สบน.ยืนยันการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณของ ก.คลัง 7.84 แสนล้านบ. ตามกรอบ กม. ก้าน “กรมบัญชีกลาง” เผยไตรมาส 1/2564 ใช้จ่ายแล้ว 31.14% โวเบิกจ่ายไม่สะดุดช่วง Work From Home โควิด-19 ระลอกใหม่
วานนี้ (7 ม.ค.) นางแพตริเซีย มงคลวนิช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า ในปีงบประมาณ 2563 ที่ผ่านมา กระทรวงการคลังดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณตามกรอบกฎหมายที่เกี่ยวข้องทุกประการ โดยในปีงบประมาณ 2563 กระทรวงการคลังได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณไปจำนวน 784,115 ล้านบาท ประกอบด้วย 1.กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณภายใต้กรอบวงเงินของปีงบประมาณ 2562 ซึ่งได้มีการขยายเวลาในการกู้เงินเพื่อให้สอดคล้องกับการเบิกจ่ายงบประมาณเหลื่อมปี (Carry Over) จำนวน 101,022 ล้านบาท และ 2.กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณและกู้เงินเพื่อรองรับกรณีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ รวมทั้งสิ้น 683,093 ล้านบาท เป็นไปตามกรอบเพดานของกฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ โดยแบ่งเป็นการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณตาม พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี จำนวน 469,000 ล้านบาท และการกู้กรณีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ จำนวน 214,093 ล้านบาท ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (พ.ร.บ.หนี้สาธารณะฯ) ทั้ง 2 กรณี และกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐทุกประการ
ด้านนายภูมิศักดิ์ อรัญญาเกษมสุข อธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าวถึงการใช้จ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ไตรมาส 1 ว่า มีการใช้จ่ายเงินงบประมาณสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 จำนวน 257,364 ล้านบาท คิดเป็น 5.62% โดยงบประมาณภาพรวมใช้จ่ายแล้ว จำนวน 1,023,104 ล้านบาท คิดเป็น 31.14% ของวงเงินงบประมาณ 3,285,963 ล้านบาท จำแนกเป็น 1) รายจ่ายลงทุน จำนวน 144,458 ล้านบาท คิดเป็น 22.26% ของวงเงินงบประมาณ 648,984 ล้านบาท 2) รายจ่ายประจำ จำนวน 878,646 ล้านบาท คิดเป็น 33.32% ของวงเงินงบประมาณ 2,636,979 ล้านบาท สำหรับเงินงบประมาณที่กันไว้เบิกเหลื่อมปี มีการใช้จ่าย จำนวน 214,617 ล้านบาท คิดเป็น 99.69% ของวงเงินงบประมาณ 215,275 ล้านบาท
“แม้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จะส่งผลกระทบในทุกภาคส่วน และหน่วยงานของรัฐ ได้มีมาตรการให้ปฏิบัติงานที่บ้าน หรือ Work From Home และเหลื่อมเวลามาปฏิบัติงาน แต่ในขณะนี้ยังไม่พบว่ามีผลกระทบต่อกระบวนการเบิกจ่ายเงินงบประมาณโดยหน่วยงานของรัฐยังสามารถเบิกจ่ายเงินผ่านระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) ได้ตามปกติ อีกทั้ง กรมบัญชีกลางยังคงติดตาม เร่งรัดการใช้จ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการต่าง ๆ ให้ดำเนินการเบิกจ่ายได้ตามแผนการใช้จ่ายเงิน เพื่อกระตุ้นการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด ให้เม็ดเงินลงสู่ระบบเศรษฐกิจโดยเร็ว” นายภูมิศักดิ์ กล่าว
วานนี้ (7 ม.ค.) นางแพตริเซีย มงคลวนิช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า ในปีงบประมาณ 2563 ที่ผ่านมา กระทรวงการคลังดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณตามกรอบกฎหมายที่เกี่ยวข้องทุกประการ โดยในปีงบประมาณ 2563 กระทรวงการคลังได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณไปจำนวน 784,115 ล้านบาท ประกอบด้วย 1.กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณภายใต้กรอบวงเงินของปีงบประมาณ 2562 ซึ่งได้มีการขยายเวลาในการกู้เงินเพื่อให้สอดคล้องกับการเบิกจ่ายงบประมาณเหลื่อมปี (Carry Over) จำนวน 101,022 ล้านบาท และ 2.กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณและกู้เงินเพื่อรองรับกรณีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ รวมทั้งสิ้น 683,093 ล้านบาท เป็นไปตามกรอบเพดานของกฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ โดยแบ่งเป็นการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณตาม พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี จำนวน 469,000 ล้านบาท และการกู้กรณีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ จำนวน 214,093 ล้านบาท ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ (พ.ร.บ.หนี้สาธารณะฯ) ทั้ง 2 กรณี และกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐทุกประการ
ด้านนายภูมิศักดิ์ อรัญญาเกษมสุข อธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าวถึงการใช้จ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ไตรมาส 1 ว่า มีการใช้จ่ายเงินงบประมาณสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 จำนวน 257,364 ล้านบาท คิดเป็น 5.62% โดยงบประมาณภาพรวมใช้จ่ายแล้ว จำนวน 1,023,104 ล้านบาท คิดเป็น 31.14% ของวงเงินงบประมาณ 3,285,963 ล้านบาท จำแนกเป็น 1) รายจ่ายลงทุน จำนวน 144,458 ล้านบาท คิดเป็น 22.26% ของวงเงินงบประมาณ 648,984 ล้านบาท 2) รายจ่ายประจำ จำนวน 878,646 ล้านบาท คิดเป็น 33.32% ของวงเงินงบประมาณ 2,636,979 ล้านบาท สำหรับเงินงบประมาณที่กันไว้เบิกเหลื่อมปี มีการใช้จ่าย จำนวน 214,617 ล้านบาท คิดเป็น 99.69% ของวงเงินงบประมาณ 215,275 ล้านบาท
“แม้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จะส่งผลกระทบในทุกภาคส่วน และหน่วยงานของรัฐ ได้มีมาตรการให้ปฏิบัติงานที่บ้าน หรือ Work From Home และเหลื่อมเวลามาปฏิบัติงาน แต่ในขณะนี้ยังไม่พบว่ามีผลกระทบต่อกระบวนการเบิกจ่ายเงินงบประมาณโดยหน่วยงานของรัฐยังสามารถเบิกจ่ายเงินผ่านระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) ได้ตามปกติ อีกทั้ง กรมบัญชีกลางยังคงติดตาม เร่งรัดการใช้จ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการต่าง ๆ ให้ดำเนินการเบิกจ่ายได้ตามแผนการใช้จ่ายเงิน เพื่อกระตุ้นการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด ให้เม็ดเงินลงสู่ระบบเศรษฐกิจโดยเร็ว” นายภูมิศักดิ์ กล่าว