ผู้จัดการรายวัน360-ศบค.รายงานพบผู้ป่วยโควิดใหม่ 3 ราย กลับมาจากอินเดีย ติดเชื้อในประเทศเป็น 0 ต่อเนื่อง 28 วัน แต่ยังผ่อนคลายมาตรการไม่ได้ เร่งหาข้อมูล 23 แรงงานเมียนมาติดเชื้อ หลังออกจากไทย จ่อเปิด 4 กลุ่มต่างชาติเข้าไทย ไม่ต้องรอ Travel Bubble แต่ต้องกักตัว 14 วัน “วิษณุ”แจงใช้พ.ร.บ.โรคติดต่อ มีข้อจำกัด รอ “หมอ-ฝ่ายมั่นคง” ดูก่อนถกต่อ พ.ร.ก.ฉุกเฉินหรือไม่ คลังจ่อชงขั้นตอนลงทะเบียนเที่ยวไทยเข้า ครม. 30 มิ.ย. การันตีไม่ยุ่งยากทั้งผู้ซื้อผู้ขาย
นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) แถลงข่าวประจำวันว่า วานนี้ (22 มิ.ย.) มีผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่ จำนวน 3 ราย หายกลับบ้านเพิ่ม 4 ราย ไม่มีเสียชีวิตเพิ่มเติม ยอดผู้ป่วยสะสมรวม 3,151 ราย กลับบ้านรวม 3,022 ราย เสียชีวิตรวม 58 ราย ยังรักษาตัวใน รพ. 71 ราย โดยผู้ป่วยรายใหม่ทั้งหมดกลับมาจากต่างประเทศ คือ อินเดีย หญิงไทย อายุ 11 ปี 21 ปี และ 34 ปี เดินทางถึงไทยวันที่ 15 มิ.ย. เชื่อมโยงกับผู้ป่วย 1 ราย ที่เดินทางมาไฟลต์เดียวกันและเจอเชื้อวันที่ 18 มิ.ย.ที่ผ่านมา โดยทั้ง 3 รายเข้าพักในสถานกักกันที่รัฐจัดให้ จ.ชลบุรี ตรวจหาเชื้อวันที่ 20 มิ.ย. พบเชื้อ แต่ทุกรายไม่มีอาการ ทำให้ตัวเลขสะสมของอินเดีย เดินทาง 2,265 ราย พบยืนยัน 14 ราย
ส่วนสถานการณ์ทั่วโลกติดเชื้อ 9.04 ล้านราย ติดเชื้อรายใหม่ในวันเดียวถึง 1.3 แสนราย ผู้ป่วยหนัก 5.4 หมื่นกว่าราย รักษาหาย 4.8 ล้านราย เสียชีวิต 4.7 แสนราย สหรัฐฯ ยังคงเป็นอันดับ 1 คือ 2.3 ล้านราย บราซิล 1.08 ล้านราย รัสเซีย 5.84 แสนราย อินเดีย 4.26 แสนราย ซึ่งจะเห็นว่าเป็นคนละทวีปกันเลย ส่วนประเทศไทยอยู่อันดับ 92 ของโลก
ทั้งนี้ สื่อญี่ปุ่นชื่นชมไทยว่า มีการใช้มาตรการเข้มงวดก่อนที่อัตราการแพร่ระบาดจะสูงเกิน 0.5 รายต่อแสนประชากร โดยไทยใช้เมื่อมีผู้ติดเชื้อ 0.02 ต่อแสนประชากร ทำให้ประสบความสำเร็จ แต่ยุโรป เช่น อังกฤษ มีอัตราผู้ติดเชื้อ 0.76 รายต่อแสนประชากร นิวยอร์กเริ่มใช้เมื่ออัตราป่วยสูง 4.25 รายต่อแสนประชากร
อย่างไรก็ตาม การติดเชื้อในประเทศไทย ขณะนี้เป็น 0 ต่อเนื่องวันที่ 28 ซึ่งทำให้อุ่นใจขึ้น แต่ยังวางใจไม่ได้ แม้จะเป็น 2 เท่าของการฟักเชื้อ 14 วัน แต่จะผ่อนคลายทุกเรื่องกลับไปเป็นปกติ ยังไม่สามารถกลับไปได้ แม้จะมั่นใจในประเทศ แต่การนำเข้าของเชื้อแม้เพียง 1 คน ก็จะเกิดผลต่อการติดเชื้อในระดับที่รุนแรงได้
สำหรับกรณีแรงงานเมียนมาออกจากไทยและพบว่าติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 23 รายนั้น การตรวจสอบเบื้องต้น พบว่า มี 19 ราย เป็นผู้ป่วยแรงงานต่างด้าวที่ได้เข้าสถานกักกันของรัฐ และดูแลจนครบ 14 วัน ตั้งแต่ 25 เม.ย.2563 และให้เดินทางกลับประเทศไปแล้ว ซึ่งค่อนข้างมั่นใจ ส่วนอีก 4 ราย อยู่ระหว่างการหาข้อมูลที่ขาดหายไป อยู่ระหว่างการประสานงานของทั้ง 2 ประเทศ
ทางด้านการผ่อนคลายเพิ่มเติม จะเสนอ ศบค. ชุดใหญ่พิจารณา เรื่องการเดินทางเข้าประเทศ ได้แก่ กลุ่มนักธุรกิจ นักลงทุน มีการลงทะเบียนประมาณ 700 คน กลุ่มแรงงานฝีมือ และผู้เชี่ยวชาญ ที่จะเข้ามาดูเรื่องโรงงาน 22,000 คน กลุ่มคนต่างด้าวที่มีครอบครัวเป็นคนไทย และมีถิ่นที่อยู่ในไทย 2,000 คน ซึ่งทั้ง 3 กลุ่มนี้ เมื่อเข้ามาก็ต้องกักตัว 14 วัน ส่วนกลุ่มนักท่องเที่ยวที่เข้ามาพบแพทย์ 30,000 คน จะให้เข้ามาเพื่อรับการรักษา ซึ่งจะอยู่ในโรงพยาบาลที่มาตรฐานเดียวกันกับการกักตัว
ส่วนอีกกลุ่ม จะมีการขอผ่อนผันไม่อยู่ในการกักตัว ได้แก่ กลุ่มนักธุรกิจ ที่เข้ามาระยะสั้น 2-3 วัน กลุ่มแขกของรัฐบาล และส่วนราชการ ที่เข้ามาประชุมและพักระยะสั้น และกลุ่มนักท่องเที่ยวตามโครงการ Travel Bubble ที่จะต้องมีการพิจารณามาตรการรองรับให้เหมาะสม
ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า หากไม่ขยายการบังคับใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน จะทำให้กิจการและกิจกรรมที่เหลือได้รับการปลดล็อกทั้งหมดโดยอัตโนมัติ เว้นแต่จะนำพ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 มาใช้ ซึ่งตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อในมาตรา 34 และ 35 ก็ล็อกได้ แต่ไม่เหมือนล็อก เพราะที่ผ่านมา การปิดผัด บาร์ สนามบิน เกิดจากอำนาจ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แต่ พ.ร.บ.โรคติดต่อจะล็อกได้เป็นร้านๆ เป็นจุดๆ ที่มีปัญหา และเป็นวันๆ หากระบาดหนักอาจจะไม่ทันการณ์ เพราะโรคติดต่อมากับคน และเราไม่รู้ว่าคนไปไหนมาบ้าง
ทั้งนี้ ได้ขอให้แพทย์ และฝ่ายความมั่นคง ไปพิจารณา คิดชั่งน้ำหนัก เพราะเขาไม่มั่ว ไม่เดา แต่จะเอาสถิติทั้งหมดมาดูล่วงหน้า คาดว่าจะได้คุยกันเรื่องขยายหรือไม่ขยายการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินในวันที่ 25 หรือ 26 มิ.ย.2563 นี้ เพราะได้ตัวเลขหลังผ่อนคลายมากขึ้น
ที่กระทรวงการคลัง นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า จะเสนอขั้นตอนการลงทะเบียนใช้สิทธิตามมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศเที่ยวปันสุข , กำลังใจ , เราไปเที่ยวกัน ให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาในวันที่ 30 มิ.ย.2563 เพื่อให้ทันเปิดลงทะเบียนในวันที่ 1 ก.ค.2563 ต่อไป โดยยืนยันว่าการลงทะเบียนไม่ยุ่งยาก ผู้ประกอบการ ทั้งโรงแรม ร้านอาหาร และประชาชน จะใช้งานได้ง่ายสุด
นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) แถลงข่าวประจำวันว่า วานนี้ (22 มิ.ย.) มีผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่ จำนวน 3 ราย หายกลับบ้านเพิ่ม 4 ราย ไม่มีเสียชีวิตเพิ่มเติม ยอดผู้ป่วยสะสมรวม 3,151 ราย กลับบ้านรวม 3,022 ราย เสียชีวิตรวม 58 ราย ยังรักษาตัวใน รพ. 71 ราย โดยผู้ป่วยรายใหม่ทั้งหมดกลับมาจากต่างประเทศ คือ อินเดีย หญิงไทย อายุ 11 ปี 21 ปี และ 34 ปี เดินทางถึงไทยวันที่ 15 มิ.ย. เชื่อมโยงกับผู้ป่วย 1 ราย ที่เดินทางมาไฟลต์เดียวกันและเจอเชื้อวันที่ 18 มิ.ย.ที่ผ่านมา โดยทั้ง 3 รายเข้าพักในสถานกักกันที่รัฐจัดให้ จ.ชลบุรี ตรวจหาเชื้อวันที่ 20 มิ.ย. พบเชื้อ แต่ทุกรายไม่มีอาการ ทำให้ตัวเลขสะสมของอินเดีย เดินทาง 2,265 ราย พบยืนยัน 14 ราย
ส่วนสถานการณ์ทั่วโลกติดเชื้อ 9.04 ล้านราย ติดเชื้อรายใหม่ในวันเดียวถึง 1.3 แสนราย ผู้ป่วยหนัก 5.4 หมื่นกว่าราย รักษาหาย 4.8 ล้านราย เสียชีวิต 4.7 แสนราย สหรัฐฯ ยังคงเป็นอันดับ 1 คือ 2.3 ล้านราย บราซิล 1.08 ล้านราย รัสเซีย 5.84 แสนราย อินเดีย 4.26 แสนราย ซึ่งจะเห็นว่าเป็นคนละทวีปกันเลย ส่วนประเทศไทยอยู่อันดับ 92 ของโลก
ทั้งนี้ สื่อญี่ปุ่นชื่นชมไทยว่า มีการใช้มาตรการเข้มงวดก่อนที่อัตราการแพร่ระบาดจะสูงเกิน 0.5 รายต่อแสนประชากร โดยไทยใช้เมื่อมีผู้ติดเชื้อ 0.02 ต่อแสนประชากร ทำให้ประสบความสำเร็จ แต่ยุโรป เช่น อังกฤษ มีอัตราผู้ติดเชื้อ 0.76 รายต่อแสนประชากร นิวยอร์กเริ่มใช้เมื่ออัตราป่วยสูง 4.25 รายต่อแสนประชากร
อย่างไรก็ตาม การติดเชื้อในประเทศไทย ขณะนี้เป็น 0 ต่อเนื่องวันที่ 28 ซึ่งทำให้อุ่นใจขึ้น แต่ยังวางใจไม่ได้ แม้จะเป็น 2 เท่าของการฟักเชื้อ 14 วัน แต่จะผ่อนคลายทุกเรื่องกลับไปเป็นปกติ ยังไม่สามารถกลับไปได้ แม้จะมั่นใจในประเทศ แต่การนำเข้าของเชื้อแม้เพียง 1 คน ก็จะเกิดผลต่อการติดเชื้อในระดับที่รุนแรงได้
สำหรับกรณีแรงงานเมียนมาออกจากไทยและพบว่าติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 23 รายนั้น การตรวจสอบเบื้องต้น พบว่า มี 19 ราย เป็นผู้ป่วยแรงงานต่างด้าวที่ได้เข้าสถานกักกันของรัฐ และดูแลจนครบ 14 วัน ตั้งแต่ 25 เม.ย.2563 และให้เดินทางกลับประเทศไปแล้ว ซึ่งค่อนข้างมั่นใจ ส่วนอีก 4 ราย อยู่ระหว่างการหาข้อมูลที่ขาดหายไป อยู่ระหว่างการประสานงานของทั้ง 2 ประเทศ
ทางด้านการผ่อนคลายเพิ่มเติม จะเสนอ ศบค. ชุดใหญ่พิจารณา เรื่องการเดินทางเข้าประเทศ ได้แก่ กลุ่มนักธุรกิจ นักลงทุน มีการลงทะเบียนประมาณ 700 คน กลุ่มแรงงานฝีมือ และผู้เชี่ยวชาญ ที่จะเข้ามาดูเรื่องโรงงาน 22,000 คน กลุ่มคนต่างด้าวที่มีครอบครัวเป็นคนไทย และมีถิ่นที่อยู่ในไทย 2,000 คน ซึ่งทั้ง 3 กลุ่มนี้ เมื่อเข้ามาก็ต้องกักตัว 14 วัน ส่วนกลุ่มนักท่องเที่ยวที่เข้ามาพบแพทย์ 30,000 คน จะให้เข้ามาเพื่อรับการรักษา ซึ่งจะอยู่ในโรงพยาบาลที่มาตรฐานเดียวกันกับการกักตัว
ส่วนอีกกลุ่ม จะมีการขอผ่อนผันไม่อยู่ในการกักตัว ได้แก่ กลุ่มนักธุรกิจ ที่เข้ามาระยะสั้น 2-3 วัน กลุ่มแขกของรัฐบาล และส่วนราชการ ที่เข้ามาประชุมและพักระยะสั้น และกลุ่มนักท่องเที่ยวตามโครงการ Travel Bubble ที่จะต้องมีการพิจารณามาตรการรองรับให้เหมาะสม
ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า หากไม่ขยายการบังคับใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน จะทำให้กิจการและกิจกรรมที่เหลือได้รับการปลดล็อกทั้งหมดโดยอัตโนมัติ เว้นแต่จะนำพ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 มาใช้ ซึ่งตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อในมาตรา 34 และ 35 ก็ล็อกได้ แต่ไม่เหมือนล็อก เพราะที่ผ่านมา การปิดผัด บาร์ สนามบิน เกิดจากอำนาจ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แต่ พ.ร.บ.โรคติดต่อจะล็อกได้เป็นร้านๆ เป็นจุดๆ ที่มีปัญหา และเป็นวันๆ หากระบาดหนักอาจจะไม่ทันการณ์ เพราะโรคติดต่อมากับคน และเราไม่รู้ว่าคนไปไหนมาบ้าง
ทั้งนี้ ได้ขอให้แพทย์ และฝ่ายความมั่นคง ไปพิจารณา คิดชั่งน้ำหนัก เพราะเขาไม่มั่ว ไม่เดา แต่จะเอาสถิติทั้งหมดมาดูล่วงหน้า คาดว่าจะได้คุยกันเรื่องขยายหรือไม่ขยายการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินในวันที่ 25 หรือ 26 มิ.ย.2563 นี้ เพราะได้ตัวเลขหลังผ่อนคลายมากขึ้น
ที่กระทรวงการคลัง นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า จะเสนอขั้นตอนการลงทะเบียนใช้สิทธิตามมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศเที่ยวปันสุข , กำลังใจ , เราไปเที่ยวกัน ให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาในวันที่ 30 มิ.ย.2563 เพื่อให้ทันเปิดลงทะเบียนในวันที่ 1 ก.ค.2563 ต่อไป โดยยืนยันว่าการลงทะเบียนไม่ยุ่งยาก ผู้ประกอบการ ทั้งโรงแรม ร้านอาหาร และประชาชน จะใช้งานได้ง่ายสุด