ผู้จัดการรายวัน360- นายกฯ แจงตั้งศูนย์บัญชาการเฉพาะกิจแก้วิกฤติภัยแล้ง บูรณาการสอดคล้องสถานการณ์ปัจจุบัน ควบคู่แผนระยะยาว 20 ปีแก้ทั้งระบบ ย้ำรัฐบาลส่งน้ำให้ทั่วถึงทุกตารางนิ้วไม่ได้ ปชช.ต้องช่วยเหลือตัวเองบ้าง ขุดบ่อเพื่อมีน้ำบริโภค อุปโภค "บิ๊กป้อม" เตรียมเจาะบ่อบาดาลกว่า 500 แห่ง
พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม กล่าวถึงสถานการณ์ภัยแล้งว่า วันนี้ได้ตั้งศูนย์บัญชาการเฉพาะกิจและแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขวิกฤติน้ำขึ้นมา เพื่อบูรณาการให้สอดคล้องสถานการณ์ปัจจุบัน ส่วนสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) คณะเดิมวางแผนระยะยาว ทั้งการเก็บน้ำ พร่องน้ำ ระบายน้ำ อย่างไร ที่ไหนบ้าง ซึ่งต้องใช้งบประมาณสูงมาก ทยอยดำเนินการตามแผน ขณะที่ในบางพื้นที่ยังทำไม่ได้ น้ำไปไม่ถึง จึงเป็นเรื่องการปรับเปลี่ยนการปลูกพืช หาพื้นที่ที่เหมาะสม ใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ถึงต้องมีนโยบายโรงไฟฟ้าชุมชน เพื่อที่จะให้ปลูกพืชพลังงานแทน ทุกอย่างตนได้สั่งการในที่ประชุม ครม.ไปแล้ว
ทั้งนี้ การแก้ปัญหาน้ำต้องมอง 2 อย่าง ระยะยาวมีแผนถึง 20 ปี ที่ต้องแก้ทั้งระบบให้ได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกตารางนิ้วจะมีน้ำไปถึงได้ เพราะบางพื้นที่สูง บางพื้นที่ต่ำ บางพื้นที่ต้นทุนน้ำไม่พอ ถึงจะมีเขื่อนก็ไม่พอ จึงต้องไปแก้ปัญหาด้วยวิธีอื่น หากจะทำแหล่งน้ำให้ถึงทุกหมู่บ้านนั้น เป็นเรื่องการส่งน้ำขึ้นไป ก็ต้องมีต้นทุนน้ำ ถ้ายาวเกินไปต้นทุนก็สูง ค่าน้ำก็แพงขึ้น จึงต้องมีแหล่งน้ำในพื้นที่ เช่น การขุดลอกคูคลอง หรือแหล่งน้ำธรรมชาติ ซึ่งต้องสร้างแหล่งน้ำในพื้นที่ขนาดเล็ก
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลจะไปทำอะไรให้ทุกอย่างคงไม่ได้ขนาดนั้น แต่พยายามทำให้มากที่สุด ท่านก็ต้องช่วยตัวเองบ้าง เช่น ขุดบ่อ อย่างน้อยก็มีน้ำอุปโภค บริโภค ไม่อย่างนั้นน้ำประปาก็ขาด น้ำอุตสาหกรรมก็ขาด ซึ่งอุตสาหกรรมเขาก็เสียภาษีเหมือนกัน และสูงกว่าปกติ ทุกคนก็ต้องอยู่กันแบบนี้ อย่าให้มาบิดเบือนเรื่องคนรวย คนจน เอื้อประโยชน์คนรวย
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ได้บอกล่วงหน้าไปแล้วว่าเราจะทำดูแลในเรื่องการเอาน้ำใต้ดินและบนดินเพื่อใช้ในส่วนของการอุปโภค บริโภค ส่วนน้ำทำการเกษตรไม่มีเพียงพอ ก็ไม่สามารถทำนาปรังได้ เพราะว่าน้ำในปีนี้น้อยมาก เราพยายามขุดบ่อน้ำบาดาลทั่วประเทศเพิ่มขึ้น 500 กว่าแห่ง ซึ่งมีการประชุมล่วงหน้าเพื่อเตรียมการมาแล้ว อย่างไรก็ตาม คิดว่าน้ำที่มีอยู่สามารถใช้เพียงพอได้ถึงเดือน ก.ค. 63 นอกจากนี้ จำเป็นต้องใช้งบฉุกเฉิน 3 พันล้านบาท ในการแก้ไขปัญหาภัยแล้งครั้งนี้ สำหรับพื้นที่ที่น่าเป็นห่วงคือ ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เมื่อถามถึงการดำเนินการผลักดันน้ำเค็มที่มีผลกระทบกับการผลิตน้ำประปา พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า เรื่องน้ำเค็มลำบากหน่อย เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับน้ำประปา แต่ก็พออยู่ได้ ซึ่งเราไม่มีน้ำเพียงพอจะไล่น้ำเค็ม เราจะไปหาน้ำที่ไหน แล้วน้ำมาจากไหน
เมื่อถามว่า ในการประชุมครม. วันที่ 7 ม.ค. ที่จะมีการตั้งศูนย์บัญชาการเฉพาะกิจและแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาวิกฤติน้ำ โดยมีนายกรัฐมนตรี เป็นผู้บัญชาการ มีการเตรียมกรอบการทำงานไว้อย่างไรบ้าง พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า เราแก้ปัญหาภัยแล้งมาตลอด มีการเตรียมการ เพราะรู้อยู่แล้วว่าน้ำปีนี้จะน้อยกว่าปกติ
เมื่อถามว่า รัฐบาลมั่นใจใช่หรือไม่ว่าจะรับมือได้ พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ตนบอกไปแล้วว่าจะมีน้ำใช้ไปถึงเดือนก.ค.63 เมื่อถามย้ำว่า จะต้องทนไปถึงเดือน ก.ค.63 ใช่หรือไม่ พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ก็ฝนจะไม่มีถึงเดือนก.ค.63
พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม กล่าวถึงสถานการณ์ภัยแล้งว่า วันนี้ได้ตั้งศูนย์บัญชาการเฉพาะกิจและแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขวิกฤติน้ำขึ้นมา เพื่อบูรณาการให้สอดคล้องสถานการณ์ปัจจุบัน ส่วนสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) คณะเดิมวางแผนระยะยาว ทั้งการเก็บน้ำ พร่องน้ำ ระบายน้ำ อย่างไร ที่ไหนบ้าง ซึ่งต้องใช้งบประมาณสูงมาก ทยอยดำเนินการตามแผน ขณะที่ในบางพื้นที่ยังทำไม่ได้ น้ำไปไม่ถึง จึงเป็นเรื่องการปรับเปลี่ยนการปลูกพืช หาพื้นที่ที่เหมาะสม ใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ถึงต้องมีนโยบายโรงไฟฟ้าชุมชน เพื่อที่จะให้ปลูกพืชพลังงานแทน ทุกอย่างตนได้สั่งการในที่ประชุม ครม.ไปแล้ว
ทั้งนี้ การแก้ปัญหาน้ำต้องมอง 2 อย่าง ระยะยาวมีแผนถึง 20 ปี ที่ต้องแก้ทั้งระบบให้ได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกตารางนิ้วจะมีน้ำไปถึงได้ เพราะบางพื้นที่สูง บางพื้นที่ต่ำ บางพื้นที่ต้นทุนน้ำไม่พอ ถึงจะมีเขื่อนก็ไม่พอ จึงต้องไปแก้ปัญหาด้วยวิธีอื่น หากจะทำแหล่งน้ำให้ถึงทุกหมู่บ้านนั้น เป็นเรื่องการส่งน้ำขึ้นไป ก็ต้องมีต้นทุนน้ำ ถ้ายาวเกินไปต้นทุนก็สูง ค่าน้ำก็แพงขึ้น จึงต้องมีแหล่งน้ำในพื้นที่ เช่น การขุดลอกคูคลอง หรือแหล่งน้ำธรรมชาติ ซึ่งต้องสร้างแหล่งน้ำในพื้นที่ขนาดเล็ก
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลจะไปทำอะไรให้ทุกอย่างคงไม่ได้ขนาดนั้น แต่พยายามทำให้มากที่สุด ท่านก็ต้องช่วยตัวเองบ้าง เช่น ขุดบ่อ อย่างน้อยก็มีน้ำอุปโภค บริโภค ไม่อย่างนั้นน้ำประปาก็ขาด น้ำอุตสาหกรรมก็ขาด ซึ่งอุตสาหกรรมเขาก็เสียภาษีเหมือนกัน และสูงกว่าปกติ ทุกคนก็ต้องอยู่กันแบบนี้ อย่าให้มาบิดเบือนเรื่องคนรวย คนจน เอื้อประโยชน์คนรวย
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ได้บอกล่วงหน้าไปแล้วว่าเราจะทำดูแลในเรื่องการเอาน้ำใต้ดินและบนดินเพื่อใช้ในส่วนของการอุปโภค บริโภค ส่วนน้ำทำการเกษตรไม่มีเพียงพอ ก็ไม่สามารถทำนาปรังได้ เพราะว่าน้ำในปีนี้น้อยมาก เราพยายามขุดบ่อน้ำบาดาลทั่วประเทศเพิ่มขึ้น 500 กว่าแห่ง ซึ่งมีการประชุมล่วงหน้าเพื่อเตรียมการมาแล้ว อย่างไรก็ตาม คิดว่าน้ำที่มีอยู่สามารถใช้เพียงพอได้ถึงเดือน ก.ค. 63 นอกจากนี้ จำเป็นต้องใช้งบฉุกเฉิน 3 พันล้านบาท ในการแก้ไขปัญหาภัยแล้งครั้งนี้ สำหรับพื้นที่ที่น่าเป็นห่วงคือ ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เมื่อถามถึงการดำเนินการผลักดันน้ำเค็มที่มีผลกระทบกับการผลิตน้ำประปา พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า เรื่องน้ำเค็มลำบากหน่อย เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับน้ำประปา แต่ก็พออยู่ได้ ซึ่งเราไม่มีน้ำเพียงพอจะไล่น้ำเค็ม เราจะไปหาน้ำที่ไหน แล้วน้ำมาจากไหน
เมื่อถามว่า ในการประชุมครม. วันที่ 7 ม.ค. ที่จะมีการตั้งศูนย์บัญชาการเฉพาะกิจและแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาวิกฤติน้ำ โดยมีนายกรัฐมนตรี เป็นผู้บัญชาการ มีการเตรียมกรอบการทำงานไว้อย่างไรบ้าง พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า เราแก้ปัญหาภัยแล้งมาตลอด มีการเตรียมการ เพราะรู้อยู่แล้วว่าน้ำปีนี้จะน้อยกว่าปกติ
เมื่อถามว่า รัฐบาลมั่นใจใช่หรือไม่ว่าจะรับมือได้ พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ตนบอกไปแล้วว่าจะมีน้ำใช้ไปถึงเดือนก.ค.63 เมื่อถามย้ำว่า จะต้องทนไปถึงเดือน ก.ค.63 ใช่หรือไม่ พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ก็ฝนจะไม่มีถึงเดือนก.ค.63