ผู้จัดการรายวัน360- “สนธิรัตน์” มั่นใจแหล่งก๊าซเอราวัณ-บงกช จะผลิตได้ต่อเนื่องโดยปตท.สผ.และพันธมิตรจะสามารถเข้าพื้นที่ได้ตามแผนหลังครม.ได้อนุมัติกรอบรื้อถอนแท่นปิโตรเลียมแหล่งเอราวัณ และบงกชแล้ว พร้อมลุ้นผู้ประกอบการแหล่งเอราวัณถอนฟ้องอนุญาโตตุลาการ
นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า การผลิตปิโตรเลียมในอ่าวไทยแหล่งเอราวัณ และบงกชที่จะสิ้นสุดสัมปทานปี 2565-66 มั่นใจว่าผู้ผลิตรายใหม่ซึ่งเป็นบมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม(ปตท.สผ.)และพันธมิตรที่ชนะการประมูลจะสามารถเข้าผลิตได้ต่อเนื่องได้ทันที ที่กำลังผลิตรวม 1,500 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันหลังจากที่คณะรัฐมนตรี(ครม.)วันที่ 24 มีนาคม 63เห็นชอบกรอบการส่งมอบสิ่งติดตั้งหรือแท่นผลิตปิโตรเลียมของแหล่งเอราวัณและบงกชตามที่คณะกรรมการปิโตรเลียมเสนอแล้ว
“ทั้งหมดเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่วางไว้ว่าจะต้องวางแนวทางล่วงหน้าก่อนหมดอายุสัมทานเป็นเวลา 2 ปี โดยหลังจากนี้ ทางผู้รับสัมปทานก็จะต้องทำแผนรายละเอียดการรื้อถอนเสนอมายัง กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ รวมทั้งเรื่องการวางหลักประกันตามที่กฏหมายกำหนด ซื่งทำให้การส่งมอบงานแก่ผู้ผลิตรายใหม่คือ บมจ. ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม หรือ ปตท.สผ.และพันธมิตร จะเป็นตามแผนและไม่ทำให้การผลิตสะดุด”นายสนธิรัตน์กล่าว
นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน และประธาน คณะกรรมการปิโตรเลียม กล่าวว่า ได้รายงาน ครม. แล้วถึงกรณีที่เชฟรอนฯในฐานะผู้ดำเนินการแหล่งเอราวัณแจ้งเรื่องการส่งมอบแท่นผลิตแก่รัฐในแหล่งเอราวัณ มี191 แท่น โดยรัฐจะเก็บไว้ใช้ประโยชน์ 142 แท่น และเชฟรอนต้องรื้อถอน 49 แท่น ส่วนแหล่งบงกชทาง ปตท.สผ.จะส่งมอบให้รัฐ 50 แท่น รัฐเก็บไว้ในประโยชน์ 46 แท่น และ ปตท.สผ.ต้องรื้อถอนราว 4 แท่น ซึ่งหลัง ครม.มีมติอย่างเป็นทางการแล้วกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ จะแจ้งแก่ ผู้ได้รับสัมปทานทั้ง 2 แหล่ง เพื่อปฎิบัติตามกฏหมายต่อไป
"เมื่อ ครม.อนุมัติกรอบการรื้อถอนแท่นปิโตรเลียมแล้ว และหารือเรื่องรายละเอียดของแผนรื้อถอน เสร็จสิ้น ก็เชื่อว่า ทางผู้ประกอบการแหล่งเอราวัณคงจะถอนฟ้อง อนุญาโตตุลาการแต่หากเจรจาไม่จบ ก็เตรียมขอใช้งบกลางฯ ในการว่าจ้างสำนักงานกฎหมาย450 ล้านบาท เพื่อเตรียมพร้อมต่อสู้ในการฟ้องร้องต่อไป "นายกุลิศ กล่าว
นายสราวุธ แก้วตาทิพย์ อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กล่าวว่า กรมฯเตรียมทำหนังสือถึง ผู้ประกอบการสัมปทานทั้ง2 แหล่งให้ทำแผนรายละเอียดการรื้อถอน ซึ่งจะมีวงเงินประมาณการค่าใช้จ่ายการรื้อถอน โดยทางกรมฯจะส่งให้บุคคลที่สาม เข้ามาประเมินมูลค่าการรื้อถอนทั้งแท่นและท่อต่างๆ เพื่อให้ได้ราคาที่เป็นธรรมต่อทุกฝ่ายจากนั้นต้องรายงาน ครม. อีกรอบ ซึ่งหากได้รับความเห็นชอบทั้งหมด แล้วจึงแจ้งให้ทางผู้ประกอบการรื้อถอนและต้องมาวางเงินหลักค้ำประกันภายใน 120 วัน โดยหากทุกอย่างราบรื่นคาดก็ต้องใช้เวลา 5-6 เดือน กระบวนการเริ่มรื้อถอนก็จะเร็วสุดภายในเดือนกันยายน2563
นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า การผลิตปิโตรเลียมในอ่าวไทยแหล่งเอราวัณ และบงกชที่จะสิ้นสุดสัมปทานปี 2565-66 มั่นใจว่าผู้ผลิตรายใหม่ซึ่งเป็นบมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม(ปตท.สผ.)และพันธมิตรที่ชนะการประมูลจะสามารถเข้าผลิตได้ต่อเนื่องได้ทันที ที่กำลังผลิตรวม 1,500 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันหลังจากที่คณะรัฐมนตรี(ครม.)วันที่ 24 มีนาคม 63เห็นชอบกรอบการส่งมอบสิ่งติดตั้งหรือแท่นผลิตปิโตรเลียมของแหล่งเอราวัณและบงกชตามที่คณะกรรมการปิโตรเลียมเสนอแล้ว
“ทั้งหมดเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่วางไว้ว่าจะต้องวางแนวทางล่วงหน้าก่อนหมดอายุสัมทานเป็นเวลา 2 ปี โดยหลังจากนี้ ทางผู้รับสัมปทานก็จะต้องทำแผนรายละเอียดการรื้อถอนเสนอมายัง กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ รวมทั้งเรื่องการวางหลักประกันตามที่กฏหมายกำหนด ซื่งทำให้การส่งมอบงานแก่ผู้ผลิตรายใหม่คือ บมจ. ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม หรือ ปตท.สผ.และพันธมิตร จะเป็นตามแผนและไม่ทำให้การผลิตสะดุด”นายสนธิรัตน์กล่าว
นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน และประธาน คณะกรรมการปิโตรเลียม กล่าวว่า ได้รายงาน ครม. แล้วถึงกรณีที่เชฟรอนฯในฐานะผู้ดำเนินการแหล่งเอราวัณแจ้งเรื่องการส่งมอบแท่นผลิตแก่รัฐในแหล่งเอราวัณ มี191 แท่น โดยรัฐจะเก็บไว้ใช้ประโยชน์ 142 แท่น และเชฟรอนต้องรื้อถอน 49 แท่น ส่วนแหล่งบงกชทาง ปตท.สผ.จะส่งมอบให้รัฐ 50 แท่น รัฐเก็บไว้ในประโยชน์ 46 แท่น และ ปตท.สผ.ต้องรื้อถอนราว 4 แท่น ซึ่งหลัง ครม.มีมติอย่างเป็นทางการแล้วกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ จะแจ้งแก่ ผู้ได้รับสัมปทานทั้ง 2 แหล่ง เพื่อปฎิบัติตามกฏหมายต่อไป
"เมื่อ ครม.อนุมัติกรอบการรื้อถอนแท่นปิโตรเลียมแล้ว และหารือเรื่องรายละเอียดของแผนรื้อถอน เสร็จสิ้น ก็เชื่อว่า ทางผู้ประกอบการแหล่งเอราวัณคงจะถอนฟ้อง อนุญาโตตุลาการแต่หากเจรจาไม่จบ ก็เตรียมขอใช้งบกลางฯ ในการว่าจ้างสำนักงานกฎหมาย450 ล้านบาท เพื่อเตรียมพร้อมต่อสู้ในการฟ้องร้องต่อไป "นายกุลิศ กล่าว
นายสราวุธ แก้วตาทิพย์ อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กล่าวว่า กรมฯเตรียมทำหนังสือถึง ผู้ประกอบการสัมปทานทั้ง2 แหล่งให้ทำแผนรายละเอียดการรื้อถอน ซึ่งจะมีวงเงินประมาณการค่าใช้จ่ายการรื้อถอน โดยทางกรมฯจะส่งให้บุคคลที่สาม เข้ามาประเมินมูลค่าการรื้อถอนทั้งแท่นและท่อต่างๆ เพื่อให้ได้ราคาที่เป็นธรรมต่อทุกฝ่ายจากนั้นต้องรายงาน ครม. อีกรอบ ซึ่งหากได้รับความเห็นชอบทั้งหมด แล้วจึงแจ้งให้ทางผู้ประกอบการรื้อถอนและต้องมาวางเงินหลักค้ำประกันภายใน 120 วัน โดยหากทุกอย่างราบรื่นคาดก็ต้องใช้เวลา 5-6 เดือน กระบวนการเริ่มรื้อถอนก็จะเร็วสุดภายในเดือนกันยายน2563