"พิธา" หัวหน้าพรรคก้าวไกล ร่ายยาวถึง "ชัชชาติ-อปท." อย่าปล่อยให้รัฐบาลสร้างระบบมือใครยาวสาวได้สาวเอา ปมวัคซีนโควิด-19 ด้าน “ชัชชาติ” เสียงอ่อยเห็นด้วย ขณะที่ กทม.พร้อมจัดงบหมื่นล้านซื้อวัคซีน กสม.แนะรัฐให้ข้อมูลวัคซีนรอบด้าน
วานนี้ (14 ม.ค.) นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กถึงกรณี นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อดีต รมว.คมนาคม และว่าที่ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. มีแนวคิดให้ กทม.ใช้งบประมาณ 8,000 ล้านบาท เพื่อจัดซื้อวัคซีนสำหรับประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ กทม. 8 ล้านคน ซึ่งเป็นแนวคิดที่สอดคล้องกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) บางแห่งที่จะจัดหาวัคซีนให้ประชาชนในเขตของตนเองว่า เป็นข้อเสนอที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของผลประโยชน์สูงสุดของประชาชน เป็นความหวังดีที่ อปท.สามารถจัดการได้ ภายใต้กรอบกฎหมาย และระเบียบราชการที่เกี่ยวข้อง แต่อยากให้ย้อนกลับมาฉุกคิดตรงนี้ว่า แท้จริงแล้วผู้ที่มีงบฯเหลือมากที่สุด และมีหน้าที่โดยตรงในการจัดการปัญหานี้คือใคร สำหรับผมแล้วเห็นว่าเป็นหน้าที่อันหลีกเลี่ยงไม่ได้ของรัฐบาลไทย โดยวัคซีนโควิดไม่ใช่ส่วนเสริมให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นแบบใครจะทำเพิ่ม หรือไม่ทำก็ได้ แต่เป็นความจำเป็นในสถานการณ์วิกฤต ที่ทุกคนจะต้องได้ฟรี เหมือนกับวัคซีนอื่นๆ ที่กระทรวงสาธารณสุขฉีดให้ประชาชนฟรีอยู่แล้ว
“ไม่นับว่า อปท.ส่วนใหญ่ หรือแทบทั้งหมดในประเทศไทย ยังไม่มีท่าทีชัดเจนว่าจะจัดซื้อวัคซีนให้ประชาชนในเขตตนเองหรือไม่ เพราะมีอีกหลายแห่งที่ขาดงบฯ กลายเป็นว่าจะมีบางแห่ง ที่ประชาชนได้วัคซีน บางแห่งไม่ได้ เพราะไม่มีงบฯ กลายเป็นระบบมือใครยาวสาวได้สาวเอา หากมองในภาพใหญ่ทั้งประเทศ ทางที่ดีที่สุดคือต้องยึดตามหลักการเดิมไว้ คือให้เป็นหน้าที่ของรัฐบาล ในการใช้งบประมาณแผ่นดิน จากภาษีประชาชนที่ตนเองมีเหลือใช้อยู่แล้ว เพื่อจัดหาวัคซีนที่มีคุณภาพ สำหรับประชาชนทุกคนในประเทศนี้” นายพิธา ระบุ
ด้าน นายชัชชาติ ได้แสดงความเห็นตอบกลับว่า เห็นด้วยกับนายพิธา ที่ว่าการฉีดวัคซีนโควิด ในหลักการแล้วควรต้องเป็นหน้าที่ของรัฐบาลในการจัดหาให้ประชาชนอย่างเพียงพอ ถ้ารัฐบาลทำอย่างนั้นได้อย่างรวดเร็ว ทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ ก็จะดีมาก และไม่ต้องให้ทางท้องถิ่นมาคิดหาทางดำเนินการเอง
วันเดียวกัน ร.ต.อ.พงศกร ขวัญเมือง โฆษกของกรุงเทพมหานคร เปิดเผยภายหลังประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ถึงการเตรียมพร้อมจัดหาวัคซีนป้องกันโควิดของ กทม.ว่า กทม.ได้ประมาณการงบประมาณเตรียมพร้อมสำหรับการจัดซื้อวัคซีน สำหรับประชากรในกทม.ที่มีอยู่ประมาณ 5 ล้านคน ที่ 1,000-10,000 ล้านบาท ขึ้นกับราคาวัคซีน อย่างไรก็ตามรัฐบาล ประกาศชัด มีงบฯ สำหรับวัคซีน ให้ประชาชนเพียงพออยู่แล้ว ในส่วนของ กทม.ก็เช่นกัน เงินไม่เป็นปัญหา กทม.พร้อมใช้งบฯ หากต้องใช้ แต่ปัญหาที่ยังซื้อไม่ได้ อยู่ที่ความปลอดภัยของวัคซีน.
ขณะที่ นางประกายรัตน์ ต้นธีรวงศ์ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) กล่าวถึงกรณีประชาชนกังวลเรื่องประสิทธิภาพของวัคซีนต้านไวรัสโควิด-19 ของซีโนแวค ที่รัฐบาลจะเริ่มฉีดให้ประชาชนในเดือน ก.พ.นี้ และมีข้อมูลว่า วัคซีนดังกล่าวประสิทธิภาพในการต้านไวรัสเพียง 50.4% ว่า ตอนนี้ทุกประเทศก็พยายามหาวัคซีนมาดูแลประชาชน แต่วัคซีนมีการผลิตหลายบริษัท ซึ่งผลการทดสอบยังไม่มีวัคซีนที่สร้างภูมิคุ้มกันได้ 100% แต่รัฐบาลหลายประเทศ ก็ได้นำวัคซีนมาใช้แล้ว ส่วนวัคซีนที่จะนำมาใช้กับคนไทย รัฐบาลก็ชี้แจงว่าจะต้องให้ผ่านการรับรองคุณภาพจาก อย.เสียก่อน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะปลอดภัยต่อประชาชนในระดับหนึ่ง เมื่อมั่นใจแล้วจึงนำมาใช้ ส่วนวัคซีนจะได้ผลแค่ไหนนั้น ก็มีหลายยี่ห้อหลายแบบ ก็ต้องดูคุณภาพ รัฐบาลต้องคุมคุณภาพในระดับหนึ่ง เพราะสิทธิด้านสุขภาพรัฐต้องดูแลอยู่แล้ว ต้องจัดหามาให้พอกับประชาชน ในแง่สิทธิมนุษยชน รัฐบาลต้องให้ข้อมูลข่าวสารที่ครบถ้วน เพื่อให้ประชาชนสามารถตัดสินใจได้ว่า จะรับวัคซีนหรือไม่ เพื่อให้เลือกได้ และหากประชาชนเลือกจะรับ ก็ถือเป็นสิทธิของประชาชน แต่ไม่ควรมีการบังคับ
วานนี้ (14 ม.ค.) นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กถึงกรณี นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อดีต รมว.คมนาคม และว่าที่ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. มีแนวคิดให้ กทม.ใช้งบประมาณ 8,000 ล้านบาท เพื่อจัดซื้อวัคซีนสำหรับประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ กทม. 8 ล้านคน ซึ่งเป็นแนวคิดที่สอดคล้องกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) บางแห่งที่จะจัดหาวัคซีนให้ประชาชนในเขตของตนเองว่า เป็นข้อเสนอที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของผลประโยชน์สูงสุดของประชาชน เป็นความหวังดีที่ อปท.สามารถจัดการได้ ภายใต้กรอบกฎหมาย และระเบียบราชการที่เกี่ยวข้อง แต่อยากให้ย้อนกลับมาฉุกคิดตรงนี้ว่า แท้จริงแล้วผู้ที่มีงบฯเหลือมากที่สุด และมีหน้าที่โดยตรงในการจัดการปัญหานี้คือใคร สำหรับผมแล้วเห็นว่าเป็นหน้าที่อันหลีกเลี่ยงไม่ได้ของรัฐบาลไทย โดยวัคซีนโควิดไม่ใช่ส่วนเสริมให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นแบบใครจะทำเพิ่ม หรือไม่ทำก็ได้ แต่เป็นความจำเป็นในสถานการณ์วิกฤต ที่ทุกคนจะต้องได้ฟรี เหมือนกับวัคซีนอื่นๆ ที่กระทรวงสาธารณสุขฉีดให้ประชาชนฟรีอยู่แล้ว
“ไม่นับว่า อปท.ส่วนใหญ่ หรือแทบทั้งหมดในประเทศไทย ยังไม่มีท่าทีชัดเจนว่าจะจัดซื้อวัคซีนให้ประชาชนในเขตตนเองหรือไม่ เพราะมีอีกหลายแห่งที่ขาดงบฯ กลายเป็นว่าจะมีบางแห่ง ที่ประชาชนได้วัคซีน บางแห่งไม่ได้ เพราะไม่มีงบฯ กลายเป็นระบบมือใครยาวสาวได้สาวเอา หากมองในภาพใหญ่ทั้งประเทศ ทางที่ดีที่สุดคือต้องยึดตามหลักการเดิมไว้ คือให้เป็นหน้าที่ของรัฐบาล ในการใช้งบประมาณแผ่นดิน จากภาษีประชาชนที่ตนเองมีเหลือใช้อยู่แล้ว เพื่อจัดหาวัคซีนที่มีคุณภาพ สำหรับประชาชนทุกคนในประเทศนี้” นายพิธา ระบุ
ด้าน นายชัชชาติ ได้แสดงความเห็นตอบกลับว่า เห็นด้วยกับนายพิธา ที่ว่าการฉีดวัคซีนโควิด ในหลักการแล้วควรต้องเป็นหน้าที่ของรัฐบาลในการจัดหาให้ประชาชนอย่างเพียงพอ ถ้ารัฐบาลทำอย่างนั้นได้อย่างรวดเร็ว ทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ ก็จะดีมาก และไม่ต้องให้ทางท้องถิ่นมาคิดหาทางดำเนินการเอง
วันเดียวกัน ร.ต.อ.พงศกร ขวัญเมือง โฆษกของกรุงเทพมหานคร เปิดเผยภายหลังประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ถึงการเตรียมพร้อมจัดหาวัคซีนป้องกันโควิดของ กทม.ว่า กทม.ได้ประมาณการงบประมาณเตรียมพร้อมสำหรับการจัดซื้อวัคซีน สำหรับประชากรในกทม.ที่มีอยู่ประมาณ 5 ล้านคน ที่ 1,000-10,000 ล้านบาท ขึ้นกับราคาวัคซีน อย่างไรก็ตามรัฐบาล ประกาศชัด มีงบฯ สำหรับวัคซีน ให้ประชาชนเพียงพออยู่แล้ว ในส่วนของ กทม.ก็เช่นกัน เงินไม่เป็นปัญหา กทม.พร้อมใช้งบฯ หากต้องใช้ แต่ปัญหาที่ยังซื้อไม่ได้ อยู่ที่ความปลอดภัยของวัคซีน.
ขณะที่ นางประกายรัตน์ ต้นธีรวงศ์ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) กล่าวถึงกรณีประชาชนกังวลเรื่องประสิทธิภาพของวัคซีนต้านไวรัสโควิด-19 ของซีโนแวค ที่รัฐบาลจะเริ่มฉีดให้ประชาชนในเดือน ก.พ.นี้ และมีข้อมูลว่า วัคซีนดังกล่าวประสิทธิภาพในการต้านไวรัสเพียง 50.4% ว่า ตอนนี้ทุกประเทศก็พยายามหาวัคซีนมาดูแลประชาชน แต่วัคซีนมีการผลิตหลายบริษัท ซึ่งผลการทดสอบยังไม่มีวัคซีนที่สร้างภูมิคุ้มกันได้ 100% แต่รัฐบาลหลายประเทศ ก็ได้นำวัคซีนมาใช้แล้ว ส่วนวัคซีนที่จะนำมาใช้กับคนไทย รัฐบาลก็ชี้แจงว่าจะต้องให้ผ่านการรับรองคุณภาพจาก อย.เสียก่อน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะปลอดภัยต่อประชาชนในระดับหนึ่ง เมื่อมั่นใจแล้วจึงนำมาใช้ ส่วนวัคซีนจะได้ผลแค่ไหนนั้น ก็มีหลายยี่ห้อหลายแบบ ก็ต้องดูคุณภาพ รัฐบาลต้องคุมคุณภาพในระดับหนึ่ง เพราะสิทธิด้านสุขภาพรัฐต้องดูแลอยู่แล้ว ต้องจัดหามาให้พอกับประชาชน ในแง่สิทธิมนุษยชน รัฐบาลต้องให้ข้อมูลข่าวสารที่ครบถ้วน เพื่อให้ประชาชนสามารถตัดสินใจได้ว่า จะรับวัคซีนหรือไม่ เพื่อให้เลือกได้ และหากประชาชนเลือกจะรับ ก็ถือเป็นสิทธิของประชาชน แต่ไม่ควรมีการบังคับ