ผู้จัดการรายวัน360-"อนุทิน ชาญวีรกูล" โพสต์เรื่องราวเกี่ยวกับความสำเร็จของคลินิกกัญชาแผนไทย พร้อมตั้งเป้าปี 63 ที่จะเปิดคลินิกข้างต้นให้ครบทุกจังหวัด
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข กล่าวว่า "คลินิกกัญชา" ประโยชน์ของประชาชน ต้องเป็นที่หนึ่ง เอาจริง ทำจริง ต้องทำได้ 8 วันแรก ของคลินิกกัญชาทางการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ซึ่งอาจจะเรียกได้ว่า เป็นการแพทย์ผสมผสาน ที่มีเป้าหมายเพื่อบริการผู้ป่วยเป็นสำคัญ ได้รับความร่วมมือจากแพทย์แผนไทย หมอพื้นบ้าน และ แพทย์แผนปัจจุบัน หลายท่านอุทิศตน สละเวลา มาตรวจรักษาผู้ป่วย โดยไม่รับค่าตอบแทน ขอรับเพียงอาหารกล่อง เป็นมื้อกลางวัน เท่านั้น ขอชื่นชม
รายงานจำนวนผู้ป่วย ที่เข้ามารับบริการ เกือบ 4,000 คน ในระยะเวลา 8 วันที่ผ่านมา และมียอดจองคิวการใช้บริการ 5,000 กว่าคน จนถึงสิ้นเดือน มี.ค. เป็นสัญญาณบอกได้ว่า คลินิกกัญชา ที่กรมการแพทย์แผนไทย จะต้องเดินหน้าต่อไป และต้องขยายอัตรกำลัง เพิ่มทรัพยากรให้บริการประชาชน เพื่มขึ้น ให้เพียงพอกับความต้องการใช้บริการของประชาชน อย่างมีคุณภาพ และอย่างยั่งยืน
ทั้งนี้ ได้ให้นโยบายอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก(นพ.มรุต จิรเศรษฐสิริ) ให้นำบทเรียน ประสบการณ์ คลินิกกัญชา ที่กรมการแพทย์แผนไทยฯ เป็นต้นแบบ เปิดคลินิกกัญชาทางการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้าน ในภูมิภาค ให้ครบทุกเขตสุขภาพ อย่างน้อย เขตละ 1 คลีนิค ภายในเดือนมิ.ย.นี้ และ ภายในปี 63 ควรจะต้องมีให้ครบทุกจังหวัด จังหวัดละ 1 คลีนิค เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงได้โดยง่าย และ มีค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาพบแพทย์ และใช้บริการ น้อยที่สุด
นอกเหนือจากการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้าน แล้ว กัญชาทางการแพทย์แผนปัจจุบัน ก็ยังคงเดินหน้าทุกวัน โดยมีการปลูกไว้ในโครงการความร่วมมือระหว่างกรมการแพทย์ องค์การเภสัชกรรม และ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อการวิจัยและพัฒนากัญชาสายพันธุ์ไทย เพื่อนำมาผลิตเป็นน้ำมันกัญชา ในโครงการวิจัย ของกรมการแพทย์ และองค์การเภสัชกรรม
ทั้งนี้ มีประชาชนเข้ามาแสดงความคิดเห็นเป็นจำนวนมาก อาทิ "ถ้าคลินิกแบบนี้กระจายไปทั่วไทย คงจะดีมากๆ ให้ประชาชนได้เข้าถึงโดยง่าย สะดวก ขอให้สำเร็จในเร็วๆ" "เป็นความหวังของประชาชน" "น่าจะมีคลินิกกัญชาทุกจังหวัด ถ้าจังหวัดไหนมีประชากรมาก ให้เพิ่มอีก และให้ชุมชน รวมตัวจัดเป็นกลุ่มปลูกกัญชาส่ง รพ. บริหารจัดการดี มีกฎระเบียบเคร่งครัด จะมีประโยชน์ระยะยาว" "อยากให้กระทรวงสาธารณสุขเปิดคลินิกกัญชาให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ เพราะคนป่วยยังมีเยอะ"
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข กล่าวว่า "คลินิกกัญชา" ประโยชน์ของประชาชน ต้องเป็นที่หนึ่ง เอาจริง ทำจริง ต้องทำได้ 8 วันแรก ของคลินิกกัญชาทางการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ซึ่งอาจจะเรียกได้ว่า เป็นการแพทย์ผสมผสาน ที่มีเป้าหมายเพื่อบริการผู้ป่วยเป็นสำคัญ ได้รับความร่วมมือจากแพทย์แผนไทย หมอพื้นบ้าน และ แพทย์แผนปัจจุบัน หลายท่านอุทิศตน สละเวลา มาตรวจรักษาผู้ป่วย โดยไม่รับค่าตอบแทน ขอรับเพียงอาหารกล่อง เป็นมื้อกลางวัน เท่านั้น ขอชื่นชม
รายงานจำนวนผู้ป่วย ที่เข้ามารับบริการ เกือบ 4,000 คน ในระยะเวลา 8 วันที่ผ่านมา และมียอดจองคิวการใช้บริการ 5,000 กว่าคน จนถึงสิ้นเดือน มี.ค. เป็นสัญญาณบอกได้ว่า คลินิกกัญชา ที่กรมการแพทย์แผนไทย จะต้องเดินหน้าต่อไป และต้องขยายอัตรกำลัง เพิ่มทรัพยากรให้บริการประชาชน เพื่มขึ้น ให้เพียงพอกับความต้องการใช้บริการของประชาชน อย่างมีคุณภาพ และอย่างยั่งยืน
ทั้งนี้ ได้ให้นโยบายอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก(นพ.มรุต จิรเศรษฐสิริ) ให้นำบทเรียน ประสบการณ์ คลินิกกัญชา ที่กรมการแพทย์แผนไทยฯ เป็นต้นแบบ เปิดคลินิกกัญชาทางการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้าน ในภูมิภาค ให้ครบทุกเขตสุขภาพ อย่างน้อย เขตละ 1 คลีนิค ภายในเดือนมิ.ย.นี้ และ ภายในปี 63 ควรจะต้องมีให้ครบทุกจังหวัด จังหวัดละ 1 คลีนิค เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงได้โดยง่าย และ มีค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาพบแพทย์ และใช้บริการ น้อยที่สุด
นอกเหนือจากการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้าน แล้ว กัญชาทางการแพทย์แผนปัจจุบัน ก็ยังคงเดินหน้าทุกวัน โดยมีการปลูกไว้ในโครงการความร่วมมือระหว่างกรมการแพทย์ องค์การเภสัชกรรม และ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อการวิจัยและพัฒนากัญชาสายพันธุ์ไทย เพื่อนำมาผลิตเป็นน้ำมันกัญชา ในโครงการวิจัย ของกรมการแพทย์ และองค์การเภสัชกรรม
ทั้งนี้ มีประชาชนเข้ามาแสดงความคิดเห็นเป็นจำนวนมาก อาทิ "ถ้าคลินิกแบบนี้กระจายไปทั่วไทย คงจะดีมากๆ ให้ประชาชนได้เข้าถึงโดยง่าย สะดวก ขอให้สำเร็จในเร็วๆ" "เป็นความหวังของประชาชน" "น่าจะมีคลินิกกัญชาทุกจังหวัด ถ้าจังหวัดไหนมีประชากรมาก ให้เพิ่มอีก และให้ชุมชน รวมตัวจัดเป็นกลุ่มปลูกกัญชาส่ง รพ. บริหารจัดการดี มีกฎระเบียบเคร่งครัด จะมีประโยชน์ระยะยาว" "อยากให้กระทรวงสาธารณสุขเปิดคลินิกกัญชาให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ เพราะคนป่วยยังมีเยอะ"