ผู้จัดการรายวัน360-สภาพัฒน์เผยตัวเลขจีดีพีไตรมาส 1/63 ติดลบ 1.8% โดยเป็นการติดลบครั้งแรกนับตั้งแต่ไตรมาส 1 ปี 57 ส่วนทั้งปีคาดติดลบ 5-6% หลังเจอพิษโควิด-19 ทำเศรษฐกิจ การค้าโลกชะลอตัว ท่องเที่ยวลด ส่งออกวูบ พร้อมเร่งกลั่นกรองโครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจ 4 แสนล้าน เสนอครม.ภายใน มิ.ย. เร่งเบิกจ่าย ก.ค. เป็นต้นไป
นายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ เปิดเผยว่า ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือจีดีพี ไตรมาส 1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนติดลบ 1.8% โดยเป็นการติดลบครั้งแรกนับตั้งแต่ไตรมาส 1/2557 และคาดว่าไตรมาส 2 จะติดลบมากกว่าไตรมาส 1 ขณะที่แนวโน้มเศรษฐกิจไทยทั้งปี 2563 คาดจะติดลบ 5-6% จากการปรับตัวลงอย่างรุนแรงของเศรษฐกิจและการค้าโลก การลดลงของจำนวนและรายได้จากภาคท่องเที่ยวต่างชาติ การแพร่ระบาดของโควิด-19 ปัญหาภัยแล้ง และการส่งออกทั้งปีที่คาดว่าจะติดลบ 8%
ทั้งนี้ ตัวเลขประมาณการณ์จีดีพีทั้งปีที่คาดว่าจะติดลบ 5-6% อยู่ภายใต้สมมติฐานการแพร่ระบาดของโควิด-19 สามารถควบคุมได้ภายในไตรมาส 2 และไม่มีการแพร่ระบาดรอบ 2 กิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มกลับมาขับเคลื่อนได้ในไตรมาส 2 และเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้ในไตรมาส 3 และนักท่องเที่ยวต่างชาติเริ่มกลับมาท่องเที่ยวไทยในช่วงไตรมาส 3 และ 4
สำหรับความคืบหน้าการใช้เงินตาม พ.ร.ก.กู้เงิน 1 ล้านล้านบาท ในส่วนของงบเยียวยา 555,000 ล้านบาท ล่าสุดคงเหลือ 190,000 ล้านบาท โดยเยียวเกษตรกร 10 ล้านคน เยียวยา 5,000 บาท จำนวน 16 ล้านคน ประกันสังคม 11 ล้านคน และกลุ่มเปราะบางของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) 14 ล้านคน ขณะที่ 45,000 ล้านบาท จะเป็นงบด้านสาธารณสุข ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขอยู่ระหว่างการทำแผนใช้งบ และงบอีก 400,000 ล้านบาท จะเป็นงบสำหรับฟื้นฟูเศรษฐกิจ ซึ่งจะเป็นเงินที่ลงสู่ท้องถิ่นรวมถึงการจ้างงาน ซึ่งขณะนี้แต่ละหน่วยงานอยู่ระหว่างจัดทำโครงการ คาดจะเสร็จและเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ภายในเดือนมิ.ย.2563 จากนั้นสามารถเบิกจ่ายได้ตั้งแต่ก.ค.2563 เป็นต้นไป
ส่วนเงินกู้ 1 ล้านล้านบาท ไม่ได้คาดหวังการกระตุ้นตัวเลขจีดีพี แต่เพื่อช่วยประคองเศรษฐกิจ และช่วยเหลือประชาชน โดยเชื่อว่าสถานการณ์จะดีขึ้น เพราะความเชื่อมั่นในระบบสาธารณสุขของไทย ทำให้โอกาสที่จะเกิดการแพร่ระบาดรอบ 2 จึงมีน้อย ดังนั้น เงินกู้ 1 ล้านล้านบาทจึงเพียงพอ โดยมองว่าเศรษฐกิจไทยจะฟื้นแบบตัวยู ทั้งนี้ ตัวเลขทางเศรษฐกิจที่ออกมา ได้มีการหารือร่วมกับกระทรวงการคลังแล้ว และเป็นตัวเลขเดียวกัน
นายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ เปิดเผยว่า ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือจีดีพี ไตรมาส 1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนติดลบ 1.8% โดยเป็นการติดลบครั้งแรกนับตั้งแต่ไตรมาส 1/2557 และคาดว่าไตรมาส 2 จะติดลบมากกว่าไตรมาส 1 ขณะที่แนวโน้มเศรษฐกิจไทยทั้งปี 2563 คาดจะติดลบ 5-6% จากการปรับตัวลงอย่างรุนแรงของเศรษฐกิจและการค้าโลก การลดลงของจำนวนและรายได้จากภาคท่องเที่ยวต่างชาติ การแพร่ระบาดของโควิด-19 ปัญหาภัยแล้ง และการส่งออกทั้งปีที่คาดว่าจะติดลบ 8%
ทั้งนี้ ตัวเลขประมาณการณ์จีดีพีทั้งปีที่คาดว่าจะติดลบ 5-6% อยู่ภายใต้สมมติฐานการแพร่ระบาดของโควิด-19 สามารถควบคุมได้ภายในไตรมาส 2 และไม่มีการแพร่ระบาดรอบ 2 กิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มกลับมาขับเคลื่อนได้ในไตรมาส 2 และเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้ในไตรมาส 3 และนักท่องเที่ยวต่างชาติเริ่มกลับมาท่องเที่ยวไทยในช่วงไตรมาส 3 และ 4
สำหรับความคืบหน้าการใช้เงินตาม พ.ร.ก.กู้เงิน 1 ล้านล้านบาท ในส่วนของงบเยียวยา 555,000 ล้านบาท ล่าสุดคงเหลือ 190,000 ล้านบาท โดยเยียวเกษตรกร 10 ล้านคน เยียวยา 5,000 บาท จำนวน 16 ล้านคน ประกันสังคม 11 ล้านคน และกลุ่มเปราะบางของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) 14 ล้านคน ขณะที่ 45,000 ล้านบาท จะเป็นงบด้านสาธารณสุข ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขอยู่ระหว่างการทำแผนใช้งบ และงบอีก 400,000 ล้านบาท จะเป็นงบสำหรับฟื้นฟูเศรษฐกิจ ซึ่งจะเป็นเงินที่ลงสู่ท้องถิ่นรวมถึงการจ้างงาน ซึ่งขณะนี้แต่ละหน่วยงานอยู่ระหว่างจัดทำโครงการ คาดจะเสร็จและเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ภายในเดือนมิ.ย.2563 จากนั้นสามารถเบิกจ่ายได้ตั้งแต่ก.ค.2563 เป็นต้นไป
ส่วนเงินกู้ 1 ล้านล้านบาท ไม่ได้คาดหวังการกระตุ้นตัวเลขจีดีพี แต่เพื่อช่วยประคองเศรษฐกิจ และช่วยเหลือประชาชน โดยเชื่อว่าสถานการณ์จะดีขึ้น เพราะความเชื่อมั่นในระบบสาธารณสุขของไทย ทำให้โอกาสที่จะเกิดการแพร่ระบาดรอบ 2 จึงมีน้อย ดังนั้น เงินกู้ 1 ล้านล้านบาทจึงเพียงพอ โดยมองว่าเศรษฐกิจไทยจะฟื้นแบบตัวยู ทั้งนี้ ตัวเลขทางเศรษฐกิจที่ออกมา ได้มีการหารือร่วมกับกระทรวงการคลังแล้ว และเป็นตัวเลขเดียวกัน