ผู้จัดการรายวัน 360 - ศบศ.เห็นชอบมาตรการ "คนละครึ่ง" เฟส 2 ให้สิทธิเพิ่ม 5 ล้านราย เพิ่มวงเงินอุดหนุนจากรัฐเป็น 3,500 บาท รวมผู้ใช้สิทธิรายเดิมได้เพิ่มอีก 500 เปิดลงทะเบียน 16 ธ.ค. นี้ ใช้สิทธิได้ยาวถึง 31 มี.ค. 64 และต่ออายุเติมเงินบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 500 บาทอีก 3 เดือน คาดใช้งบประมาณเพิ่มอีก 43,500 ล้านบาท พร้อมปรับเกณฑ์เราเที่ยวด้วยกัน กระตุ้นภาคการท่องเที่ยว
วานนี้ (2 ธ.ค.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด -19) หรือ ศบศ. โดยที่ประชุมเห็นชอบมาตรการกระตุ้นการบริโภค โดยเพิ่มสิทธิโครงการคนละครึ่งอีก 5 ล้านสิทธิ วงเงินอุดหนุนจากรัฐคนละ 3,500 บาท โดยจะเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนตั้งแต่วันที่ 16 ธ.ค. 63 ขณะที่ผู้ใช้สิทธิรายเดิมจะได้วงเงินเพิ่มอีกคนละ 500 บาท รวมทั้ง ศบศ.เห็นชอบต่ออายุจ่ายการจ่ายเงินเพิ่มเพื่อซื้อสินค้าของบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 500 บาท อีก 3 เดือน รวมวงเงินที่ใช้ทั้ง 2 โครงการประมาณ 43,500 ล้านบาท
นายพรชัย ฐีระเวช ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมศบศ.เห็นชอบมาตรการคนละครึ่ง ระยะที่สอง เสนอโดยกระทรวงการคลัง โดยมาตรการมีรูปแบบการดำเนินเช่นเดียวกับระยะแรกที่ภาครัฐจะร่วมจ่าย 50% แต่ไม่เกิน 150 บาทต่อคนต่อวัน แต่มาตรการในระยะที่สอง มีรายละเอียดเพิ่มเติม โดยเปิดให้มีการลงทะเบียนรับสิทธิเพิ่มเติมอีก 5 ล้านคน โดยจะได้รับวงเงินคนละ 3,500 บาท
ทั้งนี้ ผู้ที่ถูกตัดสิทธิจากโครงการคนละครึ่ง ระยะที่หนึ่ง เนื่องจากไม่ได้ใช้จ่ายภายใต้โครงการภายในวันที่กำหนดไว้หลังจากที่ลงทะเบียนรับสิทธิไปแล้ว จะยังสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการระยะที่สองได้ มีกำหนดการดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 31 มีนาคม 2564
นอกจากนี้ยังเพิ่มวงเงินผู้ได้รับสิทธิโครงการคนละครึ่ง ระยะที่หนึ่ง อีกคนละ 500 บาท โดยจะขยายระยะเวลาการใช้สิทธิมาตรการระยะที่หนึ่งออกไปจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2564
ขณะเดียวกันยังเห็นชอบมาตรการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เสนอโดยกระทรวงการคลัง โดยการเพิ่มวงเงินค่าซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นสำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จำนวน 500 บาทต่อคนต่อ เดือน เป็นระยะเวลาทั้งสิ้น 3 เดือน โดยมีระยะเวลาการดำเนินการตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม 2564
นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กล่าวเพิ่มเติมว่า ที่ประชุม ศบศ.เห็นชอบปรับปรุงโครงการเราเที่ยวด้วยกัน เพื่อกระตุ้นภาคการท่องเที่ยว อาทิ การเพิ่มจำนวนห้องพักในโครงการจากเดิม 5 ล้านคืน เป็น 6 ล้านคืน โดยจำนวนห้องที่เพิ่มมาจะสนับสนุนเฉพาะ E-voucher แต่ไม่อุดหนุนเรื่องค่าที่พัก และขยายสิทธิห้องพักต่อคืนจากที่ได้คนละ 10 คืนต่อ 1 สิทธิ เพิ่มเป็น 15 คืน และขยายช่วงเวลาการจองที่พัก จากเวลา 06.00 – 21.00 น. เป็นเวลา 06.00 – 24.00 น. และยังขยายระยะเวลาการใช้สิทธิโครงการไปจนถึง 30 เม.ย.64 จากเดิมที่สิ้นสุด 31 ม.ค.64 ให้ครอบคลุมไปถึงช่วงสงกรานต์
ขณะเดียวกันยังเพิ่มโรงแรมที่ไม่มีใบอนุญาตฯ แต่มีหมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษีและมีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ให้สามารถเข้าร่วมโครงการได้ รวมทั้งปรับปรุงเกณฑ์สนับสนุนค่าบัตรโดยสารเครื่องบินจากเดิมสูงสุดไม่เกิน 2,000 บาทต่อ 1 สิทธิ เป็นสูงสุดไม่เกิน 3,000 บาทต่อ 1 สิทธิ เป็นต้น โดยโครงการมีระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ครม.อนุมัติ ตั้งเป้าหมายมีคนกลุ่มนี้เที่ยว 1 ล้านคน
วานนี้ (2 ธ.ค.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด -19) หรือ ศบศ. โดยที่ประชุมเห็นชอบมาตรการกระตุ้นการบริโภค โดยเพิ่มสิทธิโครงการคนละครึ่งอีก 5 ล้านสิทธิ วงเงินอุดหนุนจากรัฐคนละ 3,500 บาท โดยจะเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนตั้งแต่วันที่ 16 ธ.ค. 63 ขณะที่ผู้ใช้สิทธิรายเดิมจะได้วงเงินเพิ่มอีกคนละ 500 บาท รวมทั้ง ศบศ.เห็นชอบต่ออายุจ่ายการจ่ายเงินเพิ่มเพื่อซื้อสินค้าของบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 500 บาท อีก 3 เดือน รวมวงเงินที่ใช้ทั้ง 2 โครงการประมาณ 43,500 ล้านบาท
นายพรชัย ฐีระเวช ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมศบศ.เห็นชอบมาตรการคนละครึ่ง ระยะที่สอง เสนอโดยกระทรวงการคลัง โดยมาตรการมีรูปแบบการดำเนินเช่นเดียวกับระยะแรกที่ภาครัฐจะร่วมจ่าย 50% แต่ไม่เกิน 150 บาทต่อคนต่อวัน แต่มาตรการในระยะที่สอง มีรายละเอียดเพิ่มเติม โดยเปิดให้มีการลงทะเบียนรับสิทธิเพิ่มเติมอีก 5 ล้านคน โดยจะได้รับวงเงินคนละ 3,500 บาท
ทั้งนี้ ผู้ที่ถูกตัดสิทธิจากโครงการคนละครึ่ง ระยะที่หนึ่ง เนื่องจากไม่ได้ใช้จ่ายภายใต้โครงการภายในวันที่กำหนดไว้หลังจากที่ลงทะเบียนรับสิทธิไปแล้ว จะยังสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการระยะที่สองได้ มีกำหนดการดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 31 มีนาคม 2564
นอกจากนี้ยังเพิ่มวงเงินผู้ได้รับสิทธิโครงการคนละครึ่ง ระยะที่หนึ่ง อีกคนละ 500 บาท โดยจะขยายระยะเวลาการใช้สิทธิมาตรการระยะที่หนึ่งออกไปจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2564
ขณะเดียวกันยังเห็นชอบมาตรการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เสนอโดยกระทรวงการคลัง โดยการเพิ่มวงเงินค่าซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นสำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จำนวน 500 บาทต่อคนต่อ เดือน เป็นระยะเวลาทั้งสิ้น 3 เดือน โดยมีระยะเวลาการดำเนินการตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม 2564
นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กล่าวเพิ่มเติมว่า ที่ประชุม ศบศ.เห็นชอบปรับปรุงโครงการเราเที่ยวด้วยกัน เพื่อกระตุ้นภาคการท่องเที่ยว อาทิ การเพิ่มจำนวนห้องพักในโครงการจากเดิม 5 ล้านคืน เป็น 6 ล้านคืน โดยจำนวนห้องที่เพิ่มมาจะสนับสนุนเฉพาะ E-voucher แต่ไม่อุดหนุนเรื่องค่าที่พัก และขยายสิทธิห้องพักต่อคืนจากที่ได้คนละ 10 คืนต่อ 1 สิทธิ เพิ่มเป็น 15 คืน และขยายช่วงเวลาการจองที่พัก จากเวลา 06.00 – 21.00 น. เป็นเวลา 06.00 – 24.00 น. และยังขยายระยะเวลาการใช้สิทธิโครงการไปจนถึง 30 เม.ย.64 จากเดิมที่สิ้นสุด 31 ม.ค.64 ให้ครอบคลุมไปถึงช่วงสงกรานต์
ขณะเดียวกันยังเพิ่มโรงแรมที่ไม่มีใบอนุญาตฯ แต่มีหมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษีและมีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ให้สามารถเข้าร่วมโครงการได้ รวมทั้งปรับปรุงเกณฑ์สนับสนุนค่าบัตรโดยสารเครื่องบินจากเดิมสูงสุดไม่เกิน 2,000 บาทต่อ 1 สิทธิ เป็นสูงสุดไม่เกิน 3,000 บาทต่อ 1 สิทธิ เป็นต้น โดยโครงการมีระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ครม.อนุมัติ ตั้งเป้าหมายมีคนกลุ่มนี้เที่ยว 1 ล้านคน