ขรรค์ติธรรม
ในปี 2456 อันเป็นปีที่ 3 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในหลวงรัชกาลที่ 6 พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ เสด็จกลับสยาม เพื่อเริ่มต้นรับราชการและรับใช้ชาติบ้านเมือง
นอกจากตำแหน่งองคมนตรีแล้ว ทรงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าแต่งตั้ง ให้เป็นผู้ช่วยปลัดทูลฉลองกระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบัน)
จนกระทั่งเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2457 ทรงได้รับการสถาปนาเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นชัยนาทนเรนทร เมื่อทรงได้เลื่อนขั้นเป็น “ผู้บัญชาการโรงเรียนราชแพทยาลัย”
สิ่งแรก ๆ ที่พระองค์ทรงเห็นว่าต้องทำคือการแยกหลักสูตรของแพทย์แผนไทย ออกจากหลักสูตรของโรงเรียนราชแพทยาลัย
ยุคนั้นวิชาแพทยศาสตร์ ไม่ได้เป็นที่นิยม เนื่องจากคนที่มีโอกาสได้เข้าสู่การศึกษาชั้นสูงนั้นส่วนมากต่างมุ่งมั่นที่จะเรียนด้านกฎหมายหรือวิชาการทหาร เพราะเมื่อจบมาแล้ว จะได้เข้ารับราชการแขนงต่าง ๆ เพื่อแสวงหาความก้าวหน้าอีกทั้งยศถาบรรดาศักดิ์ สังคมยุคนั้นยังมีความเชื่อถือว่า อาชีพแพทย์เป็นวิชาชีพที่ไม่เหมาะสมกับเจ้านาย เพราะต้องเผชิญกับศพและโรคภัยต่าง ๆ
ถึงแม้ว่านักเรียนแพทย์จะได้ทุนหลวง ได้เรียนโดยไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน และมีนโยบายการบรรจุนักเรียนแพทย์แค่ให้เพียงพอกับตำแหน่งราชการที่ต้องการเท่านั้น แต่สายพระเนตรอันยาวไกลของเสด็จในกรม ผู้ซึ่งทรงเห็นการศึกษาและการวิจัยทางการแพทย์ของหนึ่งในมหาวิทยาลัยซึ่งก้าวหน้าที่สุดในยุโรป (มหาวิทยาลัยไฮเดิลแบร์ก) ทรงตระหนักว่าในอนาคตต่อไปจะมีแพทย์ไม่เพียงพอต่อความต้องการของชาติ พระองค์จึงสนับสนุนให้มีการรับนักเรียนแพทย์มากขึ้น และทรงขยายหลักสูตรเพื่อยกมาตรฐานการศึกษาวิชาแพทย์ให้สูงขึ้น เช่น วิชาสรีรวิทยา กายวิภาคศาสตร์ รวมไปถึงการฝึกหัดนักเรียนพยาบาล และนักเรียนผดุงครรภ์ เป็นต้น
นอกจากนั้นพระองค์ทรงเปลี่ยนนโยบายให้แพทย์ที่จบมาสามารถไปทำงานส่วนตัวได้ มิใช่เพียงมีตำแหน่งราชการเท่านั้น ดั่งที่พระองค์เห็นเป็นที่ประจักษ์อยู่ที่ยุโรป
ทั้งนี้เมื่อร้อยกว่าปีก่อนมีความจำเป็นอย่างมากที่ไทยเราต้องปรับตัวและเรียนรู้จากตะวันตก ต่างจากในปัจจุบันซึ่งไทยเราวันนี้มีพื้นฐานที่เพียบพร้อมและแข็งแกร่ง ขณะที่ทางตะวันตกเองในปัจจุบันทั้งยุโรปและสหรัฐอเมริกา ต่างเริ่มเข้าสู่ภาวะเสื่อมถอยทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม
หนึ่งในนโยบายพิเศษ ของรัฐบาลยุคนั้นคือกิจกรรมเสือป่าแห่งชาติ ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าในหลวงรัชกาลที่ 6 ได้ทรงตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมความรู้เรื่องวิชาทหาร ความรักชาติและชาตินิยม รวมถึงการรักษาความสงบภายในประเทศ ดังที่พระองค์ทรงประจักษ์ว่ากิจการลูกเสือในอังกฤษนั้น เจริญก้าวหน้าและมีผลดีอย่างไรบ้างต่อประเทศชาติ
พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นชัยนาทนเรนทร ทรงเห็นว่าการที่พระมหากษัตริย์ทรงสนับสนุนกิจการเสือป่าแห่งชาติ เป็นโอกาสที่จะพัฒนาการแพทย์ของประเทศด้วยไปในคราวเดียวกันใน พ.ศ.2458 พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้ให้จัดตั้งกรมนักเรียนแพทย์เสือป่าหลวงในพระบรมราชูปถัมภ์ และทรงโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นชัยนาทนเรนทร ทรงเป็นผู้บังคับการกรมนักเรียนแพทย์เสือป่าหลวง
ในการนี้เสด็จในการนี้เสด็จในกรมได้ทรงร่วมการออกซ้อมรบเสือป่าอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งทำให้ทรงได้ใกล้ชิดสนิทสนมกับนักเรียนแพทย์
นอกจากที่เสด็จในกรมทรงให้ความสำคัญกับการผลิตบุคลากรทางการแพทย์แล้ว พระองค์ทรงตระหนักถึงความจําเป็นอย่างมากของวิชาพยาบาล โดยทรงขยายหลักสูตรของวิชานี้ และเมื่อประชาชนเห็นว่าพระมหากษัตริย์ทรงสนับสนุนก็ทำให้วิชาแพทย์และพยาบาลรวมถึงบุรุษพยาบาล เป็นอาชีพที่ได้รับการยอมรับขึ้นมาในสังคมวงกว้าง อีกทั้งยังเป็นอาชีพซึ่งทำประโยชน์ให้แก่สังคมอย่างมาก
เสด็จในกรมผู้ทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมมหาวิทยาลัย อีกทั้งทรงเป็นประธานคณะกรรมการดำริรูปการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในขณะนั้นได้ทรงมีพระสัมพันธ์อันดีกับ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงศ์ภูวนาถ กรมหลวงพิศณุโลกประชานาถ ผู้ทรงดำรงตำแหน่งอุปนายกผู้อำนวยการสภากาชาดสยาม ด้วยเหตุนี้จึงได้มีการร่วมมือและประสานกันระหว่างโรงเรียนราชแพทยาลัยกับสภากาชาดสยามและอีกทั้งโรงพยาบาลศิริราช ให้การพัฒนาและนโยบายดำเนินไปในทิศทางที่สอดคล้องกัน
หลังจากที่ทรงมีพระดำริกับ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ เรื่องการขาดแคลนบุคลากรในการปรุงยา เสด็จในกรมได้ทรงจัดตั้งแผนกแพทย์ผสมยาขึ้นในราชแพทยาลัย เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ.2456 ซึ่งถือว่าเป็นวันสถาปนาคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และยังเป็นวันสำคัญของวิชาชีพเภสัชกรรมในประเทศไทย โดย ทรงจัดหลักสูตรแพทย์ผสมยาจำนวนสองหลักสูตร ระหว่างปี พ.ศ.2457 – 2463
นอกจากจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องการขาดแคลนบุคลากรในการปรุงยา อันเป็นการวางรากฐานให้ไทยสามารถผลิตยาแผนปัจจุบันใช้เองภายในประเทศ ขณะที่ยาสมุนไพรไทยก็ได้รับการพัฒนาต่อยอดมาเช่นกัน
ใน พ.ศ.2461 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสถาปนากรมสาธารณสุขขึ้น เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเสด็จในกรม ผู้ทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมมหาวิทยาลัยอยู่ ให้ขึ้นมาเป็นอธิบดีกรมสาธารณสุขคนแรกแห่งสยาม
“เหตุผลที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ไปทรงทำหน้าที่นี้ก็เพราะทรงเห็นว่าเสด็จในกรมทรงมีลูกศิษย์เป็นแพทย์และพยาบาลเป็นจำนวนมาก ย่อมจะทรงปกครองและประกอบภารกิจได้สะดวกและเหตุการณ์ก็เป็นไปตามพระราชดำริ” (จาก “สมเด็จกรมพระยาชัยนาทนเรนทร กับการแพทย์และสาธารณสุข” โดย ศ. นพ. อวย เกตุสิงห์)
อาจกล่าวได้ว่า ร.6 ทรงเลือกใช้คนได้ถูกงานก็คงไม่ผิดนัก ผลงานของเสด็จในกรมขณะทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมสาธารณะสุขมีอยู่มาก เช่น ทรงแบ่งงานของกระทรวงให้เป็นกองต่าง ๆ ซึ่งกลายมาเป็นรากฐานของกระทรวงสาธารณสุขในปัจจุบัน ทรงส่งเสริมให้ประชาชนทั่วประเทศมีบ้านที่สะอาดและถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล ซึ่งจำเป็นต้องประสานกับกระทรวง ทบวง กรมอื่น ๆ อีกทั้งทำให้เป็นกฎหมายด้วยการออกพระราชบัญญัติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
อีกหนึ่งผลงานสำคัญที่คนโดยมากไม่ใคร่รู้คือการที่พระองค์ทรงจัดให้มีกองกำกับโรคระบาดขึ้น ทำให้มีการกักกันผู้เป็นโรคและผู้ที่สงสัยว่าเป็นเป็นโรคเมื่อเดินทางเข้ามาในสยาม ซึ่งรู้จักกันในสมัยนี้ว่า State quarantine
อีกทั้งยังเป็นครั้งแรกที่ประเทศได้มีการจัดวัคซีนหมู่ ป้องกันโรคระบาด ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องใหม่มากสำหรับยุคนั้น ทรงให้มีการประชาสัมพันธ์ให้มีการปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ อีกทั้งได้ทรงออกมาตรการใหม่ขึ้นมาปราบปราม โรคร้ายต่าง ๆ ที่เคยมีและพบมากในประเทศ เช่น ไข้มาลาเรีย โรคเรื้อน และอหิวาตกโรค จึงได้ถูกควบคุมและเริ่มลดลงไปตามลําดับ ซึ่งในกาลต่อมาหน่วยงานเหล่านี้ได้วิวัฒนาการ มาเป็น กองโรคป้องกันด้วยวัคซีน ภายใต้กรมควบคุมโรค จนพัฒนามาเป็นสถาบันวัคซีนแห่งชาติในปัจจุบัน
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการควบคุมโรคระบาดด้วยความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ การกักกันผู้ป่วย หรือผู้ต้องสงสัยว่ามีเชื้อโรค (Maritime quarantine) รวมไปถึงการริเริ่มฉีดวัคซีน เพื่อป้องกันและปราบปรามโรคระบาด ในสยามประเทศ ล้วนเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในยุคที่พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นชัยนาทนเรนทร (พระอิสริยยศ ในขณะนั้น) ทรงรับใช้ชาติโดยการดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมสาธารณสุขอยู่ถึงเจ็ดปีเต็มจนพระองค์ทรงลาออกจากราชการเมื่อต้นปี 2468
จากรากฐานที่พระองค์ทรงตั้งไว้ ระบบการสาธารณสุขของไทยก็ได้ก้าวสู่อนาคตได้อย่างมั่นคงและแข็งแกร่ง จนถึงในปัจจุบันก็นับเป็นกระทรวงซึ่งคนไทยมีความรู้สึกอุ่นใจและผูกพันมากกว่ากระทรวงอื่น ๆ
นอกจากความวิริยะอุตสาหะและวิสัยทัศน์ที่ชัดแจ้งของเสด็จในกรมแล้ว การที่พระองค์ประสบความสำเร็จในการชักชวนสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลเดชวิกรม พระบรมราชชนก ให้มาสนใจและสนับสนุนวงการแพทย์ของสยามนั้น ก็เป็นที่ทราบกันอย่างกว้างขวาง
ก่อนที่สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ จะมาสนพระทัย และสนับสนุนวิชาการแพทย์นั้น เสด็จในกรมต้องออกพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์อยู่บ่อยครั้ง หรือไม่ก็ต้องไปขอเรี่ยไรเงินจากเจ้านายองค์อื่นๆ ทรงบันทึกไว้ว่าพอโผล่หน้าไปบางที่คนถึงกับทักว่า “อ้าวนี่จะมาขอเงินอีกแล้วหละสิ” แต่ก็ทรงรับคำเสียดสี เพื่อที่จะหาเงินไปเสริมและจุนเจือ งบประมาณที่ไม่เพียงพอของโรงพยาบาลศิริราชในยุคร้อยปีก่อนนั้น
สำหรับเรื่องราวของการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสยามกับมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างสมเด็จกรมพระยาชัยนาทนเรนทร และสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ รวมถึงการเสด็จดูงานต่างประเทศของเสด็จในกรม ล้วนเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากและจะขอกล่าวไว้ในโอกาสต่อไป
จากครั้งแรกในสยามที่ได้ริเริ่มมีการฉีดวัคซีนเมื่อครั้งที่เสด็จในกรมดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมสาธารณสุขผ่านมากว่าศตวรรษ โจทย์ที่สังคมเผชิญก็เปลี่ยนไป รวมถึงเชื้อโรคใหม่ที่อุบัติขึ้นมา ทำให้ความต้องการของวัคซีนของไทยมีสูงมาก ดั่งตัวอย่างเช่นโรคโควิด-19 ที่กำลังสร้างความระส่ำและปั่นป่วนให้แก่ทั่วโลก ซึ่งเป็นที่ทราบกันแล้วว่า ณ ปัจจุบันนี้ตลาดวัคซีนยังเป็นตลาดของผู้ขาย ไม่ใช่ตลาดของผู้ซื้อ ซึ่งก็จะเป็นอย่างนี้ไปอีกอย่างน้อยหนึ่งปี
แต่ทว่าในอาเซียนนั้นมีเพียงประเทศไทยเท่านั้น ที่มีศักยภาพและนโยบายที่สอดคล้อง จึงได้รับการคัดเลือกจากแอสตราเซเนกา เพื่อที่จะได้รับการถ่ายทอดการเทคโนโลยีการผลิตชีววัตถุขั้นสูงจากมหาวิทยาลัย Oxford มิใช่แค่เพื่อประชาชนคนไทยแต่เพื่อการผลิตวัคซีนแก่มวลมนุษยชาติ โดยไม่แสวงผลกำไร
ตอนนี้ ที่ประเทศญี่ปุ่นเอง เพิ่งมีประกาศว่าสามารถตกลงกับ แอสตราเซเนกา ว่าจะร่วมมือกันผลิตวัคซีนภายในประเทศญี่ปุ่นเอง 90 ล้าน โดส โดยบริษัทเอกชนที่รับผลิตคือ JCR Pharmaceuticals ของญี่ปุ่นเองก็ยังไม่เคยผลิตชีววัตถุขั้นสูงชนิดนี้มาก่อน แต่ก็ได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่ จากรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของญี่ปุ่น ซึ่งก็ทำให้ชาวญี่ปุ่นอุ่นใจว่า หากมีหากมีการผลิตเองในประเทศ เสริมกับการนำเข้าแล้ว ก็คงมีวัคซีนเพียงพอต่อความต้องการในประเทศ
สรุปแล้วประเทศที่มีขีดความสามารถเพียงพอ ที่จะร่วมมือกับ Oxford และ แอสตราเซเนกา ในเอเซียนั้นมีเพียง 1.) Serum institute of India 2.) สยามไบโอไซแอนซ์ ของไทย และที่เพิ่งประกาศมาล่าสุด ก็คือ 3.) JCR Pharmaceuticals ของญี่ปุ่น (ซึ่งเริ่มดำเนินการเรื่องนี้หลังจากไทย)
ญี่ปุ่นนั้นเป็นชาติที่เจริญแล้ว ที่คนไทยต่างชื่นชอบและรู้จักกันดี ส่วนอินเดียนั้นอันที่จริงแล้ว เป็นดั่งอนุทวีป (คือแท้จริงแล้วเป็นหลายประเทศมารวมกัน เป็นทวีปย่อมๆ) อีกทั้งเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสามในเอเชีย (รองจากจีนและญี่ปุ่น) จึงมีความจำเป็นอย่างสูงที่ต้องผลิตยามารักษาประชากรที่มีมาก ดังนั้นขีดความสามารถในบางเรื่องในบางเรื่องของเขา จึงมีมากกว่าชาติที่เล็กกว่า
ล่าสุด Serum institute of India ก็เพิ่งประกาศว่าอาจเริ่มทำการผลิตวัคซีนตัวที่สองชื่อ Covovax ร่วมกับ Novavax ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะเป็นวัคซีนอีกตัวซึ่งผลิตในประเทศของอินเดีย นอกเหนือไปจากตัวที่เริ่มผลิตกับ AstraZeneca
เป็นที่น่าสนใจว่าเยาวชนคนรุ่นใหม่ของอินเดียและญี่ปุ่นนี้ต่างล้วนเป็นประชากรที่ภูมิใจในวัฒนธรรมของตนและมีความรักชาติบ้านเมืองอย่างที่สุด แน่นอนว่าทุกชาติบ้านเมืองทุกประเทศก็มีปัญหาที่ต่างกัน แต่สิ่งสำคัญที่ชาติบ้านเมืองของเราต้องการในเวลานี้คือความมุ่งมั่นและสามัคคีกันของประชาชนทุกหมู่เหล่าในประเทศที่จะฝ่าฝันวิกฤตโลกครั้งนี้ไปให้ได้ร่วมกันอย่างตลอดรอดฝั่ง
จากรากฐานของโรงเรียนปรุงยา ที่กลายมาเป็นองค์กรเภสัชกรรมซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ทรงก่อตั้งและพระวิริยะอุตสาหะของสมเด็จพระราชบิดา นั้นทำให้ปฏิเสธไม่ได้ถึงคุณูปการที่ทั้งสองพระองค์มีต่อการสาธารณสุข การแพทย์ เภสัชศาสตร์ และพยาบาลศาสตร์ของไทย
และด้วยพระเนตรอันยาวไกลของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร ซึ่งทรงเป็นห่วงอนาคตของคนไทย อีกทั้งยังทรงมีพระราชวินิจฉัยเห็นพ้องกับที่เสด็จในกรม ซึ่งเป็นพระปิตุลาหรือลุงว่าไทยเรานี้ควรจะมีเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าสำหรับผลิตยาชีววัตถุเองในประเทศ ซึ่งมีนัยยะอย่างมากต่อความเจริญและมั่นคงของประเทศอย่างยั่งยืน อีกทั้งพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้ทรงสืบสานต่อยอดงานของพระบรมชนกนาถอย่างมั่นคง ทำให้งานด้านนี้ของประเทศไทยเดินหน้าทัดเทียม เคียงบ่าเคียงไหล่ประเทศอื่น ๆ พึ่งพาตนเองได้
ในขณะนี้การให้กำลังใจบุคลากรสาธารณสุข รวมถึงเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง อีกทั้งแพทย์และพยาบาลผู้กล้าหาญทุกท่าน เป็นสิ่งสำคัญซึ่งคนไทยควรร่วมมือร่วมใจกัน อีกทั้งการดูแลสุขภาพของตัวเองและบุคคลรอบข้างให้สะอาด ปลอดภัย ก็เป็นการช่วยชาติที่ดีที่สุดอีกวิธีหนึ่ง
ท้ายสุดนี้ข้าพเจ้าขอยกพระราชนิพนธ์ที่สำคัญของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร มาไว้ที่นี้
แหล่งอ้างอิง
สารศิริราช ฉบับพิเศษฉลอง 60 ปีศิริราช พฤษภาคม 2493
ชัยนาทนเรนทรานุสรณ์ คณะแพทย์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล 2558
ไปเมืองไปเมืองนอกครั้งแรกร.ศ. 118
เรียบเรียงโดย ม.ร.ว.ปรียนันทนา รังสิต
เกิดวังไม้ หม่อมเจ้า ปิยะรังสิต รังสิต
'ศ.นพ.ยง' ชี้ตลาดผู้ขาย โชคดีไทยได้วัคซีนโควิดจากจีน (bangkokbiznews.com)
https://www.livemint.com/news/india/novavax-covid-vaccine-india-hope-to-launch-covovax-by-june-2021-says-adar-poonawalla-11611992683335.html
https://asia.nikkei.com/Spotlight/Coronavirus/Japan-to-produce-90m-doses-of-AstraZeneca-COVID-19-vaccine
ในปี 2456 อันเป็นปีที่ 3 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในหลวงรัชกาลที่ 6 พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ เสด็จกลับสยาม เพื่อเริ่มต้นรับราชการและรับใช้ชาติบ้านเมือง
นอกจากตำแหน่งองคมนตรีแล้ว ทรงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าแต่งตั้ง ให้เป็นผู้ช่วยปลัดทูลฉลองกระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบัน)
จนกระทั่งเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2457 ทรงได้รับการสถาปนาเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นชัยนาทนเรนทร เมื่อทรงได้เลื่อนขั้นเป็น “ผู้บัญชาการโรงเรียนราชแพทยาลัย”
สิ่งแรก ๆ ที่พระองค์ทรงเห็นว่าต้องทำคือการแยกหลักสูตรของแพทย์แผนไทย ออกจากหลักสูตรของโรงเรียนราชแพทยาลัย
ยุคนั้นวิชาแพทยศาสตร์ ไม่ได้เป็นที่นิยม เนื่องจากคนที่มีโอกาสได้เข้าสู่การศึกษาชั้นสูงนั้นส่วนมากต่างมุ่งมั่นที่จะเรียนด้านกฎหมายหรือวิชาการทหาร เพราะเมื่อจบมาแล้ว จะได้เข้ารับราชการแขนงต่าง ๆ เพื่อแสวงหาความก้าวหน้าอีกทั้งยศถาบรรดาศักดิ์ สังคมยุคนั้นยังมีความเชื่อถือว่า อาชีพแพทย์เป็นวิชาชีพที่ไม่เหมาะสมกับเจ้านาย เพราะต้องเผชิญกับศพและโรคภัยต่าง ๆ
ถึงแม้ว่านักเรียนแพทย์จะได้ทุนหลวง ได้เรียนโดยไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน และมีนโยบายการบรรจุนักเรียนแพทย์แค่ให้เพียงพอกับตำแหน่งราชการที่ต้องการเท่านั้น แต่สายพระเนตรอันยาวไกลของเสด็จในกรม ผู้ซึ่งทรงเห็นการศึกษาและการวิจัยทางการแพทย์ของหนึ่งในมหาวิทยาลัยซึ่งก้าวหน้าที่สุดในยุโรป (มหาวิทยาลัยไฮเดิลแบร์ก) ทรงตระหนักว่าในอนาคตต่อไปจะมีแพทย์ไม่เพียงพอต่อความต้องการของชาติ พระองค์จึงสนับสนุนให้มีการรับนักเรียนแพทย์มากขึ้น และทรงขยายหลักสูตรเพื่อยกมาตรฐานการศึกษาวิชาแพทย์ให้สูงขึ้น เช่น วิชาสรีรวิทยา กายวิภาคศาสตร์ รวมไปถึงการฝึกหัดนักเรียนพยาบาล และนักเรียนผดุงครรภ์ เป็นต้น
นอกจากนั้นพระองค์ทรงเปลี่ยนนโยบายให้แพทย์ที่จบมาสามารถไปทำงานส่วนตัวได้ มิใช่เพียงมีตำแหน่งราชการเท่านั้น ดั่งที่พระองค์เห็นเป็นที่ประจักษ์อยู่ที่ยุโรป
ทั้งนี้เมื่อร้อยกว่าปีก่อนมีความจำเป็นอย่างมากที่ไทยเราต้องปรับตัวและเรียนรู้จากตะวันตก ต่างจากในปัจจุบันซึ่งไทยเราวันนี้มีพื้นฐานที่เพียบพร้อมและแข็งแกร่ง ขณะที่ทางตะวันตกเองในปัจจุบันทั้งยุโรปและสหรัฐอเมริกา ต่างเริ่มเข้าสู่ภาวะเสื่อมถอยทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม
หนึ่งในนโยบายพิเศษ ของรัฐบาลยุคนั้นคือกิจกรรมเสือป่าแห่งชาติ ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าในหลวงรัชกาลที่ 6 ได้ทรงตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมความรู้เรื่องวิชาทหาร ความรักชาติและชาตินิยม รวมถึงการรักษาความสงบภายในประเทศ ดังที่พระองค์ทรงประจักษ์ว่ากิจการลูกเสือในอังกฤษนั้น เจริญก้าวหน้าและมีผลดีอย่างไรบ้างต่อประเทศชาติ
พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นชัยนาทนเรนทร ทรงเห็นว่าการที่พระมหากษัตริย์ทรงสนับสนุนกิจการเสือป่าแห่งชาติ เป็นโอกาสที่จะพัฒนาการแพทย์ของประเทศด้วยไปในคราวเดียวกันใน พ.ศ.2458 พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้ให้จัดตั้งกรมนักเรียนแพทย์เสือป่าหลวงในพระบรมราชูปถัมภ์ และทรงโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นชัยนาทนเรนทร ทรงเป็นผู้บังคับการกรมนักเรียนแพทย์เสือป่าหลวง
ในการนี้เสด็จในการนี้เสด็จในกรมได้ทรงร่วมการออกซ้อมรบเสือป่าอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งทำให้ทรงได้ใกล้ชิดสนิทสนมกับนักเรียนแพทย์
นอกจากที่เสด็จในกรมทรงให้ความสำคัญกับการผลิตบุคลากรทางการแพทย์แล้ว พระองค์ทรงตระหนักถึงความจําเป็นอย่างมากของวิชาพยาบาล โดยทรงขยายหลักสูตรของวิชานี้ และเมื่อประชาชนเห็นว่าพระมหากษัตริย์ทรงสนับสนุนก็ทำให้วิชาแพทย์และพยาบาลรวมถึงบุรุษพยาบาล เป็นอาชีพที่ได้รับการยอมรับขึ้นมาในสังคมวงกว้าง อีกทั้งยังเป็นอาชีพซึ่งทำประโยชน์ให้แก่สังคมอย่างมาก
เสด็จในกรมผู้ทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมมหาวิทยาลัย อีกทั้งทรงเป็นประธานคณะกรรมการดำริรูปการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในขณะนั้นได้ทรงมีพระสัมพันธ์อันดีกับ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงศ์ภูวนาถ กรมหลวงพิศณุโลกประชานาถ ผู้ทรงดำรงตำแหน่งอุปนายกผู้อำนวยการสภากาชาดสยาม ด้วยเหตุนี้จึงได้มีการร่วมมือและประสานกันระหว่างโรงเรียนราชแพทยาลัยกับสภากาชาดสยามและอีกทั้งโรงพยาบาลศิริราช ให้การพัฒนาและนโยบายดำเนินไปในทิศทางที่สอดคล้องกัน
หลังจากที่ทรงมีพระดำริกับ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ เรื่องการขาดแคลนบุคลากรในการปรุงยา เสด็จในกรมได้ทรงจัดตั้งแผนกแพทย์ผสมยาขึ้นในราชแพทยาลัย เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ.2456 ซึ่งถือว่าเป็นวันสถาปนาคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และยังเป็นวันสำคัญของวิชาชีพเภสัชกรรมในประเทศไทย โดย ทรงจัดหลักสูตรแพทย์ผสมยาจำนวนสองหลักสูตร ระหว่างปี พ.ศ.2457 – 2463
นอกจากจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องการขาดแคลนบุคลากรในการปรุงยา อันเป็นการวางรากฐานให้ไทยสามารถผลิตยาแผนปัจจุบันใช้เองภายในประเทศ ขณะที่ยาสมุนไพรไทยก็ได้รับการพัฒนาต่อยอดมาเช่นกัน
ใน พ.ศ.2461 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสถาปนากรมสาธารณสุขขึ้น เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเสด็จในกรม ผู้ทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมมหาวิทยาลัยอยู่ ให้ขึ้นมาเป็นอธิบดีกรมสาธารณสุขคนแรกแห่งสยาม
“เหตุผลที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ไปทรงทำหน้าที่นี้ก็เพราะทรงเห็นว่าเสด็จในกรมทรงมีลูกศิษย์เป็นแพทย์และพยาบาลเป็นจำนวนมาก ย่อมจะทรงปกครองและประกอบภารกิจได้สะดวกและเหตุการณ์ก็เป็นไปตามพระราชดำริ” (จาก “สมเด็จกรมพระยาชัยนาทนเรนทร กับการแพทย์และสาธารณสุข” โดย ศ. นพ. อวย เกตุสิงห์)
อาจกล่าวได้ว่า ร.6 ทรงเลือกใช้คนได้ถูกงานก็คงไม่ผิดนัก ผลงานของเสด็จในกรมขณะทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมสาธารณะสุขมีอยู่มาก เช่น ทรงแบ่งงานของกระทรวงให้เป็นกองต่าง ๆ ซึ่งกลายมาเป็นรากฐานของกระทรวงสาธารณสุขในปัจจุบัน ทรงส่งเสริมให้ประชาชนทั่วประเทศมีบ้านที่สะอาดและถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล ซึ่งจำเป็นต้องประสานกับกระทรวง ทบวง กรมอื่น ๆ อีกทั้งทำให้เป็นกฎหมายด้วยการออกพระราชบัญญัติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
อีกหนึ่งผลงานสำคัญที่คนโดยมากไม่ใคร่รู้คือการที่พระองค์ทรงจัดให้มีกองกำกับโรคระบาดขึ้น ทำให้มีการกักกันผู้เป็นโรคและผู้ที่สงสัยว่าเป็นเป็นโรคเมื่อเดินทางเข้ามาในสยาม ซึ่งรู้จักกันในสมัยนี้ว่า State quarantine
อีกทั้งยังเป็นครั้งแรกที่ประเทศได้มีการจัดวัคซีนหมู่ ป้องกันโรคระบาด ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องใหม่มากสำหรับยุคนั้น ทรงให้มีการประชาสัมพันธ์ให้มีการปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ อีกทั้งได้ทรงออกมาตรการใหม่ขึ้นมาปราบปราม โรคร้ายต่าง ๆ ที่เคยมีและพบมากในประเทศ เช่น ไข้มาลาเรีย โรคเรื้อน และอหิวาตกโรค จึงได้ถูกควบคุมและเริ่มลดลงไปตามลําดับ ซึ่งในกาลต่อมาหน่วยงานเหล่านี้ได้วิวัฒนาการ มาเป็น กองโรคป้องกันด้วยวัคซีน ภายใต้กรมควบคุมโรค จนพัฒนามาเป็นสถาบันวัคซีนแห่งชาติในปัจจุบัน
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการควบคุมโรคระบาดด้วยความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ การกักกันผู้ป่วย หรือผู้ต้องสงสัยว่ามีเชื้อโรค (Maritime quarantine) รวมไปถึงการริเริ่มฉีดวัคซีน เพื่อป้องกันและปราบปรามโรคระบาด ในสยามประเทศ ล้วนเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในยุคที่พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นชัยนาทนเรนทร (พระอิสริยยศ ในขณะนั้น) ทรงรับใช้ชาติโดยการดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมสาธารณสุขอยู่ถึงเจ็ดปีเต็มจนพระองค์ทรงลาออกจากราชการเมื่อต้นปี 2468
จากรากฐานที่พระองค์ทรงตั้งไว้ ระบบการสาธารณสุขของไทยก็ได้ก้าวสู่อนาคตได้อย่างมั่นคงและแข็งแกร่ง จนถึงในปัจจุบันก็นับเป็นกระทรวงซึ่งคนไทยมีความรู้สึกอุ่นใจและผูกพันมากกว่ากระทรวงอื่น ๆ
นอกจากความวิริยะอุตสาหะและวิสัยทัศน์ที่ชัดแจ้งของเสด็จในกรมแล้ว การที่พระองค์ประสบความสำเร็จในการชักชวนสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลเดชวิกรม พระบรมราชชนก ให้มาสนใจและสนับสนุนวงการแพทย์ของสยามนั้น ก็เป็นที่ทราบกันอย่างกว้างขวาง
ก่อนที่สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ จะมาสนพระทัย และสนับสนุนวิชาการแพทย์นั้น เสด็จในกรมต้องออกพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์อยู่บ่อยครั้ง หรือไม่ก็ต้องไปขอเรี่ยไรเงินจากเจ้านายองค์อื่นๆ ทรงบันทึกไว้ว่าพอโผล่หน้าไปบางที่คนถึงกับทักว่า “อ้าวนี่จะมาขอเงินอีกแล้วหละสิ” แต่ก็ทรงรับคำเสียดสี เพื่อที่จะหาเงินไปเสริมและจุนเจือ งบประมาณที่ไม่เพียงพอของโรงพยาบาลศิริราชในยุคร้อยปีก่อนนั้น
สำหรับเรื่องราวของการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสยามกับมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างสมเด็จกรมพระยาชัยนาทนเรนทร และสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ รวมถึงการเสด็จดูงานต่างประเทศของเสด็จในกรม ล้วนเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากและจะขอกล่าวไว้ในโอกาสต่อไป
จากครั้งแรกในสยามที่ได้ริเริ่มมีการฉีดวัคซีนเมื่อครั้งที่เสด็จในกรมดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมสาธารณสุขผ่านมากว่าศตวรรษ โจทย์ที่สังคมเผชิญก็เปลี่ยนไป รวมถึงเชื้อโรคใหม่ที่อุบัติขึ้นมา ทำให้ความต้องการของวัคซีนของไทยมีสูงมาก ดั่งตัวอย่างเช่นโรคโควิด-19 ที่กำลังสร้างความระส่ำและปั่นป่วนให้แก่ทั่วโลก ซึ่งเป็นที่ทราบกันแล้วว่า ณ ปัจจุบันนี้ตลาดวัคซีนยังเป็นตลาดของผู้ขาย ไม่ใช่ตลาดของผู้ซื้อ ซึ่งก็จะเป็นอย่างนี้ไปอีกอย่างน้อยหนึ่งปี
แต่ทว่าในอาเซียนนั้นมีเพียงประเทศไทยเท่านั้น ที่มีศักยภาพและนโยบายที่สอดคล้อง จึงได้รับการคัดเลือกจากแอสตราเซเนกา เพื่อที่จะได้รับการถ่ายทอดการเทคโนโลยีการผลิตชีววัตถุขั้นสูงจากมหาวิทยาลัย Oxford มิใช่แค่เพื่อประชาชนคนไทยแต่เพื่อการผลิตวัคซีนแก่มวลมนุษยชาติ โดยไม่แสวงผลกำไร
ตอนนี้ ที่ประเทศญี่ปุ่นเอง เพิ่งมีประกาศว่าสามารถตกลงกับ แอสตราเซเนกา ว่าจะร่วมมือกันผลิตวัคซีนภายในประเทศญี่ปุ่นเอง 90 ล้าน โดส โดยบริษัทเอกชนที่รับผลิตคือ JCR Pharmaceuticals ของญี่ปุ่นเองก็ยังไม่เคยผลิตชีววัตถุขั้นสูงชนิดนี้มาก่อน แต่ก็ได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่ จากรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของญี่ปุ่น ซึ่งก็ทำให้ชาวญี่ปุ่นอุ่นใจว่า หากมีหากมีการผลิตเองในประเทศ เสริมกับการนำเข้าแล้ว ก็คงมีวัคซีนเพียงพอต่อความต้องการในประเทศ
สรุปแล้วประเทศที่มีขีดความสามารถเพียงพอ ที่จะร่วมมือกับ Oxford และ แอสตราเซเนกา ในเอเซียนั้นมีเพียง 1.) Serum institute of India 2.) สยามไบโอไซแอนซ์ ของไทย และที่เพิ่งประกาศมาล่าสุด ก็คือ 3.) JCR Pharmaceuticals ของญี่ปุ่น (ซึ่งเริ่มดำเนินการเรื่องนี้หลังจากไทย)
ญี่ปุ่นนั้นเป็นชาติที่เจริญแล้ว ที่คนไทยต่างชื่นชอบและรู้จักกันดี ส่วนอินเดียนั้นอันที่จริงแล้ว เป็นดั่งอนุทวีป (คือแท้จริงแล้วเป็นหลายประเทศมารวมกัน เป็นทวีปย่อมๆ) อีกทั้งเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสามในเอเชีย (รองจากจีนและญี่ปุ่น) จึงมีความจำเป็นอย่างสูงที่ต้องผลิตยามารักษาประชากรที่มีมาก ดังนั้นขีดความสามารถในบางเรื่องในบางเรื่องของเขา จึงมีมากกว่าชาติที่เล็กกว่า
ล่าสุด Serum institute of India ก็เพิ่งประกาศว่าอาจเริ่มทำการผลิตวัคซีนตัวที่สองชื่อ Covovax ร่วมกับ Novavax ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะเป็นวัคซีนอีกตัวซึ่งผลิตในประเทศของอินเดีย นอกเหนือไปจากตัวที่เริ่มผลิตกับ AstraZeneca
เป็นที่น่าสนใจว่าเยาวชนคนรุ่นใหม่ของอินเดียและญี่ปุ่นนี้ต่างล้วนเป็นประชากรที่ภูมิใจในวัฒนธรรมของตนและมีความรักชาติบ้านเมืองอย่างที่สุด แน่นอนว่าทุกชาติบ้านเมืองทุกประเทศก็มีปัญหาที่ต่างกัน แต่สิ่งสำคัญที่ชาติบ้านเมืองของเราต้องการในเวลานี้คือความมุ่งมั่นและสามัคคีกันของประชาชนทุกหมู่เหล่าในประเทศที่จะฝ่าฝันวิกฤตโลกครั้งนี้ไปให้ได้ร่วมกันอย่างตลอดรอดฝั่ง
จากรากฐานของโรงเรียนปรุงยา ที่กลายมาเป็นองค์กรเภสัชกรรมซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ทรงก่อตั้งและพระวิริยะอุตสาหะของสมเด็จพระราชบิดา นั้นทำให้ปฏิเสธไม่ได้ถึงคุณูปการที่ทั้งสองพระองค์มีต่อการสาธารณสุข การแพทย์ เภสัชศาสตร์ และพยาบาลศาสตร์ของไทย
และด้วยพระเนตรอันยาวไกลของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร ซึ่งทรงเป็นห่วงอนาคตของคนไทย อีกทั้งยังทรงมีพระราชวินิจฉัยเห็นพ้องกับที่เสด็จในกรม ซึ่งเป็นพระปิตุลาหรือลุงว่าไทยเรานี้ควรจะมีเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าสำหรับผลิตยาชีววัตถุเองในประเทศ ซึ่งมีนัยยะอย่างมากต่อความเจริญและมั่นคงของประเทศอย่างยั่งยืน อีกทั้งพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้ทรงสืบสานต่อยอดงานของพระบรมชนกนาถอย่างมั่นคง ทำให้งานด้านนี้ของประเทศไทยเดินหน้าทัดเทียม เคียงบ่าเคียงไหล่ประเทศอื่น ๆ พึ่งพาตนเองได้
ในขณะนี้การให้กำลังใจบุคลากรสาธารณสุข รวมถึงเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง อีกทั้งแพทย์และพยาบาลผู้กล้าหาญทุกท่าน เป็นสิ่งสำคัญซึ่งคนไทยควรร่วมมือร่วมใจกัน อีกทั้งการดูแลสุขภาพของตัวเองและบุคคลรอบข้างให้สะอาด ปลอดภัย ก็เป็นการช่วยชาติที่ดีที่สุดอีกวิธีหนึ่ง
ท้ายสุดนี้ข้าพเจ้าขอยกพระราชนิพนธ์ที่สำคัญของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร มาไว้ที่นี้
|
แหล่งอ้างอิง
สารศิริราช ฉบับพิเศษฉลอง 60 ปีศิริราช พฤษภาคม 2493
ชัยนาทนเรนทรานุสรณ์ คณะแพทย์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล 2558
ไปเมืองไปเมืองนอกครั้งแรกร.ศ. 118
เรียบเรียงโดย ม.ร.ว.ปรียนันทนา รังสิต
เกิดวังไม้ หม่อมเจ้า ปิยะรังสิต รังสิต
'ศ.นพ.ยง' ชี้ตลาดผู้ขาย โชคดีไทยได้วัคซีนโควิดจากจีน (bangkokbiznews.com)
https://www.livemint.com/news/india/novavax-covid-vaccine-india-hope-to-launch-covovax-by-june-2021-says-adar-poonawalla-11611992683335.html
https://asia.nikkei.com/Spotlight/Coronavirus/Japan-to-produce-90m-doses-of-AstraZeneca-COVID-19-vaccine