ผู้จัดการรายวัน 360 - ตลาดหลักทรัพย์ฯ ปรับเกณฑ์ "ซิลลิ่ง-ฟลอร์" และ "เซอร์กิต เบรกเกอร์" ใหม่ชั่วคราว หวังพยุงให้ดัชนีตลาดหุ้นปรับตัวช้าลง แต่ยืนยันไม่ประกาศปิดตลาดหุ้น โดยลดเกณฑ์ซิลลิ่ง-ฟลอร์ เหลือ 15% จากเดิม 30% ขณะที่ "เซอร์กิต เบรกเกอร์" แบ่งเป็น 3 ระดับ ระดับแรกหากดัชนีลดเกิน 8% หยุดซื้อขาย 30 นาที ด้านดัชนีตลาดหุ้นร่วงต่อ 10 จุด
นายภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) แถลงว่า ตลท.ได้ตัดสินใจปรับหลักเกณฑ์การขึ้นลงของราคาหลักทรัพย์สูงสุดและต่ำสุดในแต่ละวัน (ซีลลิ่ง-ฟลอร์) ในตลาดหลักทรัพย์ (SET) สำหรับหุ้น / หน่วยลงทุน / ใบสำคัญแสดงสิทธิจะซื้อหุ้นสามัญ (วอร์แรนต์)/ DW / ETF / TSR / DR จากเดิม บวก/ลบ 30% เป็น บวก/ลบ 15% ส่วน Foreign share จากเดิมบวก/ลบ 60% เป็น บวก/ลบ 30% ขณะที่ตลาดซื้อขายล่วงหน้า จากเดิม บวก/ลบ 30% เป็น บวก/ลบ 15%
พร้อมกันนั้น จะปรับเกณฑ์มาตรการหยุดพักการซื้อขายหลักทรัพย์ชั่วคราว (เซอร์กิต เบรกเกอร์) ระดับที่ 1 จากลดลง 10% จะหยุดพักการซื้อขาย 30 นาที เป็น 8% หยุดพักการซื้อขาย 30 นาที ระดับที่ 2 จากลดลง 20% จะหยุดพักการซื้อขาย 60 นาที เป็น 15% หยุดพักการซื้อขาย 30 นาที และเพิ่มระดับที่ 3 ลดลง 20% จะหยุดพักการซื้อขาย 60 นาที
ทั้งนี้ การปรับเกณฑ์ทั้งสองมาตรการจะมีผลชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 18 มี.ค.จนถึงไม่เกิน 30 มิ.ย.63
นายภากร กล่าวว่า วานนี้ (17 มี.ค.) ดัชนีตลาดหุ้นไทยปิดตัวที่ 1,035.17 จุด หรือลดลง 1% ส่วนตลาดอื่นๆในภูมิภาคปรับตัวลดลง มีทั้งปรับตัวลดลงมาก และปรับตัวลดลงน้อย โดยมีบางตลาดหุ้นเท่านั้นที่ปรับตัวขึ้น จากความผันผวนที่มีค่อนข้างมากและต่อเนื่องของตลาดหุ้นของสหรัฐและตลาดหุ้นในสหภาพยุโรป โดยเฉพาะในช่วงของตลาดหุ้นไทยที่ปิดทำการ
"แม้ช่วงที่ผ่านมา ตลท.ได้ปรับเกณฑ์การขายชอร์ตเพื่อใช้เป็นการชั่วคราวแล้ว ยังพบว่าความผันผวนยังมีค่อนข้างมากอยู่ ดังนั้นจึงได้ปรับเกณฑ์เพิ่มเติมในอีก 2 ส่วน ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยให้การปรับตัวลงของดัชนีตลาดหุ้นไทยช้าลง และทำให้นักลงทุนมีเวลาคิด ทบทวน และรับข่าวสารใหม่ๆ แต่ทั้งนี้ยังยืนยันจะไม่มีการปิดตลาดหุ้นไทย" นายภากร กล่าว
ขณะที่ภาพรวมตลาดหุ้นไทย วานนี้ (10 มี.ค. ดัชนีตลาดหุ้นค่อนข้างผันผวน จากความกังวลการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยมีจุดต่ำสุดที่ 1,035.16 จุด สูงสุด 1,068.85 จุด ก่อนจะปิดการซื้อขายที่ 1,035.17 จุด ลดลงจากวันก่อน 10.91 จุด หรือเปลี่ยนแปลง 1.04% มูลค่าการซื้อขาย 67,129.99 ล้านบาท นักลงทุนต่างชาติ ยังคงขายสุทธิ 5,426.91 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันในประเทศ ซื้อสุทธิ 2,702.02 ล้านบาท บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ซื้อสุทธิ 1,296.45 ล้านบาท และนักลงทุนในประเทศซื้อสุทธิ 1,428.44 ล้านบาท
นายภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) แถลงว่า ตลท.ได้ตัดสินใจปรับหลักเกณฑ์การขึ้นลงของราคาหลักทรัพย์สูงสุดและต่ำสุดในแต่ละวัน (ซีลลิ่ง-ฟลอร์) ในตลาดหลักทรัพย์ (SET) สำหรับหุ้น / หน่วยลงทุน / ใบสำคัญแสดงสิทธิจะซื้อหุ้นสามัญ (วอร์แรนต์)/ DW / ETF / TSR / DR จากเดิม บวก/ลบ 30% เป็น บวก/ลบ 15% ส่วน Foreign share จากเดิมบวก/ลบ 60% เป็น บวก/ลบ 30% ขณะที่ตลาดซื้อขายล่วงหน้า จากเดิม บวก/ลบ 30% เป็น บวก/ลบ 15%
พร้อมกันนั้น จะปรับเกณฑ์มาตรการหยุดพักการซื้อขายหลักทรัพย์ชั่วคราว (เซอร์กิต เบรกเกอร์) ระดับที่ 1 จากลดลง 10% จะหยุดพักการซื้อขาย 30 นาที เป็น 8% หยุดพักการซื้อขาย 30 นาที ระดับที่ 2 จากลดลง 20% จะหยุดพักการซื้อขาย 60 นาที เป็น 15% หยุดพักการซื้อขาย 30 นาที และเพิ่มระดับที่ 3 ลดลง 20% จะหยุดพักการซื้อขาย 60 นาที
ทั้งนี้ การปรับเกณฑ์ทั้งสองมาตรการจะมีผลชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 18 มี.ค.จนถึงไม่เกิน 30 มิ.ย.63
นายภากร กล่าวว่า วานนี้ (17 มี.ค.) ดัชนีตลาดหุ้นไทยปิดตัวที่ 1,035.17 จุด หรือลดลง 1% ส่วนตลาดอื่นๆในภูมิภาคปรับตัวลดลง มีทั้งปรับตัวลดลงมาก และปรับตัวลดลงน้อย โดยมีบางตลาดหุ้นเท่านั้นที่ปรับตัวขึ้น จากความผันผวนที่มีค่อนข้างมากและต่อเนื่องของตลาดหุ้นของสหรัฐและตลาดหุ้นในสหภาพยุโรป โดยเฉพาะในช่วงของตลาดหุ้นไทยที่ปิดทำการ
"แม้ช่วงที่ผ่านมา ตลท.ได้ปรับเกณฑ์การขายชอร์ตเพื่อใช้เป็นการชั่วคราวแล้ว ยังพบว่าความผันผวนยังมีค่อนข้างมากอยู่ ดังนั้นจึงได้ปรับเกณฑ์เพิ่มเติมในอีก 2 ส่วน ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยให้การปรับตัวลงของดัชนีตลาดหุ้นไทยช้าลง และทำให้นักลงทุนมีเวลาคิด ทบทวน และรับข่าวสารใหม่ๆ แต่ทั้งนี้ยังยืนยันจะไม่มีการปิดตลาดหุ้นไทย" นายภากร กล่าว
ขณะที่ภาพรวมตลาดหุ้นไทย วานนี้ (10 มี.ค. ดัชนีตลาดหุ้นค่อนข้างผันผวน จากความกังวลการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยมีจุดต่ำสุดที่ 1,035.16 จุด สูงสุด 1,068.85 จุด ก่อนจะปิดการซื้อขายที่ 1,035.17 จุด ลดลงจากวันก่อน 10.91 จุด หรือเปลี่ยนแปลง 1.04% มูลค่าการซื้อขาย 67,129.99 ล้านบาท นักลงทุนต่างชาติ ยังคงขายสุทธิ 5,426.91 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันในประเทศ ซื้อสุทธิ 2,702.02 ล้านบาท บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ซื้อสุทธิ 1,296.45 ล้านบาท และนักลงทุนในประเทศซื้อสุทธิ 1,428.44 ล้านบาท