วานนี้ (11ธ.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ได้เชิญ นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมป่าไม้ นายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) และ ตัวแทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เข้าพบเพื่อหาถึงกรณีการถือครองที่ดิน ของน.ส.ปารีณา ไกรคุปต์ ส.ส.ราชบุรี พรรคพลังประชารัฐ โดยใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง
นายอรรถพล เผยภายหลังการหารือว่า ช่วงเช้าคณะทำงานของกรมป่าไม้ ได้หารือกับคณะทำงานของส.ป.ก.ในเรื่องของสถานภาพพื้นที่ นายวิษณุ จึงเชิญมาหารือในข้อกฎหมาย โดยก่อนหน้านี้นายวิษณุได้ให้ข้อมูลได้ถูกต้องครบถ้วน แต่อาจจะมีการนำเสนอข่าวที่ไม่ตรง เพราะนายวิษณุ พูดถึงประเด็นคืนพื้นที่ พร้อมกับต้องพิจารณาว่าพื้นที่ดังกล่าวมีสถานภาพเดิมเป็นไปตามกฎหมายใด ซึ่งต้องว่าไปตามกฎหมายนั้น ที่ผ่านมา อาจมีการเสนอข่าวที่คลาดเคลื่อน ทำให้มองว่า นายวิษณุ ระบุว่าให้คืนอย่างเดียวแล้วไม่ต้องดำเนินการอย่างอื่น ครั้งนี้ ทั้ง 3 ฝ่าย จึงมาคุยกันในข้อกฎหมาย เพื่อหารือว่า สถานภาพในพื้นที่ปัจจุบันจะยึดหลักการพิจารณาอย่างไร จะเข้าข้อกฎหมายของส.ป.ก. หรือกฎหมายที่เกี่ยวกับที่ดินของกรมป่าไม้
ขณะนี้มี 3 ประเด็น ที่ยังไม่ได้ข้อยุติ คือ 1. ต้องดูคำจำกัดความ หรือเส้นในการพิจารณาให้ได้ว่า พื้นที่ดังกล่าวเข้าไปดำเนินกิจกรรมจัดที่ดินตามกฎหมายใด 2. สมมุติมีการกระทำความผิด หรือสถานภาพกลับมาในพื้นที่ที่เป็นพื้นที่เดิม คือพื้นที่ป่า ตามพ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ ควรจะต้องดำเนินคดีอย่างไร และ 3. เมื่อมีการดำเนินคดี หน่วยงานไหนจะต้องเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการ
ทั้งนี้ การหารือได้ข้อยุติพอสมควร แต่ไม่เหมาะสมที่จะเปิดเผยในขณะนี้ ขอให้ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา ออกมาก่อน แล้วจะได้ข้อยุติ
ผู้สื่อข่าวถามว่า ก่อนหน้านี้ส.ป.ก.ระบุว่า พื้นที่ 682 ไร่ เป็นพื้นที่ของส.ป.ก. ทำไมวันนี้จึงยังไม่แน่ชัดว่าอยู่ในความรับผิดชอบของใคร นายอรรถพล กล่าวว่า ต้องตีความกันก่อนว่าพื้นที่ดังกล่าวอยู่ในสถานภาพอะไร ตอนนี้เราอยากได้ข้อยุติจากคณะกรรมการกฤษฎีกาก่อน เพราะเรื่องที่เกิดขึ้น เป็นประเด็นเกี่ยวกับการเข้าไปดำเนินกิจกรรมภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวกับการปฏิรูปที่ดิน จึงต้องให้ได้ข้อยุติที่ชัดเจนตามความหมายของกฎหมายที่ตีความไว้ว่า สถานภาพมันเป็นอะไร และก่อนจะมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างหนึ่งอย่างใด เพื่อความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ และความรัดกุมต่อการดำเนินคดี เราจึงต้องหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเสียก่อน
เมื่อถามว่า สุดท้ายแล้ว จะเอาผิดกับน.ส.ปารีณาได้หรือไม่ นายอรรถพล กล่าวว่า ต้องรอความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งไม่น่าจะนาน เพราะในการหารือครั้งนี้ มีตัวแทนของคณะกรรมการกฤษฎีกาเข้าร่วมด้วย เมื่อเขาให้ความเห็นมา เราพร้อมปฏิบัติตาม และแม้ออกมาตรงข้ามกับแนวทางที่กรมป่าไม้เคยดำเนินการก่อนหน้านี้ เราก็ต้องเคารพความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา
เมื่อถามว่าจะรวมพื้นที่ 46 ไร่ ที่กรมป่าไม้เคยแจ้งความดำเนินคดีอาญา หรือไม่ นายอรรถพล กล่าวว่า พื้นที่ 46 ไร่ เราดำเนินคดีไปแล้ว อยู่ในกระบวนการยุติธรรม ส่วนความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา จะไม่เกี่ยวกับพื้นที่ดังกล่าว เพราะถือเป็นความผิดฐานเดิม โดยที่หารือกันครั้งนี้เฉพาะพื้นที่ ที่อยู่ในเขตส.ป.ก.
เมื่อถามว่า มีการตั้งข้อสังเกตว่ากรณีของน.ส.ปารีณา แตกต่างจากกรณีชาวบ้านทั่วไป ที่กระทำแล้วมีความผิดอย่างไร นายอรรถพล กล่าวว่า ถือเป็นคนละรูปแบบ เพราะชาวบ้านที่เขาไปบุกรุก ต้องถามว่า บุกรุกแบบไหน ส่วนใหญ่ที่เราเข้าไปดำเนินการคือ บุกรุกใหม่และชาวบ้านที่ไปบุกรุกพื้นที่ ส.ป.ก. เราก็ไม่เคยมีการดำเนินการ อีกทั้งกรมป่าไม้ รับผิดชอบเฉพาะพื้นที่ป่าสงวน ตามพ.ร.บ.ป่าไม้ ไม่เคยเข้าไปเกี่ยวกับพื้นที่ส.ป.ก.
นายอรรถพล เผยภายหลังการหารือว่า ช่วงเช้าคณะทำงานของกรมป่าไม้ ได้หารือกับคณะทำงานของส.ป.ก.ในเรื่องของสถานภาพพื้นที่ นายวิษณุ จึงเชิญมาหารือในข้อกฎหมาย โดยก่อนหน้านี้นายวิษณุได้ให้ข้อมูลได้ถูกต้องครบถ้วน แต่อาจจะมีการนำเสนอข่าวที่ไม่ตรง เพราะนายวิษณุ พูดถึงประเด็นคืนพื้นที่ พร้อมกับต้องพิจารณาว่าพื้นที่ดังกล่าวมีสถานภาพเดิมเป็นไปตามกฎหมายใด ซึ่งต้องว่าไปตามกฎหมายนั้น ที่ผ่านมา อาจมีการเสนอข่าวที่คลาดเคลื่อน ทำให้มองว่า นายวิษณุ ระบุว่าให้คืนอย่างเดียวแล้วไม่ต้องดำเนินการอย่างอื่น ครั้งนี้ ทั้ง 3 ฝ่าย จึงมาคุยกันในข้อกฎหมาย เพื่อหารือว่า สถานภาพในพื้นที่ปัจจุบันจะยึดหลักการพิจารณาอย่างไร จะเข้าข้อกฎหมายของส.ป.ก. หรือกฎหมายที่เกี่ยวกับที่ดินของกรมป่าไม้
ขณะนี้มี 3 ประเด็น ที่ยังไม่ได้ข้อยุติ คือ 1. ต้องดูคำจำกัดความ หรือเส้นในการพิจารณาให้ได้ว่า พื้นที่ดังกล่าวเข้าไปดำเนินกิจกรรมจัดที่ดินตามกฎหมายใด 2. สมมุติมีการกระทำความผิด หรือสถานภาพกลับมาในพื้นที่ที่เป็นพื้นที่เดิม คือพื้นที่ป่า ตามพ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ ควรจะต้องดำเนินคดีอย่างไร และ 3. เมื่อมีการดำเนินคดี หน่วยงานไหนจะต้องเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการ
ทั้งนี้ การหารือได้ข้อยุติพอสมควร แต่ไม่เหมาะสมที่จะเปิดเผยในขณะนี้ ขอให้ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา ออกมาก่อน แล้วจะได้ข้อยุติ
ผู้สื่อข่าวถามว่า ก่อนหน้านี้ส.ป.ก.ระบุว่า พื้นที่ 682 ไร่ เป็นพื้นที่ของส.ป.ก. ทำไมวันนี้จึงยังไม่แน่ชัดว่าอยู่ในความรับผิดชอบของใคร นายอรรถพล กล่าวว่า ต้องตีความกันก่อนว่าพื้นที่ดังกล่าวอยู่ในสถานภาพอะไร ตอนนี้เราอยากได้ข้อยุติจากคณะกรรมการกฤษฎีกาก่อน เพราะเรื่องที่เกิดขึ้น เป็นประเด็นเกี่ยวกับการเข้าไปดำเนินกิจกรรมภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวกับการปฏิรูปที่ดิน จึงต้องให้ได้ข้อยุติที่ชัดเจนตามความหมายของกฎหมายที่ตีความไว้ว่า สถานภาพมันเป็นอะไร และก่อนจะมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างหนึ่งอย่างใด เพื่อความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ และความรัดกุมต่อการดำเนินคดี เราจึงต้องหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเสียก่อน
เมื่อถามว่า สุดท้ายแล้ว จะเอาผิดกับน.ส.ปารีณาได้หรือไม่ นายอรรถพล กล่าวว่า ต้องรอความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งไม่น่าจะนาน เพราะในการหารือครั้งนี้ มีตัวแทนของคณะกรรมการกฤษฎีกาเข้าร่วมด้วย เมื่อเขาให้ความเห็นมา เราพร้อมปฏิบัติตาม และแม้ออกมาตรงข้ามกับแนวทางที่กรมป่าไม้เคยดำเนินการก่อนหน้านี้ เราก็ต้องเคารพความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา
เมื่อถามว่าจะรวมพื้นที่ 46 ไร่ ที่กรมป่าไม้เคยแจ้งความดำเนินคดีอาญา หรือไม่ นายอรรถพล กล่าวว่า พื้นที่ 46 ไร่ เราดำเนินคดีไปแล้ว อยู่ในกระบวนการยุติธรรม ส่วนความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา จะไม่เกี่ยวกับพื้นที่ดังกล่าว เพราะถือเป็นความผิดฐานเดิม โดยที่หารือกันครั้งนี้เฉพาะพื้นที่ ที่อยู่ในเขตส.ป.ก.
เมื่อถามว่า มีการตั้งข้อสังเกตว่ากรณีของน.ส.ปารีณา แตกต่างจากกรณีชาวบ้านทั่วไป ที่กระทำแล้วมีความผิดอย่างไร นายอรรถพล กล่าวว่า ถือเป็นคนละรูปแบบ เพราะชาวบ้านที่เขาไปบุกรุก ต้องถามว่า บุกรุกแบบไหน ส่วนใหญ่ที่เราเข้าไปดำเนินการคือ บุกรุกใหม่และชาวบ้านที่ไปบุกรุกพื้นที่ ส.ป.ก. เราก็ไม่เคยมีการดำเนินการ อีกทั้งกรมป่าไม้ รับผิดชอบเฉพาะพื้นที่ป่าสงวน ตามพ.ร.บ.ป่าไม้ ไม่เคยเข้าไปเกี่ยวกับพื้นที่ส.ป.ก.