วานนี้ ( 24 มี.ค.) เพจเฟซบุ๊ก พรรคการเมืองดี การเมืองดี บ้านเมืองดี สร้างการเมืองที่ดีด้วยพลเมือง ซึ่งอยู่ในการดูแลของ สำนักกิจการพรรคการเมือง สำนักงาน กกต. ได้โพสต์ข้อความอธิบายถึงทางออกของพรรคการเมือง ที่สามารถจัดประชุมใหญ่ของพรรคในช่วงเดือนเม.ย. เนื่องจากมีการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด 19 โดยสาระสำคัญระบุว่า ตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง 2560 มาตรา 37 มาตรา 43 และ มาตรา 61 กำหนดให้พรรคการเมืองต้องจัดประชุมใหญ่อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อรับรองรายงานการดำเนินกิจการของพรรคการเมืองประจำปี และรับรองงบการเงินของพรรคที่ต้องจัดทำภายในเดือนเมษายนของทุกปี กรณีพรรคการเมืองประชุมใหญ่ภายเดือนเมษายนนี้ หรือใน 1 ปีไม่ได้ หากมีเหตุอันอ้างได้ตามกฎหมาย มาตรา 91(4) ก็ไม่มีโทษทางอาญา แต่จะมีผลต่อการดํารงอยู่ของพรรคการเมือง ลักษณะเดียวกับการมีสมาชิกเหลือไม่ถึง 5,000 คน ติดต่อกันเกิน 90 วัน หรือมีจํานวนสาขาเหลือไม่ถึงภาคละ 1 สาขา เป็นระยะติดต่อกัน 1 ปี ก็อาจมีผลทําให้สิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมือง
แต่หากพรรคการเมืองไม่จัดประชุมใหญ่ภายใน 1 ปี โดยไม่มีเหตุอันอ้างได้ตามกฎหมายพรรคการเมือง ก็ต้องสิ้นสภาพตาม มาตรา 91(4) ขณะที่หัวหน้าพรรค มาตรา 43 และ มาตรา 61 กำหนดให้ต้องจัดทำรายงานการดำเนินการของพรรคในรอบปี เพื่อเสนอที่ประชุมใหญ่พรรคในเดือนเม.ย. และเสนองบการเงินที่ผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาตตรวจสอบ และรับรองแล้วต่อที่ประชุมใหญ่ของพรรคที่ต้องจัดขึ้นในเดือนเม.ย. หากไม่ดำเนินการกฎหมายกำหนดโทษอาญาไว้เฉพาะตัวหัวหน้าพรรคต้องรับโทษตาม มาตรา 106 คือ ปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท และปรับวันละ 1 พันบาท จนกว่าจะดำเนินการให้ถูกต้อง
นอกจากนี้ หลังการประชุมใหญ่แล้ว กฎหมายก็กำหนดให้หัวหน้าพรรคต้องมีหนังสือแจ้งผลของการประชุมใหญ่ กรณีเป็นประชุมเปลี่ยนแปลงคำประกาศอุดมการณ์ ข้อบังคับพรรค คณะกรรมการบริหารพรรค ต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองภายใน 15 วัน และกรณีส่งรายการดำเนินกิจการของพรรค และงบการเงินที่ที่ประชุมใหญ่อนุมัติต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองภายใน 30 วัน หากไม่ดำเนินการก็จะมีโทษตามมาตรา 106 เช่นกัน
"กรณีจัดประชุมใหญ่ภายในเดือนเม.ย.ไม่ได้ ขึ้นกับข้อเท็จจริงเป็นกรณีๆไป ถ้าไม่มีเหตุอันจะอ้างตามกฎหมาย กรณีนี้หัวหน้าพรรคต้องรับผิดอาญา ตามมาตรา 106 แต่ถ้ามีเหตุอ้างได้ตามกฎหมาย หัวหน้าพรรค ก็ไม่ต้องรับผิดทางอาญาแต่อย่างใด ดังนั้นพรรคการเมืองหรือหัวหน้าพรรคการเมืองอาจจัดประชุมใหญ่เพื่ออนุมัติรายงานการดําเนินกิจการทางการเมืองตามมาตรา 43 และงบการเงินตามมาตรา 61 หลังเดือนเมษายนได้โดยไมมีโทษ ถ้ามีเหตุอันจะอ้างได้ตามกฎหมาย"
แต่หากพรรคการเมืองไม่จัดประชุมใหญ่ภายใน 1 ปี โดยไม่มีเหตุอันอ้างได้ตามกฎหมายพรรคการเมือง ก็ต้องสิ้นสภาพตาม มาตรา 91(4) ขณะที่หัวหน้าพรรค มาตรา 43 และ มาตรา 61 กำหนดให้ต้องจัดทำรายงานการดำเนินการของพรรคในรอบปี เพื่อเสนอที่ประชุมใหญ่พรรคในเดือนเม.ย. และเสนองบการเงินที่ผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาตตรวจสอบ และรับรองแล้วต่อที่ประชุมใหญ่ของพรรคที่ต้องจัดขึ้นในเดือนเม.ย. หากไม่ดำเนินการกฎหมายกำหนดโทษอาญาไว้เฉพาะตัวหัวหน้าพรรคต้องรับโทษตาม มาตรา 106 คือ ปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท และปรับวันละ 1 พันบาท จนกว่าจะดำเนินการให้ถูกต้อง
นอกจากนี้ หลังการประชุมใหญ่แล้ว กฎหมายก็กำหนดให้หัวหน้าพรรคต้องมีหนังสือแจ้งผลของการประชุมใหญ่ กรณีเป็นประชุมเปลี่ยนแปลงคำประกาศอุดมการณ์ ข้อบังคับพรรค คณะกรรมการบริหารพรรค ต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองภายใน 15 วัน และกรณีส่งรายการดำเนินกิจการของพรรค และงบการเงินที่ที่ประชุมใหญ่อนุมัติต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองภายใน 30 วัน หากไม่ดำเนินการก็จะมีโทษตามมาตรา 106 เช่นกัน
"กรณีจัดประชุมใหญ่ภายในเดือนเม.ย.ไม่ได้ ขึ้นกับข้อเท็จจริงเป็นกรณีๆไป ถ้าไม่มีเหตุอันจะอ้างตามกฎหมาย กรณีนี้หัวหน้าพรรคต้องรับผิดอาญา ตามมาตรา 106 แต่ถ้ามีเหตุอ้างได้ตามกฎหมาย หัวหน้าพรรค ก็ไม่ต้องรับผิดทางอาญาแต่อย่างใด ดังนั้นพรรคการเมืองหรือหัวหน้าพรรคการเมืองอาจจัดประชุมใหญ่เพื่ออนุมัติรายงานการดําเนินกิจการทางการเมืองตามมาตรา 43 และงบการเงินตามมาตรา 61 หลังเดือนเมษายนได้โดยไมมีโทษ ถ้ามีเหตุอันจะอ้างได้ตามกฎหมาย"