xs
xsm
sm
md
lg

ทุกข์สุขของประชาชน : ตัวชี้วัดคุณภาพของการปกครอง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: สามารถ มังสัง


ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน
“มองในน้ำจะเห็นเงา มองที่ประชาชน ย่อมจะรู้ว่าการปกครองดีหรือไม่” นี่คือพระราชดำรัสของกษัตริย์ซังทัง แห่งราชวงศ์อิน (จากหนังสือเพลงกระบี่สี จิ้นผิง ซึ่งชาญ ธนประกอบ แปลจากหนังสือ Philosophy of Xi Jinping Inspired from Ancient Wisdom of China ซึ่งเรียบเรียงโดย People Daily Press

ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ได้นำสองประโยคข้างต้น มาอ้างอิงในการปราศรัยต่อที่ประชุม แนวทางของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ด้านการศึกษาสำหรับมวลชน สรุปกิจกรรมครั้งที่ 1 และการเตรียมการจัดกิจกรรมครั้งที่ 2

ในหนังสือเล่มเดียวกันนี้ ได้อธิบายขยายความ 2 ประโยคข้างต้น ว่า “ประชาชนมักถูกเปรียบเสมือนน้ำที่รองรับเรือ เปรียบเสมือนผืนดินรองรับเมล็ดพันธุ์ และเป็นรากฐานของลำต้นและกิ่งใบ สำหรับผู้บริหารประเทศแล้ว การเปรียบเทียบความสำคัญของประชาชนเช่นนี้ ไม่เกินเลยแม้แต่น้อย”

จากแนวคิดในเชิงปรัชญาการปกครองข้างต้น จะเห็นได้ว่า การที่ประเทศจีนเจริญรุ่งเรืองได้รวดเร็ว ดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ก็ด้วยการที่ผู้นำจีนได้นำความคิดของนักปราชญ์โบราณมาประยุกต์ใช้กับการปกครองในปัจจุบันได้อย่างกลมกลืน จึงทำให้ประเทศจีนก้าวหน้าในทุกด้าน ดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน

ประเทศไทย และคนไทยมีรากเหง้าความเป็นไทยของชนชาติมายาวนาน จะเห็นได้จากการมีภาษา ประเพณี และวัฒนธรรมเป็นของตนเอง โดยมีพระพุทธศาสนาและสถาบันกษัตริย์เป็นแกนกลางของความเป็นไทย ทั้งนี้อนุมานจากเหตุปัจจัยดังต่อไปนี้

1. พลเมืองส่วนใหญ่ของประเทศนับถือพระพุทธศาสนา และพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์เป็นพุทธมามกะ จึงเป็นแกนกลางหรือเป็นจุดรวมศูนย์แห่งความสามัคคีของคนในชาติ

2. คำสอนของพุทธศาสนา ได้มุ่งเน้นการพัฒนาทางด้านวัตถุ และด้านจิตใจควบคู่กันไป ดังนั้น จึงสามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นหลักในการพัฒนาประเทศโดยรวม และในการพัฒนาบุคคลอันเป็นปัจเจกในทุกด้าน โดยเฉพาะในด้านการปกครองเศรษฐกิจ และสังคม จะเห็นได้จากคำสอนดังต่อไปนี้เป็นตัวอย่าง

1. ในด้านการปกครอง พระพุทธเจ้าได้ตรัสเกี่ยวกับอธิปไตย 3 ประการคือ

1.1 อัตตาธิปไตย คือ การถือตนเองเป็นใหญ่ เปรียบได้กับระบอบเผด็จการ

1.2 โลกาธิปไตย คือ การถือกระแสโลกเป็นใหญ่ เปรียบได้กับระบอบประชาธิปไตย

1.3 ธัมมาธิปไตย คือ การถือธรรมหรือความจริง ความถูกต้องเป็นใหญ่ ซึ่งไม่มีอยู่ 100% ในโลกของปุถุชน แต่จะถูกนำมาผสมกับข้อที่ 1

2. เพื่อกำกับการใช้อำนาจ และอธิปไตยไม่ให้เอนเอียงจนก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในสังคม

นอกจากนี้แล้ว พระพุทธองค์ยังสอนหลักการปกครองที่ไม่ก่อให้เกิดความเสื่อม 7 ประการที่เรียกว่า อปริหานิยธรรม

1. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์

2. พร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม พร้อมเพรียงกันทำกิจที่พึงกระทำ

3. ไม่บัญญัติสิ่งที่มิได้บัญญัติไว้ ไม่ล้มล้างสิ่งที่บัญญัติไว้ ถือปฏิบัติตามหลักการที่วางไว้

4. ท่านเหล่าใดเป็นผู้ใหญ่ในชนชาววัชชี เคารพนับถือท่านเหล่านั้น เห็นว่า ถ้อยคำท่านเหล่านั้นเป็นสิ่งควรรับฟัง

5. บรรดากุลสตรี กุมารีที่ยินยอมให้อยู่โดยดี ไม่ถูกข่มเหงหรือฉุดคร่าขืนใจ

6. เคารพสักการบูชาเจดีย์ของชาววัชชีทั้งหลาย ทั้งภายใน ภายนอก ไม่ปล่อยให้ธรรมิกพลีที่เคยให้ เคยทำแก่เจดีย์เหล่านั้นหายไป

7. จัดให้ความรักขา คุ้มครอง ป้องกัน อันชอบธรรมแก่พระอรหันต์ทั้งหลาย

อปริหานิยธรรม 7 ประการนี้ พระพุทธเจ้าตรัสแก่เจ้าวัชชีทั้งหลาย ผู้ครองแคว้นโดยสามัคคีธรรม

ที่ยกมานี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของคำสอนเกี่ยวกับการปกครอง ยังมีคำสอนในด้านเศรษฐกิจ สังคม และอื่นๆ อีกมากมาย ถ้ามีโอกาสจะได้นำมาเสนอท่านผู้อ่านต่อไป


กำลังโหลดความคิดเห็น