นายกฯประชุม ศบค.ย้ำทุกหน่วยร่วมมือ-อย่าขัดแย้ง สั่งชะลอเข้า ปท.ถึง 15 เม.ย.วอน นร.-นศ.เข้าใจ รบ. เผยคนใกล้ตัวนายกฯทยอยกักตัว หลังพบผู้ติดเชื้อที่ทำเนียบฯ ช่วงเย็นประกาศเคอร์ฟิวทั่วไทย 22.00-04.00 น. ฝ่าฝืนโทษแรงทั้งคุกและปรับ เว้นมีเหตุจำเป็นผู้ปฏิบัติงาน เผยหวังใช้เคอร์ฟิวกำราบ “สายปาร์ตี้” หากไม่ดีขึ้นอาจต้องยกระดับบังคับ 24 ชั่วโมง
วานนี้ (2เม.ย.) เมื่อเวลา 09.30 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) โดยย้ำให้ทุกหน่วยงานบูรณาการการทำงานร่วมกัน โดยไม่ขัดแย้ง และได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณามาตรการรองรับทางเศรษฐกิจอย่างรอบด้าน ไปจนถึงมาตรการเพื่อการฟื้นฟู ด้านการลงทุนต่างๆ ที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน
พล.อ.ประยุทธ์ ยังมอบหมายให้ทุกหน่วยงานทำความเข้าใจกับประชาชน ถึงกฎระเบียบ ขั้นตอน รายละเอียดปลีกย่อย ที่อาจเกิดผลกระทบต่อส่วนรวมได้ ในส่วนของผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรการของรัฐบาล ยังรวมกลุ่มสังสรรค์ ขอให้หน่วยงานที่บังคับใช้กฎหมายพิจารณาลงโทษอย่างจริงจัง เพื่อให้ประชาชนปฏิบัติตามมาตรการที่รัฐบาลกำหนด
ทั้งนี้นายกฯได้แจ้งเรื่องการยกระดับมาตรการในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพิ่มเติม โดยกำหนดเวลาเคอร์ฟิวห้ามเดินทางออกจากเคหสถานทั่วประเทศ ระหว่างเวลา 22.00-04.00 น. เริ่มตั้งแต่วันศุกร์นี้เป็นต้นไป ที่จะประกาศในช่วงเย็นวันเดียวกันให้ที่ประชุมรับทราบเบื้องต้นด้วย
สั่งชะลอเข้า ปท.ถึง 15 เม.ย.
สำหรับการเดินทางเข้าประเทศไทย นายกฯ สั่งการให้ชะลอการเดินทางจากต่างประเทศ จนถึง 15 เม.ย.เพื่อเตรียมพื้นที่ State Quarantine และเพื่อให้ทุกคนผ่านการประเมินทางสุขภาพอย่างครบถ้วน ในการเดินทาง ผู้เดินทางต้องมีเอกสารกรอกข้อมูลการเข้าประเทศ ผ่านการประเมินสุขภาพ มีเอกสาร fit to fly และสั่งการให้ ศบค. นำข้อมูลมาวิเคราะห์ วางแผนให้ถี่ถ้วน เพราะเมื่อเดินทางเข้าประเทศมาแล้ว จะต้องหามาตรการมาควบคุมให้รัดกุม แก้ปัญหาบุคคลเสี่ยงที่หายไประหว่างเดินทางไปยังสถานที่ Quarantine หรือที่พัก
ทั้งนี้ นายกฯแสดงความเข้าใจดีถึงความกังวลของนักเรียน นักศึกษา และผู้ปกครองที่อยากเดินทางกลับประเทศ จึงขอให้กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงมหาดไทยร่วมดูแล ให้มีแนวทางรองรับที่ชัดเจนเสียก่อน
เผยคนใกล้ตัวนายกฯทยอยกักตัว
จากกรณีพบผู้ปฏิบัติงานของ ศบค.ที่ทำเนียบรัฐบาล ติดเขื้อโควิด-19 ทำให้ผู้ใกล้ชิดนายกรัฐมนตรีหลายคน ได้มีการกักตัวเองแล้ว ล่าสุด นายประทีป กีรติเรขา รองเลขานายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง ในฐานะ กรรมการและเลขานุการ ศบค. ซึ่งมาร่วมประชุมและทำงานที่ ศบค. อย่างต่อเนื่อง ได้กักตัวเพื่อสังเกตอาการแล้ว แม้จะไม่มีไข้ หรือ อาการป่วยที่เข้าข่ายก็ตาม
ขณะเดียวกันมีรายงานอีกว่า นายดิสทัต โหตระกิตย์ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้กักตัวสังเกตอาการที่บ้านมาแล้วกว่า 1 สัปดาห์ แต่ยังคงทำงานจากที่บ้านโดยตลอด สำหรับนายกรัฐมนตรี มีการตรวจร่างกาย และ วัดอุณหภูมิเป็นประจำ ยังคงมีสุขภาพแข็งแรงดี สามารถทำงานได้ตามปกติ
ประกาศเคอร์ฟิวทั่ว ปท. 4 ทุ่มถึงตี 4
ต่อมาเวลา 18.08 น. นายกฯได้แถลงผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ ประกาศข้อกำหนดใน พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ฉบับที่ 2 โดย ห้ามบุคคลออกนอกเคหะสถาน (เคอร์ฟิว : Curfew) ระหว่างเวลา 22.00 – 04.00 น. ทั่วประเทศ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 3 เม.ย.เป็นต้นไป จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง โดยผู้ฝ่าฝืนจะมีโทษตามกฎหมาย จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19
โดยยกเว้นแต่มีความจำเป็น หรือเป็นผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์ การธนาคาร การขนส่งสินค้าอุปโภคบริโภค ผลผลิตทางการเกษตร ยา เวชภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์ หนังสือพิมพ์ การขนส่งน้ำมันเชื้อเพลง การขนส่งพัสดุภัณฑ์ การขนส่งสินค้าเพื่อการนำเข้าหรือส่งออก การขนย้ายประชาชนไปสู่ที่เอกเทศเพื่อกักกันตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ การเข้าออกเวรทำงานผลัดการคืนตามปกติ หรือเดินทางมาจากหรือไปยังท่าอากาศยาน โดยมีเอกสาร รับรองความจำเป็นหรือเอกสารเกี่ยวกับสินค้าหรือการเดินทาง
ส่วนกรณีที่มีการประกาศหรือสั่ง ห้าม เตือนหรือแนะนำในลักษณะเดียวสำหรับจังหวัด พื้นที่หรือสถานที่ใดโดยกำหนดเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาที่เข้มงวดหรือเคร่งครัดกว่าข้อกำหนดนี้ ให้ปฏิบัติตามประกาศหรือคำสั่งนั้นต่อไป
สะพัดหากไม่ดีขึ้น-อาจบังคับ24ชม.
สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังที่ พล.อ.ประยุทธ์ ตัดสินใจประกาศเคอร์ฟิวทั่วประเทศ ในช่วงเวลา 22.00-04.00 น. เพื่อสกัดไวรัสโควิด-19 นั้น สาเหตุหลักเนื่องจากสถานการณ์ขณะนี้ จำนวนตัวเลขผู้ติดเชื้อยังไม่ลดลงและเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับพบว่าที่ผ่านมายังมีบางพื้นที่แอบจัดปาร์ตี้พบปะสังรรค์และมีสถานบันเทิงบางแห่งยังแอบเปิดให้บริการอยู่ รวมถึงกรณีวัยรุ่นที่ จ.เชียงใหม่ ที่ไม่สนคำเตือนของเจ้าหน้าที่ในการป้องกันโควิด-19 และมีการก่อกวนถึงโรงพยาบาลนครพิงค์ ตามที่ปรากฎเป็นข่าวไปแล้วนั้น ด้วยเหตุผลดังกล่าวเหล่านี้ทำให้นาบกฯ ต้องตัดสินใจยกระดับมาตรการเข้มข้น ทั้งนี้จะมีการประเมินผลภายในระยะเวลา 7 วัน หากยังไม่เกิดผลลัพธ์ในทางปฏิบัติ ก็อาจมีการยกระดับขั้นสูงสุดเป็นเคอร์ฟิว 24 ชั่วโมงต่อไป
วานนี้ (2เม.ย.) เมื่อเวลา 09.30 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) โดยย้ำให้ทุกหน่วยงานบูรณาการการทำงานร่วมกัน โดยไม่ขัดแย้ง และได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณามาตรการรองรับทางเศรษฐกิจอย่างรอบด้าน ไปจนถึงมาตรการเพื่อการฟื้นฟู ด้านการลงทุนต่างๆ ที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน
พล.อ.ประยุทธ์ ยังมอบหมายให้ทุกหน่วยงานทำความเข้าใจกับประชาชน ถึงกฎระเบียบ ขั้นตอน รายละเอียดปลีกย่อย ที่อาจเกิดผลกระทบต่อส่วนรวมได้ ในส่วนของผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรการของรัฐบาล ยังรวมกลุ่มสังสรรค์ ขอให้หน่วยงานที่บังคับใช้กฎหมายพิจารณาลงโทษอย่างจริงจัง เพื่อให้ประชาชนปฏิบัติตามมาตรการที่รัฐบาลกำหนด
ทั้งนี้นายกฯได้แจ้งเรื่องการยกระดับมาตรการในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพิ่มเติม โดยกำหนดเวลาเคอร์ฟิวห้ามเดินทางออกจากเคหสถานทั่วประเทศ ระหว่างเวลา 22.00-04.00 น. เริ่มตั้งแต่วันศุกร์นี้เป็นต้นไป ที่จะประกาศในช่วงเย็นวันเดียวกันให้ที่ประชุมรับทราบเบื้องต้นด้วย
สั่งชะลอเข้า ปท.ถึง 15 เม.ย.
สำหรับการเดินทางเข้าประเทศไทย นายกฯ สั่งการให้ชะลอการเดินทางจากต่างประเทศ จนถึง 15 เม.ย.เพื่อเตรียมพื้นที่ State Quarantine และเพื่อให้ทุกคนผ่านการประเมินทางสุขภาพอย่างครบถ้วน ในการเดินทาง ผู้เดินทางต้องมีเอกสารกรอกข้อมูลการเข้าประเทศ ผ่านการประเมินสุขภาพ มีเอกสาร fit to fly และสั่งการให้ ศบค. นำข้อมูลมาวิเคราะห์ วางแผนให้ถี่ถ้วน เพราะเมื่อเดินทางเข้าประเทศมาแล้ว จะต้องหามาตรการมาควบคุมให้รัดกุม แก้ปัญหาบุคคลเสี่ยงที่หายไประหว่างเดินทางไปยังสถานที่ Quarantine หรือที่พัก
ทั้งนี้ นายกฯแสดงความเข้าใจดีถึงความกังวลของนักเรียน นักศึกษา และผู้ปกครองที่อยากเดินทางกลับประเทศ จึงขอให้กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงมหาดไทยร่วมดูแล ให้มีแนวทางรองรับที่ชัดเจนเสียก่อน
เผยคนใกล้ตัวนายกฯทยอยกักตัว
จากกรณีพบผู้ปฏิบัติงานของ ศบค.ที่ทำเนียบรัฐบาล ติดเขื้อโควิด-19 ทำให้ผู้ใกล้ชิดนายกรัฐมนตรีหลายคน ได้มีการกักตัวเองแล้ว ล่าสุด นายประทีป กีรติเรขา รองเลขานายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง ในฐานะ กรรมการและเลขานุการ ศบค. ซึ่งมาร่วมประชุมและทำงานที่ ศบค. อย่างต่อเนื่อง ได้กักตัวเพื่อสังเกตอาการแล้ว แม้จะไม่มีไข้ หรือ อาการป่วยที่เข้าข่ายก็ตาม
ขณะเดียวกันมีรายงานอีกว่า นายดิสทัต โหตระกิตย์ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้กักตัวสังเกตอาการที่บ้านมาแล้วกว่า 1 สัปดาห์ แต่ยังคงทำงานจากที่บ้านโดยตลอด สำหรับนายกรัฐมนตรี มีการตรวจร่างกาย และ วัดอุณหภูมิเป็นประจำ ยังคงมีสุขภาพแข็งแรงดี สามารถทำงานได้ตามปกติ
ประกาศเคอร์ฟิวทั่ว ปท. 4 ทุ่มถึงตี 4
ต่อมาเวลา 18.08 น. นายกฯได้แถลงผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ ประกาศข้อกำหนดใน พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ฉบับที่ 2 โดย ห้ามบุคคลออกนอกเคหะสถาน (เคอร์ฟิว : Curfew) ระหว่างเวลา 22.00 – 04.00 น. ทั่วประเทศ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 3 เม.ย.เป็นต้นไป จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง โดยผู้ฝ่าฝืนจะมีโทษตามกฎหมาย จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19
โดยยกเว้นแต่มีความจำเป็น หรือเป็นผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์ การธนาคาร การขนส่งสินค้าอุปโภคบริโภค ผลผลิตทางการเกษตร ยา เวชภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์ หนังสือพิมพ์ การขนส่งน้ำมันเชื้อเพลง การขนส่งพัสดุภัณฑ์ การขนส่งสินค้าเพื่อการนำเข้าหรือส่งออก การขนย้ายประชาชนไปสู่ที่เอกเทศเพื่อกักกันตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ การเข้าออกเวรทำงานผลัดการคืนตามปกติ หรือเดินทางมาจากหรือไปยังท่าอากาศยาน โดยมีเอกสาร รับรองความจำเป็นหรือเอกสารเกี่ยวกับสินค้าหรือการเดินทาง
ส่วนกรณีที่มีการประกาศหรือสั่ง ห้าม เตือนหรือแนะนำในลักษณะเดียวสำหรับจังหวัด พื้นที่หรือสถานที่ใดโดยกำหนดเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาที่เข้มงวดหรือเคร่งครัดกว่าข้อกำหนดนี้ ให้ปฏิบัติตามประกาศหรือคำสั่งนั้นต่อไป
สะพัดหากไม่ดีขึ้น-อาจบังคับ24ชม.
สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังที่ พล.อ.ประยุทธ์ ตัดสินใจประกาศเคอร์ฟิวทั่วประเทศ ในช่วงเวลา 22.00-04.00 น. เพื่อสกัดไวรัสโควิด-19 นั้น สาเหตุหลักเนื่องจากสถานการณ์ขณะนี้ จำนวนตัวเลขผู้ติดเชื้อยังไม่ลดลงและเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับพบว่าที่ผ่านมายังมีบางพื้นที่แอบจัดปาร์ตี้พบปะสังรรค์และมีสถานบันเทิงบางแห่งยังแอบเปิดให้บริการอยู่ รวมถึงกรณีวัยรุ่นที่ จ.เชียงใหม่ ที่ไม่สนคำเตือนของเจ้าหน้าที่ในการป้องกันโควิด-19 และมีการก่อกวนถึงโรงพยาบาลนครพิงค์ ตามที่ปรากฎเป็นข่าวไปแล้วนั้น ด้วยเหตุผลดังกล่าวเหล่านี้ทำให้นาบกฯ ต้องตัดสินใจยกระดับมาตรการเข้มข้น ทั้งนี้จะมีการประเมินผลภายในระยะเวลา 7 วัน หากยังไม่เกิดผลลัพธ์ในทางปฏิบัติ ก็อาจมีการยกระดับขั้นสูงสุดเป็นเคอร์ฟิว 24 ชั่วโมงต่อไป