ผู้จัดการรายวัน360- “การบินไทย” เลื่อนยื่นแผนฟื้นฟูรอบ 2 แผนการเงินยังไม่สมบูรณ์ เหตุเจ้าหนี้มีจำนวนมาก และหลายกลุ่ม ขยายไปยื่นปลายก.พ.หรือต้น มี.ค. 64 พร้อมยืนยันค่าจ้างที่ปรึกษาทางการเงินไม่ถึง 630 ล้านบาท ชี้กรอบไม่เกิน 60 ล้านบาท เพื่อแนะนำ และทำโครงสร้างทางการเงิน ไม่มีหน้าที่หาแหล่งเงินทุน
พลอากาศเอก ชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน ประธานกรรมการ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึง ความคืบหน้าของการจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการ ซึ่งดำเนินการโดยคณะผู้จัดทำแผนรวม 6 คน และบริษัท อีวาย คอร์ปอเรท แอดไวซอรี่ เซอร์วิสเซส จำกัด ร่วมกับที่ปรึกษาด้านกฏหมาย ที่ปรึกษาทางด้านธุรกิจการบิน และที่ปรึกษาทางด้านการเงิน โดยการจัดทำแผนฟื้นฟูฯ ประกอบด้วยแผนหลัก 2 ส่วน คือ
1. แผนธุรกิจ ประกอบด้วยแผนในการจัดหารายได้ ลดรายจ่าย ปรับปรุงกระบวนการทำงาน ตลอดจนปรับโครงสร้างองค์กรให้มีความเหมาะสม เพื่อเพิ่มประสิทธิ ภาพการทำงาน เตรียมความพร้อมรองรับการดำเนินธุรกิจในอนาคตอย่างยั่งยืน ซึ่งได้ดำเนินการตามแผนงานไปแล้วบางส่วน เช่น โครงการขอความร่วมมือพนักงานลาหยุดโดยไม่รับค่าตอบแทน โครงการเสียสละเพื่อองค์กร เพื่อลดต้นทุนด้านบุคลากร เป็นต้น โดยในส่วนของแผนธุรกิจนี้ ได้ดำเนินการแล้วเสร็จเกือบสมบูรณ์แล้ว
2. แผนการเงิน ประกอบด้วย แผนการปรับโครงสร้างหนี้และโครงสร้างทุน ซึ่งบริษัทการบินไทยฯ มีเจ้าหนี้จำนวนมาก การชำระหนี้ตามแผนฟื้นฟูฯต้องเป็นธรรมกับทุกฝ่าย โดยอยู่ขั้นตอนการตรวจสอบคำขอรับชำระหนี้เพื่อให้มั่นใจ หนี้ที่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามแผนฟื้นฟูฯนั้นเป็นหนี้ที่ถูกต้อง ในขณะเดียวกันจำเป็นต้องจัดทำแบบจำลองทางการเงิน เพื่อกำหนดรูปแบบการปรับโครงสร้างทุน โครงสร้างหนี้ และการจัดสรรการชำระหนี้ในรูปแบบต่างๆ เพื่อเสนอให้เจ้าหนี้พิจารณาต่อไป
"คณะผู้ทำแผน ได้เร่งหารือกับเจ้าหนี้กลุ่มต่างๆ เพื่อให้แผนฟื้นฟูฯ เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย โดยเร็วที่สุด ซึ่งจากการรับฟังความคิดเห็นจากเจ้าหนี้หลายกลุ่ม ได้รับเสียงตอบรับในทางที่ดี ส่วนใหญ่เห็นชอบในหลักการของแผนฟื้นฟูฯ และให้ความเห็นที่เป็นประโยชน์ในการจัดทำแผนฟื้นฟูฯ"
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้แผนฟื้นฟูฯในส่วนของแผนทางการเงินมีความสมบูรณ์ที่สุด คณะผู้ทำแผนจึงได้พิจารณา ขยายระยะเวลาในการยื่นแผนฟื้นฟูฯต่อศาล ออกไปอีกประมาณ 1 เดือน ตามกรอบของกฏหมาย คาดยื่นแผนฟื้นฟูฯได้ประมาณปลายเดือนกุมภาพันธ์ หรือ ต้นเดือน มีนาคม 64 โดยครั้งที่ 1 การบินไทยได้ยื่นคำร้องต่อศาลล้มละลายกลาง เพื่อขอขยายระยะเวลาการส่งแผนฟื้นฟูกิจการ จากกำหนดเดิม วันที่ 2 ม.ค. 2564 เป็น วันที่ 4 ก.พ. 2564 แล้ว
ซึ่งภายหลังจากที่ผู้ทำแผนได้ยื่นแผนฟื้นฟูฯ แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะส่งสำเนาแผนฟื้นฟูฯ ให้เจ้าหนี้ได้พิจารณา และลงมติในการประชุมเจ้าหนี้เพื่อให้ความเห็นชอบแผนฟื้นฟูฯ คาดใช้เวลา1.5 เดือน หลังจากนั้นจะเป็นขั้นตอนของศาลที่จะพิจารณา และให้ความเห็นชอบต่อแผนฟื้นฟูฯ เป็นขั้นตอนสุดท้าย
นอกจากนี้ บริษัท การบินไทยฯ ยังได้ชี้แจงถึง กระแสข่าว การจ้างที่ปรึกษาทางการเงิน ที่มีค่าตอบแทนสูงถึง 630 ล้านบาท ว่า ไม่เป็นความจริง โดยยืนยันว่า ได้พิจารณาว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาทางการเงินมืออาชีพ ตามระเบียบจัดซื้อจัดจ้าง และหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกของบริษัทฯ ซึ่งเป็นไปอย่างโปร่งใส โดยมีกรอบงบประมาณการว่าจ้างไม่เกิน 60 ล้านบาท และมีระยะเวลาในการทำงานจนกว่าศาลจะให้ความเห็นชอบกับแผนฟื้นฟูฯ ซึ่งบริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน จะไม่มีหน้าที่ติดต่อหาแหล่งเงินทุนใหม่ให้กับบริษัทฯ แต่อย่างใด ส่วนขอบเขตการจัดหาแหล่งเงินทุนหรือผู้ลงทุนรายใหม่ จะดำเนินการว่าจ้างหลังจากแผนฟื้นฟูฯ ได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมเจ้าหนี้และศาลแล้ว
พลอากาศเอก ชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน ประธานกรรมการ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึง ความคืบหน้าของการจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการ ซึ่งดำเนินการโดยคณะผู้จัดทำแผนรวม 6 คน และบริษัท อีวาย คอร์ปอเรท แอดไวซอรี่ เซอร์วิสเซส จำกัด ร่วมกับที่ปรึกษาด้านกฏหมาย ที่ปรึกษาทางด้านธุรกิจการบิน และที่ปรึกษาทางด้านการเงิน โดยการจัดทำแผนฟื้นฟูฯ ประกอบด้วยแผนหลัก 2 ส่วน คือ
1. แผนธุรกิจ ประกอบด้วยแผนในการจัดหารายได้ ลดรายจ่าย ปรับปรุงกระบวนการทำงาน ตลอดจนปรับโครงสร้างองค์กรให้มีความเหมาะสม เพื่อเพิ่มประสิทธิ ภาพการทำงาน เตรียมความพร้อมรองรับการดำเนินธุรกิจในอนาคตอย่างยั่งยืน ซึ่งได้ดำเนินการตามแผนงานไปแล้วบางส่วน เช่น โครงการขอความร่วมมือพนักงานลาหยุดโดยไม่รับค่าตอบแทน โครงการเสียสละเพื่อองค์กร เพื่อลดต้นทุนด้านบุคลากร เป็นต้น โดยในส่วนของแผนธุรกิจนี้ ได้ดำเนินการแล้วเสร็จเกือบสมบูรณ์แล้ว
2. แผนการเงิน ประกอบด้วย แผนการปรับโครงสร้างหนี้และโครงสร้างทุน ซึ่งบริษัทการบินไทยฯ มีเจ้าหนี้จำนวนมาก การชำระหนี้ตามแผนฟื้นฟูฯต้องเป็นธรรมกับทุกฝ่าย โดยอยู่ขั้นตอนการตรวจสอบคำขอรับชำระหนี้เพื่อให้มั่นใจ หนี้ที่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามแผนฟื้นฟูฯนั้นเป็นหนี้ที่ถูกต้อง ในขณะเดียวกันจำเป็นต้องจัดทำแบบจำลองทางการเงิน เพื่อกำหนดรูปแบบการปรับโครงสร้างทุน โครงสร้างหนี้ และการจัดสรรการชำระหนี้ในรูปแบบต่างๆ เพื่อเสนอให้เจ้าหนี้พิจารณาต่อไป
"คณะผู้ทำแผน ได้เร่งหารือกับเจ้าหนี้กลุ่มต่างๆ เพื่อให้แผนฟื้นฟูฯ เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย โดยเร็วที่สุด ซึ่งจากการรับฟังความคิดเห็นจากเจ้าหนี้หลายกลุ่ม ได้รับเสียงตอบรับในทางที่ดี ส่วนใหญ่เห็นชอบในหลักการของแผนฟื้นฟูฯ และให้ความเห็นที่เป็นประโยชน์ในการจัดทำแผนฟื้นฟูฯ"
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้แผนฟื้นฟูฯในส่วนของแผนทางการเงินมีความสมบูรณ์ที่สุด คณะผู้ทำแผนจึงได้พิจารณา ขยายระยะเวลาในการยื่นแผนฟื้นฟูฯต่อศาล ออกไปอีกประมาณ 1 เดือน ตามกรอบของกฏหมาย คาดยื่นแผนฟื้นฟูฯได้ประมาณปลายเดือนกุมภาพันธ์ หรือ ต้นเดือน มีนาคม 64 โดยครั้งที่ 1 การบินไทยได้ยื่นคำร้องต่อศาลล้มละลายกลาง เพื่อขอขยายระยะเวลาการส่งแผนฟื้นฟูกิจการ จากกำหนดเดิม วันที่ 2 ม.ค. 2564 เป็น วันที่ 4 ก.พ. 2564 แล้ว
ซึ่งภายหลังจากที่ผู้ทำแผนได้ยื่นแผนฟื้นฟูฯ แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะส่งสำเนาแผนฟื้นฟูฯ ให้เจ้าหนี้ได้พิจารณา และลงมติในการประชุมเจ้าหนี้เพื่อให้ความเห็นชอบแผนฟื้นฟูฯ คาดใช้เวลา1.5 เดือน หลังจากนั้นจะเป็นขั้นตอนของศาลที่จะพิจารณา และให้ความเห็นชอบต่อแผนฟื้นฟูฯ เป็นขั้นตอนสุดท้าย
นอกจากนี้ บริษัท การบินไทยฯ ยังได้ชี้แจงถึง กระแสข่าว การจ้างที่ปรึกษาทางการเงิน ที่มีค่าตอบแทนสูงถึง 630 ล้านบาท ว่า ไม่เป็นความจริง โดยยืนยันว่า ได้พิจารณาว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาทางการเงินมืออาชีพ ตามระเบียบจัดซื้อจัดจ้าง และหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกของบริษัทฯ ซึ่งเป็นไปอย่างโปร่งใส โดยมีกรอบงบประมาณการว่าจ้างไม่เกิน 60 ล้านบาท และมีระยะเวลาในการทำงานจนกว่าศาลจะให้ความเห็นชอบกับแผนฟื้นฟูฯ ซึ่งบริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน จะไม่มีหน้าที่ติดต่อหาแหล่งเงินทุนใหม่ให้กับบริษัทฯ แต่อย่างใด ส่วนขอบเขตการจัดหาแหล่งเงินทุนหรือผู้ลงทุนรายใหม่ จะดำเนินการว่าจ้างหลังจากแผนฟื้นฟูฯ ได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมเจ้าหนี้และศาลแล้ว