จะเสียชีวิต แพทย์ผู้หนึ่งซึ่งขอไม่ให้ระบุชื่อ กล่าวกับสำนักข่าวรอยเตอร์
แพทย์ผู้นี้ บอกว่า “ผลเอ็กซ์เรย์สามารถเห็นได้ว่าเธอถูกยิงด้วยกระสุนที่เป็นกระสุนจริง เธอยังอยู่ในแผนกฉุกเฉิน แต่อาการบาดเจ็บนั้นถึงขั้นทำให้เสียชีวิต และยังมีชายอีกผู้หนึ่งซึ่งมีแผลที่หน้าอก แต่ไม่วิกฤตหนัก ยังไม่ชัดเจนว่าเขาถูกยิงด้วยกระสุนจริงหรือกระสุนยาง
พยานผู้เห็นเหตุการณ์หลายรายในกรุงเนปิดอ เล่าว่า ตำรวจได้ยิงปืนขึ้นฟ้าหลายนัด แต่ฝูงชนไม่ยอมหลบหนี ตำรวจจึงใช้เครื่องฉีดน้ำใส่พวกผู้ประท้วง ซึ่งก็ตอบโต้ด้วยการขว้างก้อนหินใส่
คลิปวิดีโอที่มีผู้โพสต์ทางโซเชียลมีเดีย มีภาพของผู้หญิงซึ่งดูเหมือนน่าจะเป็นคนที่ถูกระบุว่าบาดเจ็บสาหัสมาก โดยเธอกับผู้ประท้วงอีกบางคนอยู่กันตรงป้ายรถเมล์ ห่างออกไปมากพอดูจากแถวของตำรวจปราบจลาจล ขณะที่ตำรวจฉีดน้ำไล่ผู้ประท้วงและได้ยินเสียงปืนดังขึ้นมาหลายนัด
หญิงคนดังกล่าวซึ่งสวมหมวกกันน็อกรถจักรยานยนต์ ล้มลงกับพื้นในทันที ภาพหลายภาพที่โพสต์กันทางโซเชียลมีเดียแสดงให้เห็นหมวกกันน็อกของเธอมีรูทะลุอยู่รูหนึ่ง ที่น่าจะเป็นรูกระสุนปืน
รอยเตอร์ย้ำว่า ยังไม่สามารถพิสูจน์ยืนยันคลิปวิดีโอหรือภาพเหล่านี้ว่าเป็นของจริงหรือไม่
ก่อนหน้านี้ มีคลิปวิดีโอเผยแพร่ทางสื่อสังคมซึ่งระบุว่า ถ่ายจากเมืองพะโค (Bago) ทางภาคกลางของประเทศ แสดงให้เห็นตำรวจกำลังเผชิญหน้ากับฝูงชน และใช้เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูงฉีดน้ำขับไล่ผู้ประท้วง
ขณะที่สื่อภายในพม่ารายงานว่า ในเมืองมัณฑะเลย์ ซึ่งเป็นเมืองใหญ่อันดับ 2 ของพม่า ตำรวจได้ใช้แก๊สน้ำตาขับไล่ผู้ชุมนุม รวมทั้งจับกุมผู้ประท้วงไปอย่างน้อย 27 คน
พลเอกพิเศษ มิน อ่อง หล่าย ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ซึ่งเป็นผู้นำการรัฐประหารคราวนี้ เมื่อค่ำวันจันทร์ (8) ได้ปราศรัยถ่ายทอดทางทีวีเป็นครั้งแรกภายหลังเข้ายึดอำนาจ ยืนยันความชอบธรรมในการยึดอำนาจ โดยอ้างว่า มีการโกงการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ของซูจี ได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้น
เขาให้สัญญาว่าจะสร้างประชาธิปไตยที่แท้จริงจะจัดให้มีการเลือกตั้งที่เปิดโอกาสให้พรรคการเมืองหลายๆ พรรคลงสมัคร และจะมอบอำนาจให้พรรคที่ชนะการเลือกตั้งตามกฎประชาธิปไตย
อย่างไรก็ดี มิน อ่อง หลาย ไม่ได้ระบุกรอบเวลาชัดเจนในการจัดการเลือกตั้ง
นอกจากนั้นในวันจันทร์ยังมีการประกาศมาตรการหลายข้อเพื่อสกัดการชุมนุมประท้วง เช่น ห้ามชุมนุมกันเกิน 5 คน คำสั่งเคอร์ฟิวนหลายๆ พื้นที่
ทว่า ในวันอังคาร ยังมีประชาชนออกมารวมตัวกันในพื้นที่ต่างๆ ของเมืองย่างกุ้ง ชูป้ายเรียกร้องให้ปล่อยตัวซูจีกับผู้นำพลเรือนอีกหลายคน และตะโกนขับไล่เผด็จการ
นักเคลื่อนไหวยังต้องการให้ล้มล้างรัฐธรรมนูญปี 2008 ที่ร่างขึ้นภายใต้การกำกับดูแลของกองทัพและให้อำนาจเหล่านายพลคัดค้านมติต่างๆ ในรัฐสภา ขณะที่นักเคลื่อนไหวรุ่นเก่า เรียกร้องให้ข้าราชการและลูกจ้างรัฐผละงานต่ออีก 3 สัปดาห์
อนึ่ง การต่อสู้แบบอารยะขัดขืนในพม่าคราวนี้ ซึ่งนำโดยพวกบุคลากรทางการแพทย์ ส่งผลให้การตรวจคัดกรองโรคโควิด-19 ลดลงอย่างชัดเจน พม่าเป็นหนึ่งในประเทศที่เผชิญวิกฤตไวรัสรุนแรงที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยยอดผู้เสียชีวิตถึง 31,117 คน ผู้ติดเชื้อกว่า 141,000 คน
นิวซีแลนด์เป็นประเทศแรกที่ประกาศมาตรการอย่างเป็นรูปธรรมต่อต้านการรัฐประหารยึดอำนาจในพม่า สั่งระงับการติดต่อระดับสูงทั้งทางการเมืองและการทหารกับพม่า แบนการเดินทางของเหล่าผู้นำกองทัพแดนหม่อง
นอกจากนั้น นักธุรกิจชื่อดังคนหนึ่งของสิงคโปร์ยังมีแผนยกเลิกการลงทุนในบริษัทยาสูบพม่าที่มีสัมพันธ์กับกองทัพ ตามรอย คิริน โฮลดิ้งส์ บริษัทเบียร์ยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น ที่ยุติการร่วมทุนผลิตเบียร์กับหุ้นส่วนในพม่าเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
เน็ด ไพรซ์ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศของอเมริกา ได้ออกแถลงย้ำเคียงข้างชาวพม่าและสนับสนุนสิทธิ์ในการชุมนุมอย่างสันติ
ไพรซ์เสริมว่า กองทัพพม่าปฏิเสธคำขอของวอชิงตันในการพูดคุยกับซูจี
ทางด้านคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็น) เตรียมจัดประชุมพิเศษในวันศุกร์ (12) เพื่อหารือสถานการณ์ในพม่า