นายกฯ หารือ “ขุนพลอาจารย์หมอ” ทั่วประเทศรับมือวิกฤตโควิด-19 “แพทยสภา” เผย “บิ๊กตู่” รับข้อเสนอแนะ เชื่อมีมาตรการเพิ่ม ด้าน “ปลัด สธ.” ระบุ เครือ รพ.กรุงเทพบริจาคเครื่องเพิ่ม 200 ชุด สธ.วอนอย่าโจมตี ยันมี “ยา–หมอ” เพียงพอ “ปลัดคมนาคม” ย้ำระบบคัดกรองสุวรรณภูมิเข้ม ไม่มีทางเล็ดรอดแน่ หลังหนุ่มกลับจากสเปนโพสต์เดินเข้าประเทศฉลุย เพจดังชี้เป็นรูปเก่าเมื่อ 2 ปีก่อน “โฆษกรัฐบาล” เผยเข้มมาตรการเข้าไทย ทุกประเทศต้องมีใบรับรองแพทย์
วานนี้ (19 มี.ค.) เวลา 16.00 น. ที่ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้เรียกประชุมติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 โดยมี พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย, นายอนุทิน ชาญวีรกูล รมว.สาธารณสุข, นพ.ปิยสกล สกลสัตยาธร อดีต รมว.สาธารณสุข และอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล, นพ.สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข, นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค, ศ.พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ นายกแพทยสภา, นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา คณบดีคณะแพทย์ศาสตร์ รพ.รามาธิบดี, นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล, นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ คณบดีคณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, นพ.อิทธพร คณะเจริญ เลขาธิการแพทยสภา พร้อมคณบดีคณะแพทยศาสตร์จากหลายมหาวิทยาลัย ร่วมหารือ
ภายหลังการประชุม ศ.พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ นายกแพทยสภา เปิดเผยว่า นายกฯได้รับฟังข้อเสนอแนะของเหล่าคณบดีคณะแพทยศาสตร์จากหลายมหาวิทยาลัยต่างๆ ซึ่งโดยหลักจะมีมาตรการเพิ่มเติมออกมา โดยให้ฟังรายละเอียดความชัดเจนจากนายกฯต่อไป
ด้าน นพ.สุขุม กล่าวว่า วันนี้เราพูดคุยกันถึงเรื่องของเทคโนโลยีใหม่เพื่อดูแลผู้ป่วยให้มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้นในเวลาที่ต้องกักตัวเองอยู่ที่บ้าน รวมทั้งหารือร่วมกันวนการดูแลผู้ป่วยให้ได้คุณภาพ โดยการร่วมมือระหว่างคณบดีคณะแพทยศาสตร์ของมหาวิทยาลัยต่างๆ โดยในวันที่ 21 มี.ค.นี้ จะมีการพูดคุยกันอีกครั้งในเรื่องของมาตรการเพิ่มเติมต่างๆ
“วันนี้เราจะมีการใช้เครื่องมือใหม่สำหรับการช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยซึ่งต้องมาศึกษาวิจัย โดยเครื่องมือเหล่านี้ได้รับการบริจาคจากเครือโรงพยาบาลกรุงเทพ จำนวน 200 ชุด เป็นเครื่องมือในลักษณะการวัดความดัน ดูลิ้น วัดคลื่นหัวใจ วัดชีพจร วัดไข้ ส่วนจะกระจายไปยังโรงพยาบาลต่างๆอย่างไร จะมีการพูดคุยกันอีกครั้ง” นพ.สุขุม ระบุ
ทั้งนี้รายงานข่าวแจ้งว่า การหารือครั้งนี้ เป็นการหารือความร่วมมือกันระหว่างคณะแพทย์ต่างๆ ทำงานร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข เพื่อควบคุมสถานการณ์โรคระบาดให้มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ที่ประชุมไม่ได้พูดคุยกันถึงขั้นจะยกระดับการแพร่ระบาดเป็นระยะที่ 3 แต่อย่างใด
ที่ศูนย์ข้อมูลโควิด –19 ภายใต้ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 ทำเนียบรัฐบาล นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ โฆษกกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงกรณีที่มีการโจมตีว่า ประเทศไทยมียาไม่เพียงพอว่า ขอชี้แจงว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่ต้องใช้ยามาก กรณีที่ใช้ยาจะเป็นผู้ป่วยที่มีอาการปานกลางถึงหนักมาก โดยจะใช้ 70 เม็ดต่อ/คน ตอนนี้เราเตรียมการไว้แล้ว 2 แสนเม็ด และจะเร่งผลิตเพิ่มอีก ส่วนที่ระบุว่าเตียงผู้ป่วยไม่เพียงพอนั้น ก็ต้องเรียนว่า ผู้ป่วยหนักเท่านั้นที่ต้องอยู่ห้องพิเศษ หรือ ไอซียู ส่วนคนที่อาการเบา สามารถอยู่โรงพยาบาลเฉพาะกิจได้
“ที่โจมตีว่า มีหมอเฉพาะทางไม่กี่คนนั้น ประเทศไทยมีโรงเรียนแพทย์ ผู้จบออกมา ถ้าไม่มีความเชี่ยวชาญด้านนั้นๆ สามารถปรึกษาอาจารย์หมอได้ อีกทั้งเทคโนโลยีปัจจุบันสามารถถ่ายภาพเอกซเรย์จากจอมอนิเตอร์ เพื่อขอคำแนะนำได้ ขอให้มั่นใจบุคลากรทางการแพทย์ของเรา และขอความกรุณา วันนี้บุคลากรทางการแพทย์เหนื่อยล้ากันมาก เพราะนอกจากเรื่องโควิด-19 ยังต้องรักษาประชาชนในเรื่องอื่นๆ ด้วย แต่เราจะพยายามทำให้ดีที่สุด” นพ.รุ่งเรือง กล่าว
ขณะที่ นายชัยวัฒน์ ทองคําคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม แถลงถึง กรณีที่โซเชียลฯ เผยแพร่ว่ามีนักท่องเที่ยวที่เดินทางกลับจากสเปน ออกมาระบุว่า กลับมาถึงสนามบินสุวรรณภูมิ พอรอรับกระเป๋าแล้ว สามารถเดินออกจากสนามบินโดยไม่ถูกคัดกรองนั้น ยืนยันว่า มาตรการตรวจคัดกรองที่สนามบินสุวรรณภูมิ มีเครื่องเทอร์โมสแกน มีความเข้มข้นมาก มีจุดคัดกรองถึง 5 จุด เป็นเครื่องมือที่มีคุณภาพ ไม่มีเล็ดลอดแน่นอน ส่วนกรณีพนักงานทำความสะอาด ที่เป็นลมที่สนามบินสุวรรณภูมิ เมื่อวันที่ 18 มี.ค.นั้น มีการนำตัวส่ง รพ.ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยการตรวจสอบจากแล็บได้ผลออกมาว่า ไม่มีเชื้อโควิด-19 แน่นอน และขณะนี้ ได้ให้การดูแลพนักงานดังกล่าวแล้ว เพื่อให้มีสุขภาพแข็งแรงเหมือนเดิม
ด้าน “Drama-addict” ได้ตั้งข้อสังเกตว่าภาพดังกล่าวที่ชายหนุ่มนำไปโพสต์นั้น เป็นภาพเก่าจากสำนักข่าวแห่งหนึ่งเมื่อ 2 ปีก่อน
นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวเสริมว่า ขณะนี้ได้มีการยกระดับมาตรการเข้าประเทศไทย จากเดิมกำหนด 4 ประเทศเสี่ยง และ 2 เขตปกครองพิเศษ ต้องมีใบรับรองแพทย์ก่อนเข้าประเทศไทย ตอนนี้ขยายว่าทุกประเทศที่จะเดินทางมา มาตรการจะเข้มข้นมาก ต้องมีใบรับรองแพทย์ เพื่อยืนยันว่าไม่มีเชื้อไวรัสโควิด-19 และใบรับรองต้องมีอายุไม่เกิน 3 วัน ต้องซื้อประกันสุขภาพ รวมไปถึงเมื่อมาถึงประเทศไทยแล้ว ต้องเข้ากระบวนการกักกัน ดูแล เฝ้าระวัง ตามระเบียบของกระทรวงสาธารณสุข.
ดังนั้น เมื่อยกระดับแล้วทุกประเทศแทบจะเข้ามาไม่ได้เลย ส่วนคนไทยที่เดินทางกลับนั้นจะมีทีมไทยแลนด์ เข้าประสานในการออกใบรับรองแพทย์ แต่ก็ต้องเข้ากระบวนการคัดกรอง และกักตัว 14 วัน
วานนี้ (19 มี.ค.) เวลา 16.00 น. ที่ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้เรียกประชุมติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 โดยมี พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย, นายอนุทิน ชาญวีรกูล รมว.สาธารณสุข, นพ.ปิยสกล สกลสัตยาธร อดีต รมว.สาธารณสุข และอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล, นพ.สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข, นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค, ศ.พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ นายกแพทยสภา, นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา คณบดีคณะแพทย์ศาสตร์ รพ.รามาธิบดี, นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล, นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ คณบดีคณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, นพ.อิทธพร คณะเจริญ เลขาธิการแพทยสภา พร้อมคณบดีคณะแพทยศาสตร์จากหลายมหาวิทยาลัย ร่วมหารือ
ภายหลังการประชุม ศ.พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ นายกแพทยสภา เปิดเผยว่า นายกฯได้รับฟังข้อเสนอแนะของเหล่าคณบดีคณะแพทยศาสตร์จากหลายมหาวิทยาลัยต่างๆ ซึ่งโดยหลักจะมีมาตรการเพิ่มเติมออกมา โดยให้ฟังรายละเอียดความชัดเจนจากนายกฯต่อไป
ด้าน นพ.สุขุม กล่าวว่า วันนี้เราพูดคุยกันถึงเรื่องของเทคโนโลยีใหม่เพื่อดูแลผู้ป่วยให้มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้นในเวลาที่ต้องกักตัวเองอยู่ที่บ้าน รวมทั้งหารือร่วมกันวนการดูแลผู้ป่วยให้ได้คุณภาพ โดยการร่วมมือระหว่างคณบดีคณะแพทยศาสตร์ของมหาวิทยาลัยต่างๆ โดยในวันที่ 21 มี.ค.นี้ จะมีการพูดคุยกันอีกครั้งในเรื่องของมาตรการเพิ่มเติมต่างๆ
“วันนี้เราจะมีการใช้เครื่องมือใหม่สำหรับการช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยซึ่งต้องมาศึกษาวิจัย โดยเครื่องมือเหล่านี้ได้รับการบริจาคจากเครือโรงพยาบาลกรุงเทพ จำนวน 200 ชุด เป็นเครื่องมือในลักษณะการวัดความดัน ดูลิ้น วัดคลื่นหัวใจ วัดชีพจร วัดไข้ ส่วนจะกระจายไปยังโรงพยาบาลต่างๆอย่างไร จะมีการพูดคุยกันอีกครั้ง” นพ.สุขุม ระบุ
ทั้งนี้รายงานข่าวแจ้งว่า การหารือครั้งนี้ เป็นการหารือความร่วมมือกันระหว่างคณะแพทย์ต่างๆ ทำงานร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข เพื่อควบคุมสถานการณ์โรคระบาดให้มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ที่ประชุมไม่ได้พูดคุยกันถึงขั้นจะยกระดับการแพร่ระบาดเป็นระยะที่ 3 แต่อย่างใด
ที่ศูนย์ข้อมูลโควิด –19 ภายใต้ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 ทำเนียบรัฐบาล นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ โฆษกกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงกรณีที่มีการโจมตีว่า ประเทศไทยมียาไม่เพียงพอว่า ขอชี้แจงว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่ต้องใช้ยามาก กรณีที่ใช้ยาจะเป็นผู้ป่วยที่มีอาการปานกลางถึงหนักมาก โดยจะใช้ 70 เม็ดต่อ/คน ตอนนี้เราเตรียมการไว้แล้ว 2 แสนเม็ด และจะเร่งผลิตเพิ่มอีก ส่วนที่ระบุว่าเตียงผู้ป่วยไม่เพียงพอนั้น ก็ต้องเรียนว่า ผู้ป่วยหนักเท่านั้นที่ต้องอยู่ห้องพิเศษ หรือ ไอซียู ส่วนคนที่อาการเบา สามารถอยู่โรงพยาบาลเฉพาะกิจได้
“ที่โจมตีว่า มีหมอเฉพาะทางไม่กี่คนนั้น ประเทศไทยมีโรงเรียนแพทย์ ผู้จบออกมา ถ้าไม่มีความเชี่ยวชาญด้านนั้นๆ สามารถปรึกษาอาจารย์หมอได้ อีกทั้งเทคโนโลยีปัจจุบันสามารถถ่ายภาพเอกซเรย์จากจอมอนิเตอร์ เพื่อขอคำแนะนำได้ ขอให้มั่นใจบุคลากรทางการแพทย์ของเรา และขอความกรุณา วันนี้บุคลากรทางการแพทย์เหนื่อยล้ากันมาก เพราะนอกจากเรื่องโควิด-19 ยังต้องรักษาประชาชนในเรื่องอื่นๆ ด้วย แต่เราจะพยายามทำให้ดีที่สุด” นพ.รุ่งเรือง กล่าว
ขณะที่ นายชัยวัฒน์ ทองคําคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม แถลงถึง กรณีที่โซเชียลฯ เผยแพร่ว่ามีนักท่องเที่ยวที่เดินทางกลับจากสเปน ออกมาระบุว่า กลับมาถึงสนามบินสุวรรณภูมิ พอรอรับกระเป๋าแล้ว สามารถเดินออกจากสนามบินโดยไม่ถูกคัดกรองนั้น ยืนยันว่า มาตรการตรวจคัดกรองที่สนามบินสุวรรณภูมิ มีเครื่องเทอร์โมสแกน มีความเข้มข้นมาก มีจุดคัดกรองถึง 5 จุด เป็นเครื่องมือที่มีคุณภาพ ไม่มีเล็ดลอดแน่นอน ส่วนกรณีพนักงานทำความสะอาด ที่เป็นลมที่สนามบินสุวรรณภูมิ เมื่อวันที่ 18 มี.ค.นั้น มีการนำตัวส่ง รพ.ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยการตรวจสอบจากแล็บได้ผลออกมาว่า ไม่มีเชื้อโควิด-19 แน่นอน และขณะนี้ ได้ให้การดูแลพนักงานดังกล่าวแล้ว เพื่อให้มีสุขภาพแข็งแรงเหมือนเดิม
ด้าน “Drama-addict” ได้ตั้งข้อสังเกตว่าภาพดังกล่าวที่ชายหนุ่มนำไปโพสต์นั้น เป็นภาพเก่าจากสำนักข่าวแห่งหนึ่งเมื่อ 2 ปีก่อน
นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวเสริมว่า ขณะนี้ได้มีการยกระดับมาตรการเข้าประเทศไทย จากเดิมกำหนด 4 ประเทศเสี่ยง และ 2 เขตปกครองพิเศษ ต้องมีใบรับรองแพทย์ก่อนเข้าประเทศไทย ตอนนี้ขยายว่าทุกประเทศที่จะเดินทางมา มาตรการจะเข้มข้นมาก ต้องมีใบรับรองแพทย์ เพื่อยืนยันว่าไม่มีเชื้อไวรัสโควิด-19 และใบรับรองต้องมีอายุไม่เกิน 3 วัน ต้องซื้อประกันสุขภาพ รวมไปถึงเมื่อมาถึงประเทศไทยแล้ว ต้องเข้ากระบวนการกักกัน ดูแล เฝ้าระวัง ตามระเบียบของกระทรวงสาธารณสุข.
ดังนั้น เมื่อยกระดับแล้วทุกประเทศแทบจะเข้ามาไม่ได้เลย ส่วนคนไทยที่เดินทางกลับนั้นจะมีทีมไทยแลนด์ เข้าประสานในการออกใบรับรองแพทย์ แต่ก็ต้องเข้ากระบวนการคัดกรอง และกักตัว 14 วัน