ผู้จัดการรายวัน 360- ครม. บรรจุโควิด-19 โรคต้องห้าม สกัดต่างชาติติดเชื้อเข้าไทย พร้อมระดมเยียวยาปชช.ที่ได้รับผลกระทบ-เจ้าหน้าที่รัฐ ขยายเวลาช่วยค่าน้ำค่าไฟผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ออกไป 1 ปี ทุ่มงบกลาง 204 ล้านบาท รับมือระบาดระลอก 2 พร้อมเพิ่มเงินค่าตอบแทน อสม. จำนวน 1.05 ล้านคน อีก 3 เดือน จ่ายให้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นเป็นกรณีพิเศษ 7 เดือน งบอีก 1.9 หมื่นล้าน จ้างบัณฑิตจบใหม่ 2.6 แสนคน แต่โครงการ "คนละครึ่ง" แจกเงิน 3 พันบาท และเติมวงบัตรคนจน 500 บาท ยังเจอโรคเลื่อนไปเข้า ครม. 29 ก.ย.แทน พร้อมเห็นชอบหยุดยาวเพิ่มอีก 2 ช่วง 19-20 พ.ย. และ 11 ธ.ค. หวังจูงใจให้ประชาชนเดินทางท่องเที่ยวกระตุ้นเศรษฐกิจไทย
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเ ปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.ได้อนุมัติโครงการกระตุ้นการบริโภคของประชาชน 2 โครงการ ได้แก่ 1. โครงการคนละครึ่ง 3,000 บาทให้ประชาชนทั่วไป และ 2. โครงการเพิ่มวงเงินซื้อของกินของใช้ให้ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โดยการใช้วงเงินส่วนนี้เพื่อหมุนเวียนในระบบให้เกิดการบริโภค โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายย่อย พ่อค้าแม่ค้าขายปลีก สิ่งที่ได้เน้นย้ำคือให้ประชาชนเข้าถึงกระเป๋าเงินดิจิทัล หรืออีวอลเล็ต และคิวอาร์โค้ด ซึ่งทุกร้านจะต้องมีคิวอาร์โค้ดเพื่อรัฐบาลจะจ่ายเงินลงไปโดยไม่ต้องผ่านใคร
โดยทั้ง 2 โครงการนี้ คาดว่าจะใช้วงเงินรวม 51,000 ล้านบาท เพื่อกระตุ้นการบริโภคในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ และจะช่วยเหลือประชาชนให้มีกำลังซื้อเพิ่มมากกว่าจำนวน 24 ล้านคน
ขยายช่วยค่าไฟ-ค่าน้ำ ออกไปอีก 1 ปี
น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ครม. มีมติอนุมัติขยายระยะเวลามาตรการบรรเทาภาระค่าไฟฟ้าและค่าน้ำประปา ออกไป 1 ปี เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 – เดือนกันยายน 2564 โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ประมาณ 13.9 ล้านคน คิดเป็นครัวเรือนประมาณ 8 ล้านครัวเรือน ซึ่ง 1 ครัวเรือน สามารถใช้ได้เพียง 1 สิทธิ์เท่านั้น
รายละเอียดเป็นไปตามมติเดิมที่ ครม.เคยอนุมัติไปแล้ว ซึ่งประกอบด้วย
1)ค่าไฟฟ้า กรณีใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 50 หน่วยต่อเดือนติดต่อกันเป็นระยะเวลา 3 เดือน ให้ใช้สิทธิค่าไฟฟ้าฟรีตามมาตรการปัจจุบัน แต่กรณีที่ใช้ไฟฟ้าเกิน 50 หน่วยต่อเดือน ให้ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐใช้สิทธิตามมาตรการนี้ ในวงเงิน 230 บาทต่อครัวเรือนต่อเดือน หากใช้เกินวงเงินที่กำหนด ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จะต้องเป็นผู้จ่ายค่าไฟฟ้าทั้งหมด
2)ค่าน้ำประปา ให้ใช้น้ำประปาในวงเงิน 100 บาท ต่อ ครัวเรือนต่อเดือน หากใช้เกินวงเงินผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จะต้องเป็นผู้จ่ายค่าน้ำประปาทั้งหมด
บรรจุ "โควิด-19" โรคต้องห้ามสกัดต่างชาติ
น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า ครม.อนุมัติหลักการ ร่างกฎกระทรวงให้เพิ่มโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) เป็นโรคต้องห้ามตาม มาตรา12(4) และ มาตรา 44(2) แห่งพ.ร.บ.คนเข้าเมือง ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ เพื่อสกัดกั้นไม่ให้โรคโควิด-19 เข้ามาแพร่ระบาดในประเทศไทย โดยกำหนดไว้ว่า ห้ามคนต่างชาติที่เป็นโรคโควิด-19 เข้ามาในประเทศไทย หรือเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ ครม.ยังอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจําปี 2563 งบกลาง รายการ เงินสํารองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจําเป็น เพื่อเตรียมความพร้อมป้องกัน และแก้ไขปัญหาโควิด-19 ระยะการระบาดระลอก 2 จํานวน 204 ล้านบาท ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ครม. มีมติเห็นชอบ โครงการส่งเสริมและสนับสนุนการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อโควิด-19 เพื่อเป็นค่าตอบแทนให้แก่ อสม. ออกไปอีก 3 เดือน ตั้งแต่เดือนต.ค.-ธ.ค. 63 โดยได้รับเดือนละ 500 บาท โดยมี อสม.ที่จะได้ประมาณ 1.05 ล้านคน วงเงินงบประมาณ 1,500 กว่าล้านบาท
น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า ที่ประชุมครม.วานนี้ (22 ก.ย.) มีมติอนุมัติให้จัดสรรงบประมาณจากงบกลาง รายการสำรองจ่ายกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ประจำปีงบประมาณ 2563 วงเงิน 677.79 ล้านบาท สำหรับเบิกจ่ายเป็นเงินเพิ่มพิเศษรายเดือน จำนวน 7 เดือน ให้แก่กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ รวม 273,321 คน (ใช้ข้อมูลในระบบสารสนเทศเพื่อการบริการงานกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ ณ วันที่ 1 ก.ย. 63)
กรณีเงินพิเศษนี้กำหนดให้จ่ายรายเดือนตั้งแต่เดือน มี.ค.-ก.ย. 63 รวม 7 เดือน ซึ่งแบ่งเป็น 2 ระดับ คือ 1. กำนันและผู้ใหญ่บ้านได้รับเงินเพิ่มพิเศษเดือนละ 500 บาท รวมเป็นเงิน 259.54 ล้านบาท 2. แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ รับเงินเพิ่มพิเศษเดือนละ 300 บาท รวมเป็นเงิน 418.25 ล้านบาท
ที่ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศวันนี้ว่า พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อรายใหม่เพิ่มเติมอีก 5 ราย โดยเป็นผู้ที่เดินทางมาจากประเทศอินเดีย 4 ราย และสวิตเซอร์แลนด์ 1 ราย ทำให้ยอดผู้ป่วยสะสม 3,511 คน ผู้ป่วยรักษาหายเพิ่ม 1 คน รวมเป็น 3,343 คน ยังมีผู้ป่วยรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 109 คน ยอดผู้เสียชีวิตสะสมอยู่ที่ 59 คน
อย่างไรก็ตาม นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ชี้แจงเพิ่มเติมว่า ที่ประชุมรับทราบถึงแนวทางการดำเนินโครงการคนละครึ่งแจกเงิน 3,000 บาท แต่ยังไม่ได้มีการพิจารณา ที่ประชุมได้ให้กระทรวงการคลังกลับไปพิจารณาและสรุปรายละเอียดอีกครั้ง ก่อนเสนอที่ประชุมพิจารณาในสัปดาห์หน้า (29 ก.ย.)
นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า คลังได้เลื่อนเสนอมาตรการกระตุ้นการบริโภคในประเทศเข้าครม. ทั้งโครงการคนละครึ่งจ่ายเงินคนละ 3,000 บาท และโครงการเพิ่มวงเงินในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐคนละ 1,500 บาท ไปเป็นวันที่ 29 ก.ย.63 เนื่องจากคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ พ.ร.ก.กู้เงิน 1 ล้านล้านบาท ได้ขอพิจารณารายละเอียดเพิ่ม โดยทั้ง 2 โครงการจะเริ่มทำทันตามกำหนดเดิมแน่นอน โดยจะเปิดให้ร้านค้าเข้ามาลงทะเบียนได้วันที่ 1 ต.ค.63 ส่วนประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปก็จะมาลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 16 ต.ค.63 ตามเดิม
พร้อมกันนี้ ยังเห็นชอบโครงการส่งเสริมการจ้างงานใหม่ โดยภาครัฐและเอกชน รวมวงเงิน 19,462 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือนักศึกษาจบการศึกษาใหม่ 2.6 แสนคน จ่ายเงินอุดหนุนเงินเดือนให้ร้อยละ 50 ไม่เกิน 7,500 บาทต่อเดือนต่อคน เป็นระยะเวลา 12 เดือน โดยจะสนับสนุนเฉพาะนายจ้างที่อยู่ในระบบประกันสังคมเท่านั้น และนายจ้างจะต้องเป็นผู้จ่ายเงินเดือนอีกร้อยละ 50 จากยอดเงินเดือน 15,000 บาท
อนุมัติวันหยุดยาว 2 ช่วงบูมท่องเที่ยว
นอกจากนี้ ที่ประชุมครม. ยังได้มีมติเเห็นชอบให้วันพฤหัสบดี ที่ 19-20 พ.ย. เป็นวันหยุดเพิ่มเติม ซึ่งทำให้มีวันหยุดต่อเนื่องกันถึง 4 วัน ตั้งแต่วันที่ 19-22 พ.ย. 63 และวันศุกร์ที่ 11 ธ.ค. ทำให้มีวันหยุดต่อเนื่องยาว 4 วัน อีกช่วงคือ ตั้งแต่วันที่ 10-13 ธ.ค. 63 โดยมีมติให้ยกเลิกวันหยุดชดเชยวันพ่อแห่งชาติในวันที่ 7 ธันวาคม ไปหยุดในวันที่ 11 ธันวาคมแทน เพื่อให้ประชาชนออกมาท่องเที่ยวเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเ ปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.ได้อนุมัติโครงการกระตุ้นการบริโภคของประชาชน 2 โครงการ ได้แก่ 1. โครงการคนละครึ่ง 3,000 บาทให้ประชาชนทั่วไป และ 2. โครงการเพิ่มวงเงินซื้อของกินของใช้ให้ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โดยการใช้วงเงินส่วนนี้เพื่อหมุนเวียนในระบบให้เกิดการบริโภค โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายย่อย พ่อค้าแม่ค้าขายปลีก สิ่งที่ได้เน้นย้ำคือให้ประชาชนเข้าถึงกระเป๋าเงินดิจิทัล หรืออีวอลเล็ต และคิวอาร์โค้ด ซึ่งทุกร้านจะต้องมีคิวอาร์โค้ดเพื่อรัฐบาลจะจ่ายเงินลงไปโดยไม่ต้องผ่านใคร
โดยทั้ง 2 โครงการนี้ คาดว่าจะใช้วงเงินรวม 51,000 ล้านบาท เพื่อกระตุ้นการบริโภคในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ และจะช่วยเหลือประชาชนให้มีกำลังซื้อเพิ่มมากกว่าจำนวน 24 ล้านคน
ขยายช่วยค่าไฟ-ค่าน้ำ ออกไปอีก 1 ปี
น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ครม. มีมติอนุมัติขยายระยะเวลามาตรการบรรเทาภาระค่าไฟฟ้าและค่าน้ำประปา ออกไป 1 ปี เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 – เดือนกันยายน 2564 โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ประมาณ 13.9 ล้านคน คิดเป็นครัวเรือนประมาณ 8 ล้านครัวเรือน ซึ่ง 1 ครัวเรือน สามารถใช้ได้เพียง 1 สิทธิ์เท่านั้น
รายละเอียดเป็นไปตามมติเดิมที่ ครม.เคยอนุมัติไปแล้ว ซึ่งประกอบด้วย
1)ค่าไฟฟ้า กรณีใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 50 หน่วยต่อเดือนติดต่อกันเป็นระยะเวลา 3 เดือน ให้ใช้สิทธิค่าไฟฟ้าฟรีตามมาตรการปัจจุบัน แต่กรณีที่ใช้ไฟฟ้าเกิน 50 หน่วยต่อเดือน ให้ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐใช้สิทธิตามมาตรการนี้ ในวงเงิน 230 บาทต่อครัวเรือนต่อเดือน หากใช้เกินวงเงินที่กำหนด ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จะต้องเป็นผู้จ่ายค่าไฟฟ้าทั้งหมด
2)ค่าน้ำประปา ให้ใช้น้ำประปาในวงเงิน 100 บาท ต่อ ครัวเรือนต่อเดือน หากใช้เกินวงเงินผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จะต้องเป็นผู้จ่ายค่าน้ำประปาทั้งหมด
บรรจุ "โควิด-19" โรคต้องห้ามสกัดต่างชาติ
น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า ครม.อนุมัติหลักการ ร่างกฎกระทรวงให้เพิ่มโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) เป็นโรคต้องห้ามตาม มาตรา12(4) และ มาตรา 44(2) แห่งพ.ร.บ.คนเข้าเมือง ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ เพื่อสกัดกั้นไม่ให้โรคโควิด-19 เข้ามาแพร่ระบาดในประเทศไทย โดยกำหนดไว้ว่า ห้ามคนต่างชาติที่เป็นโรคโควิด-19 เข้ามาในประเทศไทย หรือเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ ครม.ยังอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจําปี 2563 งบกลาง รายการ เงินสํารองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจําเป็น เพื่อเตรียมความพร้อมป้องกัน และแก้ไขปัญหาโควิด-19 ระยะการระบาดระลอก 2 จํานวน 204 ล้านบาท ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ครม. มีมติเห็นชอบ โครงการส่งเสริมและสนับสนุนการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อโควิด-19 เพื่อเป็นค่าตอบแทนให้แก่ อสม. ออกไปอีก 3 เดือน ตั้งแต่เดือนต.ค.-ธ.ค. 63 โดยได้รับเดือนละ 500 บาท โดยมี อสม.ที่จะได้ประมาณ 1.05 ล้านคน วงเงินงบประมาณ 1,500 กว่าล้านบาท
น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า ที่ประชุมครม.วานนี้ (22 ก.ย.) มีมติอนุมัติให้จัดสรรงบประมาณจากงบกลาง รายการสำรองจ่ายกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ประจำปีงบประมาณ 2563 วงเงิน 677.79 ล้านบาท สำหรับเบิกจ่ายเป็นเงินเพิ่มพิเศษรายเดือน จำนวน 7 เดือน ให้แก่กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ รวม 273,321 คน (ใช้ข้อมูลในระบบสารสนเทศเพื่อการบริการงานกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ ณ วันที่ 1 ก.ย. 63)
กรณีเงินพิเศษนี้กำหนดให้จ่ายรายเดือนตั้งแต่เดือน มี.ค.-ก.ย. 63 รวม 7 เดือน ซึ่งแบ่งเป็น 2 ระดับ คือ 1. กำนันและผู้ใหญ่บ้านได้รับเงินเพิ่มพิเศษเดือนละ 500 บาท รวมเป็นเงิน 259.54 ล้านบาท 2. แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ รับเงินเพิ่มพิเศษเดือนละ 300 บาท รวมเป็นเงิน 418.25 ล้านบาท
ที่ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศวันนี้ว่า พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อรายใหม่เพิ่มเติมอีก 5 ราย โดยเป็นผู้ที่เดินทางมาจากประเทศอินเดีย 4 ราย และสวิตเซอร์แลนด์ 1 ราย ทำให้ยอดผู้ป่วยสะสม 3,511 คน ผู้ป่วยรักษาหายเพิ่ม 1 คน รวมเป็น 3,343 คน ยังมีผู้ป่วยรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 109 คน ยอดผู้เสียชีวิตสะสมอยู่ที่ 59 คน
อย่างไรก็ตาม นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ชี้แจงเพิ่มเติมว่า ที่ประชุมรับทราบถึงแนวทางการดำเนินโครงการคนละครึ่งแจกเงิน 3,000 บาท แต่ยังไม่ได้มีการพิจารณา ที่ประชุมได้ให้กระทรวงการคลังกลับไปพิจารณาและสรุปรายละเอียดอีกครั้ง ก่อนเสนอที่ประชุมพิจารณาในสัปดาห์หน้า (29 ก.ย.)
นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า คลังได้เลื่อนเสนอมาตรการกระตุ้นการบริโภคในประเทศเข้าครม. ทั้งโครงการคนละครึ่งจ่ายเงินคนละ 3,000 บาท และโครงการเพิ่มวงเงินในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐคนละ 1,500 บาท ไปเป็นวันที่ 29 ก.ย.63 เนื่องจากคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ พ.ร.ก.กู้เงิน 1 ล้านล้านบาท ได้ขอพิจารณารายละเอียดเพิ่ม โดยทั้ง 2 โครงการจะเริ่มทำทันตามกำหนดเดิมแน่นอน โดยจะเปิดให้ร้านค้าเข้ามาลงทะเบียนได้วันที่ 1 ต.ค.63 ส่วนประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปก็จะมาลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 16 ต.ค.63 ตามเดิม
พร้อมกันนี้ ยังเห็นชอบโครงการส่งเสริมการจ้างงานใหม่ โดยภาครัฐและเอกชน รวมวงเงิน 19,462 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือนักศึกษาจบการศึกษาใหม่ 2.6 แสนคน จ่ายเงินอุดหนุนเงินเดือนให้ร้อยละ 50 ไม่เกิน 7,500 บาทต่อเดือนต่อคน เป็นระยะเวลา 12 เดือน โดยจะสนับสนุนเฉพาะนายจ้างที่อยู่ในระบบประกันสังคมเท่านั้น และนายจ้างจะต้องเป็นผู้จ่ายเงินเดือนอีกร้อยละ 50 จากยอดเงินเดือน 15,000 บาท
อนุมัติวันหยุดยาว 2 ช่วงบูมท่องเที่ยว
นอกจากนี้ ที่ประชุมครม. ยังได้มีมติเเห็นชอบให้วันพฤหัสบดี ที่ 19-20 พ.ย. เป็นวันหยุดเพิ่มเติม ซึ่งทำให้มีวันหยุดต่อเนื่องกันถึง 4 วัน ตั้งแต่วันที่ 19-22 พ.ย. 63 และวันศุกร์ที่ 11 ธ.ค. ทำให้มีวันหยุดต่อเนื่องยาว 4 วัน อีกช่วงคือ ตั้งแต่วันที่ 10-13 ธ.ค. 63 โดยมีมติให้ยกเลิกวันหยุดชดเชยวันพ่อแห่งชาติในวันที่ 7 ธันวาคม ไปหยุดในวันที่ 11 ธันวาคมแทน เพื่อให้ประชาชนออกมาท่องเที่ยวเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ