ผู้จัดการรายวัน 360 - ครม.อนุมัติใช้งบกว่า 6 พันล้านบาท ช่วยเหลือผู้ใช้น้ำประปาที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ฟรีสำหรับผู้ใช้น้ำน้อยกว่า 10 ลูกบาศก์เมตร ส่วนที่เกินลด 20% เป็นเวลา 3 เดือน พร้อมคืนเงินประกันมิเตอร์-ขยายเวลาการชำระ-เว้นตัดน้ำ 6 เดือน ส่วนผู้ที่พลาดหวังรับเงินเยียวยา 5 พันบาท ยังคงบุกยื่นคำร้องขอทบทวนสิทธิ์ต่อเนื่อง "ธนกร" เผยปิดรับเรื่องแค่ 8 พ.ค.นี้ ยันไม่ทอดทิ้งซาเล้ง มีสิทธิได้รัเงินเยียวยา ขณะที่ครม.ไฟเขียว กฟภ. กู้เงินในประเทศ 14,000 หมื่นล้านบาท สมทบกับรายได้ของกฟภ.เพื่อลงทุน 6 แผนงานระยะยาว
นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการประชุม คณะรัฐมนตรี (ครม.) วานนี้ (5พ.ค.) ที่ประชุมเห็นชอบมาตรการช่วยเหลือประชาชนผู้ใช้น้ำประปา ที่ได้รับผลกระทบจากการCOVID-19 ซึ่งเป็นมาตรการเพิ่มเติมประกอบด้วย
1. ลดค่าน้ำประปาให้กับผู้ใช้น้ำทุกประเภท เริ่มตั้งแต่รอบการใช้น้ำเดือนเมษายน-มิถุนายนนี้ (ใบแจ้งค่าน้ำประปาเดือนพ.ค.-ก.ค.) กรณีที่ 1 ผู้ใช้น้ำที่ใช้น้อยกว่าหรือเท่ากับ 10 ลูกบาศก์เมตร ยกเว้นจัดเก็บค่าน้ำประปา ค่าบริการรายเดือน และค่าน้ำดิบกรณีที่ 2 ผู้ใช้น้ำที่ใช้น้ำมากกว่า 10 ลูกบาศก์เมตร ยกเว้นค่าน้ำประปาสำหรับน้ำ 10 ลูกบาศก์เมตรแรก และส่วนที่ใช้เกินลดค่าน้ำในอัตรา 20%
2. คืนเงินประกันการใช้น้ำให้กับผู้ใช้น้ำประเภทที่ 1 ที่พักอาศัย ประเภทที่ 2 ธุรกิจ ราชการรัฐวิสาหกิจ อุตสาหกรรม และอื่นๆ
3. ยกเว้นค่าธรรมเนียมในการชำระค่าน้ำประปา เมื่อชำระผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส 7-11 เทสโก้ โลตัสบิ๊กซี และ cenpay เป็นเวลา 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 17 เมษายน - 30 มิถุนายน
4. ยกเว้นการตัดน้ำประปาทั้งชั่วคราวและถาวร (งดผูกลวดและถอนมาตรน้ำ) เป็นเวลา 6 เดือนตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม - 30 กันยายนนี้ ส่วนมาตรการของการประปาส่วนภูมิภาค ประกอบด้วย 1. ลดค่าน้ำประปาให้กับผู้ใช้น้ำทุกประเภท ในอัตรา 20% ยกเว้นผู้ใช้น้ำส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจลดค่าน้ำประปาในอัตรา 3% (ไม่รวมค่าบริการรายเดือน) เริ่มตั้งแต่เมษายน-มิถุนายนนี้
2. ยกเว้นค่าธรรมเนียมในการชำระค่าน้ำประปา เป็นเวลา 3 เดือน เมื่อชำระผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส และ 7-11 ตั้งแต่วันที่ 17 เมษายน - 30 มิถุนายนนี้ และที่เทสโก้ โลตัส และบิ๊กซี ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม - 30 มิถุนายนนี้ และ 3. ขยายเวลารับชำระผ่านตัวแทนรับชำระค่าน้ำประปาจากภายใน 10 วันเป็นภายใน 20 วัน เป็นเวลา 3 เดือน (ใบแจ้งค่าน้ำเดือน เม.ย.-มิ.ย.นี้)
ทั้งนี้ จากการดำเนินการตามมาตรการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนผู้ใช้น้ำประปา คิดเป็นวงเงิน 6,077 ล้านบาท แบ่งเป็นลดค่าน้ำประปา 3 เดือน รวม 2,110 ล้านบาท ขยายเวลาการชำระค่าน้ำประปา 2 เดือน 340 ล้านบาท คืนเงินประกัน 3,518 ล้านบาท และยกเว้นค่าธรรมเนียมในการชำระค่าน้ำประปา 109 ล้านบาท
ปิดรับร้องเรียนรับเงิน5พันถึง 8 พ.ค.นี้
ด้านบรรยากาศที่กรมประชาสัมพันธ์ ได้มีประชาชนจำนวนมาก มายื่นคำร้องขอทบทวนสิทธิ์รับเงินเยียวยารายละ 5,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน ซึ่งเป็นวันที่ 3 ที่เปิดให้ยื่นทบทวนสิทธิ์ แต่เป็นวันแรกที่ย้ายมาให้บริการที่กรมประชาสัมพันธ์ ซึ่งได้มีการจัดระเบียบระยะห่างเพื่อป้องกันการแพร่และติดเชื้อโควิด-19 ด้วย
นายธนกร วังบุญคงชนะ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ยังกล่าวถึงการดำเนินการหลังจากที่รับเรื่องขอทบทวนสิทธิจากประชาชนในครั้งนี้ว่า กระทรวงการคลังจะมีการนำไปตรวจสอบในระบบต่อไป แต่การมายื่นทบทวนสิทธิไม่ได้หมายความว่าจะได้รับเงินเยียวยาทุกคน โดยในส่วนของผู้ที่ยื่นทบทวนสิทธิและไม่ได้รับเงิน กระทรวงคลังจะแยกกลุ่มประเภทความเดือดร้อน เพื่อส่งต่อให้กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.)รับเป็นผู้ดูแลต่อไป
ในส่วนของประชาชนที่อยู่ต่างจังหวัด สามารถยื่นขอทบทวนสิทธิได้ผ่านระบบ หรือ ยื่นเรื่องผ่านศูนย์ดำรงธรรมของแต่ละจังหวัด จนถึงวันที่ 8 พ.ค.นี้ ส่วนกรณีที่มีการเรียกร้องให้รัฐบาลเปิดลงทะเบียนรับเงินเยียวยารอบใหม่นั้น นายธนกร กล่าวว่า ตนจะนำเรื่องดังกล่าวไปเสนอต่อนานอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังต่อไป
" การเยียวยาล่าสุด จะครอบคลุมประชาชน 16 ล้านคนที่เข้าข่ายได้รับความเดือดร้อนแล้ว ขณะที่การเยียวยาเกษตรกร มีมาลงทะเบียนแล้ว 10 ล้านคน โดยมีประมาณ 20% ที่ยังไม่ได้เปิดบัญชี ดังนั้นจึงขอให้เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนไว้ เร่งไปเปิดบัญชีมี่ธนาคารใดก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นบัญชีของธ.ก.ส.เพียงแห่งเดียว"
คลังยัน"ซาเล้ง" มีสิทธิรับเงิน 5 พัน
นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) และโฆษกกระทรวงการคลัง กล่าวถึงกรณีกระทรวงพาณิชย์เรียกร้องให้กระทรวงการคลังช่วยจ่ายเงินเยียวยา 5,000 บาท ให้กลุ่มอาชีพซาเล้งซื้อขายของเก่า 1.5 ล้านรายว่า ยืนยันว่าที่ผ่านมาคลังได้เปิดให้อาชีพซาเล้งเข้ามาลงทะเบียนรับสิทธิได้อยู่แล้ว ไม่ได้มีการปิดกั้น เพราะซาเล้งก็ถือเป็นกลุ่มอาชีพอิสระที่จะลงทะเบียนรับเงินเยียวยา 3 เดือนได้
ทั้งนี้ หากรายใดที่ลงทะเบียนแล้วและถูกปฏิเสธรับเงินเยียวยาก็สามารถยื่นขอทบทวนสิทธิให้ แต่หากยังไม่ได้ลงทะเบียน และเป็นกลุ่มที่ได้รับความเดือดร้อน ขณะนี้กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ก็กำลังจัดทำมาตรการช่วยเหลือผู้ตกหล่น หรือที่เข้าไม่ถึงการช่วยเหลือในรอบแรก ซึ่งมีปลัดกระทรวง 10 กระทรวงร่วมกันพิจารณา ซึ่งทางกระทรวงพาณิชย์สามารถนำเสนอการช่วยเหลือได้
ครม.อนุมัติ กฟภ.กู้ 14,000ล.ลงทุนระยาว
นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมครม. มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) กู้เงินในประเทศ 75% มาสมทบกับรายได้ของตัวเองอีก 25% เพื่อเป็นเงินลงทุนในแผนงานระยะยาวใหม่ในปี 2563 จำนวน 6 แผนงาน ภายในกรอบวงเงินรวม 14,197 ล้านบาท โดยให้ทยอยดำเนินการกู้เงินตามความจำเป็นรายปี จนกว่าการดำเนินงานจะแล้วเสร็จ และให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
สำหรับแผนงานดังกล่าว ประกอบด้วย 1.แผนงานปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพสถานีไฟฟ้า 2.แผนงานย้ายแนวและเปลี่ยนทดแทนอุปกรณ์ในระบบจำหน่ายและสายส่งไฟฟ้าเพื่อความมั่นคง ปี 2653-2570 เพื่อย้ายแนวระบบจำหน่ายและสายส่งไฟฟ้า ตามแผนงานก่อสร้างขยายถนนและการคมนาคมของกรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท การทางพิเศษแห่งประเทศไทย และหน่วยงานราชการอื่น ๆ
3.แผนงานปฏิบัติการดิจิทัลด้านระบบงานและแพลตฟอร์ม เพื่อใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสนับสนุนการดำเนินธุรกิจของระบบจำหน่ายและบริการลูกค้าอย่างรวดเร็ว ระยะเวลาดำเนินการ พ.ศ.2563-2567
4.แผนงานปฏิบัติการดิจิทัลด้านสื่อสารและโทรคมนาคมของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เพื่อพัฒนาระบบสื่อสารของ กฟภ. ให้มีช่องสัญญาณ (Bandwidth) เพียงพอต่อการใช้งาน, เพื่อเพิ่มความพร้อมในการให้บริการ (Service Availability), เพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนการบริหารจัดการเทคโนโลยีดิจิทัลให้มีความรวดเร็ว ตอบสนองต่อความต้องการของสายงานต่าง ๆ ของ กฟภ. เป็นต้น ระยะเวลาดำเนินการ พ.ศ.2563-2565
5.แผนงานการใช้พื้นที่สำนักงานใหญ่ กฟภ.ดำเนินการตามแผนแม่บท Phase B : เพื่อดำเนินการตามแผนแม่บทการใช้พื้นที่สำนักงานใหญ่ กฟภ. Phase B
6.แผนงานจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการทดสอบการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เพื่อปรับปรุงและเพิ่มขีดความสามารถการทดสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าของ กฟภ.
นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการประชุม คณะรัฐมนตรี (ครม.) วานนี้ (5พ.ค.) ที่ประชุมเห็นชอบมาตรการช่วยเหลือประชาชนผู้ใช้น้ำประปา ที่ได้รับผลกระทบจากการCOVID-19 ซึ่งเป็นมาตรการเพิ่มเติมประกอบด้วย
1. ลดค่าน้ำประปาให้กับผู้ใช้น้ำทุกประเภท เริ่มตั้งแต่รอบการใช้น้ำเดือนเมษายน-มิถุนายนนี้ (ใบแจ้งค่าน้ำประปาเดือนพ.ค.-ก.ค.) กรณีที่ 1 ผู้ใช้น้ำที่ใช้น้อยกว่าหรือเท่ากับ 10 ลูกบาศก์เมตร ยกเว้นจัดเก็บค่าน้ำประปา ค่าบริการรายเดือน และค่าน้ำดิบกรณีที่ 2 ผู้ใช้น้ำที่ใช้น้ำมากกว่า 10 ลูกบาศก์เมตร ยกเว้นค่าน้ำประปาสำหรับน้ำ 10 ลูกบาศก์เมตรแรก และส่วนที่ใช้เกินลดค่าน้ำในอัตรา 20%
2. คืนเงินประกันการใช้น้ำให้กับผู้ใช้น้ำประเภทที่ 1 ที่พักอาศัย ประเภทที่ 2 ธุรกิจ ราชการรัฐวิสาหกิจ อุตสาหกรรม และอื่นๆ
3. ยกเว้นค่าธรรมเนียมในการชำระค่าน้ำประปา เมื่อชำระผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส 7-11 เทสโก้ โลตัสบิ๊กซี และ cenpay เป็นเวลา 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 17 เมษายน - 30 มิถุนายน
4. ยกเว้นการตัดน้ำประปาทั้งชั่วคราวและถาวร (งดผูกลวดและถอนมาตรน้ำ) เป็นเวลา 6 เดือนตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม - 30 กันยายนนี้ ส่วนมาตรการของการประปาส่วนภูมิภาค ประกอบด้วย 1. ลดค่าน้ำประปาให้กับผู้ใช้น้ำทุกประเภท ในอัตรา 20% ยกเว้นผู้ใช้น้ำส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจลดค่าน้ำประปาในอัตรา 3% (ไม่รวมค่าบริการรายเดือน) เริ่มตั้งแต่เมษายน-มิถุนายนนี้
2. ยกเว้นค่าธรรมเนียมในการชำระค่าน้ำประปา เป็นเวลา 3 เดือน เมื่อชำระผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส และ 7-11 ตั้งแต่วันที่ 17 เมษายน - 30 มิถุนายนนี้ และที่เทสโก้ โลตัส และบิ๊กซี ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม - 30 มิถุนายนนี้ และ 3. ขยายเวลารับชำระผ่านตัวแทนรับชำระค่าน้ำประปาจากภายใน 10 วันเป็นภายใน 20 วัน เป็นเวลา 3 เดือน (ใบแจ้งค่าน้ำเดือน เม.ย.-มิ.ย.นี้)
ทั้งนี้ จากการดำเนินการตามมาตรการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนผู้ใช้น้ำประปา คิดเป็นวงเงิน 6,077 ล้านบาท แบ่งเป็นลดค่าน้ำประปา 3 เดือน รวม 2,110 ล้านบาท ขยายเวลาการชำระค่าน้ำประปา 2 เดือน 340 ล้านบาท คืนเงินประกัน 3,518 ล้านบาท และยกเว้นค่าธรรมเนียมในการชำระค่าน้ำประปา 109 ล้านบาท
ปิดรับร้องเรียนรับเงิน5พันถึง 8 พ.ค.นี้
ด้านบรรยากาศที่กรมประชาสัมพันธ์ ได้มีประชาชนจำนวนมาก มายื่นคำร้องขอทบทวนสิทธิ์รับเงินเยียวยารายละ 5,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน ซึ่งเป็นวันที่ 3 ที่เปิดให้ยื่นทบทวนสิทธิ์ แต่เป็นวันแรกที่ย้ายมาให้บริการที่กรมประชาสัมพันธ์ ซึ่งได้มีการจัดระเบียบระยะห่างเพื่อป้องกันการแพร่และติดเชื้อโควิด-19 ด้วย
นายธนกร วังบุญคงชนะ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ยังกล่าวถึงการดำเนินการหลังจากที่รับเรื่องขอทบทวนสิทธิจากประชาชนในครั้งนี้ว่า กระทรวงการคลังจะมีการนำไปตรวจสอบในระบบต่อไป แต่การมายื่นทบทวนสิทธิไม่ได้หมายความว่าจะได้รับเงินเยียวยาทุกคน โดยในส่วนของผู้ที่ยื่นทบทวนสิทธิและไม่ได้รับเงิน กระทรวงคลังจะแยกกลุ่มประเภทความเดือดร้อน เพื่อส่งต่อให้กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.)รับเป็นผู้ดูแลต่อไป
ในส่วนของประชาชนที่อยู่ต่างจังหวัด สามารถยื่นขอทบทวนสิทธิได้ผ่านระบบ หรือ ยื่นเรื่องผ่านศูนย์ดำรงธรรมของแต่ละจังหวัด จนถึงวันที่ 8 พ.ค.นี้ ส่วนกรณีที่มีการเรียกร้องให้รัฐบาลเปิดลงทะเบียนรับเงินเยียวยารอบใหม่นั้น นายธนกร กล่าวว่า ตนจะนำเรื่องดังกล่าวไปเสนอต่อนานอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังต่อไป
" การเยียวยาล่าสุด จะครอบคลุมประชาชน 16 ล้านคนที่เข้าข่ายได้รับความเดือดร้อนแล้ว ขณะที่การเยียวยาเกษตรกร มีมาลงทะเบียนแล้ว 10 ล้านคน โดยมีประมาณ 20% ที่ยังไม่ได้เปิดบัญชี ดังนั้นจึงขอให้เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนไว้ เร่งไปเปิดบัญชีมี่ธนาคารใดก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นบัญชีของธ.ก.ส.เพียงแห่งเดียว"
คลังยัน"ซาเล้ง" มีสิทธิรับเงิน 5 พัน
นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) และโฆษกกระทรวงการคลัง กล่าวถึงกรณีกระทรวงพาณิชย์เรียกร้องให้กระทรวงการคลังช่วยจ่ายเงินเยียวยา 5,000 บาท ให้กลุ่มอาชีพซาเล้งซื้อขายของเก่า 1.5 ล้านรายว่า ยืนยันว่าที่ผ่านมาคลังได้เปิดให้อาชีพซาเล้งเข้ามาลงทะเบียนรับสิทธิได้อยู่แล้ว ไม่ได้มีการปิดกั้น เพราะซาเล้งก็ถือเป็นกลุ่มอาชีพอิสระที่จะลงทะเบียนรับเงินเยียวยา 3 เดือนได้
ทั้งนี้ หากรายใดที่ลงทะเบียนแล้วและถูกปฏิเสธรับเงินเยียวยาก็สามารถยื่นขอทบทวนสิทธิให้ แต่หากยังไม่ได้ลงทะเบียน และเป็นกลุ่มที่ได้รับความเดือดร้อน ขณะนี้กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ก็กำลังจัดทำมาตรการช่วยเหลือผู้ตกหล่น หรือที่เข้าไม่ถึงการช่วยเหลือในรอบแรก ซึ่งมีปลัดกระทรวง 10 กระทรวงร่วมกันพิจารณา ซึ่งทางกระทรวงพาณิชย์สามารถนำเสนอการช่วยเหลือได้
ครม.อนุมัติ กฟภ.กู้ 14,000ล.ลงทุนระยาว
นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมครม. มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) กู้เงินในประเทศ 75% มาสมทบกับรายได้ของตัวเองอีก 25% เพื่อเป็นเงินลงทุนในแผนงานระยะยาวใหม่ในปี 2563 จำนวน 6 แผนงาน ภายในกรอบวงเงินรวม 14,197 ล้านบาท โดยให้ทยอยดำเนินการกู้เงินตามความจำเป็นรายปี จนกว่าการดำเนินงานจะแล้วเสร็จ และให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
สำหรับแผนงานดังกล่าว ประกอบด้วย 1.แผนงานปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพสถานีไฟฟ้า 2.แผนงานย้ายแนวและเปลี่ยนทดแทนอุปกรณ์ในระบบจำหน่ายและสายส่งไฟฟ้าเพื่อความมั่นคง ปี 2653-2570 เพื่อย้ายแนวระบบจำหน่ายและสายส่งไฟฟ้า ตามแผนงานก่อสร้างขยายถนนและการคมนาคมของกรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท การทางพิเศษแห่งประเทศไทย และหน่วยงานราชการอื่น ๆ
3.แผนงานปฏิบัติการดิจิทัลด้านระบบงานและแพลตฟอร์ม เพื่อใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสนับสนุนการดำเนินธุรกิจของระบบจำหน่ายและบริการลูกค้าอย่างรวดเร็ว ระยะเวลาดำเนินการ พ.ศ.2563-2567
4.แผนงานปฏิบัติการดิจิทัลด้านสื่อสารและโทรคมนาคมของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เพื่อพัฒนาระบบสื่อสารของ กฟภ. ให้มีช่องสัญญาณ (Bandwidth) เพียงพอต่อการใช้งาน, เพื่อเพิ่มความพร้อมในการให้บริการ (Service Availability), เพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนการบริหารจัดการเทคโนโลยีดิจิทัลให้มีความรวดเร็ว ตอบสนองต่อความต้องการของสายงานต่าง ๆ ของ กฟภ. เป็นต้น ระยะเวลาดำเนินการ พ.ศ.2563-2565
5.แผนงานการใช้พื้นที่สำนักงานใหญ่ กฟภ.ดำเนินการตามแผนแม่บท Phase B : เพื่อดำเนินการตามแผนแม่บทการใช้พื้นที่สำนักงานใหญ่ กฟภ. Phase B
6.แผนงานจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการทดสอบการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เพื่อปรับปรุงและเพิ่มขีดความสามารถการทดสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าของ กฟภ.