"ซูเปอร์โพล" ระบุประชาชน ร้อยละ 97.7 หนุน "พุทธิพงษ์" ใช้มาตรา 112 จัดการ "ธนาธร" กวาดให้เรียบพวกจาบจ้วงล่วงละเมิด ในหลวง และอยากให้ออกมาเคลียร์ปมแม่บุกรุกป่า ภาษีเรือยอชต์ การปลดพนักงาน แรงงานของบริษัทฯ
วานนี้ (24ม.ค.) นายนพดล กรรณิกา ผอ.สำนักวิจัยซูเปอร์โพล เผยผลสำรวจประชาชน เรื่อง "กระทรวงดีอี กับ ม.112" กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ 1,807 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 21-24 ม.ค.64
กรณีความเห็นต่อ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) แจ้งความดำเนินคดี นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า และคนอื่นๆตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 97.4 เห็นด้วย ขณะที่ร้อยละ 2.6 ไม่เห็นด้วย
นอกจากนี้ เมื่อสอบถามถึงการบังคับใช้กฎหมายตาม มาตรา 112 พบว่า ส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 93.0 เห็นด้วยว่า เป็นเรื่องสิทธิของแต่ละคนตามกฎหมายบ้านเมือง เพื่อความสงบสุขของประเทศและประชาชนมากกว่า ไม่ใช่เรื่องการเมือง ในขณะที่ร้อยละ 7.0 ไม่เห็นด้วย
เมื่อถามถึงการที่นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รมว.ดิจิทัลฯ ดำเนินการบังคับใช้กฎหมายตาม มาตรา 112 พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 97.7 พอใจ ในขณะที่ร้อยละ 2.3 ไม่พอใจ นอกจากนี้ ยังพบว่าส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 98.4 สนับสนุน นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ จัดการกวาดให้เรียบขบวนการจาบจ้วง ล่วงละเมิดคุกคามในหลวง และทุกพระองค์ในสถาบันหลักของชาติ ในขณะที่ร้อยละ 1.6 ไม่สนับสนุน
เมื่อถามถึงความเป็นไปได้ ถ้าปล่อยให้นักการเมือง นักวิชาการ นักธุรกิจ สื่อมวลชน ชาวต่างชาติ และประชาชนบางคน ล่วงละเมิด จาบจ้วง คุกคาม ในหลวงและทุกพระองค์ในสถาบันหลักของชาติ จะทำให้คนในชาติแตกแยกมากขึ้น ส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 75.0 ระบุ เป็นไปได้ค่อนข้างมาก ถึงมากที่สุดที่คนในชาติจะแตกแยกมากขึ้น ในขณะที่ ร้อยละ 14.3 ระบุ เป็นไปได้ปานกลาง และร้อยละ 10.7 ระบุ เป็นไปได้ค่อนข้างน้อย ถึงเป็นไปไม่ได้
ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าวว่า ผลโพลครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่ากระทรวงดิจิทัลฯ โดยนายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รมว.กระทรวงฯ กำลังทำตามความคาดหวัง และการสนับสนุนของประชาชนในการออกมาปกป้องรักษาเสาหลักของชาติ เพื่อยับยั้งขบวนการที่ใช้ข้อมูลเท็จหวังทำลายสถาบันหลักของชาติ หรือทำให้สั่นคลอน และสร้างความแตกแยกของคนในชาติ ดังนั้นประชาชนส่วนใหญ่จึงสนับสนุน นายพุทธิพงษ์ “ใช้กฎหมายคุ้มครองสิทธิทุกคน”เป็นกลไกของประเทศ เปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายได้ใช้สิทธิตามกฎหมายในกระบวนการยุติธรรม โดยทุกคนย่อมได้รับการคุ้มครองสิทธิตามกฎหมาย แนวทางนี้จึงไม่ใช่เรื่องการเมือง และไม่ใช่การใช้กฎหมาย เป็นเครื่องมือทางการเมือง “การเมือง เป็นเรื่อง การเมือง”เพราะใครก็ตามที่ถูกล่วงละเมิดสิทธิ ถูกคุกคาม ย่อมต้องอาศัยกฎหมายหยุดการคุกคามนั้น จึงดีกว่านักการเมืองบางคนนำพาคนลงถนน คุกคามผู้อื่น เบียดเบียนผู้อื่น ที่เคยทำกันในช่วงปีที่ผ่านมา
นอกจากนี้ผลการสำรวจของ ซูเปอร์โพล ที่มีการเผยแพร่ไปเมื่อวันที่ 22ม.ค.ที่ผ่านมา พบว่า ส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 98.6 เห็นด้วยว่า สังคมไทยจะอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข คนในชาติต้องออกมาปกป้องสถาบันหลักของชาติ และคนส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 92.2 ระบุ การเมืองที่กำลังคุกคามสถาบันหลักของชาติ กำลังซ้ำเติมวิกฤตชาติ ความทุกข์ยาก และสร้างความแตกแยกของคนในชาติช่วง วิกฤตเศรษฐกิจ วิกฤตโควิด
นอกจากนี้ ส่วนใหญ่ หรือ ร้อยละ 96.6 อยากให้ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ออกมาเคลียร์ปมที่ประชาชนเคลือบแคลงสงสัย เช่น การบุกรุกป่าของ”สมพร จึงรุ่งเรืองกิจ” มารดาของนายธนาธร ภาษีเรือยอชต์ การปลดพนักงาน แรงงานของบริษัทฯ เงินบริจาคช่วยเหยื่อโควิดที่แจกไม่หมด นำไปใช้จ่ายอย่างอื่น เป็นต้น
วานนี้ (24ม.ค.) นายนพดล กรรณิกา ผอ.สำนักวิจัยซูเปอร์โพล เผยผลสำรวจประชาชน เรื่อง "กระทรวงดีอี กับ ม.112" กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ 1,807 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 21-24 ม.ค.64
กรณีความเห็นต่อ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) แจ้งความดำเนินคดี นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า และคนอื่นๆตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 97.4 เห็นด้วย ขณะที่ร้อยละ 2.6 ไม่เห็นด้วย
นอกจากนี้ เมื่อสอบถามถึงการบังคับใช้กฎหมายตาม มาตรา 112 พบว่า ส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 93.0 เห็นด้วยว่า เป็นเรื่องสิทธิของแต่ละคนตามกฎหมายบ้านเมือง เพื่อความสงบสุขของประเทศและประชาชนมากกว่า ไม่ใช่เรื่องการเมือง ในขณะที่ร้อยละ 7.0 ไม่เห็นด้วย
เมื่อถามถึงการที่นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รมว.ดิจิทัลฯ ดำเนินการบังคับใช้กฎหมายตาม มาตรา 112 พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 97.7 พอใจ ในขณะที่ร้อยละ 2.3 ไม่พอใจ นอกจากนี้ ยังพบว่าส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 98.4 สนับสนุน นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ จัดการกวาดให้เรียบขบวนการจาบจ้วง ล่วงละเมิดคุกคามในหลวง และทุกพระองค์ในสถาบันหลักของชาติ ในขณะที่ร้อยละ 1.6 ไม่สนับสนุน
เมื่อถามถึงความเป็นไปได้ ถ้าปล่อยให้นักการเมือง นักวิชาการ นักธุรกิจ สื่อมวลชน ชาวต่างชาติ และประชาชนบางคน ล่วงละเมิด จาบจ้วง คุกคาม ในหลวงและทุกพระองค์ในสถาบันหลักของชาติ จะทำให้คนในชาติแตกแยกมากขึ้น ส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 75.0 ระบุ เป็นไปได้ค่อนข้างมาก ถึงมากที่สุดที่คนในชาติจะแตกแยกมากขึ้น ในขณะที่ ร้อยละ 14.3 ระบุ เป็นไปได้ปานกลาง และร้อยละ 10.7 ระบุ เป็นไปได้ค่อนข้างน้อย ถึงเป็นไปไม่ได้
ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าวว่า ผลโพลครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่ากระทรวงดิจิทัลฯ โดยนายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รมว.กระทรวงฯ กำลังทำตามความคาดหวัง และการสนับสนุนของประชาชนในการออกมาปกป้องรักษาเสาหลักของชาติ เพื่อยับยั้งขบวนการที่ใช้ข้อมูลเท็จหวังทำลายสถาบันหลักของชาติ หรือทำให้สั่นคลอน และสร้างความแตกแยกของคนในชาติ ดังนั้นประชาชนส่วนใหญ่จึงสนับสนุน นายพุทธิพงษ์ “ใช้กฎหมายคุ้มครองสิทธิทุกคน”เป็นกลไกของประเทศ เปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายได้ใช้สิทธิตามกฎหมายในกระบวนการยุติธรรม โดยทุกคนย่อมได้รับการคุ้มครองสิทธิตามกฎหมาย แนวทางนี้จึงไม่ใช่เรื่องการเมือง และไม่ใช่การใช้กฎหมาย เป็นเครื่องมือทางการเมือง “การเมือง เป็นเรื่อง การเมือง”เพราะใครก็ตามที่ถูกล่วงละเมิดสิทธิ ถูกคุกคาม ย่อมต้องอาศัยกฎหมายหยุดการคุกคามนั้น จึงดีกว่านักการเมืองบางคนนำพาคนลงถนน คุกคามผู้อื่น เบียดเบียนผู้อื่น ที่เคยทำกันในช่วงปีที่ผ่านมา
นอกจากนี้ผลการสำรวจของ ซูเปอร์โพล ที่มีการเผยแพร่ไปเมื่อวันที่ 22ม.ค.ที่ผ่านมา พบว่า ส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 98.6 เห็นด้วยว่า สังคมไทยจะอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข คนในชาติต้องออกมาปกป้องสถาบันหลักของชาติ และคนส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 92.2 ระบุ การเมืองที่กำลังคุกคามสถาบันหลักของชาติ กำลังซ้ำเติมวิกฤตชาติ ความทุกข์ยาก และสร้างความแตกแยกของคนในชาติช่วง วิกฤตเศรษฐกิจ วิกฤตโควิด
นอกจากนี้ ส่วนใหญ่ หรือ ร้อยละ 96.6 อยากให้ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ออกมาเคลียร์ปมที่ประชาชนเคลือบแคลงสงสัย เช่น การบุกรุกป่าของ”สมพร จึงรุ่งเรืองกิจ” มารดาของนายธนาธร ภาษีเรือยอชต์ การปลดพนักงาน แรงงานของบริษัทฯ เงินบริจาคช่วยเหยื่อโควิดที่แจกไม่หมด นำไปใช้จ่ายอย่างอื่น เป็นต้น