ผู้จัดการรายวัน360- “พาณิชย์” ดึง “ลาซาด้า-ช้อปปี้-เจดี เซ็นทรัล” ร่วมป้องกันการละเมิดบนอินเทอร์เน็ต หลังค้าออนไลน์ยอดปัง ปี 62 ทะลุ 4.02 ล้านล้าน เชิญเอกอัครราชทูตยุโรปและผู้แทนทูตสหรัฐฯ ร่วมเป็นสักขีพยานการลงนามเอ็มโอยู เผยหากพบเห็นการจำหน่าย สามารถแจ้งแพลตฟอร์มดำเนินการและถอดออกจากการเป็นผู้ค้าได้ทันที มั่นใจช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นในการเข้ามาลงทุน และผลักดันการค้าออนไลน์เติบโตเพิ่มขึ้น
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ เปิดเผยในการเป็นประธานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง (เอ็มโอยู) ว่าด้วยความร่วมมือในการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาบนอินเทอร์เน็ต ระหว่างหน่วยงานต่างๆ ของกระทรวงพาณิชย์ เจ้าของสิทธิ์ และผู้ประกอบการแพลตฟอร์มขายสินค้าออนไลน์ว่า กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ได้จัดทำกรอบความร่วมมือการแก้ปัญหาการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในรูปแบบของเอ็มโอยู ร่วมกับเจ้าของสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญา 20 หน่วยงาน ผู้ประกอบการ 3 แพลตฟอร์มชั้นนำ ได้แก่ ลาซาด้า , ช้อปปี้ และเจดี เซ็นทรัล และดึงกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการค้าออนไลน์มาร่วมทำงาน โดยมี H.E. Mr.Pirkka Tapiola เอกอัครราชทูตสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย Mr.Michael Heath ผู้แทนสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสักขีพยาน
สำหรับสาระสำคัญของเอ็มโอยู มี 2 ส่วน คือ การระงับการจำหน่ายสินค้าละเมิดบนแพลตฟอร์มออนไลน์ และการเสริมสร้างองค์ความรู้ในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาให้แก่ผู้ค้าออนไลน์
ทั้งนี้ ในปี 2562 การค้าออนไลน์มีมูลค่าถึง 4.02 ล้านล้านบาท เพิ่ม 6.9% แต่พบปัญหาการจำหน่ายสินค้าละเมิดตามมา ซึ่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มอบกระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหา โดยผลดำเนินการในปี 2563 สามารถจับกุมผู้ละเมิดทางอินเทอร์เน็ตได้ 345 คดี ของกลาง 56,349 ชิ้น ส่วนใหญ่เป็นเครื่องหมายการค้าแบรนด์ดังๆ และตั้งแต่ปี 2561-63 ศาลสั่งให้ปิดกั้นเว็บไซต์ละเมิด ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งศาลได้มีคำสั่งสั่งระงับแล้ว 36 คำสั่ง 1,501 URLs
“ผมได้ฝากให้ท่านเอกอัครราชทูตยุโรป และผู้แทนเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ สื่อสารไปยังผู้ลงทุนในประเทศของตนเองว่าประเทศไทยให้ความสำคัญกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาเป็นอย่างยิ่ง และเชื่อมั่นว่าการลงนาม จะมีส่วนสำคัญในการสร้างความเชื่อมั่นในการประกอบธุรกิจที่ใช้ทรัพย์สินทางปัญญามากขึ้น”นายจุรินทร์กล่าว
นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา กล่าวว่า ปัจจุบันมีผู้โพสต์ขายสินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมากขึ้น ทั้งที่เป็นแพลตฟอร์มขายสินค้าและสื่อโซเชียลต่างๆ เข่น เฟซบุ๊ก ไอจี ซึ่งสร้างความเสียหายต่อธุรกิจของเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาเป็นอย่างมาก โดยเอ็มโอยูฉบับนี้ จะเป็นความร่วมมือในการแก้ปัญหาดังกล่าว เมื่อเจ้าของสิทธิ์พบการละเมิดบนอินเทอร์เน็ต สามารถแจ้งไปยังแพลตฟอร์มต่างๆ เพื่อให้ดำเนินการกับผู้ค้าที่ขายสินค้าละเมิด หรืออาจถอดออกจากการเป็นผู้ค้าในแพลตฟอร์ม ซึ่งจะช่วยให้การละเมิดลดลงได้
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ เปิดเผยในการเป็นประธานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง (เอ็มโอยู) ว่าด้วยความร่วมมือในการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาบนอินเทอร์เน็ต ระหว่างหน่วยงานต่างๆ ของกระทรวงพาณิชย์ เจ้าของสิทธิ์ และผู้ประกอบการแพลตฟอร์มขายสินค้าออนไลน์ว่า กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ได้จัดทำกรอบความร่วมมือการแก้ปัญหาการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในรูปแบบของเอ็มโอยู ร่วมกับเจ้าของสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญา 20 หน่วยงาน ผู้ประกอบการ 3 แพลตฟอร์มชั้นนำ ได้แก่ ลาซาด้า , ช้อปปี้ และเจดี เซ็นทรัล และดึงกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการค้าออนไลน์มาร่วมทำงาน โดยมี H.E. Mr.Pirkka Tapiola เอกอัครราชทูตสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย Mr.Michael Heath ผู้แทนสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสักขีพยาน
สำหรับสาระสำคัญของเอ็มโอยู มี 2 ส่วน คือ การระงับการจำหน่ายสินค้าละเมิดบนแพลตฟอร์มออนไลน์ และการเสริมสร้างองค์ความรู้ในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาให้แก่ผู้ค้าออนไลน์
ทั้งนี้ ในปี 2562 การค้าออนไลน์มีมูลค่าถึง 4.02 ล้านล้านบาท เพิ่ม 6.9% แต่พบปัญหาการจำหน่ายสินค้าละเมิดตามมา ซึ่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มอบกระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหา โดยผลดำเนินการในปี 2563 สามารถจับกุมผู้ละเมิดทางอินเทอร์เน็ตได้ 345 คดี ของกลาง 56,349 ชิ้น ส่วนใหญ่เป็นเครื่องหมายการค้าแบรนด์ดังๆ และตั้งแต่ปี 2561-63 ศาลสั่งให้ปิดกั้นเว็บไซต์ละเมิด ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งศาลได้มีคำสั่งสั่งระงับแล้ว 36 คำสั่ง 1,501 URLs
“ผมได้ฝากให้ท่านเอกอัครราชทูตยุโรป และผู้แทนเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ สื่อสารไปยังผู้ลงทุนในประเทศของตนเองว่าประเทศไทยให้ความสำคัญกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาเป็นอย่างยิ่ง และเชื่อมั่นว่าการลงนาม จะมีส่วนสำคัญในการสร้างความเชื่อมั่นในการประกอบธุรกิจที่ใช้ทรัพย์สินทางปัญญามากขึ้น”นายจุรินทร์กล่าว
นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา กล่าวว่า ปัจจุบันมีผู้โพสต์ขายสินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมากขึ้น ทั้งที่เป็นแพลตฟอร์มขายสินค้าและสื่อโซเชียลต่างๆ เข่น เฟซบุ๊ก ไอจี ซึ่งสร้างความเสียหายต่อธุรกิจของเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาเป็นอย่างมาก โดยเอ็มโอยูฉบับนี้ จะเป็นความร่วมมือในการแก้ปัญหาดังกล่าว เมื่อเจ้าของสิทธิ์พบการละเมิดบนอินเทอร์เน็ต สามารถแจ้งไปยังแพลตฟอร์มต่างๆ เพื่อให้ดำเนินการกับผู้ค้าที่ขายสินค้าละเมิด หรืออาจถอดออกจากการเป็นผู้ค้าในแพลตฟอร์ม ซึ่งจะช่วยให้การละเมิดลดลงได้