ส.อ.ท.ร่วมมือสธ. หนุนผู้ประกอบการไทย ผลิตตู้แช่รับวัคซีนโควิด-19 หลังเบื้องต้นพบการพัฒนาตู้แช่ได้ในราคาที่ต่ำกว่าการนำเข้าต่างประเทศถึง 50% พร้อมผนึกกำลังภาคเอกชน สร้างรพ.สนาม 200 เตียง ที่สมุทรสาคร คาดเสร็จ 1-2 เดือนนี้
นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยว่าเมื่อเร็วๆนี้ ส.อ.ท.ได้หารือร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข ถึงกรณีที่ไทยมีแผนการที่จะตั้งศูนย์การผลิตวัคซีนเพื่อป้องกันโควิด-19 จึงเป็นโอกาสของผู้ผลิตตู้เย็นและตู้แช่ของไทย ที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ตู้แช่วัคซีนดังกล่าว ซึ่งเบื้องต้นพบว่าผู้ผลิตในประเทศ สามารถพัฒนาตู้แช่ที่รักษาอุณหภูมิที่ 2-8 องศาเซลเซียส ในราคาต่ำประมาณ 50% เมื่อเทียบกับการนำเข้าจากต่างประเทศ ที่มีราคาหลักแสนบาท
"กลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ส.อ.ท. สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ กองควบคุมโรคฯลฯได้หารือกันในเบื้องต้น เพื่อที่จะเร่งพัฒนาตู้แช่วัคซีนโควิด-19 ให้ออกมาในระยะแรก ให้ทันภายในเดือนก.พ.นี้ หากมีการส่งเสริมกันจริงจัง ก็จะทำให้เกิดคลัสเตอร์ในอุตสาหกรรมการแพทย์ได้อย่างครบวงจร และพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น"
นายสุพันธุ์ ยังกล่าวถึงความคืบหน้าการพัฒนาศูนย์ห่วงใยแรงงานสาคร จ.สมุทรสาคร เพื่อจัดตั้ง รพ.สนาม นำร่องใน จ.สมุทรสาคร ขนาด 200 เตียงว่า ส.อ.ท.ได้หารือกับเครือข่ายเอกชนในพื้นที่ กับสธ. ที่ได้ร่วมเห็นชอบการออกแบบรพ.สนาม ขนาด 200 เตียงแล้ว ซึ่งจะก่อสร้างในพื้นที่บางส่วนของพื้นที่ 49 ไร่ ที่มีเอกชนได้อนุเคราะห์ให้กับภาครัฐดำเนินการชั่วคราว คาดว่าแผนก่อสร้างจะแล้วภายในอีก1-2 เดือนนี้
"ส.อ.ท.ได้ร่วมมือกับภาคเอกชนในจ.สมุทรสาคร เพื่อควบคุมติดตามและป้องกันการปนเปื้อนของโควิด-19 ซึ่งภาคเอกชนจะระดมเงินสนับสนุนการก่อสร้าง รพ.สนาม ที่คาดว่าจะใช้เงิน ราว 8-10 ล้านบาท ซึ่งจะใช้เนื้อที่บางส่วนของที่ดินที่มีผู้อนุเคราะห์ให้มาดำเนินการ 49 ไร่ บริเวณติดถนนพระราม 2 ซึ่งเตียงสนามดังกล่าว จะช่วยดูแลผู้ติดเชื้อให้กับสถานประกอบการที่ไม่มีพื้นที่รองรับแรงงานโดยเฉพาะแรงงานต่างด้าว เพื่อให้ผู้ติดเชื้อมีสถานกักกันตัว"นายสุพันธุ์ กล่าว
แหล่งข่าวจากสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ กล่าวว่ารัฐบาลได้เตรียมความพร้อมในการจัดหาวัคซีนป้องกันโควิด-19 ซึ่งระยะยั่งยืน มีแผนที่จะตั้งศูนย์การผลิตวัคซีนในประเทศ ที่บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จะได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีและสามารถผลิตวัคซีนตามมาตรฐานอ๊อกฟอร์ด และแอสตราเซนเนกา กำลังการผลิต 200 ล้านโดสต่อปี ซึ่งวัคซีนตามมาตรฐานดังกล่าว สามารถเก็บรักษาได้ในอุณหภูมิตู้เย็นปกติ ดังนั้นจึงได้หารือที่จะพัฒนาในไทย รองรับเนื่องจากปัจจุบันผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพในการผลิตตู้เย็นอยู่แล้ว
ทั้งนี้ได้กำหนดแผนไว้ 2 เฟส โดยเฟสแรกจะเป็นตู้แช่วัคซีนรักษาอุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส สำหรับ 76 จังหวัด จังหวัดละ 1 เครื่อง ที่จะมีการทยอยส่งมอบเริ่มแรกในช่วงต้นก.พ.นี้ ซึ่งผู้ผลิตไทยสามารถทำราคาต่ำกว่า 45,000 บาทต่อตู้ ที่ถูกกว่าการนำเข้าจากต่างประเทศที่จะมีราคาสูงประมาณ 100,000 บาท
ส่วนเฟสที่ 2 ตู้แช่วัคซีนคุณสมบัติ -20 ถึง-70 องศาเซลเซียส ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการพัฒนาในประเทศไท ยด้วยข้อจำกัดด้านเทคโนโลยี วัสดุอุปกรณ์ในการผลิตฯลฯ อย่างไรก็ตาม ในเฟสนี้ตามแผนการสั่งซื้อ และผลิตวัคซีนเพื่อคนไทย ขอให้รัฐจัดสรรงบประมาณในการพัฒนาและการทดสอบตู้แช่ และขอให้สนับสนุนการซื้อสินค้าไทยตามมติครม.และระเบียบการจัดซื้อกรมบัญชีกลางโดยระบุให้จัดซื้อสินค้าที่ได้ใบรับรอง Made in Thailandเป็นต้น
นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยว่าเมื่อเร็วๆนี้ ส.อ.ท.ได้หารือร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข ถึงกรณีที่ไทยมีแผนการที่จะตั้งศูนย์การผลิตวัคซีนเพื่อป้องกันโควิด-19 จึงเป็นโอกาสของผู้ผลิตตู้เย็นและตู้แช่ของไทย ที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ตู้แช่วัคซีนดังกล่าว ซึ่งเบื้องต้นพบว่าผู้ผลิตในประเทศ สามารถพัฒนาตู้แช่ที่รักษาอุณหภูมิที่ 2-8 องศาเซลเซียส ในราคาต่ำประมาณ 50% เมื่อเทียบกับการนำเข้าจากต่างประเทศ ที่มีราคาหลักแสนบาท
"กลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ส.อ.ท. สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ กองควบคุมโรคฯลฯได้หารือกันในเบื้องต้น เพื่อที่จะเร่งพัฒนาตู้แช่วัคซีนโควิด-19 ให้ออกมาในระยะแรก ให้ทันภายในเดือนก.พ.นี้ หากมีการส่งเสริมกันจริงจัง ก็จะทำให้เกิดคลัสเตอร์ในอุตสาหกรรมการแพทย์ได้อย่างครบวงจร และพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น"
นายสุพันธุ์ ยังกล่าวถึงความคืบหน้าการพัฒนาศูนย์ห่วงใยแรงงานสาคร จ.สมุทรสาคร เพื่อจัดตั้ง รพ.สนาม นำร่องใน จ.สมุทรสาคร ขนาด 200 เตียงว่า ส.อ.ท.ได้หารือกับเครือข่ายเอกชนในพื้นที่ กับสธ. ที่ได้ร่วมเห็นชอบการออกแบบรพ.สนาม ขนาด 200 เตียงแล้ว ซึ่งจะก่อสร้างในพื้นที่บางส่วนของพื้นที่ 49 ไร่ ที่มีเอกชนได้อนุเคราะห์ให้กับภาครัฐดำเนินการชั่วคราว คาดว่าแผนก่อสร้างจะแล้วภายในอีก1-2 เดือนนี้
"ส.อ.ท.ได้ร่วมมือกับภาคเอกชนในจ.สมุทรสาคร เพื่อควบคุมติดตามและป้องกันการปนเปื้อนของโควิด-19 ซึ่งภาคเอกชนจะระดมเงินสนับสนุนการก่อสร้าง รพ.สนาม ที่คาดว่าจะใช้เงิน ราว 8-10 ล้านบาท ซึ่งจะใช้เนื้อที่บางส่วนของที่ดินที่มีผู้อนุเคราะห์ให้มาดำเนินการ 49 ไร่ บริเวณติดถนนพระราม 2 ซึ่งเตียงสนามดังกล่าว จะช่วยดูแลผู้ติดเชื้อให้กับสถานประกอบการที่ไม่มีพื้นที่รองรับแรงงานโดยเฉพาะแรงงานต่างด้าว เพื่อให้ผู้ติดเชื้อมีสถานกักกันตัว"นายสุพันธุ์ กล่าว
แหล่งข่าวจากสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ กล่าวว่ารัฐบาลได้เตรียมความพร้อมในการจัดหาวัคซีนป้องกันโควิด-19 ซึ่งระยะยั่งยืน มีแผนที่จะตั้งศูนย์การผลิตวัคซีนในประเทศ ที่บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จะได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีและสามารถผลิตวัคซีนตามมาตรฐานอ๊อกฟอร์ด และแอสตราเซนเนกา กำลังการผลิต 200 ล้านโดสต่อปี ซึ่งวัคซีนตามมาตรฐานดังกล่าว สามารถเก็บรักษาได้ในอุณหภูมิตู้เย็นปกติ ดังนั้นจึงได้หารือที่จะพัฒนาในไทย รองรับเนื่องจากปัจจุบันผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพในการผลิตตู้เย็นอยู่แล้ว
ทั้งนี้ได้กำหนดแผนไว้ 2 เฟส โดยเฟสแรกจะเป็นตู้แช่วัคซีนรักษาอุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส สำหรับ 76 จังหวัด จังหวัดละ 1 เครื่อง ที่จะมีการทยอยส่งมอบเริ่มแรกในช่วงต้นก.พ.นี้ ซึ่งผู้ผลิตไทยสามารถทำราคาต่ำกว่า 45,000 บาทต่อตู้ ที่ถูกกว่าการนำเข้าจากต่างประเทศที่จะมีราคาสูงประมาณ 100,000 บาท
ส่วนเฟสที่ 2 ตู้แช่วัคซีนคุณสมบัติ -20 ถึง-70 องศาเซลเซียส ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการพัฒนาในประเทศไท ยด้วยข้อจำกัดด้านเทคโนโลยี วัสดุอุปกรณ์ในการผลิตฯลฯ อย่างไรก็ตาม ในเฟสนี้ตามแผนการสั่งซื้อ และผลิตวัคซีนเพื่อคนไทย ขอให้รัฐจัดสรรงบประมาณในการพัฒนาและการทดสอบตู้แช่ และขอให้สนับสนุนการซื้อสินค้าไทยตามมติครม.และระเบียบการจัดซื้อกรมบัญชีกลางโดยระบุให้จัดซื้อสินค้าที่ได้ใบรับรอง Made in Thailandเป็นต้น