ผู้จัดการรายวัน360- การเมืองท้องถิ่นคึกคัก! นายกฯเผยครม.เคาะเลือกตั้งท้องถิ่น ประเดิมอบจ. พร้อมสุด คาดเลือกเดือนธ.ค.รอ กกต.กำหนดวัน ปีหน้าทยอยเลือกประเภทที่เหลือทั้งหมด บอก อยากเห็นการเลือกตั้ง โปร่งใส ได้คนดี ซื่อสัตย์มาทำงาน "จรุงวิทย์" เลขาฯกกต. แจง ครม.พร้อมเลือกตั้งท้องถิ่นทุกประเภท ย้ำ ปีนี้ได้เข้าคูหาแน่นอน ธรรมนัส" เผยสัปดาห์หน้า พปชร.ประชุม กก.บห.พรรคฯ เคาะตัวบุคคลลงชิงสนามท้องถิ่น และ กทม. ยอมรับมีทั้งลงในนามพรรค และอิสระ เปิดไทม์ไลน์เลือกตั้งท้องถิ่นแต่ละประเภทห่าง 60 วัน กทม.รั้งท้าย “บิ๊กตู่”ลั่นทุกสนามจบปี 64
วานนี้ (6ต.ค.) พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม กล่าวถึงการเลือกตั้งท้องถิ่นว่า คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้รายงานต่อที่ประชุมครม. ถึงการจัดการเลือกตั้งท้องถิ่น แต่มีเรื่องของความจำเป็นในเรื่องของ โควิด-19 และงบประมาณต่างๆ ที่เตรียมไว้ระดับหนึ่งแล้ว โดยมติครม.ให้มีการเลือกตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ก่อนเป็นอันดับแรก เพราะมีความพร้อมมากสุด ทั้งนี้จะต้องมีการเลือกตั้งภายใน 60 วัน คาดว่าเลือกตั้ง อบจ.ได้ในเดือนธ.ค.63 โดยวันเลือกตั้ง กกต.จะเป็นคนกำหนด และในปี 2564 จะทยอยเลือกตั้งประเภทอื่นๆ ต่อไป โดยต้องเตรียมการในเรื่องของงบประมาณต่างๆ ของปี 64
ทั้งนี้ การเลือกตั้งต้องโปร่งใส เป็นธรรม ไม่ทุจริต ได้คนดีมาทำงานท้องถิ่นที่มีอยู่ 5 ประเภท ทั้ง อบจ. องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) เทศบาล กทม. และเมืองพัทยา ซึ่งจะไปดูที่เหลืออยู่จะทำอย่างไรให้เสร็จในปีหน้า ก็ขอให้ได้คนดี ซื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใส ตรวจสอบได้ อย่าให้เกิดเหตุขึ้นอีก
พ.ต.อ.จรุงวิทย์ ภุมมา เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวว่า มาชี้แจงกับครม.ถึงความพร้อมในการจัดการเลือกตั้งท้องถิ่น ส่วนจะให้จัดการเลือกตั้งท้องถิ่นประเภทใดก่อนหรือหลังนั้น ขอให้มีมติ ครม.ออกมาก่อน จากนั้นกกต.ถึงจะไปประกาศวันเลือกตั้ง และกำหนดวันรับสมัคร ส่วนภาพรวมการเตรียมความพร้อมของ กกต.นั้น ได้มีการออกประกาศและระเบียบ รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องเรียบร้อยแล้ว ส่วนจะมีการจัดการเลือกตั้งในระดับ อบจ.เป็นประเภทแรกหรือไม่นั้น คงต้องรอ ครม. แต่ในเบื้องต้น กกต.ได้มีการแบ่งเขตเอาไว้เรียบร้อยแล้ว โดยจะมีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ในในส่วนของอบจ.ประมาณ 1 แสนคน เพื่อรองรับหน่วยเลือกตั้งที่จะเพิ่มขึ้น เนื่องจากต้องปฏิบัติตามให้เป็นไปตามมาตรการด้านสาธารณสุข ซึ่ง ทาง กกต. กับกรมควบคุมโรคได้หารือกันในรายละเอียดอยู่ตลอด รวมถึงอาจจะต้องมีการใช้งบประมาณเพิ่มขึ้น
เนื่องจากมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบและเพิ่มหน่วยเลือกตั้ง ขณะที่ข้อปฏิบัติในการหาเสียงของผู้สมัครนั้น ต้องคำนึงถึงมาตรการด้านสาธารณสุข โดยเฉพาะการสวมหน้ากากอนามัยและเว้นระยะทาง
เมื่อถามว่า จะสามารถจัดการเลือกตั้งท้องถิ่นได้ภายในปีนี้เหมือนที่นายกรัฐมนตรีระบุไว้หรือไม่ พ.ต.อ.จรุงวิทย์ กล่าวว่า ใช่ครับ ส่วนจะเป็นวันใดหรือจะเป็นช่วงวันหยุดยาวในเดือน ธ.ค.หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับที่ประชุมใหญ่ กกต.จะพิจารณา ทั้งนี้ ตามขั้นตอนโดยปกติหลังจาก ครม.กำหนดว่าจะให้เลือกตั้งแล้ว กกต.จะต้องไปประกาศวันเลือกตั้ง ภายในระยะเวลา 45 ถึง 60 วัน ซึ่งจะมีผลให้ผู้บริหารท้องถิ่นจะต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่
"ธรรมนัส" เคาะผู้สมัครชิงสนามท้องถิ่นสัปดาห์หน้า
ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมช.เกษตรและสหกรณ์ ในฐานะรองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่ได้วางตัวบุคคลในการส่งสมัครรับเลือกตั้ง คงต้องรอสัปดาห์หน้า ซึ่งจะมีการประชุมพรรคพลังประชารัฐ
"พล.อ.ประวิตร ได้นัดประชุมอย่างเป็นทางการสัปดาห์หน้า และจนถึงวันนี้ ยืนยันยังไม่มีการกำหนดตัวบุคคลแต่อย่างใด เช่นเดียวกับการสรรหา ผู้สมัครลงชิงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของคนกรุงเทพฯ และสถานการณ์ ก็ยังไม่ได้ข้อสรุปเช่นกัน" รองหัวหน้าพปชร. กล่าว
เมื่อถามว่า เป็นไปได้หรือไม่ ที่มีบางคนจะลงสมัครในนามพรรคพปชร. แต่บางคนลงสมัครในนามอิสระ แต่ให้พรรคสนับสนุน ร.อ.ธรรมนัส กล่าวว่า แนวทางเบื้องต้นบางพื้นที่จะลงรับสมัครในนามพรรค บางพื้นที่ลงในนามตัวเอง และกลุ่มของตัวเอง แต่ข้อสรุปต้องรอการประชุมกรรมการบริหารพรรคในสัปดาห์หน้า
เปิดไทม์ไลน์ลต.ท้องถิ่น-กทม.รั้งท้าย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในที่ประชุมครม. เห็นชอบให้จัดการเลือกตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) 76 จังหวัดทั่วประเทศเป็นอันดับแรก ส่วนผู้ว่าฯกทม. อาจจะต้องเป็นลำดับสุดท้าย เนื่องจากยังหาข้อยุติไม่ได้ว่า จะยกเลิก หรือคงไว้ สภาเขตกรุงเทพมหานคร (ส.ข.) ทำให้ กทม. จะเลือกตั้งเป็นส่วนสุดท้าย
ขณะที่นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ชี้แจงสาเหตุที่ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งท้องถิ่นทั้ง องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) อบจ. และเทศบาล พร้อมกันได้ว่า เพราะอาจจะเกิดความวุ่นวาย ต้องค่อยๆ เลือกทีละส่วน และแต่ละส่วนควรห่างกัน 60 วัน และนายวิษณุ ยังได้แสดงความคิดเห็น หากมีการแก้ไขรธน. หรือให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) และการทำประชามติ จะส่งผลกระทบให้การเลือกตั้งท้องถิ่น ต้องเลื่อนออกไปด้วย รวมถึงจะทำให้รัฐบาล มีภาระงบประมาณเพิ่มขึ้นด้วย
สำหรับการเลือกตั้งท้องถิ่น จะเกิดขึ้น 5 ประเภท คือ อบจ. อบต. เทศบาล องค์กรปกครองรูปแบบพิเศษ (เมืองพัทยา) และ กทม. โดยการเลือกตั้ง อบจ.จะเกิดขึ้นก่อน เนื่องจากมีความพร้อมในเรื่องของงบประมาณ ที่จะใช้จำนวน 3,200 ล้านบาท และการเลือกตั้งที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเป็นลำดับถัดไปคือ เทศบาล และเมืองพัทยา ที่ยังไม่ได้ข้อสรุปว่า จะให้ทั้งสองประเภทนี้จัดพร้อมกันหรือไม่ จากนั้นจะมีการจัดการเลือกตั้ง อบต. ปิดท้ายด้วยการเลือกตั้ง กทม. ที่ยังมีปัญหาเรื่องข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับการมีอยู่สมาชิกสภาเขต (ส.ข.) เนื่องจากการเลือกตั้งแต่ละประเภทต้องทิ้งระยะห่างกัน 45-60 วัน ทำให้การเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. เร็วที่สุดอาจจะอยู่ช่วงปลายปี 64
อย่างไรก็ตาม การเลือกตั้งท้องถิ่นไม่ว่าจะเป็นประเภทใดก็ตาม กระทรวงมหาดไทยจะเป็นผู้เสนอประเภทของการจัดการเลือกตั้งว่าจะเป็นประเภทใด โดยดูที่ความพร้อมและส่งให้ครม.พิจารณาเห็นชอบ จากนั้นกกต.จะเป็นผู้กำหนดวันเลือกตั้งและส่งเข้าครม.อีกครั้ง โดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ระบุว่าการเลือกตั้งทั้ง 5 ประเภทจะต้องเสร็จสิ้นในปี 64 ทั้งหมด
วานนี้ (6ต.ค.) พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม กล่าวถึงการเลือกตั้งท้องถิ่นว่า คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้รายงานต่อที่ประชุมครม. ถึงการจัดการเลือกตั้งท้องถิ่น แต่มีเรื่องของความจำเป็นในเรื่องของ โควิด-19 และงบประมาณต่างๆ ที่เตรียมไว้ระดับหนึ่งแล้ว โดยมติครม.ให้มีการเลือกตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ก่อนเป็นอันดับแรก เพราะมีความพร้อมมากสุด ทั้งนี้จะต้องมีการเลือกตั้งภายใน 60 วัน คาดว่าเลือกตั้ง อบจ.ได้ในเดือนธ.ค.63 โดยวันเลือกตั้ง กกต.จะเป็นคนกำหนด และในปี 2564 จะทยอยเลือกตั้งประเภทอื่นๆ ต่อไป โดยต้องเตรียมการในเรื่องของงบประมาณต่างๆ ของปี 64
ทั้งนี้ การเลือกตั้งต้องโปร่งใส เป็นธรรม ไม่ทุจริต ได้คนดีมาทำงานท้องถิ่นที่มีอยู่ 5 ประเภท ทั้ง อบจ. องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) เทศบาล กทม. และเมืองพัทยา ซึ่งจะไปดูที่เหลืออยู่จะทำอย่างไรให้เสร็จในปีหน้า ก็ขอให้ได้คนดี ซื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใส ตรวจสอบได้ อย่าให้เกิดเหตุขึ้นอีก
พ.ต.อ.จรุงวิทย์ ภุมมา เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวว่า มาชี้แจงกับครม.ถึงความพร้อมในการจัดการเลือกตั้งท้องถิ่น ส่วนจะให้จัดการเลือกตั้งท้องถิ่นประเภทใดก่อนหรือหลังนั้น ขอให้มีมติ ครม.ออกมาก่อน จากนั้นกกต.ถึงจะไปประกาศวันเลือกตั้ง และกำหนดวันรับสมัคร ส่วนภาพรวมการเตรียมความพร้อมของ กกต.นั้น ได้มีการออกประกาศและระเบียบ รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องเรียบร้อยแล้ว ส่วนจะมีการจัดการเลือกตั้งในระดับ อบจ.เป็นประเภทแรกหรือไม่นั้น คงต้องรอ ครม. แต่ในเบื้องต้น กกต.ได้มีการแบ่งเขตเอาไว้เรียบร้อยแล้ว โดยจะมีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ในในส่วนของอบจ.ประมาณ 1 แสนคน เพื่อรองรับหน่วยเลือกตั้งที่จะเพิ่มขึ้น เนื่องจากต้องปฏิบัติตามให้เป็นไปตามมาตรการด้านสาธารณสุข ซึ่ง ทาง กกต. กับกรมควบคุมโรคได้หารือกันในรายละเอียดอยู่ตลอด รวมถึงอาจจะต้องมีการใช้งบประมาณเพิ่มขึ้น
เนื่องจากมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบและเพิ่มหน่วยเลือกตั้ง ขณะที่ข้อปฏิบัติในการหาเสียงของผู้สมัครนั้น ต้องคำนึงถึงมาตรการด้านสาธารณสุข โดยเฉพาะการสวมหน้ากากอนามัยและเว้นระยะทาง
เมื่อถามว่า จะสามารถจัดการเลือกตั้งท้องถิ่นได้ภายในปีนี้เหมือนที่นายกรัฐมนตรีระบุไว้หรือไม่ พ.ต.อ.จรุงวิทย์ กล่าวว่า ใช่ครับ ส่วนจะเป็นวันใดหรือจะเป็นช่วงวันหยุดยาวในเดือน ธ.ค.หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับที่ประชุมใหญ่ กกต.จะพิจารณา ทั้งนี้ ตามขั้นตอนโดยปกติหลังจาก ครม.กำหนดว่าจะให้เลือกตั้งแล้ว กกต.จะต้องไปประกาศวันเลือกตั้ง ภายในระยะเวลา 45 ถึง 60 วัน ซึ่งจะมีผลให้ผู้บริหารท้องถิ่นจะต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่
"ธรรมนัส" เคาะผู้สมัครชิงสนามท้องถิ่นสัปดาห์หน้า
ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมช.เกษตรและสหกรณ์ ในฐานะรองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่ได้วางตัวบุคคลในการส่งสมัครรับเลือกตั้ง คงต้องรอสัปดาห์หน้า ซึ่งจะมีการประชุมพรรคพลังประชารัฐ
"พล.อ.ประวิตร ได้นัดประชุมอย่างเป็นทางการสัปดาห์หน้า และจนถึงวันนี้ ยืนยันยังไม่มีการกำหนดตัวบุคคลแต่อย่างใด เช่นเดียวกับการสรรหา ผู้สมัครลงชิงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของคนกรุงเทพฯ และสถานการณ์ ก็ยังไม่ได้ข้อสรุปเช่นกัน" รองหัวหน้าพปชร. กล่าว
เมื่อถามว่า เป็นไปได้หรือไม่ ที่มีบางคนจะลงสมัครในนามพรรคพปชร. แต่บางคนลงสมัครในนามอิสระ แต่ให้พรรคสนับสนุน ร.อ.ธรรมนัส กล่าวว่า แนวทางเบื้องต้นบางพื้นที่จะลงรับสมัครในนามพรรค บางพื้นที่ลงในนามตัวเอง และกลุ่มของตัวเอง แต่ข้อสรุปต้องรอการประชุมกรรมการบริหารพรรคในสัปดาห์หน้า
เปิดไทม์ไลน์ลต.ท้องถิ่น-กทม.รั้งท้าย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในที่ประชุมครม. เห็นชอบให้จัดการเลือกตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) 76 จังหวัดทั่วประเทศเป็นอันดับแรก ส่วนผู้ว่าฯกทม. อาจจะต้องเป็นลำดับสุดท้าย เนื่องจากยังหาข้อยุติไม่ได้ว่า จะยกเลิก หรือคงไว้ สภาเขตกรุงเทพมหานคร (ส.ข.) ทำให้ กทม. จะเลือกตั้งเป็นส่วนสุดท้าย
ขณะที่นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ชี้แจงสาเหตุที่ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งท้องถิ่นทั้ง องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) อบจ. และเทศบาล พร้อมกันได้ว่า เพราะอาจจะเกิดความวุ่นวาย ต้องค่อยๆ เลือกทีละส่วน และแต่ละส่วนควรห่างกัน 60 วัน และนายวิษณุ ยังได้แสดงความคิดเห็น หากมีการแก้ไขรธน. หรือให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) และการทำประชามติ จะส่งผลกระทบให้การเลือกตั้งท้องถิ่น ต้องเลื่อนออกไปด้วย รวมถึงจะทำให้รัฐบาล มีภาระงบประมาณเพิ่มขึ้นด้วย
สำหรับการเลือกตั้งท้องถิ่น จะเกิดขึ้น 5 ประเภท คือ อบจ. อบต. เทศบาล องค์กรปกครองรูปแบบพิเศษ (เมืองพัทยา) และ กทม. โดยการเลือกตั้ง อบจ.จะเกิดขึ้นก่อน เนื่องจากมีความพร้อมในเรื่องของงบประมาณ ที่จะใช้จำนวน 3,200 ล้านบาท และการเลือกตั้งที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเป็นลำดับถัดไปคือ เทศบาล และเมืองพัทยา ที่ยังไม่ได้ข้อสรุปว่า จะให้ทั้งสองประเภทนี้จัดพร้อมกันหรือไม่ จากนั้นจะมีการจัดการเลือกตั้ง อบต. ปิดท้ายด้วยการเลือกตั้ง กทม. ที่ยังมีปัญหาเรื่องข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับการมีอยู่สมาชิกสภาเขต (ส.ข.) เนื่องจากการเลือกตั้งแต่ละประเภทต้องทิ้งระยะห่างกัน 45-60 วัน ทำให้การเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. เร็วที่สุดอาจจะอยู่ช่วงปลายปี 64
อย่างไรก็ตาม การเลือกตั้งท้องถิ่นไม่ว่าจะเป็นประเภทใดก็ตาม กระทรวงมหาดไทยจะเป็นผู้เสนอประเภทของการจัดการเลือกตั้งว่าจะเป็นประเภทใด โดยดูที่ความพร้อมและส่งให้ครม.พิจารณาเห็นชอบ จากนั้นกกต.จะเป็นผู้กำหนดวันเลือกตั้งและส่งเข้าครม.อีกครั้ง โดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ระบุว่าการเลือกตั้งทั้ง 5 ประเภทจะต้องเสร็จสิ้นในปี 64 ทั้งหมด