ผู้จัดการรายวัน 360 - “ประยุทธ์” ระบุยังไม่มีการพิจารณาแจกเงิน 3,000 บาท อ้างข้อมูลยังไม่พร้อม เล็งปรับโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่ ปัดฝุ่นโครงการยักษ์ สร้าง "แลนด์บริดจ์" เชื่อมอ่าวไทย-อันดามัน หวังกระตุ้นศก.ระยะยาว เผยยังไม่เคาะให้ต่างชาติมาเที่ยว ขณะที่ ครม.เห็นชอบจ้างงาน นิสิต-นักศึกษา 2.6 แสนตำแหน่ง พร้อมลุยจัด"เอ็กซ์โปจัดหางาน "แจงจ่ายเงินประกันสังคมกลุ่มตกค้างในเดือนต.ค. "อนุทิน" ไม่ฟันธง "ภูเก็ตโมเดล" รอพื้นที่เคลียร์กันเอง
วานนี้ (8 ก.ย.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงโครงการแจกเงิน 3,000 บาท เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายของประชาชน ว่า ยังไม่มีการพิจารณาในที่ประชุมครม. ซึ่งขณะนี้รัฐบาล มุ่งใช้เงินเพื่อดูแลผู้ประกอบการรายย่อย ค้าปลีก พ่อค้า แม่ค้าระดับล่างที่ได้รับความเดือดร้อนก่อน ซึ่งกำลังพิจารณากลไกที่จะนำมาใช้ในการดูแลอยู่ ทั้งนี้เรามีข้อมูลไม่พร้อม ระบบการจ่ายเงินโดยตรงก็ไม่พร้อม ต้องใช้เวลา แต่ยืนยันว่ารัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจในการที่จะให้ผู้บริโภค มีโอกาสซื้อของจากร้านค้าปลีก ระดับล่าง ไม่ใช่ผู้ประกอบการรายใหญ่
นายกฯ กล่าวถึงแนวทางส่งเสริมเศรษฐกิจในระยะยาวว่า เราจะมีการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่ แทนที่พึ่งพาการส่งออกกับการท่องเที่ยว และเมื่อเกิดปัญหาขึ้นมา ทั้ง 2 อย่างทำให้เศรษฐกิจเราตกต่ำมาก เพราะรายได้ของประเทศลดลง จำเป็นต้องสร้างเศรษฐกิจใหม่ ถึงแม้เราจะมีแผนงาน EEC แล้วก็ตาม
"เราต้องหาโครงการขนาดใหญ่ ในการที่จะลงทุนในประเทศไทยให้มากขึ้น เพื่อเพิ่มรายได้ ซึ่งตรงนี้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีของไทย ทุกอย่างต้องใช้เวลาในการก่อสร้าง เช่น EEC ก็เริ่มมา 5 ปีแล้ว ก็ไปได้ระยะหนึ่ง กำลังดูว่าเราจะเชื่อมการไปมาทั้ง 2 ฝั่ง ทั้งตะวันตกและตะวันออกได้อย่างไร ควรมีหรือไม่เกี่ยวกับการศึกษาทางด้านแลนด์บริดจ์ ซึ่งกำลังให้แนวทางไป ซึ่งตนคิดว่า จะช่วยในเรื่องของเศรษฐกิจระยะยาวได้ โดยเฉพาะการขนส่งข้ามตะวันตก และตะวันออก หรืออ่าวไทยกับอันดามัน"
พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า เรื่องของเศรษฐกิจโดยรวม สถานการณ์หลายๆปรับตัวดีขึ้น จากสถานการณ์ภายในของเรา ส่วนเรื่องการผ่อนคลายมาตรการในการป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19 แม้จะมีการตรวจพบ เราก็สามารถติดตามได้ทั้งหมดและตรวจสอบ และถือเป็นการทดสอบระบบ ที่ทำได้ดีในระดับที่น่าพอใจ
"ในเรื่องของวันหยุดยาว ตนได้หารือในครม.แล้วว่า จะพิจารณาวันหยุดให้มากขึ้นในระยะต่อไป เพราะเกิดการหมุนเวียนใช้จ่ายเงินในการท่องเที่ยวมากขึ้น"
อย่างไรก็ตาม ในการประชุมครม.ได้เห็นชอบให้มีการจ้างงาน นิสิต นักศึกษา ผู้จบการศึกษาใหม่ จำนวน 260,000 ราย เป็นเวลา 12 เดือน ทั้งในส่วนของผู้ที่จบ ปวช. ,ปวส.และปริญญาตรี รวมถึงการจ้างงานอื่นๆ รวมประมาณ 1 ล้านคน ซึ่งจะเป็นงบประมาณของแต่ละกระทรวง ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานจะมีการเปิด "เอ็กซ์โปจัดหางาน" ในเร็วๆ นี้
ส่วนกรณีประกันสังคม ที่มีคนตกค้างไม่ได้รับเงินในช่วงที่ 1 ที่ผ่านมา ประมาณ 50,000 กว่าราย ขณะนี้กระทรวงแรงงานกำลังดำเนินการอยู่ โดยจะขอเลื่อนจ่ายไปเดือน ต.ค.
นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ประชาชนเข้าใจผิดว่า มาตรการที่ศบศ. เห็นชอบจะมีผลทันที โดยเฉพาะการแจกเงิน 3,000 บาท ให้กับประชาชนจำนวน 15 ล้านคน ซึ่งกระทรวงการคลัง ยังต้องสรุปรายละเอียดทั้งหมด และเสนอให้ ศบศ. ในการประชุมสัปดาห์หน้าอีกครั้ง
"อนุทิน"ยังไม่ฟันธง"ภูเก็ตโมเดล"จะผ่านหรือไม่
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข กล่าวถึงความคืบหน้า แผนเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติแบบจำกัดพื้นที่ ภายใต้คอนเซ็ปต์ “ภูเก็ตโมเดล” ว่า รัฐบาลพร้อมให้การสนับสนุน และพร้อมผ่อนคลายมาตรการต่างๆ ให้ผู้ประกอบการสามารถสร้างรายได้ และมีการจ้างงาน รัฐบาลพร้อมผลักดันแต่ผู้ที่เกี่ยวข้องก็ต้องช่วยกันด้วย ซึ่งไม่ทราบว่าผู้ที่ต่อต้าน เป็นคนภูเก็ตหรือไม่ ดังนั้น คนภูเก็ตด้วยกันจะต้องออกมาสนับสนุน และยืนยัน ซึ่งไม่ใช่เฉพาะที่ภูเก็ตเท่านั้น จังหวัดใดที่มีความพร้อม รัฐบาลก็พร้อมที่จะเข้าไปดูแล และให้การสนับสนุน
วานนี้ (8 ก.ย.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงโครงการแจกเงิน 3,000 บาท เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายของประชาชน ว่า ยังไม่มีการพิจารณาในที่ประชุมครม. ซึ่งขณะนี้รัฐบาล มุ่งใช้เงินเพื่อดูแลผู้ประกอบการรายย่อย ค้าปลีก พ่อค้า แม่ค้าระดับล่างที่ได้รับความเดือดร้อนก่อน ซึ่งกำลังพิจารณากลไกที่จะนำมาใช้ในการดูแลอยู่ ทั้งนี้เรามีข้อมูลไม่พร้อม ระบบการจ่ายเงินโดยตรงก็ไม่พร้อม ต้องใช้เวลา แต่ยืนยันว่ารัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจในการที่จะให้ผู้บริโภค มีโอกาสซื้อของจากร้านค้าปลีก ระดับล่าง ไม่ใช่ผู้ประกอบการรายใหญ่
นายกฯ กล่าวถึงแนวทางส่งเสริมเศรษฐกิจในระยะยาวว่า เราจะมีการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่ แทนที่พึ่งพาการส่งออกกับการท่องเที่ยว และเมื่อเกิดปัญหาขึ้นมา ทั้ง 2 อย่างทำให้เศรษฐกิจเราตกต่ำมาก เพราะรายได้ของประเทศลดลง จำเป็นต้องสร้างเศรษฐกิจใหม่ ถึงแม้เราจะมีแผนงาน EEC แล้วก็ตาม
"เราต้องหาโครงการขนาดใหญ่ ในการที่จะลงทุนในประเทศไทยให้มากขึ้น เพื่อเพิ่มรายได้ ซึ่งตรงนี้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีของไทย ทุกอย่างต้องใช้เวลาในการก่อสร้าง เช่น EEC ก็เริ่มมา 5 ปีแล้ว ก็ไปได้ระยะหนึ่ง กำลังดูว่าเราจะเชื่อมการไปมาทั้ง 2 ฝั่ง ทั้งตะวันตกและตะวันออกได้อย่างไร ควรมีหรือไม่เกี่ยวกับการศึกษาทางด้านแลนด์บริดจ์ ซึ่งกำลังให้แนวทางไป ซึ่งตนคิดว่า จะช่วยในเรื่องของเศรษฐกิจระยะยาวได้ โดยเฉพาะการขนส่งข้ามตะวันตก และตะวันออก หรืออ่าวไทยกับอันดามัน"
พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า เรื่องของเศรษฐกิจโดยรวม สถานการณ์หลายๆปรับตัวดีขึ้น จากสถานการณ์ภายในของเรา ส่วนเรื่องการผ่อนคลายมาตรการในการป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19 แม้จะมีการตรวจพบ เราก็สามารถติดตามได้ทั้งหมดและตรวจสอบ และถือเป็นการทดสอบระบบ ที่ทำได้ดีในระดับที่น่าพอใจ
"ในเรื่องของวันหยุดยาว ตนได้หารือในครม.แล้วว่า จะพิจารณาวันหยุดให้มากขึ้นในระยะต่อไป เพราะเกิดการหมุนเวียนใช้จ่ายเงินในการท่องเที่ยวมากขึ้น"
อย่างไรก็ตาม ในการประชุมครม.ได้เห็นชอบให้มีการจ้างงาน นิสิต นักศึกษา ผู้จบการศึกษาใหม่ จำนวน 260,000 ราย เป็นเวลา 12 เดือน ทั้งในส่วนของผู้ที่จบ ปวช. ,ปวส.และปริญญาตรี รวมถึงการจ้างงานอื่นๆ รวมประมาณ 1 ล้านคน ซึ่งจะเป็นงบประมาณของแต่ละกระทรวง ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานจะมีการเปิด "เอ็กซ์โปจัดหางาน" ในเร็วๆ นี้
ส่วนกรณีประกันสังคม ที่มีคนตกค้างไม่ได้รับเงินในช่วงที่ 1 ที่ผ่านมา ประมาณ 50,000 กว่าราย ขณะนี้กระทรวงแรงงานกำลังดำเนินการอยู่ โดยจะขอเลื่อนจ่ายไปเดือน ต.ค.
นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ประชาชนเข้าใจผิดว่า มาตรการที่ศบศ. เห็นชอบจะมีผลทันที โดยเฉพาะการแจกเงิน 3,000 บาท ให้กับประชาชนจำนวน 15 ล้านคน ซึ่งกระทรวงการคลัง ยังต้องสรุปรายละเอียดทั้งหมด และเสนอให้ ศบศ. ในการประชุมสัปดาห์หน้าอีกครั้ง
"อนุทิน"ยังไม่ฟันธง"ภูเก็ตโมเดล"จะผ่านหรือไม่
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข กล่าวถึงความคืบหน้า แผนเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติแบบจำกัดพื้นที่ ภายใต้คอนเซ็ปต์ “ภูเก็ตโมเดล” ว่า รัฐบาลพร้อมให้การสนับสนุน และพร้อมผ่อนคลายมาตรการต่างๆ ให้ผู้ประกอบการสามารถสร้างรายได้ และมีการจ้างงาน รัฐบาลพร้อมผลักดันแต่ผู้ที่เกี่ยวข้องก็ต้องช่วยกันด้วย ซึ่งไม่ทราบว่าผู้ที่ต่อต้าน เป็นคนภูเก็ตหรือไม่ ดังนั้น คนภูเก็ตด้วยกันจะต้องออกมาสนับสนุน และยืนยัน ซึ่งไม่ใช่เฉพาะที่ภูเก็ตเท่านั้น จังหวัดใดที่มีความพร้อม รัฐบาลก็พร้อมที่จะเข้าไปดูแล และให้การสนับสนุน