“ม็อบทรัมป์” บุก “รัฐสภาสหรัฐฯ” ขวางรับรอง “ไบเดน” ชนะเลือกตั้ง ก่อน “สภาคองเกรส” โหวตไฟเขียว นัดสาบานตน 20 ม.ค.ตามเดิม บรรยากาศมิคสัญญี-ปะทะวุ่น เบื้องต้นดับแล้ว 4 โดนรวบมากกว่า 50 วอชิงตันประกาศภาวะฉุกเฉิน 15 วัน โลกรุมประณาม
เมื่อวันที่ 6 ม.ค. ตามเวลาท้องถิ่นประเทศสหรัฐอเมริกา ในระหว่างที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐและวุฒิสภา เปิดการประชุมร่วมเพื่อลงมติรับรองผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ซึ่ง โจ ไบเดน จากพรรคเดโมแครต ชนะคะแนนประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ จากพรรคริพับลิกันไปอย่างขาดลอย เมื่อวันที่ 3 พ.ย.63 ได้เกิดเหตุการณ์ชุลมุนวุ่นวาย เมื่อกลุ่มผู้สนับสนุนนายทรัมป์ ได้เคลื่อนขบวนปิดล้อม และบุกเข้าไปภายในอาคารรัฐสภา “แคปิตอลฮิลล์” กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. จนทำให้ต้องยุติการประชุมและปิดอาคารรัฐสภา
โดยมีบางส่วนเข้าไปรุมล้อมและทุบประตูห้องประชุม เพื่อกดดันให้พวก ส.ส.และ ส.ว. ที่อยู่ในห้องหยุดการอภิปรายรับรองผลการเลือกตั้ง กระทั่งเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยต้องนำโต๊ะเก้าอี้ไปดันประตูไว้ และชักปืนออกมาป้องกันตัว ก่อนนำบรรดาสมาชิกสภาฯจะหลบไปยังที่ปลอดภัย
ทั้งนี้เหตุการณ์วุ่นวายเป็นผลพวงสะสมมาจากการที่นายทรัมป์ใช้ถ้อยคำยั่วยุสร้างความแตกแยกเกี่ยวกับการเลือกตั้ง รวมทั้งเรียกร้องให้สมาชิกพรรครีพับลิกันคัดค้านผลการเลือกตั้ง และกล่าวหาโดยไร้หลักฐานว่า ฝ่ายนายไบเดนโกงการเลือกตั้ง
การจลาจลเริ่มต้นขึ้นหลังจากที่ทรัมป์ขึ้นกล่าวปราศรัยกับพวกผู้สนับสนุนหลายพันคนใกล้ทำเนียบขาว และบอกให้คนเหล่านั้นเดินขบวนไปยังอาคารรัฐสภา เพื่อแสดงความโกรธแค้นต่อกระบวนการรับรองผลการเลือกตั้ง เขายังบอกให้กองเชียร์กดดันให้สมาชิกรัฐสภาปฏิเสธผลการเลือกตั้ง โดยปลุกเร้าให้คนเหล่านั้นให้ “สู้”
ด้านว่าที่ประธานาธิบดี โจ ไบเดน ประณามการจู่โจมอาคารรัฐสภา ว่า เป็นการก่อกบฏและเรียกร้องทรัมป์ ออกโทรทัศน์ เรียกร้องผู้สนับสนุนยุติการปิดล้อม “ในตอนนี้ ประชาธิปไตยของเราถูกโจมตีอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน” เขากล่าวในวิลมิงตัน
“ผมเรียกร้องให้ประธานาธิบดี ทรัมป์ ออกสถานีโทรทัศน์แห่งชาติในตอนนี้ เพื่อเรียกร้องขอยุติการปิดล้อม ยุติการบุกอาคารรัฐสภา ทุบตีกระจก ยุติบุกยึดสำนักงานต่างๆ ห้องประชุมวุฒิสภา การคุกความความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ที่ได้รับเลือกตั้ง มันไม่ใช่การประท้วง แต่มันเป็นกบฏ” นายไบเดน ระบุ
หลังจากนั้นไม่นาน นายทรัมป์เผยแพร่คลิปขอให้ม็อบสลายตัว แต่ยังคงย้ำว่า มีการโกงการเลือกตั้งอย่างมโหฬาร
ด้านตำรวจและหน่วยรักษาความปลอดภัยใช้แก๊สน้ำตาและใช้เวลาราว 4 ชั่วโมงในการจัดการปราบปรามม็อบเหล่านี้ โดยปรากฏว่ามีผู้เสียชีวิต 4 คน หนึ่งในนั้นเป็นผู้หญิงจากแคลิฟอร์เนีย ซึ่งเป็นอดีตทหารอากาศและเป็นผู้สนับสนุนนายทรัมป์ โดยเธอถูกตำรวจยิงขณะร่วมกับพรรคพวกบุกเข้าไปภายในรัฐสภา และเสียชีวิตในเวลาต่อมา ส่วนอีก 3 คนนั้น ตำรวจบอกว่าเสียชีวิตจากสถานการณ์ฉุกเฉินทางการแพทย์ นอกจากนั้นแล้วยังมีผู้ถูกจับกุม 52 คน ในจำนวนนี้ 47 คน กระทำผิดจากการฝ่าฝืนประกาศเคอร์ฟิว
เนื่องจากก่อนหน้านี้ นางมูเรียล โบว์เซอร์ นายกเทศมนตรีกรุงวอชิงตัน ดีซี ได้ประกาศภาวะฉุกเฉินสาธารณะเป็นเวลา 15 วัน จนถึงวันที่ 21 ม.ค. หรือหนึ่งวันหลังเสร็จสิ้นการประกอบพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีของนายโจ ไบเดน และมีการประกาศห้ามประชาชนออกนอกเคหสถาน หรือเคอร์ฟิว ตั้งแต่เวลา 18.00 น. ของวันที่ 6 ม.ค. ถึงเวลา 06.00 น. ของวันที่ 7 ม.ค. เพื่อรับมือกับเหตุจลาจลที่เกิดขึ้น
ด้าน นักประวัติศาสตร์ของสหรัฐฯระบุว่า ถือเป็นครั้งแรกที่อาคารรัฐสภาสหรัฐฯถูกยึดนับจากปี 1814 ที่ถูกอังกฤษเผาระหว่างสงครามปี 1812
ภายหลังจากเจ้าหน้าที่ควบคุมสถานการณ์ได้ สมาชิกของทั้งวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรของสหรัฐฯ กลับสู่การประชุมอีกครั้งเพื่อเดินหน้ากระบวนการรับรองชัยชนะในการเลือกตั้งของนายไบเดน
ทั้งนี้ตามระเบียบการประชุม จะมีการขานคะแนนผู้เลือกตั้งที่คู่แข่งขันทั้ง 2 นั่นคือ นายไบเดน กับ นายทรัมป์ ได้รับในแต่ละรัฐ โดยหากรัฐใด มี ส.ว อย่างน้อย 1 คน และ ส.ส. อย่างน้อย 1 คน ลุกขึ้นคัดค้านแล้ว ทั้ง 2 สภาก็จะแยกกันไปประชุมกันเอง เพื่ออภิปรายและลงมติว่าจะรับรองการคัดค้านหรือไม่ จากนั้นก็จะกลับมาประชุมร่วมกันอีก
ปรากฏว่ายังคงมี ส.ว. และ ส.ส. จำนวนหนึ่งของพรรครีพับลิกัน ออกมาคัดค้านการรับรองคะแนนเสียงของคณะผู้เลือกตั้งในรัฐแอริโซนาและรัฐเพนซิลเวเนีย ทว่าเสียงส่วนใหญ่ของทั้ง 2 สภาได้ปฏิเสธการค้าน และหลังจากนั้นที่ประชุมร่วมของ 2 สภาก็ลงมติรับรองชัยชนะของนายไบเดนอย่างเป็นทางการ จากคะแนนที่ได้จากคณะผู้เลือกตั้งทั่วประเทศ 306 เสียง ขณะที่นายทรัมป์ได้เพียง 232 เสียง
รองประธานาธิบดีไมค์ เพนซ์ ซึ่งเป็นประธานวุฒิสภาโดยตำแหน่ง และเป็นประธานของการประชุมร่วมของรัฐสภาคราวนี้ แถลงว่า ผลการลงคะแนนนี้ที่ถือเป็นขั้นตอนสุดท้ายในการรับรองชัยชนะของนายไบเดน คือคำประกาศรับรองประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีที่ได้รับเลือกตั้งของสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้นายไบเดน และนางกมลา แฮร์ริส จะทำพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งในวันที่ 20 ม.ค.ตามกำหนดการเดิม
มีรายงานก่อนหน้านี้ว่า นายทรัมป์พยายามกดดันให้นายเพนซ์ใช้อำนาจในฐานะประธานการประชุม คัดค้านการรับรองผลการเลือกตั้ง ทว่า นายเพนซ์ยืนยันว่า ไม่มีอำนาจแทรกแซงกระบวนการดังกล่าว
ทันทีที่รัฐสภาประกาศรับรองชัยชนะของนายไบเดน ทำเนียบขาวเผยแพร่แถลงการณ์ของนายทรัมป์ที่ระบุว่า แม้ไม่เห็นด้วยโดยสิ้นเชิงกับผลการเลือกตั้ง แต่เขาจะถ่ายโอนอำนาจอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยในวันที่นายไบเดนเข้ารับตำแหน่ง พร้อมกันนี้นายทรัมป์ยังประกาศว่า จะยังคงบทบาททางการเมืองท่ามกลางข่าวลือว่า เขาอาจลงเลือกตั้งอีกครั้งในปี 2024
รายงานข่าวแจ้งว่า สมาชิกสำคัญบางคนในรัฐสภาของพรรครีพับลิกัน โจมตีว่า นายทรัมป์ต้องรับผิดชอบเหตุการณ์รุนแรงครั้งนี้ เช่น ส.ส.ลิซ เชนีย์ ประธานที่ประชุมของรีพับลิกันในสภาล่าง วิจารณ์ว่า ไม่มีข้อสงสัยใดๆ เลยว่า นายทรัมป์เป็นผู้ก่อม็อบและยั่วยุปลุกปั่นให้เกิดความรุนแรง
นายทอม คอตตอน วุฒิสภารีพับลิกัน เรียกร้องให้นายทรัมป์ยอมรับความพ่ายแพ้ และหยุดทำให้คนอเมริกันเข้าใจผิด รวมทั้งสั่งให้ม็อบยุติความรุนแรง
ส.ว.ชัค ชูเมอร์ ผู้นำของเดโมแครตในวุฒิสภา กล่าวว่า เหตุบุกสภานี้เป็นความพยายามก่อการรัฐประหารยึดอำนาจ และจะถูกจารึกในประวัติศาสตร์อเมริกันเช่นเดียวกับเหตุการณ์ญี่ปุ่นถล่มเพิร์ลฮาร์เบอร์ โดยที่ทรัมป์จะต้องแบกรับ “ความน่าละอายที่ไม่สิ้นสุด” จากการยุยงปลุกปั่นมวลชนด้วยถ้อยคำโกหก
ขณะที่อดีตประธานาธิบดีบารัค โอบามาจากพรรคเดโมแครต ระบุว่า เหตุการณ์รุนแรงนี้เป็น “ช่วงเวลาแห่งความอัปยศ และน่าละอายของอเมริกา”
ด้านอดีตประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู. บุช จากพรรครีพับลิกัน จวกว่า นี่คือการโต้แย้งเกี่ยวกับผลการเลือกตั้งในสาธารณรัฐกล้วย ไม่ใช่สาธารณรัฐประชาธิปไตยแบบอเมริกา
ไม่เฉพาะในอเมริกาเท่านั้น นายกรัฐมนตรีบอริส จอห์นสันของอังกฤษ ช็อกกับเหตุการณ์นี้เช่นเดียวกันและประณามว่า เป็นเหตุการณ์ที่น่าอับอาย
นายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคิล ของเยอรมนี บอกว่า รู้สึก “โกรธและเศร้าใจ” กับเหตุการณ์ที่กิดขึ้น และบอกว่าทรัมป์ควรต้องถูกประนามด้วยสำหรับความไม่สงบที่เกิดขึ้น เนื่องจากไม่ยอมรับความพ่ายแพ้ ขณะที่ไฮโก มาส รัฐมนตรีต่างประเทศเยอรมนี เรียกร้องผู้สนับสนุนทรัมป์ยุติการเหยียบย่ำประชาธิปไตย
สำหรับรัสเซีย นางมาเรีย ซาคาโรวา โฆษกกระทรวงการต่างประเทศแดนหมีขาวแถลงว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นถือเป็นกิจการภายในของสหรัฐฯ แต่ก็สะท้อนให้เห็นว่าระบบเลือกตั้งในสหรัฐฯนั้นโบราณล้าสมัย ไม่ได้มาตรฐานของประชาธิปไตยสมัยใหม่ เปิดโอกาสให้มีการล่วงละเมิดกันอย่างมากมาย นอกจากนั้นแล้ว สื่อมวลชนอเมริกันก็กลายเป็นเครื่องมือของการต่อสู้ทางการเมือง นี่เป็นเหตุผลใหญ่ที่ทำให้สังคมเกิดการแตกแยกในสหรัฐฯ
ประธานาธิบดีฮัสซัน รูฮานี ของอิหร่าน แถลงว่า ความวุ่นวานที่เกิดขึ้นในรัฐสภาสหรัฐฯ แสดงให้เห็นว่าระบอบประชาธิปไตยตะวันตกนั้นเปราะบางและอ่อนแอขนาดไหน โดยที่ชาติตะวันตกกลายเป็นพื้นดินอุดมสำหรับลัทธิประชานิยม ทั้งๆ ที่มีความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรม
ขณะเดียวกัน สื่อหลายสำนักรายงานตรงกันว่า คณะรัฐมนตรีของนายทรัมป์เองได้หารือกันเรื่องการใช้อำนาจภายใต้บทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ 25 เพื่อปลดนายทรัมป์จากตำแหน่งเนื่องจากไม่เหมาะสมที่จะปฏิบัติหน้าที่ต่อ แล้วให้นายเพนซ์เป็นผู้รักษาการ ในช่วงที่เหลือไม่ถึง 2 สัปดาห์ ก่อนที่นายไบเดนจะเข้ารับตำแหน่ง
ด้านสมาชิกเดโมแครตทั้งหมดในคณะกรรมาธิการตุลาการของสภาผู้แทนราษฎรทำจดหมายถึงนายเพนซ์ระบุว่า เจตนาของนายทรัมป์ในการยั่วยุให้เกิดความรุนแรงและความวุ่นวายเพื่อบังคับเปลี่ยนแปลงผลการเลือกตั้งเป็นเหตุผลเพียงพอสำหรับการปลดจากตำแหน่งภายใต้บทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าว
เมื่อวันที่ 6 ม.ค. ตามเวลาท้องถิ่นประเทศสหรัฐอเมริกา ในระหว่างที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐและวุฒิสภา เปิดการประชุมร่วมเพื่อลงมติรับรองผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ซึ่ง โจ ไบเดน จากพรรคเดโมแครต ชนะคะแนนประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ จากพรรคริพับลิกันไปอย่างขาดลอย เมื่อวันที่ 3 พ.ย.63 ได้เกิดเหตุการณ์ชุลมุนวุ่นวาย เมื่อกลุ่มผู้สนับสนุนนายทรัมป์ ได้เคลื่อนขบวนปิดล้อม และบุกเข้าไปภายในอาคารรัฐสภา “แคปิตอลฮิลล์” กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. จนทำให้ต้องยุติการประชุมและปิดอาคารรัฐสภา
โดยมีบางส่วนเข้าไปรุมล้อมและทุบประตูห้องประชุม เพื่อกดดันให้พวก ส.ส.และ ส.ว. ที่อยู่ในห้องหยุดการอภิปรายรับรองผลการเลือกตั้ง กระทั่งเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยต้องนำโต๊ะเก้าอี้ไปดันประตูไว้ และชักปืนออกมาป้องกันตัว ก่อนนำบรรดาสมาชิกสภาฯจะหลบไปยังที่ปลอดภัย
ทั้งนี้เหตุการณ์วุ่นวายเป็นผลพวงสะสมมาจากการที่นายทรัมป์ใช้ถ้อยคำยั่วยุสร้างความแตกแยกเกี่ยวกับการเลือกตั้ง รวมทั้งเรียกร้องให้สมาชิกพรรครีพับลิกันคัดค้านผลการเลือกตั้ง และกล่าวหาโดยไร้หลักฐานว่า ฝ่ายนายไบเดนโกงการเลือกตั้ง
การจลาจลเริ่มต้นขึ้นหลังจากที่ทรัมป์ขึ้นกล่าวปราศรัยกับพวกผู้สนับสนุนหลายพันคนใกล้ทำเนียบขาว และบอกให้คนเหล่านั้นเดินขบวนไปยังอาคารรัฐสภา เพื่อแสดงความโกรธแค้นต่อกระบวนการรับรองผลการเลือกตั้ง เขายังบอกให้กองเชียร์กดดันให้สมาชิกรัฐสภาปฏิเสธผลการเลือกตั้ง โดยปลุกเร้าให้คนเหล่านั้นให้ “สู้”
ด้านว่าที่ประธานาธิบดี โจ ไบเดน ประณามการจู่โจมอาคารรัฐสภา ว่า เป็นการก่อกบฏและเรียกร้องทรัมป์ ออกโทรทัศน์ เรียกร้องผู้สนับสนุนยุติการปิดล้อม “ในตอนนี้ ประชาธิปไตยของเราถูกโจมตีอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน” เขากล่าวในวิลมิงตัน
“ผมเรียกร้องให้ประธานาธิบดี ทรัมป์ ออกสถานีโทรทัศน์แห่งชาติในตอนนี้ เพื่อเรียกร้องขอยุติการปิดล้อม ยุติการบุกอาคารรัฐสภา ทุบตีกระจก ยุติบุกยึดสำนักงานต่างๆ ห้องประชุมวุฒิสภา การคุกความความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ที่ได้รับเลือกตั้ง มันไม่ใช่การประท้วง แต่มันเป็นกบฏ” นายไบเดน ระบุ
หลังจากนั้นไม่นาน นายทรัมป์เผยแพร่คลิปขอให้ม็อบสลายตัว แต่ยังคงย้ำว่า มีการโกงการเลือกตั้งอย่างมโหฬาร
ด้านตำรวจและหน่วยรักษาความปลอดภัยใช้แก๊สน้ำตาและใช้เวลาราว 4 ชั่วโมงในการจัดการปราบปรามม็อบเหล่านี้ โดยปรากฏว่ามีผู้เสียชีวิต 4 คน หนึ่งในนั้นเป็นผู้หญิงจากแคลิฟอร์เนีย ซึ่งเป็นอดีตทหารอากาศและเป็นผู้สนับสนุนนายทรัมป์ โดยเธอถูกตำรวจยิงขณะร่วมกับพรรคพวกบุกเข้าไปภายในรัฐสภา และเสียชีวิตในเวลาต่อมา ส่วนอีก 3 คนนั้น ตำรวจบอกว่าเสียชีวิตจากสถานการณ์ฉุกเฉินทางการแพทย์ นอกจากนั้นแล้วยังมีผู้ถูกจับกุม 52 คน ในจำนวนนี้ 47 คน กระทำผิดจากการฝ่าฝืนประกาศเคอร์ฟิว
เนื่องจากก่อนหน้านี้ นางมูเรียล โบว์เซอร์ นายกเทศมนตรีกรุงวอชิงตัน ดีซี ได้ประกาศภาวะฉุกเฉินสาธารณะเป็นเวลา 15 วัน จนถึงวันที่ 21 ม.ค. หรือหนึ่งวันหลังเสร็จสิ้นการประกอบพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีของนายโจ ไบเดน และมีการประกาศห้ามประชาชนออกนอกเคหสถาน หรือเคอร์ฟิว ตั้งแต่เวลา 18.00 น. ของวันที่ 6 ม.ค. ถึงเวลา 06.00 น. ของวันที่ 7 ม.ค. เพื่อรับมือกับเหตุจลาจลที่เกิดขึ้น
ด้าน นักประวัติศาสตร์ของสหรัฐฯระบุว่า ถือเป็นครั้งแรกที่อาคารรัฐสภาสหรัฐฯถูกยึดนับจากปี 1814 ที่ถูกอังกฤษเผาระหว่างสงครามปี 1812
ภายหลังจากเจ้าหน้าที่ควบคุมสถานการณ์ได้ สมาชิกของทั้งวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรของสหรัฐฯ กลับสู่การประชุมอีกครั้งเพื่อเดินหน้ากระบวนการรับรองชัยชนะในการเลือกตั้งของนายไบเดน
ทั้งนี้ตามระเบียบการประชุม จะมีการขานคะแนนผู้เลือกตั้งที่คู่แข่งขันทั้ง 2 นั่นคือ นายไบเดน กับ นายทรัมป์ ได้รับในแต่ละรัฐ โดยหากรัฐใด มี ส.ว อย่างน้อย 1 คน และ ส.ส. อย่างน้อย 1 คน ลุกขึ้นคัดค้านแล้ว ทั้ง 2 สภาก็จะแยกกันไปประชุมกันเอง เพื่ออภิปรายและลงมติว่าจะรับรองการคัดค้านหรือไม่ จากนั้นก็จะกลับมาประชุมร่วมกันอีก
ปรากฏว่ายังคงมี ส.ว. และ ส.ส. จำนวนหนึ่งของพรรครีพับลิกัน ออกมาคัดค้านการรับรองคะแนนเสียงของคณะผู้เลือกตั้งในรัฐแอริโซนาและรัฐเพนซิลเวเนีย ทว่าเสียงส่วนใหญ่ของทั้ง 2 สภาได้ปฏิเสธการค้าน และหลังจากนั้นที่ประชุมร่วมของ 2 สภาก็ลงมติรับรองชัยชนะของนายไบเดนอย่างเป็นทางการ จากคะแนนที่ได้จากคณะผู้เลือกตั้งทั่วประเทศ 306 เสียง ขณะที่นายทรัมป์ได้เพียง 232 เสียง
รองประธานาธิบดีไมค์ เพนซ์ ซึ่งเป็นประธานวุฒิสภาโดยตำแหน่ง และเป็นประธานของการประชุมร่วมของรัฐสภาคราวนี้ แถลงว่า ผลการลงคะแนนนี้ที่ถือเป็นขั้นตอนสุดท้ายในการรับรองชัยชนะของนายไบเดน คือคำประกาศรับรองประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีที่ได้รับเลือกตั้งของสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้นายไบเดน และนางกมลา แฮร์ริส จะทำพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งในวันที่ 20 ม.ค.ตามกำหนดการเดิม
มีรายงานก่อนหน้านี้ว่า นายทรัมป์พยายามกดดันให้นายเพนซ์ใช้อำนาจในฐานะประธานการประชุม คัดค้านการรับรองผลการเลือกตั้ง ทว่า นายเพนซ์ยืนยันว่า ไม่มีอำนาจแทรกแซงกระบวนการดังกล่าว
ทันทีที่รัฐสภาประกาศรับรองชัยชนะของนายไบเดน ทำเนียบขาวเผยแพร่แถลงการณ์ของนายทรัมป์ที่ระบุว่า แม้ไม่เห็นด้วยโดยสิ้นเชิงกับผลการเลือกตั้ง แต่เขาจะถ่ายโอนอำนาจอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยในวันที่นายไบเดนเข้ารับตำแหน่ง พร้อมกันนี้นายทรัมป์ยังประกาศว่า จะยังคงบทบาททางการเมืองท่ามกลางข่าวลือว่า เขาอาจลงเลือกตั้งอีกครั้งในปี 2024
รายงานข่าวแจ้งว่า สมาชิกสำคัญบางคนในรัฐสภาของพรรครีพับลิกัน โจมตีว่า นายทรัมป์ต้องรับผิดชอบเหตุการณ์รุนแรงครั้งนี้ เช่น ส.ส.ลิซ เชนีย์ ประธานที่ประชุมของรีพับลิกันในสภาล่าง วิจารณ์ว่า ไม่มีข้อสงสัยใดๆ เลยว่า นายทรัมป์เป็นผู้ก่อม็อบและยั่วยุปลุกปั่นให้เกิดความรุนแรง
นายทอม คอตตอน วุฒิสภารีพับลิกัน เรียกร้องให้นายทรัมป์ยอมรับความพ่ายแพ้ และหยุดทำให้คนอเมริกันเข้าใจผิด รวมทั้งสั่งให้ม็อบยุติความรุนแรง
ส.ว.ชัค ชูเมอร์ ผู้นำของเดโมแครตในวุฒิสภา กล่าวว่า เหตุบุกสภานี้เป็นความพยายามก่อการรัฐประหารยึดอำนาจ และจะถูกจารึกในประวัติศาสตร์อเมริกันเช่นเดียวกับเหตุการณ์ญี่ปุ่นถล่มเพิร์ลฮาร์เบอร์ โดยที่ทรัมป์จะต้องแบกรับ “ความน่าละอายที่ไม่สิ้นสุด” จากการยุยงปลุกปั่นมวลชนด้วยถ้อยคำโกหก
ขณะที่อดีตประธานาธิบดีบารัค โอบามาจากพรรคเดโมแครต ระบุว่า เหตุการณ์รุนแรงนี้เป็น “ช่วงเวลาแห่งความอัปยศ และน่าละอายของอเมริกา”
ด้านอดีตประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู. บุช จากพรรครีพับลิกัน จวกว่า นี่คือการโต้แย้งเกี่ยวกับผลการเลือกตั้งในสาธารณรัฐกล้วย ไม่ใช่สาธารณรัฐประชาธิปไตยแบบอเมริกา
ไม่เฉพาะในอเมริกาเท่านั้น นายกรัฐมนตรีบอริส จอห์นสันของอังกฤษ ช็อกกับเหตุการณ์นี้เช่นเดียวกันและประณามว่า เป็นเหตุการณ์ที่น่าอับอาย
นายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคิล ของเยอรมนี บอกว่า รู้สึก “โกรธและเศร้าใจ” กับเหตุการณ์ที่กิดขึ้น และบอกว่าทรัมป์ควรต้องถูกประนามด้วยสำหรับความไม่สงบที่เกิดขึ้น เนื่องจากไม่ยอมรับความพ่ายแพ้ ขณะที่ไฮโก มาส รัฐมนตรีต่างประเทศเยอรมนี เรียกร้องผู้สนับสนุนทรัมป์ยุติการเหยียบย่ำประชาธิปไตย
สำหรับรัสเซีย นางมาเรีย ซาคาโรวา โฆษกกระทรวงการต่างประเทศแดนหมีขาวแถลงว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นถือเป็นกิจการภายในของสหรัฐฯ แต่ก็สะท้อนให้เห็นว่าระบบเลือกตั้งในสหรัฐฯนั้นโบราณล้าสมัย ไม่ได้มาตรฐานของประชาธิปไตยสมัยใหม่ เปิดโอกาสให้มีการล่วงละเมิดกันอย่างมากมาย นอกจากนั้นแล้ว สื่อมวลชนอเมริกันก็กลายเป็นเครื่องมือของการต่อสู้ทางการเมือง นี่เป็นเหตุผลใหญ่ที่ทำให้สังคมเกิดการแตกแยกในสหรัฐฯ
ประธานาธิบดีฮัสซัน รูฮานี ของอิหร่าน แถลงว่า ความวุ่นวานที่เกิดขึ้นในรัฐสภาสหรัฐฯ แสดงให้เห็นว่าระบอบประชาธิปไตยตะวันตกนั้นเปราะบางและอ่อนแอขนาดไหน โดยที่ชาติตะวันตกกลายเป็นพื้นดินอุดมสำหรับลัทธิประชานิยม ทั้งๆ ที่มีความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรม
ขณะเดียวกัน สื่อหลายสำนักรายงานตรงกันว่า คณะรัฐมนตรีของนายทรัมป์เองได้หารือกันเรื่องการใช้อำนาจภายใต้บทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ 25 เพื่อปลดนายทรัมป์จากตำแหน่งเนื่องจากไม่เหมาะสมที่จะปฏิบัติหน้าที่ต่อ แล้วให้นายเพนซ์เป็นผู้รักษาการ ในช่วงที่เหลือไม่ถึง 2 สัปดาห์ ก่อนที่นายไบเดนจะเข้ารับตำแหน่ง
ด้านสมาชิกเดโมแครตทั้งหมดในคณะกรรมาธิการตุลาการของสภาผู้แทนราษฎรทำจดหมายถึงนายเพนซ์ระบุว่า เจตนาของนายทรัมป์ในการยั่วยุให้เกิดความรุนแรงและความวุ่นวายเพื่อบังคับเปลี่ยนแปลงผลการเลือกตั้งเป็นเหตุผลเพียงพอสำหรับการปลดจากตำแหน่งภายใต้บทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าว