นายนิยม เติมศรีสุข เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) กล่าวถึงความคืบหน้าในการปลดกระท่อมพ้นบัญชียาเสพติดว่า ขณะนี้ ร่างกฎหมายอยู่ระหว่างการเตรียมนำเข้าครม.เพื่อพิจารณา ในวันที่10 มี.ค.หากเป็นไปตามกระบวนการ ไม่ติดขัด คาดว่าจะแล้วเสร็จเดือนมิ.ย.นี้
ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าว เป็นไปตามนโยบายการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ของนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.ยุติธรรม ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ เพราะเห็นว่าไม่เป็นอาชญากรรมร้ายแรง เพื่อลดภาระของทางรัฐบาลทั้งในด้านงบประมาณและการบังคับใช้กฎหมาย
สำหรับเหตุผลที่เสนอในร่างกฎหมาย เพื่อปลดกระท่มอพ้นบัญชียาเสพติดนั้น ระบุว่า พืชกระท่อมเป็นพืชสมุนไพรไทยที่ใช้ในวิถีชาวบ้านมาอย่างยาวนาน จากการศึกษาวิจัยพบว่าแม้กระท่อม จะมีผลกระทบต่อร่างกายแต่ก็ไม่มาก ในทางกลับกันก็มีประโยชน์ในทางการแพทย์ โดยเฉพาะสารสำคัญในกระท่อม ที่เรียกว่า “ไมตราเจนีน”ซึ่งออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง มีคุณสมบัติบรรเทาอาการปวด และสามารถนำมาสร้างมูลค่าในเชิงเศรษฐกิจได้
นอกจากนี้ในระดับสากล ประเทศส่วนใหญ่ ก็ไม่ได้กำหนดให้พืชกระท่อมเป็นยาเสพติดให้โทษ ดังนั้นหากถอดพืชกระท่อมออกจากความเป็นยาเสพติดให้โทษ จะสามารถส่งเสริมการศึกษาวิจัย และการใช้ประโยชน์ได้มากยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม หากมีการนำพืชกระท่อมไปผสมกับยาเสพติด หรือวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทชนิดอื่น ก็อาจมีความผิดฐานผลิตยาเสพติด หรือวัตถุออกฤทธิ์ และเมื่อเสพสารผสมนั้นเข้าสู่ร่างกาย ก็มีความผิดฐานเสพยาเสพติด หรือวัตถุออกฤทธิ์เช่นกัน รวมทั้งการนำไปทำเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่าย ก็ยังคงถูกควบคุม โดยต้องได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เท่านั้น ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น พ.ร.บ.ผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ.2562 พ.ร.บ.เครื่องสำอาง 2558 เป็นต้น
ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าว เป็นไปตามนโยบายการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ของนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.ยุติธรรม ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ เพราะเห็นว่าไม่เป็นอาชญากรรมร้ายแรง เพื่อลดภาระของทางรัฐบาลทั้งในด้านงบประมาณและการบังคับใช้กฎหมาย
สำหรับเหตุผลที่เสนอในร่างกฎหมาย เพื่อปลดกระท่มอพ้นบัญชียาเสพติดนั้น ระบุว่า พืชกระท่อมเป็นพืชสมุนไพรไทยที่ใช้ในวิถีชาวบ้านมาอย่างยาวนาน จากการศึกษาวิจัยพบว่าแม้กระท่อม จะมีผลกระทบต่อร่างกายแต่ก็ไม่มาก ในทางกลับกันก็มีประโยชน์ในทางการแพทย์ โดยเฉพาะสารสำคัญในกระท่อม ที่เรียกว่า “ไมตราเจนีน”ซึ่งออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง มีคุณสมบัติบรรเทาอาการปวด และสามารถนำมาสร้างมูลค่าในเชิงเศรษฐกิจได้
นอกจากนี้ในระดับสากล ประเทศส่วนใหญ่ ก็ไม่ได้กำหนดให้พืชกระท่อมเป็นยาเสพติดให้โทษ ดังนั้นหากถอดพืชกระท่อมออกจากความเป็นยาเสพติดให้โทษ จะสามารถส่งเสริมการศึกษาวิจัย และการใช้ประโยชน์ได้มากยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม หากมีการนำพืชกระท่อมไปผสมกับยาเสพติด หรือวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทชนิดอื่น ก็อาจมีความผิดฐานผลิตยาเสพติด หรือวัตถุออกฤทธิ์ และเมื่อเสพสารผสมนั้นเข้าสู่ร่างกาย ก็มีความผิดฐานเสพยาเสพติด หรือวัตถุออกฤทธิ์เช่นกัน รวมทั้งการนำไปทำเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่าย ก็ยังคงถูกควบคุม โดยต้องได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เท่านั้น ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น พ.ร.บ.ผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ.2562 พ.ร.บ.เครื่องสำอาง 2558 เป็นต้น