ผู้จัดการรายวัน360-“สุริยะ”เผยผลประชุมคณะกรรมการวัตถุอันตราย มีมติเอกฉันท์ 20 เสียงต่อ 4 เสียง ไม่ทบทวนการแบน 2 สารอันตราย “พาราควอต-คลอร์ไพริฟอส” ยังคงยึดมติแบนตามเดิม ลั่นมีการพิจารณาอย่างดีแล้ว จากนี้ไป จะไม่มีการพิจารณาเรื่องนี้อีก “เกษตร”เร่งหาสารทดแทน พร้อมเดินหน้าลดต้นทุนให้เกษตรกร ทั้งทำเกษตรแปลงใหญ่และเกษตรอินทรีย์
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการวัตถุอันตราย วานนี้ (28 ก.ย.) ว่า ที่ประชุมมีมติเอกฉันท์ให้คงมติคณะกรรมการวัตถุอันตรายเมื่อวันที่ 30 เม.ย.2563 ไว้ตามเดิมที่ได้ออกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย พ.ศ.2563 ซึ่งกำหนดให้พาราควอตและคลอร์ไพริฟอส เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ห้ามมิให้มีการผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครอง มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย.2563 ส่วนไกลโฟเซต ให้จำกัดการใช้ตามมติ 23 พ.ค.2561 เนื่องจากที่ผ่านมา การพิจารณาได้มีเหตุผลรองรับอยู่แล้วถึงความเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ประกอบกับหลายประเทศ ก็มีการแบนสารดังกล่าว
“ได้นำข้อเสนอจากบุคคลและกลุ่มองค์กรต่างๆ ที่ขอให้ขยายเวลาบังคับใช้กฎหมาย และขอให้ทบทวนมติที่ให้ยกเลิกการใช้พาราควอต โดยที่ประชุมได้หยิบยกมาพิจารณาและลงมติอย่างเปิดเผย โดยกรรมการที่มาประชุม 24 ท่านจากทั้งหมด 27 ท่าน มี 4 ท่านเห็นว่าควรมีการทบทวน แต่ 20 ท่านไม่เห็นด้วยที่จะทบทวน จึงถือเป็นมติโดยเสียงส่วนใหญ่ เพราะเพิ่งมีผลบังคับ 1 มิ.ย.2563 และยังมีการฟ้องคดีอยู่ในการพิจารณาของศาลปกครอง โดยเห็นควรมอบหมายกรมวิชาการเกษตรและกระทรวงสาธารณสุขนำข้อมูลและข้อสังเกตจากคณะกรรมการไปพิจารณาดำเนินการและรายงานคณะกรรมการต่อไป”นายสุริยะกล่าว
ส่วนการหาสารทดแทน กรมวิชาการเกษตรจะไปเร่งดำเนินการประกาศสารที่จะมาทดแทนพาราควอตและคลอร์ไพริฟอส ซึ่งขณะนี้ ยังไม่มีสารที่มาทดแทนโดยตรง แต่ใช้เป็นสารทางเลือกที่มีอยู่ และต่อไป หากมีผู้มาร้องเรียนให้ทบทวนอีกในลักษณะเป็นประเด็นเดียวกันนี้อีก ก็จะไม่มีการนำมาสู่การพิจารณา เพราะถือว่าได้เป็นมติไปแล้ว
นอกจากนี้ คณะกรรมการฯ ได้เห็นชอบร่างกฎหมายลำดับรองภายใต้กฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย จำนวน 4 ฉบับ ประกอบด้วย 1.ร่างประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมเกี่ยวกับการให้แจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัตถุอันตรายในความรับผิดชอบของกรมโรงงานอุตสาหกรรม 2.ร่างประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เกี่ยวกับการกำหนดค่าคลาดเคลื่อนของสารสำคัญที่เป็นวัตถุอันตรายในความรับผิดชอบของกรมประมง 3ร่างประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเกี่ยวกับหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขในการออกใบนำผ่านวัตถุอันตรายที่ อย. รับผิดชอบ และ 4.ร่างระเบียบคณะกรรมการวัตถุอันตรายเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการเปรียบเทียบปรับ ซึ่งหลังจากนี้ หน่วยงานผู้รับผิดชอบจะนำไปเสนอรัฐมนตรี หรืออธิบดีของแต่ละหน่วยงานลงนาม และประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อให้มีผลใช้บังคับต่อไป
นายอภัย สุทธิสังข์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า สารที่จะมาทดแทน 2 สารที่ถูกแบนยังไม่มี และยอมรับว่าทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น แต่จะหาวิธีการในการควบคุมศัตรูพืชและลดต้นทุนการผลิต เช่น รวมกลุ่มเกษตรกรรายย่อยทำเกษตรแปลงใหญ่เพื่อใช้เครื่องจักร และรวมถึงการร่วมมือกับกระทรวงพาณิชย์ในการทำตลาดเกษตรปลอดสารเคมีหรือเกษตรอินทรีย์ เพื่อที่จะยกระดับราคาสินค้าเกษตรให้สูงขึ้น
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการวัตถุอันตราย วานนี้ (28 ก.ย.) ว่า ที่ประชุมมีมติเอกฉันท์ให้คงมติคณะกรรมการวัตถุอันตรายเมื่อวันที่ 30 เม.ย.2563 ไว้ตามเดิมที่ได้ออกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย พ.ศ.2563 ซึ่งกำหนดให้พาราควอตและคลอร์ไพริฟอส เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ห้ามมิให้มีการผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครอง มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย.2563 ส่วนไกลโฟเซต ให้จำกัดการใช้ตามมติ 23 พ.ค.2561 เนื่องจากที่ผ่านมา การพิจารณาได้มีเหตุผลรองรับอยู่แล้วถึงความเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ประกอบกับหลายประเทศ ก็มีการแบนสารดังกล่าว
“ได้นำข้อเสนอจากบุคคลและกลุ่มองค์กรต่างๆ ที่ขอให้ขยายเวลาบังคับใช้กฎหมาย และขอให้ทบทวนมติที่ให้ยกเลิกการใช้พาราควอต โดยที่ประชุมได้หยิบยกมาพิจารณาและลงมติอย่างเปิดเผย โดยกรรมการที่มาประชุม 24 ท่านจากทั้งหมด 27 ท่าน มี 4 ท่านเห็นว่าควรมีการทบทวน แต่ 20 ท่านไม่เห็นด้วยที่จะทบทวน จึงถือเป็นมติโดยเสียงส่วนใหญ่ เพราะเพิ่งมีผลบังคับ 1 มิ.ย.2563 และยังมีการฟ้องคดีอยู่ในการพิจารณาของศาลปกครอง โดยเห็นควรมอบหมายกรมวิชาการเกษตรและกระทรวงสาธารณสุขนำข้อมูลและข้อสังเกตจากคณะกรรมการไปพิจารณาดำเนินการและรายงานคณะกรรมการต่อไป”นายสุริยะกล่าว
ส่วนการหาสารทดแทน กรมวิชาการเกษตรจะไปเร่งดำเนินการประกาศสารที่จะมาทดแทนพาราควอตและคลอร์ไพริฟอส ซึ่งขณะนี้ ยังไม่มีสารที่มาทดแทนโดยตรง แต่ใช้เป็นสารทางเลือกที่มีอยู่ และต่อไป หากมีผู้มาร้องเรียนให้ทบทวนอีกในลักษณะเป็นประเด็นเดียวกันนี้อีก ก็จะไม่มีการนำมาสู่การพิจารณา เพราะถือว่าได้เป็นมติไปแล้ว
นอกจากนี้ คณะกรรมการฯ ได้เห็นชอบร่างกฎหมายลำดับรองภายใต้กฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย จำนวน 4 ฉบับ ประกอบด้วย 1.ร่างประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมเกี่ยวกับการให้แจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัตถุอันตรายในความรับผิดชอบของกรมโรงงานอุตสาหกรรม 2.ร่างประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เกี่ยวกับการกำหนดค่าคลาดเคลื่อนของสารสำคัญที่เป็นวัตถุอันตรายในความรับผิดชอบของกรมประมง 3ร่างประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเกี่ยวกับหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขในการออกใบนำผ่านวัตถุอันตรายที่ อย. รับผิดชอบ และ 4.ร่างระเบียบคณะกรรมการวัตถุอันตรายเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการเปรียบเทียบปรับ ซึ่งหลังจากนี้ หน่วยงานผู้รับผิดชอบจะนำไปเสนอรัฐมนตรี หรืออธิบดีของแต่ละหน่วยงานลงนาม และประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อให้มีผลใช้บังคับต่อไป
นายอภัย สุทธิสังข์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า สารที่จะมาทดแทน 2 สารที่ถูกแบนยังไม่มี และยอมรับว่าทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น แต่จะหาวิธีการในการควบคุมศัตรูพืชและลดต้นทุนการผลิต เช่น รวมกลุ่มเกษตรกรรายย่อยทำเกษตรแปลงใหญ่เพื่อใช้เครื่องจักร และรวมถึงการร่วมมือกับกระทรวงพาณิชย์ในการทำตลาดเกษตรปลอดสารเคมีหรือเกษตรอินทรีย์ เพื่อที่จะยกระดับราคาสินค้าเกษตรให้สูงขึ้น